เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 34460 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 6
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 10:25

ทำไมผู้เข้าขบวน พันแขนทุกข์ในพระราชพิธีเฉลิมพระนคร ๑๕๐ ปีด้วยล่ะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 10:44

ไม่น่าใช่

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ในงานเฉลิมพระนคร วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕





 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
takae
อสุรผัด
*
ตอบ: 88


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 10:56

จากภาพยนต์ตอนนี้ จะเห็นภาพบุคคลไว้ทุกข์ด้วยครับ

ปล.ขอขอบคุณ คุณ mykeawja ผู้ upload ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พ.ค. 11, 11:10 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 11:21

เข้ามาร่วมยันกับคุณ TK ด้วยครับว่าในภาพเป็นเหตุการณ์เสด็จกระบวนราบใหญ่ ทางสถลมารคเมื่อพระนครครบ ๑๕๐ ปี และเปิดสะพานพระบรมราชานุสรณ์ครับ ซึ่งผมมีภาพเสด็จออกจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นต้นมาครับ
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 11:58

สงสัยครับ แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบ ขอผู้รู้อธิบายก็แล้วกัน
ถ้าเป็นเหตุการณ์เดียวกันก็น่าจะเป็นคนละวัน
วันที่๕ เม.ย.๒๔๗๕ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง
ตอนเสด็จฯ ข้ามสะพานโดยกระบวนราบนั้นทรงฉลองพระองค์ต่างจากรูปที่ยกมาถาม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 15:09

มีผู่ไม่ประสงค์เปิดเผยตัว หลังไมค์วิเคราะห์ให้ข้าพเจ้าเพื่อนำมาเป็นข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ

พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๗ ประทับพระราชยาน
เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนราบภาพนั้น 

พิจารณาแล้ว  เป็นภาพเมื่อเสด็จฯ ไปทรงทอดผ้าพระกฐินแน่นอน
ไม่ใช่ภาพในการเสด็จฯ ไปทรงเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า
หรือในการพระราชพิธีสมโภชพระนคร ๑๕๐ ปี ในปี ๒๔๗๕ แน่นอน
เพราะฉลองพระองค์ไม่ใช่   สถานที่ก็ไม่ใช่ 

ทีนี้เป็นเสด็จฯ ไปทรงทอดผ้าพระกฐินปีไหน  วัดที่เสด็จฯ ไปทอดน่ะ
แน่นอนแล้วว่า  มีอยู่ ๓ วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร  วัดราชบพิธ 
และวัดพระเชตุพน  ทั้ง ๓ วัดนี้ เสด็จฯ ไปทรงทอดในวัดเดียวทุกปี
ด้วยกระบวนราบ  ตั้งแต่ปี  ๒๔๖๙ - ๒๔๗๔   (๒๔๗๕ เป็นต้นไป
หมายกำหนดการพระราชพิธีเปลี่ยนไป  ไม่มีการเสด็จฯ โดยกระบวนราบ
แต่เสด็จฯ โดยกระบวนรถยนต์แทน)

ปีที่เสด็จฯ อาจจะตัดสินได้ด้วยปลอกแขนทุกข์นั้น

ปี ๒๔๖๙  พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี  สิ้นพระชนม์
เมื่อวันที่  ๑๘ สิงหาคม ๒๔๖๙  ไว้ทุกข์ ๓๐ วัน 
พระกฐินวัดบวรฯ วันที่  ๒๙ ตุลาคม ๒๔๖๙  พ้นระยะไว้ทุกข์แล้ว  ตัดทิ้งได้

ปี ๒๔๗๐  สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี  พระอัครราชเทวี
สิ้นพระชนม์  เมื่อวันที่  ๙ กรกฎาคม  ๒๔๗๐  ไว้ทุกข์ ๑๐๐ วัน
พระกฐินวัดบวรฯ วันที่  ๑๘ ตุลาคม  ๒๔๗๐  รู้สึกจะพ้นระยะไว้ทุกข์ไปแล้ว
ตัดทิ้งได้

ปี ๒๔๗๑  ไม่มีเจ้านายสำคัญที่สิ้นพระชนม์ในระยะเวลาใกล้พระกฐิน
ตัดออกได้

ปี ๒๔๗๒ มีพระศพเจ้านายสำคัญ  คือ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ
เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช  กรมขุนสงขลานครินทร์  สิ้นพระชนม์เมื่อ
๒๔ กันยายน  ๒๔๗๒   ประกาศไว้ทุกข์ ๑๐๐ วันเป็นกรณีพิเศษ
พระกฐินวัดบวรฯ เมื่อวันที่  ๒๖ พฤศจิกายน  ๒๔๗๒  ยังอยู่ระหว่างไว้ทุกข์
ปีนี้แน่นอนสุด


ปี ๒๔๗๓/๒๔๗๔  ไม่มีพระศพเจ้านายสำคัญในระยะใกล้พระกฐิน
ตัดทิ้งหมด

ฉะนั้นภาพนั้น จึงเป็นรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ ไปทรงทอดผ้าพระกฐิน
ปี ๒๔๗๒  และน่าจะเป็นที่วัดบวรฯ หรือวัดราชบพิธ 
(วัดพระเชตุพน ไม่น่าจะใช่)  ใจเอียงว่าน่าจะเป็นแถวๆ ถนนใกล้วัดราชบพิธ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 17:21

อ้างถึง
ฉะนั้นภาพนั้น จึงเป็นรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ ไปทรงทอดผ้าพระกฐิน
ปี ๒๔๗๒  และน่าจะเป็นที่วัดบวรฯ หรือวัดราชบพิธ 
(วัดพระเชตุพน ไม่น่าจะใช่)  ใจเอียงว่าน่าจะเป็นแถวๆ ถนนใกล้วัดราชบพิธ

ถ้าเช่นนั้น เส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน จากพระบรมมหาราชวัง ไปยังวัดพระเชตุพนก่อน แล้วจึงเสด็จวัดราชบพิธผ่านสี่กั๊กพระยาศรีดังในภาพ หลังจากนั้นจึงเสด็จวัดบวรก่อนกลับคืนสู่พระบรมมหาราชวัง


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 17:36

จากภาพที่นำมาเป็นโจทย์นั้น  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ ทรงเครื่องเต็มยศจอมพลทหารบก  ทรงสายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์  

เมื่อตรวจสอบข่าวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐืนโดยกระบวนราบหรือกระบวนพยุหยาตราน้อยทางสถลมารคตั้งแต่ปี ๒๔๖๙ - ๒๔๗๔  แล้ว  พบว่าทรงเครื่องเต็มยศจอมพลทหารบกทุกปี  จึงต้องจำกัดวงมาพิจารณาว่าปีไหนมีการไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก  ก็ได้คำตอบเดียวกับคุณ siamese  แต่วันที่ไม่ตรงกันครับ  

ราชกิจจานุเบกษาระบุวันเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐินวัดบวรนิเวศ  วัดราชบพิธ และวัดพระเชตุพน  เป็นวันที่  ๒๖  ตุลาคม  ๒๔๗๒  ซึ่งอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์วานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์  พิจารณาจากเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจากเกยหน้าพระที่นั้งบรมพิมาน  ไปตามถนนอมรวิถี  ถนนจักรีจรัณย์  ออกประตูวิเศษไชยศรี  เลี้ยวขวาเข้าถนนหน้าพระลาน  ถนนราชดำเนิน  ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา  เลี้ยวเข้าถนนจักรพงศ์  เลี้ยวถนนพระสุเมรุ  ประทับเกยวัดบวรนิเวศ  จากวัดบวรนิเวศ ยาตรากระบวนผ่านถนนบวรนิเวศ  ถนนตะนาว  ถนนเฟื่องนครมายังวัดราชบพิธ  และจากวัดราชบพิธ  ยาตรากระบวนผ่านถนนเฟื่องนคร  ถนนบ้านหม้อ  เลี้ยวถนนพระทักษ์  ถนนพระพิพิธ  เลี้ยวถนนสนามชัยทางขวาไปยังวัดพระเชตุพน

ดูเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินแล้ว  ย่านการค้าสำคัญในเวลานั้นน่าจะเป็นถนนเฟื่องนคร  ภาพนี้จึงน่าจะถ่ายแถวถนนเฟื่องนครดังที่คุณ siamese ได้เฉลยไว้ครับ
บันทึกการเข้า
takae
อสุรผัด
*
ตอบ: 88


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 21:13

ขอบคุณครับ สำหรับทุกๆข้อมูล..มีค่าทุกข้อมูลจริงๆครับ.. ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 21:37

ราชกิจจานุเบกษาระบุวันเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐินวัดบวรนิเวศ  วัดราชบพิธ และวัดพระเชตุพน  เป็นวันที่  ๒๖  ตุลาคม  ๒๔๗๒  ซึ่งอยู่ในระหว่างไว้ทุกข์วานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์  พิจารณาจากเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจากเกยหน้าพระที่นั้งบรมพิมาน  ไปตามถนนอมรวิถี  ถนนจักรีจรัณย์  ออกประตูวิเศษไชยศรี  เลี้ยวขวาเข้าถนนหน้าพระลาน  ถนนราชดำเนิน  ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา  เลี้ยวเข้าถนนจักรพงศ์  เลี้ยวถนนพระสุเมรุ  ประทับเกยวัดบวรนิเวศ  จากวัดบวรนิเวศ ยาตรากระบวนผ่านถนนบวรนิเวศ  ถนนตะนาว  ถนนเฟื่องนครมายังวัดราชบพิธ  และจากวัดราชบพิธ  ยาตรากระบวนผ่านถนนเฟื่องนคร  ถนนบ้านหม้อ  เลี้ยวถนนพระทักษ์  ถนนพระพิพิธ  เลี้ยวถนนสนามชัยทางขวาไปยังวัดพระเชตุพน

ดูเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินแล้ว  ย่านการค้าสำคัญในเวลานั้นน่าจะเป็นถนนเฟื่องนคร  ภาพนี้จึงน่าจะถ่ายแถวถนนเฟื่องนครดังที่คุณ siamese ได้เฉลยไว้ครับ

ถนนเฟื่องนคร ช่วงใกล้สี่กั๊กพระยาศรี ยังมีอาคารลักษณะนี้อยู่แถวหนึ่ง แต่หากดูจากทิศทางการเสด็จ จากถนนเฟื่องนครมายังถนนบ้านหม้อ อาคารนี้น่าจะอยู่ฝั่งขวาของภาพ หรือไม่เช่นนั้น ในสมัยก่อนอาจจะมีอาคารลักษณะเดียวกันอยู่สองฝั่งถนน ไม่ทราบว่าห้าง Butler&Webster อยู่ที่ใด แต่ปัจจุบันมีอาคารแบบนี้เหลืออยู่ฝั่งเดียว (จากวัดราชบพิธมาถนนบ้านหม้อ จะอยู่ด้านซ้ายมือ) ฝั่งตรงข้ามเป็นตึกแถว 4 ชั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 24 พ.ค. 11, 08:15

ขอชมเชยข้อมูลที่ช่วยกันหามาให้ค่ะ   ระดับมือโปรจริงๆ  โดยเฉพาะคุณ V_Mee อ่านภาพได้ละเอียดราวกับส่องกล้องจุลทรรศน์


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 24 พ.ค. 11, 16:33

อ่านความเห็คุณ Poa ข้างบนแล้ว  ชวนให้นึกว่า ตึกบัทเลอร์ในภาพนั้นน่าจะอยู่ริมถนนเฟื่องนครที่ด้านหลังชนกับศาลาว่าการนครบาล  ที่ปัจจุบันเป็นกระทรวงมหาดไทย  จำได้ว่าเมื่อผมเป็นนักเรียนนั้นเคยไปตัดเครื่องแบบที่ร้านวิวิธภูษาคาร  ที่ด้านหลังกระทรวงมหาดไทย  หลังจากนั้นอีกสักปีหรือสองปีตึกแถวแถบนั้นก็ถูกเวนคืนไปสร้างเป็นอาคารจอดรถยนต์และที่ทำการของกระทรวงมหาดไทย

ที่ผมว่าน่าจะเป็นช่วงหลังกระทรวงมหาดไทยนั้น  เพราะเสด็จออกจากพระบรมมหาราชวังก็บ่ายมากแล้ว  ถ้าเสด็จวัดบวรนิเวศและวัดราชบพิธ  แล้วจึงถ่ายภาพกระบวนเสด็จนี้แถวถนนบ้านหม้อก็เกรงว่าจะเย็นเกินไป  ภาพนี้จึงน่าจะถ่ายก่อนเสด็จถึงวีดราชบพิธซึ่งยังไม่เย็นเกินไปนัก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 24 พ.ค. 11, 22:23

เอาอย่างบ้าง  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 25 พ.ค. 11, 00:22

^
อย่างนี้ใช่ไหมตัวอย่างที่ว่า เสด็จไป เสด็จมา ยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 25 พ.ค. 11, 07:25

เห็นภาพข้างบนที่คุณ Siamese นำมาให้ชม  ดูครั้งแรกคิดว่าเป็นกระบวนเสด็จเลียบพระนครเมื่อวันที่  ๓  ธันวาคม  ๒๔๕๔  แต่ดูอีกทีในภาพนี้ทรงพระมาลาเส้าสูงมิใช่พระมหากฐิน  จึงต้องน้อนกลับไปตรวจสอบใหม่  

ในภาพจะเห็นเจ้าพระยารามราฆพซึ่งเวลานั้นยังเป็น นายจ่ายง แต่งเครื่องแบบนายกองเอกเสือป่าหลวงรักษาพระองค์  เดินอยู่ทางซ้ายของภาพ  คนซ้ายสุดในภาพ (มองไม่เห็นหน้า) แต่งเครื่องแบบนายทหารสวมหมวกเฮลเม็ตทรงสูงแบบที่ใช้มาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ประดับพู่ขนนกขาว (หมวกนี้เลิกใช้ในปี ๒๔๕๕) จึงระบุได้ว่านายทหารท่านนี้เป็นนายพล  ถัดเจ้าพระยารมฯ น่าจะเป็นพระยาอภิชิตชาญยุทธ (เจริญ  เศวตนันทน์) จางวางกรมพระตำรวจขวา  เพราะเดินขวาที่ประทับ  

ภาพนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ทรงพระมาลาเส้าสูง  ตรวจสอบจากราชกิจจานุเบกษาแล้วเป็นการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราน้อยทางสถลมารค  วันที่  ๒  พฤศจิกายน  ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔) เวลาบ่าย ๒ โมง เสด็จจากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  ไปตามถนนหน้าพระลาน  ถนนราชดำเนินใน  ถนนราชินี ข้ามสะพานเสี้ยว ไปตาม ถนนจักรพงศ์  ถนนพระสุเมรุ  ประทับเกยหน้าวัดบวรนิเวศ  พระราชทานพระกฐินวัดบวรนิเวศเป็นวัดแรก  แล้วประทับพระราชยานเสด็จพระราชดำเนินทางถนนบวรนิเวศ  ถนนตะนาว  ถนนเฟื่องนคร  ไปพระราชทานพระกฐินวัดราชบพิธเป็นวัดที่สอง  แล้วยาตรากระบวนไปตามถนนเฟื่องนคร  ถนนบ้านหม้อ  เลี้ยวถนนจักรเพชร  ข้ามสะพานเจริญรัช  เลี้ยวถนนสนามไชย  ไปพระราชทานพระกฐินวัดพระเชตุพนฯ เป็นวัดที่สาม  แล้วดสด็จพระราชดำเนินกลับพระมหาราชวังทางถนนสนามไชย  เลี้ยวถนนหน้าพระลาน  กลับเข้าพระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี

หาข้อมูลมาได้แล้วขอเชิญแก๊งลูกน้ำช่วยกันวิเคราะห์ต่อไปว่าภาพนี้ถ่ายที่ไหน  ดูแล้วน่าจะเป็นถนนเฟื่องนครหรือถนนบ้านหม้อได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.164 วินาที กับ 19 คำสั่ง