เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 37642 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 345  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 10:38

เปรียบเทียบกับปัจจุบัน เป็นสถานีบางจากค่ะ


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 346  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 10:45

มีภาพมาเรียนถามบ้างนะคะ
ภาพนี้ถ่ายที่ไหนเอ่ย
สะพานที่เห็นในภาพคือสะพานอะไรคะ
หมูเกินไปหรือเปล่าค่ะ....


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 347  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 11:41

^^ ลอกมาได้ตามนี้ค่ะ
อ้างถึง
ภาพทางรถไฟปากน้ำ ช่วงที่ผ่านสามย่านในปัจจุบัน
จากภาพคือสะพานเฉลิมเดช 57
ขวามือของภาพไปถนนสี่พระยา
ซ้ายมือของภาพไปถนนพระราม 4
คลองนี้คือคลองหัวลำโพง
ทางรถไฟมุ่งหน้าไปสถานีศาลาแดง

ภาพจากหนังสือ คลองในกรุงเทพฯ : ความเป็นมาการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ในรอบ 200 ปี (พ.ศ.2325-2525) โดย ปิยนาถ บุนนาค ดวงพร นพคุณ และสุวัฒนา ธาดานิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 348  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 12:00

มีของหวานหลังอาหารเที่ยงมากำนัลคุณ Ruamrudee ค่ะ หายป่วยแล้วใช่ไหมคะ ดีใจจัง

ภาพที่ทาย เป็นภาพสะพานเฉลิมเดช 57 ช่วงสามย่านค่ะ ปัจจุบันเปลี่ยนไปจนไม่เหลือเค้าเลยนะคะ
มีเกร็ดเล็กๆ มาเล่าค่ะ.....
สะพานเฉลิมเดช 57 เป็นสะพานที่สร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ
เป็นสะพานในชุด "เฉลิม" ที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการครองราชสมบัติในรัชกาลของพระองค์
สะพานนี้สร้างเชื่อมถนนประทุมวันกับถนนหัวลำโพง ข้ามคลองหัวลำโพง
(ปัจจุบัน คือ ปลายถนนสี่พระยาต่อกับถนนพระรามสี่ ข้างวัดหัวลำโพง)
แต่ยังไม่ทันได้ทำพิธีเปิดสะพาน ก็ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน
ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 จึงเสด็จเปิดสะพานนี้ เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2453
เกือบครบ 100 ปีแล้วนะคะ...


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 349  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 14:08

นั่งรถรางแล้ว มาขึ้นเรือบิน รอบพระนคร กันนะคะ
24 บาท ต่อ 1 เที่ยว ขึ้นได้ครั้งละ 6 คน...


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 350  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 14:47

หนูเพิ่งทราบนะคะว่า เมื่อก่อนสนามม้าของราชกรีฑาสโมสร เป็นสนามบินแห่งแรกของไทยด้วย

"ในปี พ.ศ. 2454 มีชาวต่างประเทศนำเครื่องบินเข้ามาแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรกบริเวณสนามม้าสระปทุมหรือสนามม้าของราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน ต่อมาไม่นานได้มีการจัดตั้งแผนกการบินและสร้างสนามบินขึ้นเรียกว่า สนามบินสระปทุมวัน เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2456 ซึ่งนับเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย  
ต่อมาในปี 2457 กระทรวงกลาโหมเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความคับแคบ และมีน้ำท่วมขัง พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ จึงได้หาพื้นที่ตั้งสนามบินแห่งใหม่ ซึ่งได้เลือกพื้นที่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ บริเวณตำบลดอนเมือง ซึ่งเดิมพื้นที่นี้เรียกว่าดอนอีเหยี่ยว เพราะมีฝุงเหยี่ยวบินจับกลุ่มมารวมกันเป็นจำนวนมาก พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วม จัดสร้างสนามบินแห่งใหม่ขึ้น เรียกว่าสนามบินดอนเมือง
และในเดือนมีนาคม 2457 แผนกการบินก็ได้ย้ายจากสนามบินสระปทุมวันมายังสนามบินดอนเมือง
โดยสนามบินดอนเมืองในขณะนั้นมีสภาพเหมาะสมที่จะรองรับเครื่องบินขนาดเล็กและมีน้ำหนักน้อยเท่านั้น
พื้นทางวิ่งยังคงเป็นหญ้าปรับให้เรียบ และในวันที่ 8 มีนาคม 2547 เครื่องบินแบบนิเออปอรต์ (Nieuport) และเครื่องบินแบบเบรเกต์ (Breguet)  ที่ประเทศไทยซื้อมาใช้ในราชการได้บินมาลงที่สนามบินดอนเมืองเป็นปฐมฤกษ์"


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 351  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 14:50

คงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากสำหรับสมัยนั้นเลยนะคะ เหล็ก บินได้...

"ต่อมาได้มีการพัฒนาสนามบินขึ้นมาเรื่อยๆ โดยในระยะแรกที่ย้ายสนามบินมาที่ดอนเมืองนั้นจะมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนไปเยี่ยมชมกิจการการบินอยู่เสมอ
ในปี 2467 Royal Dutch Airline (KLM) เป็นสายการบินพานิชย์สายแรกที่มาลงจอด ณ สนามบินดอนเมือง"


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 352  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 15:08

หนูเพิ่งทราบนะคะว่า เมื่อก่อนสนามม้าของราชกรีฑาสโมสร เป็นสนามบินแห่งแรกของไทยด้วย

"ในปี พ.ศ. 2454 มีชาวต่างประเทศนำเครื่องบินเข้ามาแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรกบริเวณสนามม้าสระปทุมหรือสนามม้าของราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน ต่อมาไม่นานได้มีการจัดตั้งแผนกการบินและสร้างสนามบินขึ้นเรียกว่า สนามบินสระปทุมวัน ซึ่งนับเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย  

แวะไปดูเครื่องบินกับคุณดีดี

รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

ในปลายเดือนมกราคม, พ.ศ. ๒๔๕๓, ได้มีเครื่องบินเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เปนครั้งแรก ผู้ที่จัดการนำเครื่องบินเข้ามาแสดงในนี้เปนบริษัทฝรั่งเศสชื่อ "บริษัทการบินแห่งปลายบุรพเทศ" ("Societe d' Aviation de L' Extreme Orient") และนักบินชื่อวันเด็นบอร์น (Van den Born). ได้ขออนุญาตเก็บเงินคนดูโดยปิดถนนสนามม้า, ปะทุมวัน, และใช้สนามม้าของราชกรีฑาสโมสรเปนสนามบิน. การบินมี ๕ วัน, คือวันที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๔, ที่ ๕, ที่ ๖ มีผู้รับให้รางวัลทุกวัน, และของกะลาโหมมีเปนประจำทุกวัน, เพราะเขารับฝึกหัดนายทหารของเราให้ใช้เครื่องบินด้วย. เครื่องที่นำเข้ามาครั้งแรกเปนเครื่องปีก ๒ ชั้น ไม่มีที่คนโดยสารขึ้น, ฉนั้นถ้าใครอยากจะโดยสารก็ต้องยืนเกาะไปข้างหลังคนขับ, ออกจะน่าเสียวใส้อยู่บ้าง. ได้มีคนไทยลองขึ้นกันหลายคน, เจ้านายมีกรมอดิศร, กรมกำแพงเพ็ชร์ และกรมสรรควิสัยนรบดี, พวกเหล่านี้กล่าวว่าไม่น่ากลัวกว่าขึ้นรถยนตร์, แต่ในเวลานั้นออกจะมีคนเห็นด้วยน้อยทีเดียว. ตามความจริงเครื่องบินในเวลานั้นก็ยังไม่ดีเท่าในเวลานี้จริง ๆ ด้วย, และยังมีข่าวตกหล่นและเกิดอุปัทวเหตุบ่อย ๆ นัก. เมื่อฉันยังอยู่ที่ยุโรปนั้น ได้มีผู้คิดสร้างเครื่องบินขึ้นบ้างแล้ว, แต่ฉันยังหาได้เคยเห็นใครขึ้นเครื่องบินแล่นในอากาศไม่, ฉนั้นฉันเองก็ออกจะตื่นมากอยู่ ในการที่ได้มีเครื่องบินเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ครั้งนั้น.

ตามจดหมายเหตุรายวันปรากฏว่า ฉันได้ไปดูการบินถึง ๔ วัน. วันที่ ๑ กุมภาพันธ์เปนวันแรกที่ไปดู. ฉนั้นอยู่ข้างจะตื่นมาก, แต่ก็ไม่ปรากฏว่านักบินได้แสดงอะไรผาดโผนยิ่งไปกว่าขึ้นจากสนามม้าแล่นไปรอบ ๆ แล้วก็กลับลง. วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ได้ไปดูอีกครั้ง ๑, และครั้งนี้เขาเชิญให้ไปดูเครื่องในที่ใกล้ วันที่ ๔ ได้ไปดูอีก, และเสด็จแม่กับเจ้านายฝ่ายในเสด็จไปทอดพระเนตร์ด้วย, แต่ประทับที่โรงเรียนตำรวจพระนครบาล, ไม่ใช่ที่ราชกรีฑาสโมสร. การบินในวันนี้ไม่ได้กระทำเต็มตามกำหนด, เพราะเขาว่าลมบนแรงนัก. วันที่ ๕ เขาได้บินจากราชกรีฑาสโมสรไปสวนดุสิต, ทิ้งหนังสือลงไปที่พระลานฉบับ ๑, แล้วบินกลับไปภายในเวลา ๘ นาที. ฉันได้ให้ถ้วยเงินเปนรางวัลถ้วยหนึ่ง.

จากหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖

คุณนวรัตนได้เล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เยอะ
 
ใครขึ้นบินเป็นคนแรกของประเทศไทย
 http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8138478/K8138478.html


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 353  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 15:18

จะชวนกันขึ้นบินแล้วหรือครับ บินด้วยเครื่องบิน Junkers จากประเทศเยรมันเลยนะนี่ ต้องเตรียมเงินถึง ๑ ตำลึง ๔ บาทกันเลยหรือ ครั้งที่แล้วนับอัฐ นับเฟื้องกันยังไม่ค่อยคล่องกัน  ยิงฟันยิ้ม หวาดเสียวไม่น้อย นับดูแล้วสมาชิกก็ได้มากกว่า ๖ ท่านนะนี่ กล้านั่งกันไหม เลยฝากภาพเครื่องบินสมัย ๒๔๖๘ มาให้ชมกัน


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 354  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 15:45

ตาม link ของคุณเพ็ญชมพู เข้าไปอ่านข้อเขียนของ อ.Navarat.C เรื่อง "ใครขึ้นบินเป็นคนแรกของประเทศไทย" เพลินไปเลยค่ะ
แต่หนูไม่เล่าหรอกนะคะว่าท่านใดที่ขึ้นบินเป็นคนแรกของไทย และขึ้นบินด้วยเหตุผลกลใด ใครอยากทราบต้องเข้าไปอ่านเองค่ะ...รับรองว่าอ่านสนุกได้สาระค่ะ......
ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู และ อ.Navarat.C สำหรับข้อเขียนดีๆ และการค้นคว้าสาระต่างๆ มาแบ่งปันกันนะคะ

เก็บรูปรันเวย์ สนามบินดอนเมืองสมัยนั้นมาให้ดู ด้วยความทึ่งค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 355  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 15:59

กลับมาขึ้นรถรางต่อ

ในคลิปของญี่่ปุ่นเป็นรถรางสายนี้หรือเปล่า



รถรางสายสามเสน บนถนนเยาวราชซึ่งกำลังแล่นผ่านสี่แยกเฉลิมบุรี




รถรางสายนี้แหละที่เคยขึ้นไปโรงเรียนตอนอยู่ชั้นประถม

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 356  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 16:14

ไหนว่า...ปลอดภัย......
ปลอดภัยจากไฟดูด แต่!!!..ตกราง...ค่ะ  อิอิ

ที่ไหน...เมือ่ไหร่  คะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 357  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 16:32

ลื่นไถล ไกลจากตัวรางมากเลยนะครับ แบบนี้ไงเขาถึงได้มีพระราชบัญญัติประกาศให้คนขับรถรางไปขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตสำหรับขับรถรางเท่านั้น
๑. ต้องไม่เป็นผู้ต้องโทษ คดีอาญาต่างๆ
๒. ต้องมีอายุเกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์
๓. ต้องต่ออายุบัตรทุก ๓๑ มีนาคมของทุกปี
๔. ค่าทำบัตร ๒ บาท
๕. ระหว่างทำการขับรถราง ต้องพกบัตรติดรูปไว้เสมอ หากไม่มีปรับ ๑๒ บาท
๖. หากผู้ที่ไม่ใช่คนขับรถราง ไปขับรถราง บริษัทรถรางจะถูกปรับ ๑๐๐ บาท
๗. และผู้ที่ขับไม่มีใบอนุญาต ถูกจำคุก ๑๐ วัน ปรับ ๕๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๘. คนขับๆด้วยความเร็ว และถูกตักเตือน ๓ ครั้ง / ปี ถูกไล่ออก

ประกาศเมื่อ ๓๐ กันยายน ร.ศ. ๑๓๐
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 358  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 16:51

หนูสงสัยว่า
-รถราง มีกระเป๋ารถ หรือเปล่าคะ
-ที่ใส่ตั๋วเป็นกระบอก แล้วฉีก เขย่าดังแก๊กๆ เหมือนรถเมล์สมัยนี้หรือเปล่าคะ
-เขาซื้อตั๋วกันอย่างไรคะ ตามระยะทางหรือราคาเดียวตลอดสาย
-แล้วมีนายตรวจ คอยขึ้นมาตรวจตั๋วหรือเปล่าคะ
ฮืม
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 359  เมื่อ 20 ก.ย. 10, 20:42

ไหนๆก็ขึ้นฟ้าแล้วต่อไปขอเชิญลงใต้น้ำครับ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงวิรุณ ที่เมืองโกเบครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.136 วินาที กับ 20 คำสั่ง