เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 42539 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 8
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 22 ม.ค. 12, 18:57

ไม่แน่ใจว่าจะใช่หรือเปล่านะคะ ... ยิงฟันยิ้ม
มีการละเล่นพื้นบ้าน อีสานเรียกว่า "ม้าหลังโปก" ภาคใต้เรียกว่า "ขี่ม้าโยนรับ"
แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายม้า กับฝ่ายผู้ขี่
ผู้ขี่ ขี่ม้ายืนล้อมเป็นวง แล้วโยนลูกบอล รับ-ส่ง ต่อๆ กันไปให้รอบวง
ฝ่ายม้าต้องพยายามทำให้คนที่ขี่ตัวเองอยู่รับบอลไม่ได้ บอลตกพื้น
ฝ่ายม้าต้องรีบตะครุบบอล แล้วปาใส่ให้โดนผู้นเล่นฝ่ายคนขี่ คนใดก็ได้
ถ้าปาโดน ก็จะสลับ กลับข้าง ให้ฝ่ายม้าเป็นคนขี่ ฝ่ายคนขี่ กลับมาเป็นม้า บ้าง

ที่ไม่แน่ใจเพราะ ใครจะกล้าให้ สมเด็จ ทรงเป็นม้า...
และน่าจะทรงการละเล่นแบบฝรั่ง มากกว่า แบบพื้นบ้านนะคะ...


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 22 ม.ค. 12, 20:25

ไม่รู้จักกีฬาชนิดนี้ค่ะ  น่าสนใจมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 24 ม.ค. 12, 09:34

รูปนี้บรรยายว่าเป็นพระรูปสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ ทรงฉายกับพระประยูรญาติ      แต่ไม่ทราบว่าเป็นเจ้านายพระองค์ใดกันบ้าง
เจ้านายพระองค์ที่สอง แถวหน้า ที่ทรงสูทสีขาว  คือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ หรือเปล่าคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 24 ม.ค. 12, 13:24


ทั้งที่แน่ใจ และขอเดา
แถวหลังซ้ายไปขวา  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนฯ, สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์พวงสร้อยสอางค์
แถวกลาง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร  พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร? หม่อมเจ้าหญิงประสงค์สม  พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
แถวหน้า  หม่อมเจ้าปรีดิเทพยพงษ์ เทวกุล  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์  หม่อมเจ้าหญิงวงศ์ทิพย์สุดา เทวกุล หม่อมเจ้าหญิงสมรศรีโสภา เทวกุล
หม่อมเจ้าหญิงอัปภัศราภา เทวกุล หม่อมเจ้าหญิงแขไขจรัสศรี เกษมศรี? หม่อมเจ้าแววจักร์ จักรพันธุ์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 25 ม.ค. 12, 07:23

รูปนี้บรรยายว่าเป็นพระรูปสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ ทรงฉายกับพระประยูรญาติ      แต่ไม่ทราบว่าเป็นเจ้านายพระองค์ใดกันบ้าง
เจ้านายพระองค์ที่สอง แถวหน้า ที่ทรงสูทสีขาว  คือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ หรือเปล่าคะ

ภาพนี้ควรถ่ายที่บันดุง ประเทศอินโดนิเซีย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 18:09

รูปคุณเพ็ญชมพู มีคลองแล่นขนานกับทางรถไฟ มีวัดด้านหลัง จะเห็นใกล้ชิดขนาดนี้ได้ ในกรุงเทพ มีที่เดียวค่ะ คือ คลองบางกอกน้อย แต่ไม่รู้ว่า กำลังทำอะไรกันนะคะ แข่งเรือก็ใช่ที่ เพราะดูไม่เป็นระเบียบ

เอาภาพมาทายกันบ้าง ถนนอะไรคะ?ฮืม (ในกรุงเทพ)


นั่งค้นหาอยู่ ในแผนที่ระวางฉบับ พ.ศ. ๒๔๓๙ ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านนี้มีแล้ว ไม่ทราบว่าตรงนี้หรือไม่ เป็นอาคารวางเรียงกัน ๘ ห้อง ขนาดพื้นที่ใหญ่พอดู มีซอยตรงกลาง ติดถนนสระปทุม (ต่อมาเรียกบำรุงเมือง) ด้านหน้าเป็นโรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอฯ

คือยังหาพิกัดที่ปลายภาพเป็นกำแพงขาวยาว ต้นไม้เยอะไม่ได้ในถนนนี้สักที ถ้าโรงเลี้ยงเด็กมีกำแพงก็ใช่เลย

ขอหยิบภาพปริศนาที่เคยท้าทายไว้ หยิบขึ้นมาบรรเลงใหม่ ด้วยค้นพบว่า Villa Suzanne นั้นตั้งอยู่ที่ใดครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 18:35

จากบันทึกของชาวเบลเยี่ยมที่เข้ามาพำนักที่วิลลาซูซาน ได้เล่าไว้ว่าท่านมาพำนักที่บ้านแห่งนี้ ตอนเช้าอากาศกลิ่นไอดินโชยมา ท่านไม่ยอมที่จะนอนขึ้เกียจอยู่บนเตียง หากแต่รีบออกไปขับจักรยานชมบรรยากาศในกรุงเทพ ท่านขี่จักรยานไปออกจากวิลลาซูซาน ที่ตั้งอยู่บนถนนสระปทุม

ได้เห็นพระสงฆ์รับบิณฑบาตร และบรรยากาศตอนเช้าอันแสนเชื่องช้าของชาวสยาม ที่เริ่มเปิดตั้งร้านค้าขายของ กุลีเริ่มออกเดินเท้าเพื่อไปยังสถานที่ทำงาน ท่านได้แวะไปร้านขายข้าวสาร และบรรยายข้าวประเภทต่าง ๆ เป็นที่น่าประทับใจ

แผนที่กรุงเทพที่แทรกในหนังสือนี้ บ่งชี้ว่า หมายเลข ๑๓ คือที่ตั้งของ Villa Suzanne ซึ่งตรงกับพื้นที่แผนที่ด้านบนจำนวน ๘ หลังครับผม  ยิ้มเท่ห์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 21:48

จำภาพนี้ได้  ว่าทายกันแทบตายอยู่พักหนึ่ง     เห็นแล้วก็อยากเดินทางย้อนอดีตไปสูดอากาศในกรุงเทพในสมัยนั้น
ถามคุณหนุ่มสยาม   วิลลาซูซาน ตรงกับสถานที่ใดในปัจจุบันนี้คะ?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 05 ก.พ. 12, 17:35

จำภาพนี้ได้  ว่าทายกันแทบตายอยู่พักหนึ่ง     เห็นแล้วก็อยากเดินทางย้อนอดีตไปสูดอากาศในกรุงเทพในสมัยนั้น
ถามคุณหนุ่มสยาม   วิลลาซูซาน ตรงกับสถานที่ใดในปัจจุบันนี้คะ?

ดูจากลักษณะของถนนที่โค้งคัวเอส อ่อน ๆ ทำให้ระบุได้ว่าเป็น "ถนนพลับพลาไชย" หลังสวนมะลิ และมุมมองภาพเก่าเห็นต้นไม้และสิ่งก่อสร้างสุดภาพ ควรจะเป็นรั้ววัดเทพศิรินทรฯ ครับ

ครั้นจะระบุที่แนนอนกับปัจจุบันคงกะได้คร่าว ๆ ตามจุดสีแดง เนื่องจากบริเวณนี้ตัดถนน ทำซอยใหม่ เหมือนเคยมีไฟไหม้มาก่อน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 05 ก.พ. 12, 19:56

โอ้โฮ    ไม่เหลือเค้าถนนแสนงามในอดีตให้เห็นแม้แต่น้อย
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 13:57

อ้างถึง
จากบันทึกของชาวเบลเยี่ยมที่เข้ามาพำนักที่วิลลาซูซาน ได้เล่าไว้ว่าท่านมาพำนักที่บ้านแห่งนี้ ตอนเช้าอากาศกลิ่นไอดินโชยมา ท่านไม่ยอมที่จะนอนขึ้เกียจอยู่บนเตียง หากแต่รีบออกไปขับจักรยานชมบรรยากาศในกรุงเทพ ท่านขี่จักรยานไปออกจากวิลลาซูซาน ที่ตั้งอยู่บนถนนสระปทุม

ได้เห็นพระสงฆ์รับบิณฑบาตร และบรรยากาศตอนเช้าอันแสนเชื่องช้าของชาวสยาม ที่เริ่มเปิดตั้งร้านค้าขายของ กุลีเริ่มออกเดินเท้าเพื่อไปยังสถานที่ทำงาน ท่านได้แวะไปร้านขายข้าวสาร และบรรยายข้าวประเภทต่าง ๆ เป็นที่น่าประทับใจ

แผนที่กรุงเทพที่แทรกในหนังสือนี้ บ่งชี้ว่า หมายเลข ๑๓ คือที่ตั้งของ Villa Suzanne ซึ่งตรงกับพื้นที่แผนที่ด้านบนจำนวน ๘ หลังครับผม 

ไม่นึกไม่ฝันว่าจะมีคนเก่งค้นหาจนพบได้ว่า Villa Suzanne อยู่ที่ใด คุณหนุ่มสยามน่าจะได้รางวัลจากอ.เทาชมพูนะคะ

ขอทราบชื่อหนังสือที่ไปพบ "บันทึกของชาวเบลเยี่ยม" ได้ไหมคะ ให้รายละเอียดพร้อมแผนที่ได้ขนาดนี้ น่าสนใจมากค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 14:23

อ้างถึง
จากบันทึกของชาวเบลเยี่ยมที่เข้ามาพำนักที่วิลลาซูซาน ได้เล่าไว้ว่าท่านมาพำนักที่บ้านแห่งนี้ ตอนเช้าอากาศกลิ่นไอดินโชยมา ท่านไม่ยอมที่จะนอนขึ้เกียจอยู่บนเตียง หากแต่รีบออกไปขับจักรยานชมบรรยากาศในกรุงเทพ ท่านขี่จักรยานไปออกจากวิลลาซูซาน ที่ตั้งอยู่บนถนนสระปทุม

ได้เห็นพระสงฆ์รับบิณฑบาตร และบรรยากาศตอนเช้าอันแสนเชื่องช้าของชาวสยาม ที่เริ่มเปิดตั้งร้านค้าขายของ กุลีเริ่มออกเดินเท้าเพื่อไปยังสถานที่ทำงาน ท่านได้แวะไปร้านขายข้าวสาร และบรรยายข้าวประเภทต่าง ๆ เป็นที่น่าประทับใจ

แผนที่กรุงเทพที่แทรกในหนังสือนี้ บ่งชี้ว่า หมายเลข ๑๓ คือที่ตั้งของ Villa Suzanne ซึ่งตรงกับพื้นที่แผนที่ด้านบนจำนวน ๘ หลังครับผม 

ไม่นึกไม่ฝันว่าจะมีคนเก่งค้นหาจนพบได้ว่า Villa Suzanne อยู่ที่ใด คุณหนุ่มสยามน่าจะได้รางวัลจากอ.เทาชมพูนะคะ

ขอทราบชื่อหนังสือที่ไปพบ "บันทึกของชาวเบลเยี่ยม" ได้ไหมคะ ให้รายละเอียดพร้อมแผนที่ได้ขนาดนี้ น่าสนใจมากค่ะ

สวัสดีครับคุณร่วมฤดี หนังสือนี้ชื่อว่า "Croquis Siamois" เขียนโดยชาร์ล บูลส์ (อดีตนายกเทศมนตรีคนที่ 8 ของนครบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม) บูลส์เดินทางมาสยามเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1899 และถึงสยามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1900 และเดินทางออกจากสยามเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 1900 รวมเวลาที่อยู่ในสยามประมาณ 1 เดือน(  33 วัน ) ในบันทึกของบูลส์ได้เล่าเรื่องการเยือนสยามตั้งแต่วินาทีแรกที่นั่งเรื่องเข้าสู่ปากน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา ผู้เขียนจะไม่เล่าในรายละเอียด เนื่องจาก สำนักพิมพ์ Walter E. J. Tips  ได้แปลภาพสเก็ตแห่งสยามเป็นภาษาอังกฤษ จัดพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 1994 ผู้สนใจคงหาอ่านได้ไม่ยาก บูลส์ได้เล่าเรื่องการเยือนเป็นลำดับเหตุการณ์ ดังนี้

เมืองบางกอก พระบรมมหาราชวัง บางกอกยามราตรี การล่องเรือไปตามคลองต่างๆ การเยือนย่านสำเพ็งของชาวจีน เล่าเรื่องการเมืองระบบรัฐสภา ระบบศาลและยุติธรรม เรือนจำในสยาม การศึกษา สถาปัตยกรรมสยาม ความเชื่อทางศาสนาของชาวสยาม การเยือนสวนดุสิต การได้มีโอกาสเห็นขบวนแห่งานศพ และสุดท้ายเล่าเรื่องการไปเยือนต่างจังหวัดโดยรถไฟ

หนังสือเล่มนี้เสมือนบันทึกการเดินทางของช่าวต่างประเทศเล่มหนึ่ง ซึ่งบรรยายบรรยากาศ และความแปลกใหม่ของชวตะวันตกที่ได้พบเห็นในสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ครับ โดยเฉพาะการเยือนพระราชวังสวนดุสิตนั้น เป็นช่วงมีการเฉลิมฉลองเปิดพระราชวังและบรรยากาศอัญเชิญพระพุทธชินราชจำลอง

นอกจากนี้แล้วหนังสือเล่มนี้เมื่อได้พิมพ์จำหน่ายแล้วยังส่งหนังสือมายังเจ้ากระทรวงการต่างประเทศ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ) อีกด้วย เป็นหนังสือที่ผมซื้อมาอ่านครับคุณร่วมฤดี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 15:09

ตอนหนึ่งจากบทนำของหนังสือ "Croquis Siamois" ชาร์ลส์ บูลส์ กล่าวว่า

ประเทศสยามนั้นเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งกอปรด้วยชนชาติอินโดจีน ซึ่งอาศัยประโยชน์จากการเปิดประเทศให้กับอารยธรรมแผนใหม่ของตะวันตกเป็นเครื่องมือในการรักษาเอกราชของประเทศ วิเทโศบายที่ชาญฉลาดนี้เป็นผลจากพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ องค์พระเจ้าแผ่นดินแห่งสยามและพระเจ้าน้องยาเธอหลายพระองค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ พระองค์ได้ทรงดำเนินพระราโชบายทางการทูต เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดหมางกับมหาอำนาจทั้งสอง ซึ่งกำลังยึดครองเพื่อนบ้านของสยามอยู่ในเวลานั้น

ชาร์ลส์ บูลส์นั้นได้แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่ได้ศึกษาการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการเมืองของสยามมาเป็นอย่างดีก่อนเดินทางมาในช่วงนั้นเป็นเวลาที่ฝรั่งเศสยึดครองเมืองจันทบูรอยู่ โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการประกันว่า สยามจะกระทำตามสนธิสัญญาฉบับ พ.ศ. ๒๔๓๖ หลังจากเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ซึ่งชาร์ลส์ บูลส์เห็นว่าเป็นการใช้กำลังของประเทศใหญ่เพื่อรุกรานสยาม ในบทหนึ่งได้ใช้ถ้อยคำรุนแรงในการเขียนบทนำ โดยกล่าวว่า

ในขณะที่เราแล่นเรือใกล้ฝั่งทวีปที่แลเห็นเบื้องหน้าเข้าไปทุกขณะ ข้าพเจ้าเองจินตนาการว่า ด้วยความวิริยะบากบั่นของบรรดาผู้คนในชาติเล็กแห่งนี้ สักวันหนึ่งในอนาคต ข้าพเจ้าคงจะได้เห็นหลักการอันล่วงละเมิดมิได้ของกฏหมายระหว่างประเทศ ฟันฝ่าอุปสรรคขึ้นปรากฏต่อสายตาของมวลมนุษยชาติ ข้าพเจ้าปรารถนาจะเห็นตราชั่งแห่งความยุติธรรมใช้กับการละเมิดกฏหมายของประเทศต่าง ๆ เฉกเช่นเดียวกันกับการล่วงละเมิดกฎหมายของปัจเจกอาชญากร ดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และแม้ว่าสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวมาทั้งหมดนี้จะเป็นเพียงความใฝ่ฝันก็ตาม ข้าพเจ้าเชื่อเป็นที่สุดว่า ในยามที่บรรดาผู้นำกระหายสงคราม ซึ่งเป็นคริสต์ศาสนิกชนเปล่งวาจาสวดมนต์ต่อเบื้องพระพักตร์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า โดยมิได้มีศรัทธาในหลักการที่ข้าพเจ้ากล่าวไปแล้วข้างต้น บุคคลเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ทุศีลที่ตระบัดสัตย์ของตนอย่างสิ้นเชิง

จากบทความเรื่อง เมื่อนายกเทศมนตรีเบลเยียมเขียนเรื่องเมืองสยาม ของ พิษณุ  จันทร์วิทัน
จุลสารเพื่อนไทย ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๓ ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๘ - เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๘

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 19:35

ทุกวันนี้ หากใครผ่านไปแถวจัตุรัสกรองด์พลาส ก็จะต้องผ่านอนุสาวรีย์ที่อยู่ตรงวงเวียนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งมีน้ำพุอยู่ตรงกลาง ที่ขอบน้ำพุ มีรูปปั้นทองเหลืองรมดำขนาดใหญ่ เป็นร่างของผู้ชายสูงยาวมีเครายาว ในท่านั่งอยู่บนขอบน้ำพุ มือขวาถือหนังสือ ที่ขาข้างซ้ายมีสุนัขทองเหลืองตัวหนึ่งยกขาหน้าเกาะอย่างประจบเจ้านายอยู่ด้วย บุคคลผู้นี้มิใช่ใครอื่น คือรูปปั้นของชาร์ล บูลส์ นายกเทศมนตรีนครบรัสเซลส์ที่โด่งดังนั่นเอง นักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมา เห็นแล้วต่างก็อดที่จะไปขอยืมเป็นนายแบบยืนถ่ายภาพด้วยมิได้ บางคนก็ไปนั่งตักรูปปั้นจนบริเวณนั้นเป็นมันเหลืองอร่าม แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า รูปปั้นดังกล่าวมีประวัติความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ และในเสี้ยวหนึ่งในความยิ่งใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับสยามประเทศเมื่อร้อยปีที่แล้วด้วย คงไม่ผิดที่จะกล่าวว่าจากผลงานต่าง ๆ ที่บุคคลผู้นี้ได้สร้างเอาไว้ ถือว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ลูกหลานชาวสยามควรจะระลึกถึงเช่นกัน

Charles Buls ชาวเบลเยียมผู้ทระนง
ผู้ที่เกือบจะเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สยาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕

โดย พอล เลอมัง




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 20:01

นี่คือเมนูพระราชเลี้ยงให้แก่ Charles Buls ในค่ำวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง