เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 32202 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 7
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 13:54

^ ช่อง 4 บางขุนพรหม ค่ะ เลยหาประวัติมาแถมให้อ่านกันนะคะ  ยิงฟันยิ้ม

สถานีโทรทัศน์ไทย คือ ทีวีช่อง 4 หรือ TTV (อังกฤษ: Thai Television Channel 4) นับว่าเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้การบริหารของบริษัท “ไทยโทรทัศน์” จำกัด (อังกฤษ: Thai Television Co.,Ltd. ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) โดยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 มีชื่อเรียกขานตามอนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์ว่า HS1-TV ตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อันเป็นที่มาของชื่อสถานีฯ ที่รู้จักกันทั่วไปคือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ถือกำเนิดขึ้นจากดำริของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และบรรดาข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น ว่าต้องการที่จะให้ประเทศไทย มีการส่งโทรทัศน์ในประเทศขึ้น ผู้นำรัฐบาลจึงได้ให้ “กรมประชาสัมพันธ์” จัดตั้ง โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ ต่อที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2493 และต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งวิทยุโทรภาพและตั้งงบประมาณขึ้น ในปี พ.ศ. 2494 และในระหว่างเดือนกันยายน- พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 เหล่าข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์ทั้ง 7 คน ได้จัดตั้ง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ขึ้น เพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทย

คณะผู้ก่อตั้งบริษัท มีอยู่ 7 คน ประกอบไปด้วย หลวงสารานุประพันธ์ , ขาบ กุญชร , ประสงค์ หงสนันทน์, เผ่า ศรียานนท์, เล็ก สงวนชาติสรไกร, มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ เลื่อน พงษ์โสภณ หลังจากนั้นกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐแห่งอีก จำนวน 8 แห่ง ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท และวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 โดยมีพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี เมื่ออาคารดังกล่าวสร้างเสร็จ และติดตั้งเครื่องส่งแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498

จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ในช่วงแรกมีการแพร่ภาพออกอากาศในวันอังคาร วันพฤหัสบดี วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงได้เพิ่มวันและเวลาออกอากาศมากขึ้นตามลำดับ โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที และเพลงเปิดการออกอากาศของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 และ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด คือเพลง “ต้นบรเทศ” ในวันออกอากาศวันแรก ซึ่งระหว่าง พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2519 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ใช้ตราสัญลักษณ์เป็นรูป “วิชชุประภาเทวี” หมายถึงเทวดาผู้หญิง ที่เป็นเจ้าแห่งสายฟ้า หรือนางพญาแห่งสายฟ้า ประดับด้วยลายเมฆ และสายฟ้า อยู่ภายในรูปวงกลม ที่ออกแบบโดย กรมศิลปากร ซึ่งแสดงออกเป็นต้นแบบแห่งความเป็นทีวีไทย



บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 14:07

ถูกๆๆๆๆๆๆๆต้องนะครับบบบบ  ยิงฟันยิ้ม  เก่งจริงๆ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 14:14

ที่ไหนในบางกอก คะ... ยิงฟันยิ้ม
(จะถามว่าน้องหนูสองคนในภาพชื่ออะไร...ก็เกรงจาย....)


บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 14:24

^ ยิงฟันยิ้ม
สะพานดำรงสถิตย์ เดิมเรียกว่า สะพานเหล็กบน ถ่ายจากประตูสามยอดมองไปที่สะพาน (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5)
สะพานเหล็ก คือ สะพานเหล็กข้ามคลองรอบพระนคร บริเวณคลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร


สะพานพิทยเสถียรในปัจจุบัน (สะพานเหล็กล่าง)

 
ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิตย์" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน
 
สะพานเหล็กทั้ง 2 สะพานนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สิ้นเงิน 23,200 บาท


ที่มา google
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 14:37

เยี่ยมอีกแล้วค่ะ คุณkonkao.... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 14:38

อีกภาพละกัน...บริเวณไหนคะ... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 14:48

^ ยิงฟันยิ้ม


วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น "วัดมะกอกนอก" เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่
อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ "วัดมะกอกใน" ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชม
พระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ
กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทาง
ชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัด
นี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง         เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่  มีการขยายเขตพระราชฐาน  เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง
พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา  
นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น
ราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน
คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐาน
พระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จ
พระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้
อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มา
จากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์
ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒โดยโปรดให้อัญเชิญ
พระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐานเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก
ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มี
พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
(ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง
    ไว้ในมณฑป  และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัด
พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง  ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรด
พระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์)
แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ
ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน
ในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทาน
พระนามวัดว่า "วัดอรุณราชธาราม"
          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ
      ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรดให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้น
      จนสำเร็จเป็นพระเจดีย์สูง ๑ เส้น ๑๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ กับ ๑ นิ้ว ฐานกลมวัดโดยรอบได้
      ๕ เส้น ๓๗ วา ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว
      แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ
พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์
สิ่งต่าง ๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง
ทั้งยังได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
มาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของ
พระประธานในพระอุโบสถที่พระองค์
ทรงพระราชทานนามว่า
"พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก"
และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงได้พระราชทานนาม
วัดเสียใหม่ว่า"วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน
             ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่เกือบทั้งหมด โดยได้โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองในการบูรณะ และโปรดเกล้าฯให้นำเงิน
ที่เหลือจากการบริจาคของพระบรมวงศานุวงศ์ไปสร้างโรงเรียนตรงบริเวณกุฎีเก่า
ด้านเหนือ ซึ่งชำรุดไม่มีพระสงฆ์อยู่เป็นตึกใหญ่แล้วพระราชทานนามว่า "โรงเรียนทวีธาภิเศก" นอกจากนั้นยังได้โปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานอำนวยการปฏิสังขรณ์พระปรางค์
องค์ใหญ่ และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองใหญ่รวม ๓ งานพร้อมกันเป็นเวลา
๙ วัน คือ งานฉลองพระไชยนวรัฐ งานบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล คือ มีพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ งานฉลองพระปรางค์
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการปฏิสังขรณ์
เป็นการใหญ่มีการประกอบพิธีบวงสรวงก่อนเริ่มการบูรณะพระปรางค์ใน
วันพุธที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๐ และการบูรณะก็สำเร็จด้วยดีดังเห็นเป็นสง่างามอยู่จนทุกวันนี้

         ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์และฉลองวัดและพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอรุณราชธาราม" ครั้นถึงรัชการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์
เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 14:51

ขออนุญาตขัดจังหวะค่ะ
ก่อนจะข้ามเลยไป ภาพสะพานดำรงสถิตย์ของคุณ Siamese ก่อนหน้านี้ กลับด้านค่ะ
ที่ถูกควรเป็นดังภาพนี้ค่ะ
เห็นโบสถ์วัดกาลว่าห์ อยู่ด้านซ้าย


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 15:38

ถามต่ออีกนิดค่ะ เรือนแพที่อยู่ด้านหน้าของภาพ ในความคิดเห็นที่ 2632 คือบริเวณใดคะ... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 16:02





จะเห็นทิวทัศน์ แม่น้ำเจ้าพระยาร่มรื่น สงบเงียบ มีเรือนแพจอดเรียง

ราย ใช้ค้าขายสินค้าและเป็นที่พักอาศัย เบื้องหลังเรือนแพ ก็มีต้นไม้

ใหญ่ขึ้นสูง เรือสินค้าก็แจวขึ้นล่องกันในแม่น้ำ เป็นระยะ ๆ มีพระ

ปรางค์วัดอรุณราชวราราม เด่นเป็นสง่า  บรรยากาศดูแล้ว ร่มรื่น

และเงียบสงบดี


แม่น้าเจ้าพระยาช่วงนี้เป็นช่วงที่ขุดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2085 สมัยสมเด็จ

พระชัยราชาธิราช เพื่อย่นการคมนาคม ตั้งแต่บริเวณปากคลอง

บางกอกน้อย ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่
บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 16:15

ภาพนี้เรือมาทำอะไรกันที่ไหนนะ ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 17:11

ถามต่ออีกนิดค่ะ เรือนแพที่อยู่ด้านหน้าของภาพ ในความคิดเห็นที่ 2632 คือบริเวณใดคะ... ยิงฟันยิ้ม

น่าจะถ่ายจากริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ช่วงหน้าวัดกัลยาณมิตร ปากคลองบางกอกใหญ่ นะครับ คุณหนูดีดี
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 17:29

ถูกต้องแล้วครับ... ยิงฟันยิ้ม
เรือนแพด้านหน้าของภาพ เป็นชุมชนกุฏีจีน ที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
บริเวณหน้าวัดกัลยาณมิตร ปากคลองบางกอกใหญ่ ตรงข้ามกับปากคลองตลาด ค่ะ
ปัจจุบัน ไม่เหลือเรือนแพให้เห็นแล้วค่ะ...


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 17:57

ภาพรือที่คุณ konkao นำมาให้ชมกันนั้น  น่าจะเป็นการเสด็จพระราชทานพระกฐิน ณ วัดอรุณาราชวราราม  ในภาพจะเห็นเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ทอดบัลลังก์กัญญา  เป็นฉนวนสรงเปลื้องพระมหากฐินที่ทรงมาในระหว่างประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำทรง  พอเอเทียบท่าหน้าวัดเสด็จประทับเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ทรงเปลี่ยนเป็นทรงพระมาลาเส้าสะเทิ้น  เสด็จขึ้นสู่พระอาราม  ถัดไปเป็นเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชประดิษฐานบุษบกผ้าพระกฐิน

เวลาเสด็จพระราชดำเนินกลับจากพระอาราม  ทรงเปลื้องพระมาลาเปลี่ยนทรงพระมหากฐินแล้วประทับเหนือบุษบกในเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส?ยาตรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินกลับ

ภาพเหตุการณืนี้น่าจะถ่ายในชกาลที่ ๖ หรือ ๗  ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เพราะเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วไม่มีการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเช่นนี้อีก
บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 21:16

ภาพรือที่คุณ konkao นำมาให้ชมกันนั้น  น่าจะเป็นการเสด็จพระราชทานพระกฐิน ณ วัดอรุณาราชวราราม  ในภาพจะเห็นเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ทอดบัลลังก์กัญญา  เป็นฉนวนสรงเปลื้องพระมหากฐินที่ทรงมาในระหว่างประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำทรง  พอเอเทียบท่าหน้าวัดเสด็จประทับเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ทรงเปลี่ยนเป็นทรงพระมาลาเส้าสะเทิ้น  เสด็จขึ้นสู่พระอาราม  ถัดไปเป็นเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชประดิษฐานบุษบกผ้าพระกฐิน

เวลาเสด็จพระราชดำเนินกลับจากพระอาราม  ทรงเปลื้องพระมาลาเปลี่ยนทรงพระมหากฐินแล้วประทับเหนือบุษบกในเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส?ยาตรากระบวนเสด็จพระราชดำเนินกลับ

ภาพเหตุการณืนี้น่าจะถ่ายในชกาลที่ ๖ หรือ ๗  ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เพราะเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วไม่มีการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเช่นนี้อีก

ถูกอีกแล้วขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง