เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 42399 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 8
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 06:20

อ้าว  โดนท่านอาจารย์ใหญ่กว่าเบรคเอาซะแล้ว

 ตกใจ

ที่เมืองไทยตีสองครึ่ง   อเมริกาก็กำลังบ่ายโมงครึ่งพอดีละค่ะ
รถอื่นๆในรูปถ่ายข้างบนนี้  น่าจะเป็นรถตำแหน่งของข้าราชการที่ไปงานเดียวกับท่านนายกฯ หรือเปล่าคะ   หน้าตาเหมือนใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ื ๖ แล้วยังไม่ได้เปลี่ยนจนแล้วจนรอด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 07:16

^
คงอย่างนั้นแหละครับ

และก็เลยเอารถยนต์พระที่นั่งที่ใช้ในขบวนเสด็จในวันเดียวนั้นกันมาให้ดูด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 07:39

เอารูปรถแต่ละสมัยมาให้ดูบ้างค่ะ

แถวบนซ้ายขวา คือรถยนต์ในทศวรรษ 1920s
แถวล่าง   คือรถบูอิคในทศวรรษ 1940s
ห่างกันยี่สิบกว่าปี


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 08:37

ขอบคุณครับ  คุณ NAVARAT.C   และ อาจารย์ เทาชมพู

พอรู้จักรถบูอิค ................ต่อมา GENERAL MOTOR ซื้อกิจการไป

แล้วในยุคนั้น รถ แพคการ์ค PACKARD  ไม่หรูกว่าหรือ

แม้แต่นักเขียนใหญ่ในเมืองไทยอยากได้ (อาจารย์ เทาชมพู คงจะรู้ดีกว่าผม)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 09:16

ผมน่ะนะครับ ตั้งแต่เด็กได้ยินชื่อรถที่ว่าเลิศที่สุดในเมืองไทยก็สองชื่อตามที่กล่าวมาแล้ว โรลสรอยส์คือรถยนต์พระที่นั่งนั่นพอจะเคยเห็น แต่เจ้าบูอิครุ่นที่เข้ามาดังระเบิดนี่ ก็เพิ่งจะเคยเห็นในรูปนี้นี่เอง ความจริงก็อย่างว่า ยี่ห้อนี้ในเมืองอเมริกาก็งั้นๆ แต่ในปี1948 รูปทรงที่ออกมาคงล้ำสมัยเตะหัวใจท่านนายกไทยมาก จึงสั่งมาประดับบารมีซะ

ความจริงรถในดวงใจจอมพลป.มีอีกสองคันคือ ฟอร์ด ธันเดอร์เบริดเปิดประทุนไว้ขี่โก้ๆ กับซีตรองดีเอส คันหลังนี้พาท่านห้อแน่บ ระบบกันสะเทือนแบบไฮโดรลิคพาลอยไปตามถนนลูกรังจนถึงชายแดนเขมร รถอื่นๆในสมัยนั้นถ้าบังอาจตาม ก็ไม่มีทางได้เห็นแม้แต่ฝุ่น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 10:41

แม้แต่นักเขียนใหญ่ในเมืองไทยอยากได้ (อาจารย์ เทาชมพู คงจะรู้ดีกว่าผม)

ไม่รู้เรื่องนี้เลยค่ะ  ไม่ทราบว่านักเขียนใหญ่คนไหนอยากได้แพคการ์ด   น่าจะเป็นรถราคาแพงมากในสมัยนั้น
ในยุคที่นักประพันธ์ส่วนใหญ่ยังไส้แห้ง    นักเขียนที่มีเงินพอจะซื้อรถแพคการ์ดน่าจะระดับบิ๊กมากๆ มีไม่กี่คน 
คุณ visitna ขยายความให้ฟังได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 10:45

ไม่ทราบว่าท่านใดพอจะมีภาพของ "สนามน้ำจืด" บ้างไหมครับ ?
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 11:08

ภาพรถยนต์พระที่นั่งที่จอดเรียงกัน ๓ องค์  ที่ท่าน Navarat c. นำมาให้ชมในความเห็นที่ 3187 นั้น
องค์แรกเป็นรถพระที่นั่งโรลซ์รอยส์  ชื่อ "แก้วจักรพรรดิ"  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระยาบุรีนวราษฐ (ชวน  สิงหเสนี) เวลานั้นเป็นอัครราชทูตสยาม ณ กรุงลอนดอนเป็นผู้สั่งซื้อและส่ง
เข้ามากรุงเทพฯ  นักเลงรถในยุคต่อมาเห็นชื่อพระยาบุรีฯ เป็นผู้สั่งซื้อเลยเข้าใจกันว่าเป็นรถยนต์ของท่านเจ้าคุณ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 11:24

อาจารย์เทาชมพู   ลองของผมแน่
ข่าวเขาว่า  พนมเทียนขอรถแพคการ์ดจากสำนักพิมพ์เป็นค่าเขียน 
อ่านมาจากหนังสืออะไรจำไม่ได้
แล้วจำไม่ได้ว่าเป็นสำนักพิมพ์ไหน ............ช่วงนี้อัลไซเมอร์จับ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 11:28

สนามนํ้าจืด   เอามาสร้างเฉลิมกรุง

ภาพที่จะมีต้องก่อนหน้านั้น

ไม่มีครับ อยากจะเห็นเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 11:42

อาจารย์เทาชมพู   ลองของผมแน่
ข่าวเขาว่า  พนมเทียนขอรถแพคการ์ดจากสำนักพิมพ์เป็นค่าเขียน 
อ่านมาจากหนังสืออะไรจำไม่ได้
แล้วจำไม่ได้ว่าเป็นสำนักพิมพ์ไหน ............ช่วงนี้อัลไซเมอร์จับ
เคยอ่านประวัติคุณพนมเทียน แต่ไม่เคยอ่านเจอเรื่องนี้ค่ะ  เป็นแพคการ์ดยุคไหนเอ่ย?  ยุค  1950s หรือ 1960s


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 12:10

ไม่ทราบว่าท่านใดพอจะมีภาพของ "สนามน้ำจืด" บ้างไหมครับ ?

สนามน้ำจืด อ้างว่าถูกถมไปเพื่อสร้างศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งจากการดูแผนที่เก่า ๒ ระวางในสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้วพบว่าไม่มีสนามน้ำจืดอยู่ตรงที่ดินเดิมของศาลาเฉลิมกรุง (คงต้องใช้ดินถมปริมาณมาก) แต่กลับพบว่ามีบึงน้ำอยู่ฝั่งตรงข้ามศาลาเฉลิมกรุงครับ

ด้านบนเป็นแผนที่นายวอนนายสอน ร.ศ. ๑๑๕ เขียนไว้เห็นแนวถนนเจริญกรุง พร้อมห้องแถวที่ปลูกสร้างขนานกับถนนเจริญกรุง ถนนตรีเพชรยังไม่เป็นรูป เพียงคงกรุยทางให้เห็นคร่าว ๆ ว่าเป็นถนนสำหรับเดิน

ส่วนภาพล่าง พ.ศ. ๒๔๕๓ จะเห็นว่าถนนตรีเพชรตัดเสร็จแล้ว ถนนพาหุรัดเป็นรูปร่างแล้วพร้อมตึกแถวที่ก่อสร้างโอบตามถนนตรีเพชร ตึกสร้างคร่อมลงในพื้นที่ "สนามน้ำจืด" หายไปจากแผนที่  ตกใจ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 13:33

สนามน้ำจืด - ศาลาเฉลิมกรุง
เมื่อมีถนนแล้ว “ความเจริญ” ก็ตามมา ไม่ช้าไม่นาน ริมถนนสายใหม่ก็กลายเป็นตึกแถว เหม เวชกร (๒๔๔๖ - ๒๕๑๒)
จิตรกรและนักเขียนคนสำคัญ เล่าไว้ในเรื่องสั้นชุดผีเรื่องหนึ่งว่าเมื่อเขายังเด็ก บริเวณนี้

“…มันก็ตึกแถวทั้งนั้นนับแต่ถนนอุณากรรณเป็นสี่ เหลี่ยมอ้อมไปพาหุรัด แล้วหักเลี้ยวกลับมาถนนตีทอง
และวกเข้าด้านเจริญกรุงนี่ แต่ว่าตึกแถวตอนนี้เขาสร้างหักเลี้ยวเข้าตรงกลางเป็นเวิ้งว่าง
เขาทำเครื่องสูบน้ำบาดาลอยู่ชิดตลาดมิ่งเมืองด้านพาหุรัดนั่น…นามของตำบลนี้ คือ’สนามน้ำจืด’….”

ท่านเสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) อธิบายไว้ในหนังสือชุด ฟื้นความหลัง
ว่าเหตุที่เรียกกันว่าสนามน้ำจืดนั้น เนื่องจาก “…เคยตั้งถังน้ำขนาดใหญ่สูบเอาน้ำบาดาลขึ้นมาเก็บไว้
บ่อน้ำบาดาลแห่งนี้เป็นแห่งแรกที่มีขึ้นในเมืองไทย…”

เหม เวชกร เล่าบรรยากาศยุคนั้นไว้ว่า
“…แดนนี้จัดว่าเป็นแดนสำคัญของชาวบางกอก เป็นแดนมีน้ำสะอาดดื่มกิน
แทนที่จะดื่มกินในคลองหรือแม่น้ำกัน เพราะตามคลองนั้นมีของสกปรกลอยให้เห็นเวลาน้ำขึ้นน้ำลงเสมอๆ
เมื่อมามีน้ำบาดาลดื่มกิน น้ำในลำคลองบางกอกเราจึงใช้แต่อาบกัน
ในแดนนี้ทั้งวันจะมีคนมาหาบน้ำไปใช้บ้างและขายตามชาวตึกชาวบ้านทั่วๆ ไปบ้าง
พอเวลาเย็นค่ำก็ปิดการจ่ายน้ำ ในเวิ้งสนามน้ำจืดก็เงียบคน พวกตึกแถวนั้น ถ้าเป็นหัวมุมถึงจะ
เป็นห้างขายของญี่ปุ่นบ้างจีนบ้าง ถ้าไม่ใช่หัวมุมก็เป็นห้องเช่าของคนที่อยู่อาศัยธรรมดานั่นเอง….”

ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ ย่านสนามน้ำจืดได้กลายเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 00:50

ขอบพระคุณทุกท่านครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 06:13

อ้างถึง - ท่านเสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) อธิบายไว้ในหนังสือชุด ฟื้นความหลัง
ว่าเหตุที่เรียกกันว่าสนามน้ำจืดนั้น เนื่องจาก “…เคยตั้งถังน้ำขนาดใหญ่สูบเอาน้ำบาดาลขึ้นมาเก็บไว้
บ่อน้ำบาดาลแห่งนี้เป็นแห่งแรกที่มีขึ้นในเมืองไทย…”

สังเกตจากด้านขวามือของภาพ จะใช่ถังพักน้ำที่ท่านเจ้าคุณอนุมานราชธน ท่านกล่าวถึงหรือไม่?

ขอสร้างประเด็นให้คุณหนุ่มสยามขบคิดไ้ว้ข้อหนึ่ง ว่า "สนามน้ำจืด" อาจจะไม่ได้หมายถึงสระน้ำ แต่หมายถึงบ่อน้ำบาดาลที่สูบน้ำขึ้นมาครับ
ถ้าเป็นสระน้ำ ก็น่าจะเรียกเป็นอย่างอื่น เช่น สระน้ำจืด เป็นต้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง