เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 66423 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 5
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 14:07

เป็น ไปได้ไหมครับว่าเนื่องจากทั้งสองพระองค์ กำกับดูแลพระคลังมหาสมบัติ การตั้งชื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านหรือจากการบริจาคของพระองค์ท่านเพื่อสร้างถนน และสะพานเหล่านี้ครับ มีภาพมาให้ชม 2-3ภาพ อาจะไม่เก่ามาก แต่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนครับ


บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 14:09

อีกภาพครับ


บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 14:10

และก็อีกภาพครับ


บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 14:20

ขอโทษครับส่งภาพซ้ำ ต้องภาพนี้ครับ คลับตล้ายคลับคลา แต่จำไม่ได้ว่าที่ไหนครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 15:23

^
^
เป็นภาพการก่อสร้างสะพานพุทธยอดฟ้าฯ ก่อนจะฉลองพระนครครบรอบ ๑๕๐ ปี ด้านซ้ายคือวัดราษฎร์บุรณะ และด้านขวามือเป็นโรงเรียนสวนกุหลาบ ครับ
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 23 ม.ค. 11, 11:01

ยังตามหา บ้านนายชวดตรองอยู่นะครับ ตามมาข้ามปีแล้ว ได้ข้อมูลใหม่มาเป็นแผนที่ ปี2450 สะพาน ยศเส กับสะพาน กษัตริย์ศึก เป็นสะพานเดียวกันหรือเปล่าครับ มีบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อยู่ในแผนที่ด้วย ส่วนเลขที่บ้านต้องมีจื๊กซอร์ของ คุณวันดี ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 23 ม.ค. 11, 15:34

ยังตามหา บ้านนายชวดตรองอยู่นะครับ ตามมาข้ามปีแล้ว ได้ข้อมูลใหม่มาเป็นแผนที่ ปี2450 สะพาน ยศเส กับสะพาน กษัตริย์ศึก เป็นสะพานเดียวกันหรือเปล่าครับ มีบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อยู่ในแผนที่ด้วย ส่วนเลขที่บ้านต้องมีจื๊กซอร์ของ คุณวันดี ครับ

สะพานยศเส กับ สะพานกษัตริย์ศึก เป็นคนละสะพานกันครับ

ตั้งแต่ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๖ นั้น สะพานยศเส เป็นสะพานไม้ ก่อสร้างขึ้นเพื่อไว้สำหรับข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อเชื่อมถนนบำรุงเมืองเข้าไว้ด้วยกัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ จึงมีการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อไว้ข้ามทางรถไฟ เนื่องจากมีหลายราง และอาจจะเกิดอันตรายจาก รถยนต์ วิ่งข้ามทางรถไฟ จึงได้ทำการสร้างสะพานขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "สะพานกษัตรยิ์ศึก" เพื่อรำรึกถึงครั้ง ร.๑ ยกทัพไปปราบเขมร ทางฝั่งตะวันออก จึงได้ตั้งชื่อสะพานนี้เพื่อสอดคล้องกับที่ตั้งสะพานคือ ด้านตะวันออกของพระนคร

เนื่องจากการยกระดับของสะพานให้มีความสูงในระดับที่ปลอดภัยจากรถไฟ จึงทำให้เชิงสะพาน (access ramp) ต้องมีระยะความลาดยาวไปถึงวัดสระบัว และสะพานยศเส จึงต้องรื้อสะพานยสเส ทิ้งและก่อสร้างรวมกันไป เพื่อให้ช้ามทั้งทางรถไฟ และข้ามคลองไปในคราวเดียวกันในสมัย รัชกาลที่ ๗ ครับ


บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 23 ม.ค. 11, 17:34

รบกวนคุณ siamese ช่วยตรวจสอบแผนที่ เหนือสะพานยศเส จะมีบ้านพระยามหาอำมาตย์ (อ่านชื่อไม่ออก) พื้นที่ตรงบ้านนี้ไช่ตรอกโรงเลี้ยงเด็กในเวลาต่อมาไช่หรือเปล่าครับ หากเลยสะพานกษัตริย์ศึก ไปทางสนามกีฬาจะเจอแยก ต้นทางถนนพระรามหก (ถนนประทัดทอง เดิม) และตลาดเจริญผล  หากใครมีแผนที่บริเวณนี้ปี2450รบกวนโพสมาให้รับชมหน่อยนะครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 17:12

"บ้านพิบูลธรรม กลายมาเป็นกระทรวงพลังงาน"

กระทรวงพลังงาน ตั้งอยู่ที่บ้านพิบูลธรรม เลขที่ ๑๗ เชิงสะพานกษัตริย์ศึก เขตปทุมวัน ปัจจุบันกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวง ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งอยู่ในบริเวณ บ้านพิบูลธรรม เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส เดิม

บ้านพิบูลธรรมเดิมชื่อบ้านนนที เป็นบ้านที่พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เสนาธิบดีกระทรวงวัง ซึ่งคงได้สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๖ อันเป็นปีที่เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าพระยา บ้านนี้มีชื่อว่าบ้านนนที ตามชื่อวัวพระนนทิการ ซึ่งเป็นเทวพาหนะของพระอินทร์ (ตราประจำเสนาบดีกระทรวงวัง คือคราพระมหาเทพทรงพระนนทิการ) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดีอยู่ที่บ้านหลังนี้จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมารัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ซื้อไว้เป็นบ้านรับรองแขกเมือง เปลี่ยนชื่อว่าบ้านพิบูลธรรมจน พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงมอบให้เป็นที่ทำการของการพลังงานแห่งชาติดังกล่าวแล้วในข้างต้น

ปัจจุบัน ภายในบ้านพิบูลธรรมมีอาคารเก่าแต่แรกสร้างซึ่งมีความงดงามทั้งด้านสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมอยู่ ๒ หลัง และศาลาไม้อีกหลังหนึ่ง คือ อาคารสำนักงานเลขานุการกรมซึ่งอยู่หลังหน้า และอาคาร   กองควบคุมและส่งเสริมพลังงานตั้งเยื้องไปด้านหลัง ส่วนศาลาไม้อยู่ด้านขวาของอาคารสำนักเลขานุการกรมและด้านหน้าของอาคารกองควบคุมและส่งเสริมพลังงาน

อาคารทั้งสองหลังสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรปที่นิยมในยุคนั้น ลักษณะเหมือนปราสาท เป็นอาคาร ๒ ชั้น รูปทรงตามปีกอาคารสองข้าง และมีส่วนโค้งส่วนหักมุมและเฉลียงต่างกันแต่ได้สัดส่วนกลมกลืน ประดับลายปูนปั้นตามผนังตอนบน หัวเสา ขอบหน้าต่าง และลูกกรงระเบียง ประตูหน้าต่างไม้สลักลาย มีรูปประติมากรรมหน้าวัวหรือพระโคนนทีติดอยู่ที่เหนือประตู เฉลียงที่มุมขวาของตึกหน้า และที่ผนังข้างประตูหน้าและเหนือประตูเฉลียงข้างของตึกหลังมีสะพานคอนกรีตเชื่อมชั้น ๒ ของอาคารทั้ง ๒ หลัง

อาคารทั้งสองหลังตกแต่งภายในอย่างวิจิตรด้วยลายไม้แกะสลักตามเพดานและผนังห้อง ประตู และหน้าต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารในซึ่งตอนหน้าส่วนกลางก่อเป็นห้องชั้นที่ ๓ อีกห้องหนึ่งนั้น ด้านหลังเป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องโถงเอกของบ้าน โดยโถงหน้าเป็นทางเชื่อมจากส่วนหน้าของอาคารสู่โถงในซึ่งมีปีกเป็นรูปโค้งมน รูปทรงของห้องโถงนี้จึงเหมือนตัว T แต่มุมหักมน นับเป็นความงามเยี่ยมทางสถาปัตยกรรม ภายในห้องโถงนี้กึ่งกลางเพดานประดับภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกเรื่องรามเกียรติ์ โถงนอกรูปรามสูรเมขลา โถงในรูปทศกัณฐ์ลักนางสีดากำลังต่อสู้กับนกสดายุ เพดานรอบๆ ภาพเขียนประดับด้วยหูช้างไม้สลักเรียงรายตลอด ถัดลงมาเป็นภาพจิตรกรรมเถาไม้ดอกสีสดสวย ผนังจากระดับขอบประตูบนลงมาประดับไม้สลักลาย ตามขอบสลักลายเถาผลไม้ เสาไม้กลมตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมสลักลาย พื้นปูหินอ่อน ห้องโถงนี้ปัจจุบันใช้เป็นห้องเลียงรับรอง ห้องด้านหน้าทางปีกซ้ายของอาคารหลังนี้ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นห้องทำงาน มีภาพจิตรกรรมแบบเดียวกันประดับที่ฝาผนังด้านขวา จับภาพตอนพระรามตามกวาง ส่าวนเพดานห้องเขียนรูปหมู่กามเทพเด็กแบบฝรั่ง

ศาลาไม้ เป็นศาลาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าประดับไม้สลักตามพนักระเบียงเสา และหูช้างรับกับตัวอาคารทั้งสองหลัง พื้นปูนหินอ่อน หลังคามุงกระเบื้องว่าว

อาคารเหล่านี้ได้รับการซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย และทาสีใหม่ สภาพอาคารหลังใหญ่ค่อนข้างชำรุดทรุดโทรม มีรอยร้าวในบางแห่งกรมศิลปากรได้ตรวจสภาพภาพจิตรกรรมแล้วขอให้สำนักงานพลังงานแห่งชาติซ่อมหลังคาแล้วทิ้งไว้ ๒-๓ ปีเพื่อให้ความชื้นภายในแห้งก่อนจึงจะดำเนินการซ่อมแซมภาพจิตรกรรม ซึ่งสำนักงานพลังงานแห่งชาติได้เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาเป็นกระเบื้องลอน และจะได้ดำเนินการของบประมาณซ่อมแซมภาพจิตรกรรมต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 27 ม.ค. 11, 19:03

รออยู่ไม่เห็นคุณ siamese โพสรูปบ้านพิบูลธรรม  เลยไปหามาให้

ขออนุญาตนำข้อความของคุณ siamese ไปโพสในกระทู้ บ้านโบราณ ด้วยนะคะ

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 28 ม.ค. 11, 09:48

อาคารทั้งสองหลังตกแต่งภายในอย่างวิจิตรด้วยลายไม้แกะสลักตามเพดานและผนังห้อง ประตู และหน้าต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารในซึ่งตอนหน้าส่วนกลางก่อเป็นห้องชั้นที่ ๓ อีกห้องหนึ่งนั้น ด้านหลังเป็นอาคารชั้นเดียว จัดเป็นห้องโถงเอกของบ้าน โดยโถงหน้าเป็นทางเชื่อมจากส่วนหน้าของอาคารสู่โถงในซึ่งมีปีกเป็นรูปโค้งมน รูปทรงของห้องโถงนี้จึงเหมือนตัว T แต่มุมหักมน นับเป็นความงามเยี่ยมทางสถาปัตยกรรม ภายในห้องโถงนี้กึ่งกลางเพดานประดับภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกเรื่องรามเกียรติ์ โถงนอกรูปรามสูรเมขลา โถงในรูปทศกัณฐ์ลักนางสีดากำลังต่อสู้กับนกสดายุ เพดานรอบๆ ภาพเขียนประดับด้วยหูช้างไม้สลักเรียงรายตลอด ถัดลงมาเป็นภาพจิตรกรรมเถาไม้ดอกสีสดสวย ผนังจากระดับขอบประตูบนลงมาประดับไม้สลักลาย ตามขอบสลักลายเถาผลไม้ เสาไม้กลมตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมสลักลาย พื้นปูหินอ่อน ห้องโถงนี้ปัจจุบันใช้เป็นห้องเลียงรับรอง ห้องด้านหน้าทางปีกซ้ายของอาคารหลังนี้ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นห้องทำงาน มีภาพจิตรกรรมแบบเดียวกันประดับที่ฝาผนังด้านขวา จับภาพตอนพระรามตามกวาง ส่าวนเพดานห้องเขียนรูปหมู่กามเทพเด็กแบบฝรั่ง

ส่งภาพมาประกอบคำบรรยายของ ท่านsiamese ค่ะ



บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 29 ม.ค. 11, 13:56

เปิดหาอ่านพื้นที่แถวๆถนนพระราม1 ไปพบของเก่าเกือบร้อยปีแถว 3ย่าน มาครับ ตอนนี้ถูกทุบทิ้งไปแล้วใครมีประวัติหรือประสบการ์ณจากร้านนี้บ้างครับ จีฉ่อย 1ในตำนานคู่จุฬาครับ 7-11 เมื่อ 50 ปี ที่แล้ว บริการตลอด 24 ชั่วโมง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 29 ม.ค. 11, 14:35

"จีฉ่อย" เป็นชื่อร้านในภาษากวางตุ้ง อ่านว่า "จี้ไฉ" ในภาษาจีนกลางและ "จี๊ไช้" ในภาษาแต้จิ๋ว แปลว่ามุ่งมั่นขยันขันแข็ง

ร้านเดิมของจีฉ่อยนั้นอยู่ด้านหลังของร้านในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อมีการขยายถนน และทางจุฬาฯสร้างตึกแถวติดถนนพญาไทเมื่อกว่า ๔๐ ปีก่อน จึงได้ย้ายมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน
คนในร้านจีฉ่อยเป็นคนจีนเชื้อสายกวางตุ้ง ตั้งแต่รู้จักร้านนี้ผู้เป็นพ่อไม่อยู่แล้ว มีแต่ผู้เป็นแม่กับลูกสาว ๔ คนและลูกชาย ๑ คน

ร้านเน้นขายเครื่องเขียนและอุปกรณ์ทำการฝีมือ ซึ่งผมเองก็เคยไปใช้บริการเช่นกัน ร้านจีฉ่อย ขึ้นชื่อในการให้บริการที่เน้นว่า "จัดให้ได้ทุกอย่าง" แต่ต้องขอเวลาสักหน่อย เนื่องจากในร้านมีของอยู่จำนวนมาก มากเสียจนเหลือทางเดินเพียงเอี้ยวตัวเท่านั้น ผมเคยสัมภาษณ์ลูกสาวเจ้าของร้าน ที่เข้ามาช่วยขายของเมื่อวันหยุดราชการว่า "ลูกค้าส่วนมากเป็นเด็กจุฬาเป็นส่วนใหญ่ พวกเด็กสถาปัตย์ฯ มาซื้อเสมอๆ เพราะสามารถสั่งของได้ตามที่ต้องการ บางครั้งก็หาของไม่เจอ แต่เจ้าของร้านบอกว่า "มี" แต่ขอเวลาค้นหา บางครั้งเด็กๆก็แสบ อยากลองดีกับร้านจีฉ่อย ก็สั่งซื้อ ชุดครุยรับปริญญา เจ้าของร้านก็ตอบว่า "เดี๋ยวอีกสามวัน มารับของได้เลย" เจ้าของร้านก็หัวเราะไปคุยไป ผมก็ถามว่า มีด้วยหรือ เขาก็ตอบกลับว่า "ก็โทรสั่งซิคะ ง่ายจะตายไป"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 29 ม.ค. 11, 16:18

คลาสสิคัล  จีฉ่อย


โมเดิร์น จีฉ่อย

บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 10 มี.ค. 11, 23:01

ขอโทษครับส่งภาพซ้ำ ต้องภาพนี้ครับ คลับตล้ายคลับคลา แต่จำไม่ได้ว่าที่ไหนครับ
ภาพนี้น่าจะถ่ายช่วงปลายปี๒๕๗๒ไม่เกินต้นปี๒๔๗๔
คุณnatadol มีรูปบริเวณนี้อีกหรือไม่ครับ รบกวนด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง