เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 34479 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 6
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 09:07

คุณนวรัตนพูดถึงไอศกรีม "ฝ่อหมด" แล้วคิดถึง "ศาลาโฟร์โมสต์"

หารูปร้านประกอบไม่ได้

ในอินทรเนตรมีแค่ถ้วยไอติม

 ยิงฟันยิ้ม
ศาลาโฟรโมสต์มีสาขาทั่วกรุงเทพ เมื่อสามสิบกว่าปีมาแล้ว     ต่างจังหวัดไม่มี  อาจจะยกเว้นเมืองใหญ่ๆอย่างเชียงใหม่  ขายไอศกรีมแบบต่างๆรวมทั้งซันเดย์    ด้วยราคาแพงสำหรับคนไทยยุคนั้น  คือบางอย่างขายถ้วยละ ๓๐ บาท ก็มี
ใช้อินทรเนตรหาก็พบว่าบริษัทนี้ยังขายผลิตภัณฑ์นมและโยเกิร์ต  แต่ไม่เจอไอศกรีม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 09:12

กำลังหารถเข็นไอศกรีมรุ่นเก่า  ไม่เจอแบบที่เคยเห็นค่ะ  พอดีคุณหนุ่มสยามส่งภาพมาให้ดู ชนกันกลางอากาศพอดี

ว่าแต่ทุกคนเฮกันไปกินไอติมกับหวานเย็น      ลืมรูปง่ายๆนี้เสียแล้วหรือคะ  คุณหนุ่มสยามอุตส่าห์ใบ้คำว่าซุ้มให้รู้กัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 10:55

ไม่มีใครตอบ งั้นขอตอบแทนไปพลางๆก่อนครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 11:01

.



บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 11:03

มาสายอีกแล้ว ขอคุยเรีื่อง ไอศครีมอีกนิดนึงนะคะ
แบบแท่งคู่นั่น ของโฟร์โมสตฺ์ เขาเรียกว่า ไอติมยักษ์คู่
สมัยก่อนแท่งใหญ่เบิ้มสมชื่อ เดี๋ยวนี้เหลือนิดเดียว เป็นของยี่ห้ออื่น แต่ก็ยังเรียก ยักษ์คู่กันอยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 11:16

คุยเรื่องไอติมต่อก็ได้ค่ะ  ถือว่าเป็นรูปเก่าเล่าเรื่องเหมือนกัน  ยิ้ม

จาก # 2248



ไอติมแบบนี้  ที่ชอบที่สุดคือสีแดง   ก็เลยกินแต่สีแดง  มีไอติมใส่ถั่วดำ ไม่กิน   ส่วนสีขาวที่มีลายเขียวน่าจะเป็นกะทิใส่ลอดช่อง
เฮ้อ ยังจำรสชาติได้อยู่เลย  ค่อยๆแทะทีละคำ   เย็นเจี๊ยบ  และหวานจับใจ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 11:30

ขอประทานโทษ เข้ามาขัดจังหวะงานเลี้ยงไอติม

รูปของคุณหนุ่มสยาม ผมก็เดาอยู่ว่า น่าจะเป็นวัดเบญจมบพิตร แต่ติดตรงกุฏิภาคต่างๆนี่แหละ ที่เคยเห็นก็เป็นเรือนแถวหลังคาเดียว ไม่ได้แยกเป็นหลังๆอย่างในรูป คุณหนุ่มลองขยายความหน่อยเถิดครับ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ในสมัยใด





บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 12:32

ขอประทานโทษ เข้ามาขัดจังหวะงานเลี้ยงไอติม

รูปของคุณหนุ่มสยาม ผมก็เดาอยู่ว่า น่าจะเป็นวัดเบญจมบพิตร แต่ติดตรงกุฏิภาคต่างๆนี่แหละ ที่เคยเห็นก็เป็นเรือนแถวหลังคาเดียว ไม่ได้แยกเป็นหลังๆอย่างในรูป คุณหนุ่มลองขยายความหน่อยเถิดครับ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ในสมัยใด

มันก็แยกๆ เดี่ยวๆ เช่นนี้แหละครับผม สำหรับหมู่กุฏิมีอยู่ ๓ บล๊อก ในบล๊อกแรกเป็นอาคารแยกเดี่ยว จำนวน ๑๒ หลัง (ซึ่งคาดว่าคงเป็นพระที่พรรษาและฐานะสูงกว่า จึงอยุ่กุฏิเดี่ยว) ส่วนอีก ๒ บล๊อกเป็นกุฏิหลังคารวมกัน ซึ่งเรียกง่ายๆว่าเป็นแบบห้องแถวก็ได้ โดยใช้หลังคาร่วมกัน อ.NAVARAT.C ลองเดินออกมาถ่ายภาพเลยออกไปสักนิดก็จะเห็นกุฏิที่เป็นหลังเดี่ยวครับ (แปลนที่แนบประกอบวาดไว้เมื่อปี ๒๕๔๔)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 14:19

ปาร์ตี้ไอศกรีมจบแล้วค่ะ
ขอเพิ่มเติมเรื่องวัดเบญจมบพิตรเล็กน้อย

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๑๐,๕๖๖ ตารางวา ๑๔ ตารางศอก ตั้งอยู่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อ "วัดแหลม" หรือ "วัดไทรทอง" ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด
ในพ.ศ.๒๓๖๙ ในรัชกาลที่ ๓  เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ ยกทัพมาตีไทย        พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์  ต้นราชสกุล พนมวัน) เป็นผู้บัญชาการกองทัพในส่วนการรักษาพระนคร ทรงตั้งกองบัญชาการอยู่ในบริเวณ "วัดแหลม" หรือ "วัดไทรทอง"        
เมื่อเสร็จสิ้นการปราบกบฏ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์  พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ (ต้นราชสกุลกุญชร)    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (ต้นราชสกุลทินกร)    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล และ    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์  
        
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 14:26

ปี พ.ศ. 2441 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อทรงสร้างสวนดุสิตขึ้น     บริเวณที่ดินที่ทรงซื้อน มีวัดโบราณ 2 แห่ง คือ วัดดุสิตซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม และวัดร้างอีกแห่งหนึ่ง จึงทรงกระทำผาติกรรม สร้างวัดแห่งใหม่เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี โดยทรงเลือกวัดเบญจบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนา   โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441 พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์  ทรงถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า ดุสิตวนาราม ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดฯ ให้เรียกนามรวมกันว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

ข้างล่างนี้คือภาพพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อแรกสร้าง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 14:58

ภาพการอัญเชิญพระพุทธชินราชจำลองเข้าพระอุโบสถ ในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงตรัสถึงความงดงามแห่งองค์พระพุทธชินราชจำลอง ด้วยความศรัทธาจึงถวายเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่ทรงคล้องอยู่ ถวายเบื้องพระหัตถ์พระพุทธรูป


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 15:07

ต่อเรื่องวัดเบญจมพิตรเสียให้จบ  ยิ้มเท่ห์

ภาพแปลนนี้ เป็นแปลนการออกแบบในขั้นแรกสุดของการออกแบบพระอุโบสถและพระระเบียงคต โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
โดยทรงออกแบบให้พระอุโบสถมีลักษณะทรงจตุรมุข และพื้นที่ด้านหลังวางที่โล่ง เพื่อกำหนดสำหรับปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ และตามด้วยพระระเบียง ซึ่งคงจะประดิษฐานพระพุทธรูปที่อันงามทั้งหลายที่ยกมารวมไว้ที่พระนคร

ภายหลังจากมีพระบรมราชวินิจฉัยแล้ว จึงได้ปรับให้พระระเบียงคตกระเถิบเข้ามาใกล้พระอุโบสถมากขึ้นจนโอบล้อมอาคารอย่างที่เห็นปัจจุบัน และการที่พระระเบียงคตที่เข้ามาเชื่อมกับพระอุโบสถนี้ ต้องทำให้การออกแบบพื้นที่ของพระระเบียงคตและหลังคาพระอุโบสถให้ได้ระดับที่เหมาะสมกัน วัดนี้จึงเป็นการออกแบบที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 16:12

ขอว่าอย่าเพิ่งจบค่ะ 
มีรูปเก่าเล่าเรื่อง เกี่ยวกับอัญเชิญพระพุทธชินราชจำลอง มาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เหมือนกัน
ภาพนี้ที่ไหนเอ่ย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 19:20

ขอว่าอย่าเพิ่งจบค่ะ  
มีรูปเก่าเล่าเรื่อง เกี่ยวกับอัญเชิญพระพุทธชินราชจำลอง มาประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เหมือนกัน
ภาพนี้ที่ไหนเอ่ย

ได้อ้างถึงการหล่อพระพุทธชินราชจำลองระบุว่า
๑. การอัญเชิญพระพุทธชินราชนั้นได้หล่อที่พิษณุโลก แล้วล่องเรือนำพระ (เนื้อโลหะยังไม่ปิดทอง) นำลงมาแต่งเพิ่มเติมที่อู่กองทัพเรือ (ธนบุรี) เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๐

๒. เมื่อมีการแต่งองค์พระให้เรียบร้อย ลงรัก แต่งพระเศียร หล่อพระเปลวเพลิงใหม่ และขึ้นตั้งกระบวนแห่ในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๐ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ในวันที่ ๑๑ ธันวาคม พระได้แต่งเรียบร้อยแล้ว ได้เชิญพระพุทธชินราชขึ้นบนแท่นรถ เคลื่อนออกจากโรง แล้วใช้ปั้นจั่นยกใส่แพ ซึ่งจัดการสร้างมณฑปอย่างที่สรงพระกระยาสนาน ประกอบด้วย เศวตรฉัตร ๗ ชั้น อยู่เบื้องบน แล้วจัดเครื่องสูง ๒ แถวหน้า หลัง ตรงหน้าพระพุทธชินราช ตั้งมยุรฉัตร ดอกไม้เงิน ทอง นกกรเวก แทนกรรภิรมย์อย่างโสกันต์ มีพระกลดบังสูรย์พัดโบก ที่มุมศีรษะและท้ายเรือ มีราชวัตรปักฉัตรกำมะลอ ๔ ทิศ

เมื่อได้ฤกษ์เวลาพร้อมก็แห่ออกจากโรงหล่อ (อู่เรือธนบุรี) เข้าปากคลองเปรมประชากร แล้วพายต่อเข้าคลองสามเสน จนเรือแพถึงหน้าวัด ครับ

ดังนั้นภาพนี้เป็นภาพที่เริ่มการแห่พระออกจากโรงหล่อ (อู่เรือธนบุรี หรือ บริเวณกองทัพเรือ) เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๐ ครับ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 19:39

หายไปทำธุระปะปังเลยเข้ามาช้าไป อดกินไอติม หวานเย็น ยักษ์คู่ ฯลฯ เสียดายจัง

ขอถามความรู้เรื่องคูคลองในกรุงเทพสักหน่อยนะคะ ใครมีแผนที่ มีความรู้ มีภาพจะแบ่งปัน ช่วยอธิบายทีว่า

คลองอะไร อยู่ตรงไหน  เริ่มตรงไหน สิ้นสุดตรงไหนกันบ้าง ดูเหมือนเราจะไม่เคยคุยกันเรื่องคลองในกรุงเลย คลองบางคลองก็หายไปแล้ว แล้วอย่างนี้ ดิฉันจะรู้ได้อย่างไรว่า ที่เขียนข้างล่างนี้ มันตรงไหนกันคะ

อ้างถึง
เมื่อได้ฤกษ์เวลาพร้อมก็แห่ออกจากโรงหล่อ (อู่เรือธนบุรี) เข้าปากคลองเปรมประชากร แล้วพายต่อเข้าคลองสามเสน จนเรือแพถึงหน้าวัด ครับ

ดังนั้นภาพนี้เป็นภาพที่เริ่มการแห่พระออกจากโรงหล่อ (อู่เรือธนบุรี หรือ บริเวณกองทัพเรือ) เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๐ ครับ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง