เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 41266 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 4
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 19 ต.ค. 10, 15:23

นึกแล้วว่าต้องมีคนสับสนเหมือนกัน................จังหวัดอยุธยาคงไม่ได้หมายถึงสมัยอยุธยาเพราะสมัยอยุธยายังไม่มีกล้องถ่ายภาพ
ลุงก็ตกใจเหมือนคุณหลานนั่นแหละ.............

ยังไม่ได้กลับมาครับอาจารย์.............เพียงแวะเข้ามาบ้างเป็นครั้งคราว...............
ยังไม่ครบกำหนดลากิจ........ครับผม

หากไม่ขยับเม้าส์นานเกิน...ระวังนิ้วล็อคเด้อ..อิอิอิอิ

 ยิ้มเท่ห์ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 19 ต.ค. 10, 21:08

ภาพถ่ายมองไปที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม งดงามนัก เป็นภาพถ่ายจากอัลบั้มนายทอมสัน ที่เข้ามาในช่วงสำคัญของเมืองไทย คือ ช่วงพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าใหญ่ ซึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ภาพถ่ายพระอูโบสถนี้จะเห็นได้ว่า บันไดเข้าพระอุโบสถสูงชัน ซึ่งมีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปัจจุบันนี้บันไดช่วงสั้นและยาวกว่านี้ พร้อมทั้งรูปปั้นหญิงฝรั่ง

สำหรับภาพนักบวชที่ระบุว่า ถ่ายที่อยุธยานั้นเป็นการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดครับ ที่จริงผมเคยรู้ว่าเป็นนักบวช ถ่ายที่เมืองตูริน ครับ ไม่ใช่ในอยุธยา


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 07:59

ลุงSrisiam จ๋า
อ้างถึง
หากไม่ขยับเม้าส์นานเกิน...ระวังนิ้วล็อคเด้อ..อิอิอิอิ

นิ้วหนูล๊อคเป็นรูป มะเหงก" แล้วค่ะ

รูปข้างบนนี้ ไม่ทราบถ่ายจากมุมไหนในพระบรมมหาราชวังคะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 08:09

ภาพข้างบน  ถ่ายที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระอภิเนาว์นิเวศน์
ซึ่งรื้อลงในสมัยรัชกาลที่ ๕  เพราะทรุดโทรมไปตามกาลเวลา


ในภาพจะเห็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ ประทับใต้ร่มไม้
มีพระเจ้าน้องยาเธอ  ๓ ประทับอยู่ใกล้ๆ กัน
ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นพระองคืเจ้าเกษมสันต์โสภาคย์พระองค์หนึ่ง ทรงยืนอยู่
เจ้านายอีก ๒ พระองค์ที่ทรงนั่งอยู่ด้านหลังนั้น ไม่แน่ใจ เพราะมองเห็นได้ไม่ชัดนัก
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 08:46

ขอบคุณค่ะคุณหลวงเล็กคะ

เห็นเสาแบบโรมัน จึงสงสัย เพราะไม่เคยเห็นมีในพระบรมมหาราชวัง

ตั้งแต่เป็นนักเรียน เข้าไปดูพระที่นั่งในวัง ได้ยินคำอธิบายว่า เคยมีพระที่นั่งอนันตสมาคมมาก่อนตรงนั้นตรงนี้

ใครมีรูปพระที่นั่งองค์นี้เต็ม ๆ บ้างคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 09:51

ใช่ครับ คุณ Ruamrudee หมู่พระที่นั่งพระอภิเนาว์นิเวศน์ นั้นก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมยุโรปผสมจีน ครับ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า สยามนั้นยินดีและต้อนรับมีอารยะทัดเทียมกับชาติตะวันตก และส่งผลมายังสถาปัตยกรรมไม่ให้เป็นที่ดูแคลนจากชาวยุโรป ซึ่งราชทูตหลายประเทศล้วนเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคมหลายครั้ง

ผมมีภาพวาดลายเส้น จากหนังสือการเดินทางของอูโมต์ ชาวฝรั่งเศส ได้ตีพิมพ์ภาพภายในพระที่นั่งพระอภิเนาว์นิเวศน์ไว้ จะเห็นว่าด้านล่างอาคารเป็นใต้ถุน และหน้าต่างบานใหญ่ เหนือหน้าต่างเป็นช่องหน้าต่างให้แสงสว่างเข้าไปตัวอาคาร ซึ่งในขณะนั้นยังใช้ตะเกียงชวาลากันอยู่ เสาทรงโรมันคู่ ผสมลายปูนปั้นงามอย่างลงตัวดีครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 09:58

ภาพมุมสูงซึ่งถ่ายจากหอกลอง มุ่งหน้าพระบรมมหาราชวัง จะเห็นกลุ่มพระที่นั่งพระอภิเนาว์นิเวศน์ ได้ครับ ภาพนี้ถ่ายโดยหลวงอัคนีฯ หรือ ฟรานซิส จิตร ช่างกล้องราชสำนักครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 11:48

ใช่ครับ คุณ Ruamrudee หมู่พระที่นั่งพระอภิเนาว์นิเวศน์ นั้นก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมยุโรปผสมจีน ครับ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า สยามนั้นยินดีและต้อนรับมีอารยะทัดเทียมกับชาติตะวันตก และส่งผลมายังสถาปัตยกรรมไม่ให้เป็นที่ดูแคลนจากชาวยุโรป ซึ่งราชทูตหลายประเทศล้วนเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคมหลายครั้ง

ผมมีภาพวาดลายเส้น จากหนังสือการเดินทางของอูโมต์ ชาวฝรั่งเศส ได้ตีพิมพ์ภาพภายในพระที่นั่งพระอภิเนาว์นิเวศน์ไว้ จะเห็นว่าด้านล่างอาคารเป็นใต้ถุน และหน้าต่างบานใหญ่ เหนือหน้าต่างเป็นช่องหน้าต่างให้แสงสว่างเข้าไปตัวอาคาร ซึ่งในขณะนั้นยังใช้ตะเกียงชวาลากันอยู่ เสาทรงโรมันคู่ ผสมลายปูนปั้นงามอย่างลงตัวดีครับ

การก่อสร้างที่งามอย่างยิ่งนี้    สยามใช้ช่างก่อสร้างและสถาปนิกที่ไหนในยุคนั้นคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 13:14

ใช่ครับ คุณ Ruamrudee หมู่พระที่นั่งพระอภิเนาว์นิเวศน์ นั้นก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมยุโรปผสมจีน ครับ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า สยามนั้นยินดีและต้อนรับมีอารยะทัดเทียมกับชาติตะวันตก และส่งผลมายังสถาปัตยกรรมไม่ให้เป็นที่ดูแคลนจากชาวยุโรป ซึ่งราชทูตหลายประเทศล้วนเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคมหลายครั้ง

ผมมีภาพวาดลายเส้น จากหนังสือการเดินทางของอูโมต์ ชาวฝรั่งเศส ได้ตีพิมพ์ภาพภายในพระที่นั่งพระอภิเนาว์นิเวศน์ไว้ จะเห็นว่าด้านล่างอาคารเป็นใต้ถุน และหน้าต่างบานใหญ่ เหนือหน้าต่างเป็นช่องหน้าต่างให้แสงสว่างเข้าไปตัวอาคาร ซึ่งในขณะนั้นยังใช้ตะเกียงชวาลากันอยู่ เสาทรงโรมันคู่ ผสมลายปูนปั้นงามอย่างลงตัวดีครับ

การก่อสร้างที่งามอย่างยิ่งนี้    สยามใช้ช่างก่อสร้างและสถาปนิกที่ไหนในยุคนั้นคะ

หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองคุมการก่อสร้างอาคารในพระบรมมหาราชวัง ในพ.ศ. ๒๓๙๖ แต่ได้ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองสร้างต่อมา และกรมขุนราชสีหวิกรม เจ้ากรมช่างสิบหมู่เป็นนายช่างสร้างต่อมาจนสำเร็จ พระราชทานนามในหมู่พระราชมณเฑียรใหม่นี้ว่า พระอภิเนาว์นิเวศน์ ได้เฉลิมพระราชมณเฑียรเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๒ รวมเวลาก่อสร้าง ๖ ปี ได้พระราชทานชื่อพระที่นั่งและหอต่างๆ ให้คล้องจองกันดังนี้ พระที่นั่งไชยชุมพล พระที่นั่งภูวดลทัศไนย พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งนงคราญสโมสร พระที่นั่งจันทรทิพโยภาส พระที่นั่งภานุมาศจำรูญ พระที่นั่งมูลมณเฑียร พระที่นั่งเสถียรธรรมปริตร หอราชฤทธิรุ่งโรจน์ หอโภชนลีลา และพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 14:10

ส่งภาพผัง พระอภิเนาว์นิเวศน์ มาประกอบคำบรรยายของท่าน siamese ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 21:32

เยี่ยมมาก !


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 21 ต.ค. 10, 08:35

มีภาพมาให้ดูภาพหนึ่ง
สิ่งก่อสร้างที่เห็นโดดเด่นนี้ คือ อะไร
มีประวัติความสำคัญอย่างไร และอยู่ที่ไหน

(ไม่ยากหรอกครับ;D)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 21 ต.ค. 10, 08:43

ตอบคุณหลวงเล็ก

"เดิมเมื่อฝรั่งนิกายโปรเตสแตนท์ถึงแก่กรรมลงต้องได้รับความลำบากมาก ด้วยไม่มีที่ฝังศพเช่นฝ่ายโรมันคาทอลิก เมื่อจะฝังต้องไปอาศัยฝังที่บ้านจีนที่เป็นคนชอบกันบ้าง ดูน่าสังเวชนัก ภายหลังท่านบัตเตอเวิด ผู้สำเร็จราชการเมืองสิงคโปร์ ปีนัง ซึ่งคุ้นเคยกับรัชกาลที่ ๔ มาแต่ก่อน จึงมีหนังสือขอพระราชทานที่มา และที่สุดก็ทรงยินดีอุดหนุนกิจ ได้ทรงซื้อที่พระราชทานให้ตามขอ เป็นจำนวนถึง ๑๐ ชั่ง ทำให้ชาวโปรเตสแตนท์รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นยิ่งนัก"

ภายในสุสานนี้ได้เป็นสถานที่ฝังร่างไร้ชีวิตของฝรั่งหลายเชื้อชาติที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งก็เป็นทั้งพ่อค้า มิชชันนารี และผู้ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทย ซึ่งหลายท่านเป็นผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหมอบรัดเลย์ ชาวอเมริกันผู้บุกเบิกการแพทย์สมัยใหม่และการพิมพ์ ผู้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของเมืองไทย คือบางกอกรีคอร์ดเดอร์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๘
      
และยังเป็นสถานที่ฝังนายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ชาวอังกฤษ ต้นสกุลเศวตศิลา ผู้เป็นที่ปรึกษาของรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้วางแนวถนนเจริญกรุง ผู้ตกแต่งจัดสวนสราญรมย์ ผู้ริเริ่มงานไปรษณีย์ไทย เป็นผู้สอนวิชาแผนที่ และเป็นผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไทยที่หอคองคอเดียอีกด้วย นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่ฝังกัปตันจอห์น บุช กัปตันเรือชาวอังกฤษผู้วางรากฐานงานเจ้าท่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้มีมาตรฐานสากล จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ มีสุสานของตระกูลแมคฟาร์แลนด์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดไทย และเป็นอาจารย์แพทย์รุ่นแรกๆ

 มีสุสานของจอห์น เทเลอร์ โจนส์ ชาวอเมริกันผู้ทำพจนานุกรมแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษรุ่นแรกๆ ใน พ.ศ.๒๓๘๙ ต้นฉบับยังอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ แต่ยังไม่เคยตีพิมพ์ และเป็นสถานที่ฝังร่างของนายแฮมิลตัน คิง อัครราชทูตอเมริกาประจำประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ๕-๖ ผู้เก็บหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ฉบับแรกของไทยที่ออกเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗-๒๓๘๘ ของหมอบรัดเลย์ไว้ และทายาทของท่านได้นำมามอบไว้ที่สำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯ


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 21 ต.ค. 10, 08:49

ตอบช้ากว่าคุณLuang Lek ครึ่งนาทีเองค่ะ ที่นี่ปัจจุบันสวยและสงบดีค่ะ
ตอนเย็น ๆ น่าไปเดินเล่าป่าช้าวัดดอนด้วนะคะ เดี๋ยวนี้ เขา Jogging กันในป่าช้าแล้ว


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 21 ต.ค. 10, 08:50

ดีมาก ไวปานกามนิตหนุ่มจริงๆ ยิ้ม

งั้นอีกสักภาพละกัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง