เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 41182 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 4
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 08:58

คิดเหมือนคุณ Natadol ค่ะ
อ้างถึง
จากรูป1307 เป็นไปได้ไหมครับที่จะเป็น ข้าราชการรักษาพระราชวัง พระนครคีรี(เขาวัง) ที่เรียกว่า เด็กชา เมื่อรับราชการปฏิบัติหน้าที่บนพระนครคีรี เด็กชาชาวโซ่งจะแต่งกายตามความนิยมของเผ่าตน สวมกางเกงสีดำ เรียกว่า ซ่วง ปลายขาแคบเกือบจรดข้อเท้า สวมเสื่อสีดำแขนกระบอกจรดข้อมือ ชายเสื้อยาวคลุมสะโพก เสื้อผ่าอกตลอดติดลูกกระดุมเงินชิดถี่ตั้งแต่ลำคอไปถึงเอว เรียกว่า ก่อม และคาดกระเป๋า โซ่งเรียกว่า หลวม คาดไว้ที่เอว ถ้ารับเสด็จในหลวง โซ่งจะสวมเสื้อยาว เรียกว่า เสื้อฮี ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายชุดใหญ่ ใช้ได้ทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งใช้งานมงคล และงานอมงคล ใช้อีกด้านหนึ่ง มีลวดลายหลากสี ถูกทุกคนครับ ลาวโซ่งหรือ ไทยทรงดำ หรือไทยดำ ก็คือกลุ่มเดียวกันครับ ลองฟังเพลงไทดำรำพันแล้วจะรักเมืองไทยขึ้นอีกมากเลยครับ แต่ฟังแล้วเศร้า...
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 09:33

ภาพทหารรักษาพระองค์ค่ะ เขาบรรยายไว้ว่า
"ภาพจากหนังสือ Ein Welt - und Forschungsreisender mit der Kamera 1844-1920
รวบรวมผลงานถ่ายภาพของ Wilhelm  Burger ซึ่งเข้ามาเมืองไทยพร้อมคณะฑูตเมื่อ พ.ศ.2412"


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 11:21

อ่านและชมภาพด้วยความเพลิดเพลิน...........
ขอบพระคุณทุกท่านที่ระบุที่มาของภาพ ทำให้การตามไปค้นคว้าเพิ่มเติมเป็นไปโดยสะดวก

ขอบคุณอีกครั้งครับ



 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 12:18

จากรูป1307 เป็นไปได้ไหมครับที่จะเป็น ข้าราชการรักษาพระราชวัง พระนครคีรี(เขาวัง) ที่เรียกว่า เด็กชา เมื่อรับราชการปฏิบัติหน้าที่บนพระนครคีรี เด็กชาชาวโซ่งจะแต่งกายตามความนิยมของเผ่าตน สวมกางเกงสีดำ เรียกว่า ซ่วง ปลายขาแคบเกือบจรดข้อเท้า สวมเสื่อสีดำแขนกระบอกจรดข้อมือ ชายเสื้อยาวคลุมสะโพก เสื้อผ่าอกตลอดติดลูกกระดุมเงินชิดถี่ตั้งแต่ลำคอไปถึงเอว เรียกว่า ก่อม และคาดกระเป๋า โซ่งเรียกว่า หลวม คาดไว้ที่เอว ถ้ารับเสด็จในหลวง โซ่งจะสวมเสื้อยาว เรียกว่า เสื้อฮี ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายชุดใหญ่ ใช้ได้ทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งใช้งานมงคล และงานอมงคล ใช้อีกด้านหนึ่ง มีลวดลายหลากสี


เด็กชาเหล่านี้แบ่งกันทำหน้าที่รับใช้เจ้านาย แต่ละพระองค์ เด็กชาบางคนรับใช้ใกล้ชิด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ บ้างทำหน้าที่หามคาน หามเสลี่ยง ขึ้นลงเขา ยามพระองค์ทรงเสด็จฯ เด็กชารุ่นเก่า ๆ หลายคน คุ้นเคยกับเจ้านาย ข้าราชบริพาร พระเจ้าลูกยาเธอที่ยังทรงพระเยาว์ บางพระองค์ได้ขี่คอพวกเด็กชาขึ้นลงเขาวัง เป็นที่สนุกสนาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อยังทรงพระเยาว์ตามเสด็จฯ มาพระนครคีรีอยู่เนือง ๆ พระองค์จึงทรงคุ้นเคยกับเด็กชารุ่นเก่า ๆ

เด็กชาเหล่านี้นอกจากรับใช้ในหลวง และเจ้านายต่าง ๆ เวลาเสด็จมาประทับแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ รักษาข้าวของในพระนครคีรีอีกด้วย เด็กชาจะเข้าเวรผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเป็นชุด ๆ ชุดละ ๓-๔ คน โดยมีมหาดเล็กเป็นหัวหน้าควบคุมอีกทีหนึ่ง หัวหน้าผู้ดูแลพระนครคีรีมีบรรดาศักดิ์ที่พระบริบาลคีรีมาตย์ ดูแลพระราชวังโดยรวมทั้งหมด

http://th.wikipedia.org/wiki/เด็กชา

จากเครื่องแ่ต่งกายและหน้าที่ของเด็กชา บ่งบอกว่าเป็น "ผู้ชาย"

เด็กชา "ผู้หญิง" มีฤๅไฉน

 ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 12:38

แกะรอยฟื้นภาพ นั่งแต้มสีตามบันทึกที่มีไว้เรื่อง ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

"เครื่องเต็มยศหมวกรูปทรงถังสูงหุ้มแพรสีม่วงแก่ ขลิบลูกไม้ทองเทศ (คือแถบทองมีลวดลายอย่างแขก)  พันหน้าหมวกเยื้องขึ้นไปทางเบื้องขวา  มีตราเงินหน้าหมวกเป็นอักษรพระบรมนามาภิธียย่อคือ ส.พ.ป.ม.จ.  และเลข ๕ ไว้กัน (หมายความว่าสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์รัชกาลที่ ๕)  รอบอักษรย่อนั้นมีรัศมีเป็นแฉก  และมีแพรสีทับทิมห้อยจากข้างบนทาบลงมาทางข้างขวาด้วย  เสื้อรูปทูนิกยาวตัดเป็น ๔ ปีก (คือผ่าเอวและผ่าหลัง) แพรสีเหล็ก (ซึงเป็นสีเสื้อยศของมหาดเล็กในสมัยนั้น)  มีแถบทองอย่างเล็กขลิบที่คอและขดเป็นลายยันต์  ที่มุมที่คอและข้อมือติดแถบทองเล็กวงรอบและขดเป็นลายยันค์ขัดสมาธิ  ดุมเงินมีอักษรพระบรมนามาภิธัยย่อเช่นกล่าวแล้ว  แต่ไม่มีรัศมีเปลี่ยนเป็นมีใบชัยพฤกษ์วงโอบรัดครึ่งตัว  นุ่งแพรสีเหล็ก  คาดประคตแพรสีทับทิมชายครุยข้างในเสื้อ  ให้ชายห้อยพ้นปีกเสื้อออกมาอยู่ข้างซ้าย  คาดเข็มขัดหนังดำหัวเงิน  มีอักษรพระบรมนามาภิยย่อเช่นตราหน้าหมวกทับนอกเสื้อ  ถุงเท้าขาวอย่างยาว  รองเท้าหนังดำ (รูปคอตชูมีเข็มเงิน)  นายทหารชั้นผู้ใหญ่พิ่มลายยันต์ทองที่คอและข้อมือเสื้อเป็น ๓ ชั้น  นายดาบและนายสิบเอกเป็นยันต์ ๒ ชั้น  และมีเครื่องหมายยศอีกอย่างหนึ่ง คือ มีบั้งแถบทองติดที่แขนเสื้อข้างซ้ายอย่างนายสิบเป็น ๓ ชั้น คือ นายดาบ ๓ บั้ง  นายสิบเอก ๒ บั้ง  นายสิบโท ๑ บั้ง  นายสิบตรีไม่มี  บรรดานายทหารชั้นที่หมวกเพิ่มพู่ขนนกฝรั่งสีเขียว (ใบไม้)  มำเป็นฝอยติดข้างเบื้องซ้ายอีกด้วย  แพระมาลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นใช้พู่ขนนกการะเวกแทนขนนกฝรั่ง"

จึงได้ภาพที่มีชีวิตชีวาขึ้นมากเลย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 12:44

เด็กชาที่เขาวังในรัชกาลที่ ๔ คงแต่งตัวลักษณะนี้

สองคนทางขวามือใส่เสื้อฮี  มีบางคนคาดกระเป๋าที่เอวด้วย

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 13:35

ภาพเด็กชา แห่งเขาวัง งามจังเลยครับ

ฝากต่อยอดเรื่องเครื่องแบบทหารมหาดเล็ก ซึ่งปรับปรุงในสมัยรัชกาลที่ ๕ และนำอักษรพระบรมนามาภิไธย่อคือ ส.พ.ป.ม.จ.  และเลข ๕ มาให้ชม ส่วนด้านซ้ายมือเป็นภาพเครื่องแบบทหาร ในสมัยพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ สังเกตุมีพู่อยู่กระจุกหนึ่งด้านหน้าหมวกพอดี


