เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 41191 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 4
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 01:36

เข้ามาดึงกระทู้ขึ้น
ไม่มีคำถามอะไรมาเพิ่ม และไม่มีคำตอบให้  เพราะยังไม่รู้
มีรูปวาดยุคหลัง ถึงเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์  ฝีมือวาดของใครไม่ทราบ แต่คุ้นๆเหมือนนักวาดในหนังสือแบบเรียนไทย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 02:15

Siamese theater group which performed in Berlin, Germany in 1900.
คำบรรยายเขาว่าอย่างนี้      ละครเจ้าพระยามหินทรฯ หรือเปล่านี่


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 08:44

“...โรงละครหลวงหรูมาก ละครนั้นนายบุษมหินทร์พาไปเล่น แต่ขาดทุน เพราะไปผิดฤดูกาล หนาวกันเกือบตาย นายบุษมหินทร์เป็นบุตรเจ้าพระยามหินทร์ศักดิ์ธำรง นำเอาแบบเจ้าคุณพ่อ ซึ่งมีชื่อเสียงดังในเมืองเรามาแล้วไปเล่น ละครเจ้าพระยามหินทร์มีชื่อเสียงโด่งดังสมัยโน้น ใครๆ ก็รู้จัก ไม่ได้เล่นเป็นเรื่องเป็นราว แต่เป็นฉากๆ สวยงามมาก เครื่องแต่งกายก็สวยแวววับ พราวแพรวไปหมด ถ้าไปเหมาะๆ คงจะได้เงินบ้าง ทางทูตจัดส่งกลับเพราะไม่มีเงิน
ฉากละครที่จำได้แม่น คือ ชุดรำโคม ชุดรำพัด ชุดรำอะไรต่ออะไรไม่ได้จำ ชุดพระชุดนาง คงจะมีรำฉุยฉายด้วย เหลือกว่าเด็กจะจำได้...”
ผมพลิกหนังสือไปดูตามสายตาฝรั่งซึ่งบันทึกข้อมูลที่เขาสัมผัส ณ ห้วงเวลาเดียวกัน ซึ่งอยู่ในส่วนภาคผนวกของหนังสือเล่มเดิม ได้เห็นภาพคณะละครพลัดถิ่นทำหน้าที่ทูตวัฒนธรรมอยู่ท่ามกลางความหนาวเหน็บเดียวดาย
“...คณะนาฏศิลป์มีสมาชิก  ๓๕ คน เป็นหญิง ๒๓ ชาย ๑๒ ผู้หญิงเป็นทั้งตัวละคร นางรำ ส่วนผู้ชายเล่นดนตรี วงดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีไทยโบราณ เช่น ฆ้องวง ซึ่งประกอบด้วย ฆ้องโลหะระดับเสียงต่างๆ จำนวนมากรายรอบติดกับตัวไม้เป็นครึ่งวงกลม ระนาด ปี่ ขลุ่ย ฉิ่ง ฉาบ...”

ภาพที่แนบมานี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาเยรมันครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 08:51

ในการจัดทำเครื่องละคร ปักดิ้น เลื่อม ทั้งหมดนี้ หมดงบประมาณไป ๙,๐๐๐ บาท ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในขณะที่ทองคำขายบาทละ ๑๒ บาท


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 09:26

สมัยนั้น  ทองคำบาทละ 12 บาท   เงิน 9000  ซื้อทองคำได้หนัก 750  บาท
ทองปัจจุบัน บาทละ 19900 บาท (ราคาเมื่อ 14 ต.ค. 2553) ทองหนัก 750 บาท ต้องใช้เงิน 14,925,000 บาท
แค่เครื่องแต่งกายละคร  หมดไปโดยประมาณ  เท่ากับสิบห้าล้านบาท หย่อนนิดหน่อย ตกใจ
ไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น  เช่นค่าเดินทาง   ค่าอาหารการกิน ค่าจ้างตัวละคร  ค่าคนงาน  ค่าฉาก ฯลฯ
 ตกใจ

รูปเจ้าพระยามหินทรฯ ที่เจอในเน็ตค่ะ


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 14:48

เรื่องเกี่ยวกับละครคณะของนายบุศย์มหินทร์ ที่เป็นละครไทยคณะแรกที่เดินทางไปเปิดการแสดงในต่างประเทศนั้น
ข้อมูลจาก http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/talkingmachine/boosra_mahin/pluethipol.html
เล่าไว้ว่า "เป็นความบังเอิญที่เกิดเป็นตำนาน

.....พระยาสุริยานุวัตร อุปทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศส เสนอความคิดให้ส่งมโหรีไปงานแสดงสินค้านานาชาติ
ซึ่งจัด ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เพื่อชักชวนฝรั่งที่มาเที่ยวงานเข้ามาซื้อตั๋วเพื่อดื่มกาแฟภายในพลับพลาชั่วคราว ให้ได้อย่างน้อยวันละ ๒๕๐ คนเท่านั้นเอง! (ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อนำศิลปะวัฒนธรรมการแสดงละครของสยามไปเผยแพร่ยังทวีปยุโรปแต่อย่างใด) ซึ่งตรงนี้ท่านสามารถอ่านได้จาก จดหมายเหตุรายงานการประชุมกรรมการ เรื่อง จัดของส่งการพิพิธภัณฑ์กรุงปารีส คฤสตศักราช ๑๙๐๐ ครั้งที่ ๑๔ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) โดยได้กล่าวถึงเรื่องมโหรีไว้ดังนี้...
   "...เรื่องมโหรีนั้นเห็นว่า น่ากลัวคนที่ไปจะเสียคน จึ่งหาตัวยากใม่มีใครรับจัด บางคนว่าเลือกจ้างคนที่เป็นมาเลี้ยงไว้แลส่งไปคงจะหาได้แต่ก็ใม่มีใครขันอาษาเพราะเป็นการยากฤาใม่อยากหนักอกแม่ใม่มีใครบังคับ ที่ว่าใม่ควรส่งเลยก็มี บ้างก็ว่าเกรงฝรั่งจะหนวกหูเลยใม่มากินเลี้ยง บ้างว่าส่งลครยายปลื้มไปดีกว่า บ้างก็ว่าถ้าใม่มีการเล่นเกรงจะขายอาหารแลกาแฟได้ใม่ดี บ้างคิดให้ส่งแคนวง เจ้าฟ้ากรมขุนนริศราใม่ทรงเห็นด้วยโดยเสียราชการทางนี้เป็นคนแตรวงสำคัญทั้งนั้น แลเกรงจะขาดทุนใม่เชื่อว่าจะมีผลอย่างพระยาสุริยากล่าว พูดกันวกวนอยู่ช้านาน ในที่สุดตกลงให้บอกพระยาสุริยาว่า เราใม่สามารถจะจัดมโหรีหญิงไปได้ แลแม้จะส่งแคนวงผู้ชายก็เกรงจะขาดทุน ให้จัดเป็นที่เลี้ยงอาหารตามความคิด ทั้งที่มุขก็จัดเลี้ยงกาแฟด้วย ถ้าเห็นคนจะใม่ติด ก็ให้คิดหาฝรั่งดนตรีมาเล่น ถ้าสมควรจะส่งโน๊ตเพลงไทยออกไป และเกณฑ์ให้แต่งตัวเป็นไทยก็จะดีกว่าส่งคนออกไป ถ้าจัดใม่ได้ แลถ้าใม่มีมโหรีแล้วการเลี้ยงจะใม่คุ้มทุนจะกลับจัดเป็นป่าไม้และการเภาะปลูก ก็ขอให้บอกมาจะได้คิดต่อไป (กรมหมื่นนราธิปฯ เลขานุการ เป็นผู้จดหมายเหตุ)..."


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 14:53

๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๗  


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 15:29

เวลาเดียวกัน นายบุศย์ (ซึ่งดำรงตำแหน่ง เจ้าหมื่นไวยวรนารถ) บุตรชายคนหนึ่งของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ได้เปิดตัวโรงละครใหม่ขึ้นอย่างใหญ่โตมโหฬาร ซึ่งทำให้มีหนี้สินมากมาย เป็นเหตุให้ตัดสินใจขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตไปแสดงละครยังต่างประเทศ ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าว่า ถ้าจะนำคณะละครไปแสดงก็ต้องถอดยศ หรือ ลาออกจากการเป็นเจ้าหมื่นเสียก่อนจะไปทั้งตำแหน่งไม่ได้ต้องไปในฐานะนายบุศย์ ประชาชนคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น ดังปรากฏเอกสารแจ้งความลาออกของนายบุศย์ จากราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๑๗ หน้า ๑๕๖ วันที่ ๙ กรกฏาคม ๑๑๙


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 15:50

ในที่สุด นายบุศย์ ได้นำคณะซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งสิ้น ๓๕ คน เป็นผู้หญิงถึง ๒๓ คน ที่มีผู้หญิงมากเป็นเพราะต้องแสดงเป็นตัวนาง ตัวละคร และนางรำ ส่วนผู้ชายมีเพียง ๑๒ คนมีหน้าที่คือเล่นดนตรีไทย เครื่องดนตรีประกอบด้วย ระนาด ปี่ ขลุ่ย แคน กลอง ฉิ่ง ฉาบ และอื่นๆ ไปแสดงมโหรีและดนตรีไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ ณ กรุงปารีส พ.ศ.๒๔๔๓ และอีกหลายประเทศ เช่น รัสเซีย ออสเตรีย เดนมาร์ก ฯลฯ


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 15:53

....และคณะละครของนายบุศย์ได้สร้างประวัติศาสตร์ด้านการบันทึกเสียงของไทย คือ เป็นการบันทึกเสียงที่เก่าแก่ที่สุดของสยาม....
โดย ในขณะที่เปิดการแสดงที่สวนสัตว์แห่งหนึ่งในกรุงเบอร์ลิน ได้มีอาจารย์เอกทางดนตรีชาวเยอรมันชื่อ Dr. Carl Stumpf ลงมืออัดเสียงการบรรเลงเพลงสยามของคณะนายบุศย์ลงกระบอกเสียงชนิดไขผึ้งของเอดิสัน เพื่อศึกษาในเรื่อง "Sonic System and Music of the Siamese" โดยกระบอกเสียงดังกล่าวถูกเก็บรักษาอย่างดียิ่งภายใน "PHONOGRAMM-ARCHIV DES PSYCHOLOG. INSTITUTS DER UNIVERSITAT BERLIN"
ซึ่งพวกเราชาวไทยทุกคน ควรภาคภูมิใจว่ากระบอกเสียงที่บันทึกเพลงไทยเดิมในครั้งนั้น อาทิ เพลงคำหอม ทยอยเขมร และสรรเสริญพระบารมี บรรเลงโดยคณะนายบุศย์มหินทร์ ได้ถูกกำหนดให้เป็นรหัสกระบอกหมายเลข 1 ในระบบการจัดเก็บและอนุรักษ์สื่อทางด้านเสียงของประเทศเยอรมันนี...


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 16:03

...คณะละครนายบุศย์มหินทร ถูกส่งกลับเนื่องจากการแสดงขาดทุนอย่างยับเยิน ไม่มีแม้ค่าเดินทางกลับบ้างก็ว่าหญิงละครบางคนต้องนำชุดละครออกขายฝรั่งเพื่อเป็นค่าเดินทางกลับสยาม บ้างก็ว่าได้รับความช่วยเหลือจากราชฑูตในยุโรป ทั้งนายบุศย์เองเมื่อกลับมาถึงยังโดนหญิงละครภายในคณะฟ้องร้องเรื่องค่าแรงตามสัญญาอีกด้วย
คณะละครนายบุศย์มหินทรกลับถึงสยามราวๆ กลางปี พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยอ้างถึงหลักฐานจากหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ฉบับวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๔ ว่า
"ตั้งแต่กลับมาจากประเทศยูโหรบแล้ว บัดนี้เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้ป่วยไป เข้าใจว่าเป็นเพราะเปลี่ยนอากาศ ร่างกายกระทบความร้อนในกรุงเทพฯ เข้า แต่ก็หวังว่าโรคที่ป่วยนั้น ไม่ช้าคงจะหายดีอย่างเดิม"
นายบุศย์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/talkingmachine/boosra_mahin/pluethipol.html
...ที่ให้เราได้ทราบอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์สยาม...
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 21:37



ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/talkingmachine/boosra_mahin/pluethipol.html
...ที่ให้เราได้ทราบอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์สยาม...

ต้องขอขอบพระคุณคุณหนูดี๊ดีที่เมตตาบอกที่มาของข้อมูล....ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมได้สะดวกยิ่งขึ้น
ดังที่เราทราบกันดีว่า...ความรู้จากอินเตอร์เน็ตในโลกไซเบอร์นั้นกว้างลึกมหาศาลประดุจห้วงมหาสมุทร...การจะเข้าถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง...ทั้งง่ายและยาก.....การช่วยสงเคราะห์ระบุที่มาโดยเฉพาะการให้ลิ้งค์หรือระบุURLมาให้.....ทำให้ยากกลายเป็นง่ายและรวดเร็ว..จึงขอขอบพระคุณอีกครั้งมายังทุกๆท่านที่ระบุที่มา......เป็นวิทยาทาน


 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 19 ต.ค. 10, 09:48

คุณศรีสยามกลับมาแล้วหรือคะ?

เอารูปมาฝาก พร้อมที่มา
http://www.oknation.net/blog/surasakc/2010/03/22/entry-1
บล็อคนี้มีรูปสวยๆหลายรูปด้วยกัน   ถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4

รูปนี้น่าจะเป็นด้านหน้าอุโบสถวัดพระแก้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 19 ต.ค. 10, 09:54

รูปนี้บรรยายสั้นๆว่า  Ayuthia, Siam.     [1865-1866]
ที่สะดุดตาคือกลุ่มคนในภาพ  คือใครกันนี่ ทำไมแต่งตัวแปลกตาราวกับนักบวชนิกายกรีกออโธดอกซ์
มีนิกายนี้ที่อยุธยาด้วยหรือ?


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 19 ต.ค. 10, 15:17

หายไปเสียหลายวัน กำลังเป็นทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่รักค่ะ
คุณแจ๋วประจำบ้านเธอขอลากลับไปทำนาค่ะ
ตอนนี้บ้านนี้มีแจ๋วคนใหม่ชื่อ ร่วมฤดี ค่ะ เหนื่อยจริง ๆ
และคงมีเวลามาเกาะKey Board ขยับ Mouse น้อยลง

คุณ D:D: เอารูปดี๊ดี(สำนวนลุงSrisiam) จริง ๆ ค่ะ หามาบ่อย ๆ นะคะ จะตามอ่านตามดู

รูปพระ Greek Orthodox สมัยอยุธยาแน่หรือคะ ปีที่ระบุนั่นหาก หากเป็น ค.ศ.ก็เป็นสมัย ร.4 นะคะ

นิกายนี้ มีเฉพาะ รัสเซียหรือเปล่าคะ ใครทราบบ้่าง ประเทศกรีซ นับถือนิกายอะไรคะ โรมันแคททอลิค หรือ กรีกออโทด๊อก

แต่ยอมรับว่าแปลกจริง ๆ ไม่ค่อยมีใครพูดถึงนิกายนี้ในไทย ดิฉันเคยอ่านพบครั้งแรกในหนังสือ รัสปูตินและเกิดวังปารุสนี่เอง

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ทำพิธีเสกสมรสที่โบสถ์ของนิกายนี้ (หากจำไม่ผิดนะคะ )
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง