เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 40933 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 4
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 09 ต.ค. 10, 17:43

เรื่องเจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ที่สุพรรณบุรีหรือกาญจนบุรีนั้น  ท่านหม่อมหลวงปิ่นเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่ท่านเป็นมหาดเล็กรับใช้ในรัชกาลที่ ๖  วันหนึ่งล้นเกล้าฯ จะทรงวาดภาพ "พระนเรศวรเปนเจ้า"  ได้มีรับสั่งถามท่านผู้เล่าว่า สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อไร  ท่านผู้เล่าๆ ว่าไปเปิดพงศาวดาร ๓ ฉบับ  ทั้งฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ  พันจันทนุมาศ  และพระจักพรรดิพงศ์  พงศาวดารทั้ง ๓ ฉบับกล่าวไว้ไม่ตรงกัน  จึงไม่กล้ากราบบังคมทูลผลการค้นคว้า  จนมีรับสั่งถามอีกครั้งก็ได้กราบบังคมทูลไปตามจริงว่า ไม่ทราบเกล้าฯ  ก็มีรับสั่งว่า "รู้แล้ว"  แล้วทรงวาดพระนเรศวรเปนเจ้า  ทรงเครื่องดำทั้งชุด

เรื่องนี้ท่านผู้เล่าๆ ว่าค้างคาใจท่านอยู่นาน  จนได้รับพระราชทานทุนออกไปเล่าเรียนที่อังกฤษ  แล้วได้ใช้เวลา ๑ คืนเต็มๆ คิดสูตรคณิตศาสตร์ที่สามารถคำนวณปฏิทินล้านปีได้สำเร็จ  จึงได้ลองคำนวณดูว่า  สมเด็จพระนเรศวรได้ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาไปในวันใด  เมื่อคำนวณวันจากสมการดังกล่าวเปรียบเทียบกับวันที่บันทึกไว้ในพงศาวดารแล้ว  พบว่า พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติที่ว่าพระนเรศวรยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาตรงกับวันเสาร์ที่  ๑๘  มกราคม    และเมื่อมีการจัดตั้งท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ ขึ้นแล้ว  ท่านผู้เล่าได้ขอให้อาจารย์สิงโต  ปุกหุต ผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลองหมุนแผนที่ดวงดาวไปยังวันที่  ๑๘  ตุลาคม  ปีที่ท่านคำนวณไว้ (ขอประทานโทษที่จำปีไม่ได้)  แผนที่ดวงดาวนั้นก็แสดงว่าวันดังกล่าวเป็นวันแรม ๒ ค่ำ เดือนยี่  ซึ่งตรงกับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ  ท่านจึงสรุปไว้ว่า สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาในวันเสาร์ตรงตามที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงวาดภาพสมเด็จพระนเรศวรทรงเครื่องดำ  เพราะสีดำเป็นสีประจำวันเสาร์  และเมื่ออ่านพระราชบันทึกเรื่องดินเจดีย์ในจดหมายเหตุรายวันส่วนพระองค์ซึ่งทรงพระราชวิจารณ์ถึงเหตุที่สมเด็จพระนเรศวรยกมาตั้งรับและได้ทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์  จังหวัดสุพรรณบุรี  ในวันจันทร์  ย่อมเป็นเหตุเป็นผลกว่าที่จังหวัดกาญจนบุรีที่จะต้องใช้เวลาเดินทัพมากกว่า ๒ วันเป็นแน่

ถึงตอนนี้คงต้องรบกวนคุณวันดี  กรุณานำความในจดหมายเหตุรายวันส่วนพระองค์นั้นมาเล่าสู่กันฟังนะครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 09 ต.ค. 10, 19:30



อยู่ต่างจังหวัดค่าตอนนี้   ไม่มีขุมสมบัติมาด้วย     

ด้วยความเคารพขอผ่านเจ้าค่า    ไม่สามารถค้นเอกสารได้       ขืนใช้แต่ความคิด 

นักประวัติศาสตร์/ครูดาบของวงการ    คงสังหารดิฉันทิ้งด้วยอำนาจแห่งความโกรธเป็นแน่แท้

จำเรื่องหม่อมหลวงปิ่นที่คุณวีมีเล่าได้ค่ะ   หนังสือของท่านทั้ง ๘ เล่มดิฉันรู้ซึ้งถึงคุณค่า

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 09 ต.ค. 10, 23:20


The Court of Justice in Korat has three judges: The president, newly arrived from Ayuthia, is a young man of the new school, those that are called new Siam,i.e., who know little and think they know a lot. External signs: shoes, assorted socks in the color of the phanung, the latter very vivid, a white, well groomed tunic, and occasionally the renunciation of betel. The two other judges are typical of old Siam....."

อยากเห็นรูปจริง ๆ ว่า การแต่งกายตรงที่เน้นสีม่วงไว้นั้น หน้าตาเป็นเช่นไร
ผู้รู้กรุณาสงเคราะห์ด้วยค่ะ

ชายหนุ่มผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ ท่านนั้นแต่งกายสวมราชปะแตนและผ้าม่วงอย่างข้าราชการสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ ค่ะ
ฝรั่งอธิบายไว้ว่า สวมรองเท้าหุ้มส้น   สวมถุงน่องหลากสี  เข้ากับผ้าโจงกระเบนสีสด   (โดยมากในรูปถ่ายเราเห็นแต่ถุงน่องขาว)  เสื้อราชปะแตนสีขาวตัดอย่างประณีต    บางครั้งก็ไม่กินหมาก (คือบางครั้งคงกิน แต่บางครั้งก็ไม่กิน
นี่คือภาพหนุ่มทันสมัยไฮโซ ในยุค 2444 โดยแท้  สมัยนั้นไฮโซคือข้าราชการ  ไม่ใช่หนุ่มนักธุรกิจอย่างยุคนี้
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 09 ต.ค. 10, 23:32

คุณร่วมฤดี เอานายยอดตรัง มาหลอนอีกแล้ว ว่าจะแกล้งลืมแล้วเชียว... แก๊งค์ลูกน้ำครับ ยังไม่เสร็จศึกนะครับ ยังหาบ้านนายยอดตรังไม่เจอเลย... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 16:22

ดิฉันไม่หาญกล้าไปค้นหาตำแหน่งบ้านนายยอดตรังหรอกค่ะ
 
ไว้เป็นภาระคุณ Siameseและผู้รู้ท่านอื่น ๆ ที่มีแผนที่ดีกว่าค่ะ

เท่าที่เห็นก็มาได้ไกลขนาดสันนิษฐานตำแหน่งได้แล้วไม่ใช่หรือค่ะ

 มีแผนที่โบราณที่แสดงผังไว้ใกล้เคียงมาก

หรือใครมีหลักฐานที่เที่ยงตรงชี้ชัดได้มากกว่าการสันนิษฐานคะ

กรุณานำมาแสดงด้วยนะคะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 20:46

ระหว่างคอยคำตอบจากสวรรค์ ชี้บ้านนายยอดตรังมาให้รู้กัน     ขอนำเสนอรูปเก่าเล่าเรื่อง ที่ยังไม่มีใครคุยประเด็นนี้ในเรือนไทย

คำว่า Siam เป็นที่รู้จักของคนอเมริกันก็จากหนังสือ Anna and the King of Siam  ที่มากาเร็ต แลนดอน เขียนจากเรื่องสั้นของแอนนา เลียวโนเวนส์   แล้วนำไปเป็นละครเพลงบรอดเวย์  The King and I 
อีกคำหนึ่งคือ Siamese Twins  ที่หมายถึงเด็กแฝดเกิดมามีอวัยวะติดกัน     ไม่ว่าเด็กคนนั้นเชื้อชาติฝรั่ง แขก จีน คือเกิดในประเทศไหนในโลกก็เรียกว่า Siamese twins ทั้งนั้น
ชาวเรือนไทยรู้จัก อิน-จัน กันดี  ไม่ต้องเล่าย้อนความว่าเป็นใครมาจากไหน
แต่ใครรู้จักหนูน้อยสองคนในภาพนี้บ้างคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 20:53

หนูน้อยวัยสามขวบสองคนนี้  ชื่อ นภิศ และ ปริศนา   ถ่ายภาพเมื่อเธอได้รับอิสระ  แยกออกจากกันได้แล้ว
เมื่อเกิดมา  เธอมีหน้าอกติดกัน  แต่การผ่าตัดใน พ.ศ. 2498  ที่ชิคาโก  ทำให้แยกร่างกายออกจากกันได้เป็นผลสำเร็จ
พ่อแม่ยกลูกสาวให้เป็นบุตรบุญธรรมของที่ปรึกษาชาวอเมริกัน ที่มาประจำอยู่ในประเทศไทย ชื่อ Mr. and Mrs. Ellis Atkinson, ตอนนั้นเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลไทย 
ในคำบรรยายบอกว่ามิสเตอร์แอทคินสันเป็น an adviser to the Thailand government under the International Cooperation Administration.
(ต้องขอแรงคุณวันดีแปลตำแหน่งให้หน่อยละค่ะ  ว่าองค์การอะไร)

ดิฉันจำได้แต่ว่าหนึ่งในแฝด  เคยกลับไปเยี่ยมประเทศไทยเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว     ปัจจุบันไม่ได้ข่าวคราวของเธอทั้งสอง ก็เข้าใจว่าคงยังมีชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกาในฐานะพลเมืองอเมริกัน  คงมีครอบครัวลูกหลานโตเป็นหนุ่มสาวแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 21:07

มีรูปมาฝากคุณ siamese และแก๊งค์ลูกน้ำ  ให้ช่วยกันอ่านหน่อยค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 10 ต.ค. 10, 21:10

อีกรูปหนึ่ง



บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 06:21

ภาพ Lao of Central Siam ท่ท่านอาจารย์นำมาลงให้ดูกัน  ดูจากแสตมป์ที่ปิดบนไปรษณียบัตรเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕  พิจารณาจากหมวก "กะโล่" ที่ชายสองคนในภาพสวมอยู่นั้นเป็นหมวกที่เริ่มมีใช้ในรัชกาลที่ ๖ ราว พ.ศ. ๒๔๕๕  ก่อนหน้านั้นเราใช้หมวก Helmet ทรงสูงปีกแคบเหมือนตำรวจอังกฤษ  กับลักษณะเสื้อราชปะแตนคอพับที่ชายสองคนในภาพสวมใส่อยู่  เป็นเสื้อที่ใช้กันมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕  มาเปลี่ยนเป็นเสื้อคอแบะอย่างที่ทหารตำรวจสวมใส่กันในปัจจุบันราว พ.ศ. ๒๔๕๘  จึงน่าจะวินิจฉัยได้ว่า ภาพนี้น่าจะถ่ายในช่วงต้นรัชกาลที่ ๖ ก่อนที่สยามจะไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๖๑  ส่วนจะเป็นลาวในภาคกลางเมืองสระบุรี  ราชบุรี หรือพระประแดง  คงต้องขอให้แก๊งค์ลูกน้ำช่วยกันวิเคราะห์ต่อไปครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 ต.ค. 10, 07:22 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 07:30

ยอดเยี่ยมเช่นเคยค่ะ คุณ V_Mee
ยังอ่านอะไรไม่ได้มากนัก    สิ่งที่เห็นคือกลุ่มคนในภาพนี้แบ่งได้เป็น ๓ กลุ่ม 
๑  กลุ่มข้าราชการ   แต่งกายเรียบร้อย มีเครื่องแบบ
๒  กลุ่มชาวบ้าน  ชายแก่ไม่สวมเสื้อ นุ่งแต่โจงกระเบน    หญิงสาวสองคนท่าทีจะฐานะดี เห็นจากลักษณะผ้าห่มและตะแบงมานที่ดูเป็นผ้าสวย ไม่ใช่ผ้าทอหยาบๆของพื้นเมือง     อีกคนหนึ่งที่โกนหัวน่าจะเป็นผู้หญิงเช่นกัน มีผ้าคล้องคอปิดท่อนบน     เด็กๆไม่สวมเสื้อ
๓    ชายหนุ่ม ๔ คนแต่งกายเรียบร้อยเหมือนๆกัน  เสื้อขาวเดาจากเนื้อผ้าน่าจะเป็นผ้าฝ้ายหรือป่าน  ดูสะอาดตา ไม่เก่าขาด   หน้าประแป้งขาวลายพร้อย น่าจะเป็นการแต่งกายในเทศกาลอะไรสักอย่าง มีแคนประกอบด้วย    พ่อหนุ่ม ๔ คนน่าจะเป็นนักดนตรีดังเสียละมัง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 08:55

ผมขอแกะรอยไปรษณีย์บัตร คร่าวๆก่อนนะครับ

ก่อนอื่นแกะรอยจากตราไปรณียากร ซึ่งที่เห็นนี้เรียกว่า "ชุดวัดแจ้งแก้สตางค์" เนื่องจากประเทศสยาม ได้ทำการเปลี่ยนแปลงระบบค่าเงิน จากระบบฬศ-ไพ -เฟื้อง-อัฐ ซึ่งเป็นระบบย่อยทด ๘ เป็นระบบทดร้อย คือ ๑ บาท เทียบย่อยออกเป็น ๑๐๐ หน่วยแทน จึงได้นำแสตมป์วัดแจ้ง (พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ จากประเทศเยรมัน) มาพิมพ์แก้เป็นราคา ๓ สตางค์ (พิมพ์แก้เมื่อ ๑๕ ส.ค. ๒๔๕๒)

ดังนี้จึงบอกไว้ขั้นต้นว่า มีการปิดแสตมป์ ที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วงเวลา ๒๔๕๒ ลงมาจนถึงในช่วงต้นๆรัชกาลที่ ๖

ลำดับต่อมา ดูตราประทับประจำวัน ซึ่งสามารถบ่งบอกระยะเวลาของการใช้งานนี้ได้
ตราประทับประจำวัน นี้เป็นรุ่นท้ายสุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นตราประทับกลมสองชั้น บนเป็นอักษรไทย ล่างเป็นอังกฤษ กลางระบุวัน และเวลา
แกะรอยอ่านได้คร่าวๆ ว่า เห็นตัวเลข ๘ ไทย เห็น ตัวเลขอารบิค 11 และตัวต่อมา ด้านล่างเห็นเลข 2 ซึ่งเป็นหลักสำคัญว่า การใช้งานไปรษณียบัตรนี้ถูกใช้งานในสมัยรัชกาลที่เท่าไรกันแน่ ระหว่าง รัชกาลที่ ๕ กับ รัชกาลที่ ๖ ซึ่งสามารถย้อนถึงเวลาของภาพโปสการ์ดได้
 


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 09:06

เรียนรู้ตราประจำวันกัน เพื่อให้เข้าใจในระบบตราประทับ

ตราประจำวันแบบนี้เรารับเอารูปแบบหรือ Pattern มาจากทางยุโรป เพื่อปรับใช้ในการไปรษณีย์ของไทย
ด้านบน ระบุพื้นที่ของเขตไปรษณีย์ จะเห็นว่า "กรุงเทพที่ ๗"
ด้านล่าง ระบุ Bangkok 7
ซึ่งเลขดังกล่าวเป็นการแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการแบ่งเขตไว้ ๘ เขต คือ

๑. ที่ทำการไปรษณีย์กรุงเทพฯ ที่ ๑ ณ.ตึกใหญ่ "ไปรสนียาคาร" ปากคลองโอ่งอ่าง

๒. ที่ทำการไปรษณีย์กรุงเทพฯ ที่ ๒ ตั้งอยู่ตึกหลังเล็กในบริเวณกรมศุลกากรเดิมทางด้านใต้ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางรัก

๓. ที่ทำการไปรษณีย์กรุงเทพฯ ที่ ๓  อำเภอคลองสาน ที่ริมถนนท้ายวัดอนงค์ฝั่งธนบุรี

๔. ที่ทำการไปรษณีย์กรุงเทพฯ ที่๔ เดิมตั้งอยู่ริมออฟฟิศทหารปืนใหญ่ มุมสวนสราญรมย์ ต่อมาได้ย้ายเข้าไปที่หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง

๕. ที่ทำการไปรษณีย์กรุงเทพฯ ที่ ๕ เดิมตั้งอยู่ที่มุมถนนเจริญกรุงกับพลับพลาไชย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ได้ย้ายมาในบริเวณกรมรถไฟหลวงที่ตำบลหัวลำโพง

๖. ที่ทำการไปรษณีย์กรุงเทพฯ ที่ ๖ ตั้งอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ ในกำแพงพระนครใกล้ตลาดยอด

๗. ที่ทำการไปรษณีย์กรุงเทพฯ ที่ ๗ ครั้งแรกตั้งอยู่ที่บ้านพันทอง ตลองบางหลวง ฝั่งธนบุรี

๘. ที่ทำการไปรษณีย์กรุงเทพฯ ที่ ๘ ตั้งอยู่ที่ริมถนนเยาวราช ตรอกข้าวสาร รับส่งไปรษณียภัณฑ์ไปประเทศจีนเป็นสำคัญ

พื้นที่กลาง บอกวันเดือนปี ตัวเลขไทย และ ฝรั่ง เช่นภาพที่แนบมา
"๒๗-๕-๑๓๑ - 27.8.12"
หมายถึง วันที่ ๒๗ เดือนห้า ร.ศ. ๑๓๑ และ 27 สิงหาคม ค.ศ.1912


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 09:09

เรียนคุณเทาชมพู

เรื่องราวต่าง ๆ บางเรื่องรู้สึกว่าจะออกนอกกรุงเทพฯ ไปพอสมควร

มาปรับเป็นกระทู้ "ภาพเมืองไทยในอดีต" จะดีไหม

คราวที่แล้วรู้สึกว่าจะถึงตอนทีี่่ (๖)

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1946.0

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 09:15

มาถึงคำตอบการใช้ไปรษณียบัตรนี้

เห็นอักษรไทย ๘ หลังสุด ควรจะเป็น ร.ศ. ๑๒๘ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๒ และ ค.ศ. 1909

ถูกใช้งานวันที่ 11 เดือน 12 และเห็นเลข 2 ด้านล่าง ทำให้ทราบว่า ถูกส่งออกจากพื้นที่ไปรณีย์ที่ ๒ ในเขตบางรัก อันเป็นที่ชาวต่างประเทศอยู่กันอย่างหนาแน่น

สรุปว่า ไปรษณียบัตรนี้ ถูกประทับตราเมื่อวันที่ 11 เดือนธันวาคม ค.ศ.1909 จากพื้นที่บางรัก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง