เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 28 29 [30]
  พิมพ์  
อ่าน: 30052 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
paputh
อสุรผัด
*
ตอบ: 6



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 435  เมื่อ 25 ก.ย. 10, 03:17

ภาพชุดที่สอง
เป็นอาคารสถาปัตยกรรมแบบกอธิค คล้ายกันกับด้านบนครับ




บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 436  เมื่อ 25 ก.ย. 10, 07:16

ลองทายเล่น
เทพศิรินทร์ ครับผม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12547



ความคิดเห็นที่ 437  เมื่อ 25 ก.ย. 10, 08:55

ตึกแม้นฯ นั่นเอง

http://www.debsirinalumni.org/history.php?id_his=1&page=1&group=5

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
paputh
อสุรผัด
*
ตอบ: 6



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 438  เมื่อ 25 ก.ย. 10, 13:47

สองรูปล่างไม่ใช่ตึกแม้นนะครับ



สองรูปบนคือ ตึกแม้นนฤมิตร และ ตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี โรงเรียนเทพศิรินทร์
เป็นคนละตึกกับในปัจจุบันครับ เนื่องจากได้รับความเสียหายจากช่วงสงครามโลกครั้งที่2
จึงได้รับการบูรณะและสร้างใหม่ ตึกนี้สร้างเสร็จเมื่อปี พศ.2445


สวนกุหลาบและเทพศิรินทร์เคยเป็นโรงเรียนเดียวมาก่อนในช่วงหนึ่ง ชื่อว่า "สวนกุหลาบอังกฤษเทพศิรินทร์"
เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่เข้าใจไม่ตรงกันของทั้งสองโรงเรียนเพราะทางฝั่งสวนกุหลาบฯก็เข้าใจว่า
ได้นำเงินที่จะสร้างตึกเรียนของเค้ามาสร้างตึกแม้นนฤมิตร เทพศิรินทร์ก็เข้าใจอย่างหนึ่ง

การที่มีประวัติศาสตร์ซ้อนทับกันในช่วงหนึ่ง ทำให้หลายๆเรื่องยังถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้
เพราะต่างฝ่ายต่างก็อ้างชื่อเพื่ออวดอ้างสรรพคุณของแต่ละฝ่าย ทั้งเรื่องของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงคนแรก
นายพุ่ม สาคร (พุ่มสกี้) นายกรัฐมนตรี ทวี บุนยเกตุ, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดังที่พี่ๆได้เคยค้นคว่าไว้ครับ

_____________________________________________________________________

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/07/K5595620/K5595620.html





ตึกแม้นนฤมิตร และ ตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี (พ.ศ.2445)


ตึกแม้นศึกษาสถาน และ ตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี (พ.ศ.2491)




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12547



ความคิดเห็นที่ 439  เมื่อ 27 ก.ย. 10, 08:25

การที่มีประวัติศาสตร์ซ้อนทับกันในช่วงหนึ่ง ทำให้หลายๆเรื่องยังถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้
เพราะต่างฝ่ายต่างก็อ้างชื่อเพื่ออวดอ้างสรรพคุณของแต่ละฝ่าย ทั้งเรื่องของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงคนแรก
นายพุ่ม สาคร (พุ่มสกี้) นายกรัฐมนตรี ทวี บุนยเกตุ, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดังที่พี่ๆได้เคยค้นคว่าไว้ครับ


นายพุ่มสกี้

อันนี้ของเทพศิรินทร์
http://www.numtan.com/nineboard/view.php?id=462
http://www.debsirin.or.th/forums/showthread.php?t=833

อันนี้ของสวนกุหลาบ
http://osknetwork.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1828&postdays=0&postorder=asc&start=30

นายทวี  บุณยเกต

การศึกษา

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (เรียนที่ตึกแม้นนฤมิตของเทพศิรินทร์)
โรงเรียนราชวิทยาลัย
คิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ
วิชากสิกรรม ที่มหาวิทยาลัยกรีนยอง ประเทศฝรั่งเศส

http://th.wikipedia.org/wiki/ทวี_บุณยเกตุ

หม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช

การศึกษา

เริ่มศึกษาที่โรงเรียนราชินี โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามลำดับ จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ โรงเรียนเทรนต์ (Trent College) ในเมืองนอตติงแฮมไชร์ ประเทศอังกฤษ และได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ที่วิทยาลัยวอร์สเตอร์ (Worcester College) ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ แล้วสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยมอันดับสอง หลังจากนั้น ก็เข้าศึกษาต่อที่สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ในกรุงลอนดอน ได้คะแนนเป็นที่หนึ่ง ได้รับรางวัลเป็นเงิน ๓๐๐ กีนีย์จากสำนักกฎหมายอังกฤษ (เกียรติประวัติอันนี้ได้เล่าลือมาถึงเมืองไทย จนมีการเข้าใจว่าได้รับเงินรางวัลพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังเข้าใจอย่างนั้น) และทางโรงเรียนเทรนด์ได้ประกาศให้นักเรียนหยุดเรียนหนึ่งวัน เพื่อเป็นการระลึกถึงและได้เรียกวันนั้นว่า " วันเสนีย์ " (Seni Day) นับเป็นคนไทยคนแรกและเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ทำได้ เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้ศึกษาวิชากฎหมายไทยเพิ่มเติม จนกระทั่งได้รับเนติบัณฑิตไทย และเข้าฝึกงานที่ศาลฎีกาเป็นเวลา ๖ เดือน จึงได้เป็นผู้พิพากษา

http://th.wikipedia.org/wiki/หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช

ยิงฟันยิ้ม





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12547



ความคิดเห็นที่ 440  เมื่อ 27 ก.ย. 10, 08:51

ตึกแม้นฯ นี้เป็นของโรงเรียนไหนกันแน่

พ.ศ. ๒๔๕๐  สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงมีหนังสือขอพระราชทานพื้นที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัย เพื่อทำการปรับปรุงเป็น "โรงเรียนราชินี" สวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัยจึงมีความจำเป็นต้องหาสถานที่เป็นโรงเรียนใหม่ จนสุดท้ายได้มารวมกับโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นเพราะกำลังมีการสร้างตึกที่ชื่อว่า "ตึกแม้นนฤมิตร์" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้กรมศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้ทำสัญญาก่อสร้าง โดยระบุว่า เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จ จะให้ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนสวนกุหลาบ ตึกแม้นนฤมิตร์"

เข้าสู่จุดที่เป็นความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ที่ได้มีการบันทึกไว้ นั่นคือช่วงของการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์...

"สวนกุหลาบ" บันทึกไว้ว่า...

"...ต่อมาได้มีการเปลี่ยน นามโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์แทนโดยอ้างถึงคำสั่งของปลัดทูลฉลองของกระทรวงธรรมการ แต่ไม่ปรากฏเหตุผลในการเปลี่ยนแปลง..."

แต่ "เทพศิรินทร์" บันทึกเหตุการณ์จากหลักฐานจดหมายเหตุพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ลงวันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๐ มีข้อความเขียนว่า

"...รูปพรรณสันฐาน แลราคาที่จะว่าตกลงกันไว้ไม่เป็นติขัดขวางอันใด มีข้อน่าเสียดายอยู่นิดหน่อยที่เรียกชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบ เพราะโรงเรียนได้ตั้งแต่แรกที่ได้เกิดขึ้นในเมืองไทยแล้ว จะสูญเสียไปก็คราวนี้แหละ เพราะเหตุที่ไปตั้งอยู่ที่ตึกแม้นนฤมิตร์ซึ่งเงินของเราก็ได้ออกจริง ๆ แต่ของเราก็มั่งนี่จะทำอย่างไรให้ลองนึกดูที" จดหมายเหตุฉบับนี้แสดงพระราชประสงค์ของ องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าตึกเรียนนี้พระองค์ ได้บริจาคเงินแต่ก็เป็นเพียงบางส่วนจึงไม่ควรที่จะใช้นามว่าโรงเรียนสวนกุหลาบเหมือนโรงเรียนแรกเดิมจึงเป็นเหตุ ให้กรมศึกษาธิการส่งจดหมาย ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ร.ศ.๑๒๑ ถึงมิสเตอร์บรูโน นายช่างผู้รับเหมาก่อสร้างให้ เปลี่ยนนามที่หินแกะจากโรงเรียนสวนกุหลาบ เป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์..."

อย่างไรก็ดี โรงเรียนสวนกุหลาบที่ได้มารวมกับโรงเรียนเทพศิรินทร์ก็ได้ชื่อว่า "สวนกุหลาบอังกฤษเทพศิรินทร์" และในที่สุดก็เป็นสถานที่สุดท้ายสำหรับ "สวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษ" เพราะการย้ายครั้งต่อมาคือการย้ายสวนกุหลาบฝ่ายไทยและอังกฤษมารวมกัน ณ "ตึกยาว" ซึ่งเช่าพื้นที่ของวัดราชบูรณะนั่นเอง

http://www.sk.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=273&Itemid=197

บันทึกการเข้า
paputh
อสุรผัด
*
ตอบ: 6



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 441  เมื่อ 27 ก.ย. 10, 12:11

ตึกยาวมาลย์อุทิศ และ ตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา โรงเรียนเทพศิรินทร์

เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2453 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์ซึ่งเป็นมรดก
ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี
ให้กระทรวงศึกษาธิการทำการจัดสร้างตึกขึ้นด้านตรงกันข้ามของตึกแม้นนฤมิตร
โดยตึกเรียนหลังนี้ยังคงศิลปะโกธิค ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์
อาคารเรียนหลังนี้สร้างเสร็จในปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ทรงพระราชทานนามว่า "เยาวมาลย์อุทิศ"

ปี พ.ศ. 2474 ได้เปิดใช้อาคารเรียนอีกหลังหนึ่งคือ "ตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา"
ตึกนี้เกิดขึ้นจากที่นายพลเอกสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
ได้ทรงให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศพระกุศลถวาย แด่พระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา พระมารดาของพระองค์
ตึกเรียนอยู่ติดกันกับตึกเยาวมาลย์อุทิศ โดยตึกหลังนี้ก็ยังคงไว้ซึ่งศิลปะโกธิค


________________________________________________________
http://www.debsirinalumni.org
http://www.debsirin.ac.th


เป็นที่น่าเสียดายที่การขยายตัวของการศึกษาในขณะนั้น
กอปรกับความเสียหายจากสงคราม
จึงทำให้ต้องทุบทิ้งและสร้างตึกสมัยใหม่ขึ้นแทน

หากดูจากการวางผังของทั้งโรงเรียนและวัดเทพศิรินทร์
มีโรงเรียนอยู่ทางทิศตะวันออก ถัดมาคือวัด และถัดมาด้านตะวันตกคือสุสานหลวง
เปรียบได้กับชีวิตมนุษย์ ที่เริ่มต้นปฐมวัย ถึงปัจฉิมวัยไปจบลงที่สุสาน

ไว้จะหารูปที่มีรายละเอียดของสถาปัตยกรรมมาให้ชมกันครับ ว่าน่าเสียดายแค่ไหน


ตึกเยาวมาลย์อุทิศ


ภาพถ่ายทางอากาศ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 442  เมื่อ 27 ก.ย. 10, 22:28

ผมมีภาพกรุงเทพมาให้แกะรอยกันครับ ระบุว่าถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ ต้นรัชกาลที่ ๕ เป็นภาพโบสถ์ฝรั่ง มีกำแพงพระนครปรากฎด้วย ชวนสมาชิกลูกน้ำเข้ามามุงกัน


บันทึกการเข้า
djkob
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 443  เมื่อ 28 ก.ย. 10, 14:09

สวัสดีค่ะ 

แวะมาทักทาย  ยังคงอู้งานมาติดตามอยู่เสมอนะคะ ได้ความรู้อย่างมากทีเดียว

เวลาที่มีของอร่อยมาฝากก็พลอยอิ่มไปด้วยค่ะ และยังคงติดตามตอนต่อไป

ด้วยความเคารพค่ะ
ดีเจกบ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 28 29 [30]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.038 วินาที กับ 19 คำสั่ง