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 14:43

ขอบพระคุณท่าน siamese ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ค่ะ
ดูแล้วเหมือนเรารับเอาเครื่องแบบมาจากหลายๆ ประเทศนะคะ เหมือนแขกปนฝรั่งปนไทย

ส่งมาให้อีกภาพค่ะ เป็นภาพหมู่ดูขึงขังถือปืนด้วย ถ้าเป็นภาพสีคงมีชีวิตชีวาขึ้นนะคะ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 14:59

นำของว่างยามบ่ายมาบูชาความรู้ที่ทุกท่านเมตตาเผื่อแผ่ในกระทู้นี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 17:09

ภาพของคุณsiamese ก็ตอบโจท์ยของคุณร่วมฤดีที่การแต่งกายเน้นสีม่วง.. แล้วทำไมถึงต้องเป็นสีม่วงล่ะครับ ทำไมไม่เป็นสีอื่นๆบ้าง ผ้าม่วง ถึงแม้เป็นสีอื่นๆก็ยังเรียกผ้าม่วง  แล้วสีม่วงได้มาจากยางไม้ชนิดไหนครับ ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 20:46

ทดลองใส่สีแล้วดูแปลก ชัดเจนขึ้น ภาพนี้ถูกถ่ายโดย ฟรานซิส จิตร ครับ


ผ้าม่วง เป็นผ้าแพรชนิดหนึ่งซึ่งทอจากเส้นไหม ที่เรียกว่าผ้าม่วงเป็นเพราะแต่เดิมคงจะ
มีแต่สีม่วงมาก่อน ชื่อสีนีจึ้งติดมา แม้ในระยะหลังจะมีสีอื่นอีก ก็ยังคงเรียกผ้าม่วงที่ขึน้ ชื่อ คือ
ผ้าม่วงเซี่ยงไฮ้ ซึ่งคงเป็นผ้าม่วงที่ส่งมากจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ส่วนผ้าม่วงไหมพืน้ เมือง
ชนิดดีที่มีราคาแพงกว่าผ้าม่วงที่สั่งเข้ามากจากต่างประเทศ คือ ผ้าหางกระรอก ซึ่งเป็นผ้าไหม
พืน้ เมือง ทอกันมากที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครศรีราชสีมา ผ้าม่วงหางกระรอกนีใ้ช้นุ่งกันน้อย
เพราะราคาแพง และใช้ไม่ทนเท่าผ้าม่วงเซี่ยงไฮ้ สีสันก็ฉูดฉาด มักจะเก็บไว้นุ่งเมื่อออกงาน
มากกว่านุ่งทำงาน ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้นุ่งผ้าม่วงแทนผ้าสมปักเวลาที่เข้าเฝ้า ซึ่ง
ผ้าม่วง สีนำ้เงินแก่นัน้ ไม่ได้ทำในประเทศไทย แต่ให้ช่างสั่งทำมาจากเมืองจีนเฉพาะใช้ในไทย
เท่านัน้ จีนไม่นุ่งเลย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 20:56

ลงสีเก่งมาก ใช้โปรแกรมอะไรคะ ยิงฟันยิ้ม

ยังหาอะไรมาเสริมไม่ถูก  ขอติดตามอ่านไปพลางๆก่อน
พร้อมกับเอาขนมมาเสิฟเพิ่มเติม   ของโปรดของดิฉันตั้งแต่เด็กๆค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 21:10

อาจารย์เทาชมพูชอบลูกชุบหรือครับ เมื่ออาทิตย์ก่อนได้รับลูกชุบมารับประทาน ฝีมือทำลูกชุบงามมาก เลยถ่ายภาพไว้ เลยนำมาฝาก
สำหรับทำภาพสี ใช้ Photshop ครับ


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 21:53

ได้มาจากงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อปีที่แล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 22:02

ชอบลูกชุบ ตรงที่มันเหมือนของเล่นค่ะ  เห็นแล้วอยากจะเอาเข้าตู้โชว์มากกว่ากิน
ลูกชุบของคุณ siamese ฝีมือปั้นสวยมาก
ที่จริงลูกชุบไม่ใช่ขนมไทยนะคะ  มันคือขนม marzipan ของฝรั่ง
ตามรูปนี้
พอประชันกับขนมโดนัทดอนเจดีย์ได้ไหม?


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง