เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 37563 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 19:08

ในที่สุด ก็ได้คำตอบ
ประตูผี หรือสำราญราษฎร์
โล่งใจ...


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 19:14



อ้างถึง
ผมขยายดูยังไงก็ไม่เห็นสิ่งที่ว่าเห็นลิบๆ เห็นแต่ป้อม ไม่เห็นประตู เลยไม่ทราบว่าประตูที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

อ้างถึง
เข้าใจว่าคำบรรยายคงหมายถึงประตูตามที่ดิฉันวงกลมสีแดงเอาไว้     แต่ถ้ามันเรียกว่าป้อม ไม่เรียกว่าประตู ก็แปลว่ามึนไปแล้ว  ไม่ต้องรับฟังนะคะ


ก่อนนอน กรุณาทานยาแก้มึนก่อนครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 19:21



อ้างถึง
ผมขยายดูยังไงก็ไม่เห็นสิ่งที่ว่าเห็นลิบๆ เห็นแต่ป้อม ไม่เห็นประตู เลยไม่ทราบว่าประตูที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

อ้างถึง
เข้าใจว่าคำบรรยายคงหมายถึงประตูตามที่ดิฉันวงกลมสีแดงเอาไว้     แต่ถ้ามันเรียกว่าป้อม ไม่เรียกว่าประตู ก็แปลว่ามึนไปแล้ว  ไม่ต้องรับฟังนะคะ


ก่อนนอน กรุณาทานยาแก้มึนก่อนครับ


สรุปว่าคุณนวรัตนเห็นป้อม ไม่เห็นประตู
ส่วนดิฉันเห็นประตู ไม่เห็นป้อม

ตกลงแบ่งยากันแฟร์ๆ คนละครึ่งนะคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 19:30

หลงประเด็นไปประตูสำราญราฎร์กันใหญ่แล้ว กลับมาที่ประตูเดิมครับ เอาภาพชัดๆให้ชมกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 19:36

ครับไม่หลงประเด็นครับ แต่ช้าหน่อยตามธรรมเนียมคนตอบ กว่าจะค้นสารพัดหนังสือจนเจอ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 19:40

ว่าแต่เขา เราเป็นเอง อิอิ ....เห็นเขาคุยประตูผี เอามาฝากด้วย นี่คือประตูผี เป็นภาพที่ถ่ายไว้เมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ ตัวประตูเป็นทรงหอรบ ซึ่งได้แปลงรูปแบบในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 19:48

โหว...ยกนิ้วให้อาจารย์ NAVARAT.C ครับ ยันหนังสือมาเลย



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 19:53

เทียบกับปัจจุบัน

แนวกำแพงเมืองได้ถูกรื้อทิ้งและขยายเป็นผิวถนน ดังนี้ประตูสะพานหัน ปัจจุบันอยู่กลางถนนครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 20:08

หลังประตู เดินผ่านร้านค้าไม่เท่าไร เพราะต้นไม้ใหญ่ขึ้นครึ้ม และเข้าไปถึงสะพานหันได้เลยครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 20:12

ขอคารวะ   เยี่ยมจริงๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 20:16

อ้างถึง
ขอตอบเรื่องยอดแหลมๆ ที่เห็นในภาพกรมแผนที่ทหารครับ 
ขอตอบว่าน่าจะเป็นยอดพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทในสวนศิวาลัยครับ  เนื่องจากในเวลานั้นยังมิได้สร้างพระที่นั่งบรมพิมาน  จึงน่าจะมองเห็นยอดพระมหาปราสาทซึ่งอยู่ลึกเข้าไปได้ชัดเจน

   

พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทอยู่นอกแนวกล้องมากครับ และมีตึกต่างๆบังมากมาย คงไม่ใช่หรอกครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 20:38

สงสัยสะพานหันเข้าสำเพ็งคงจะไม่ได้สพานสวยงามตามรูปที่คุณหนุ่มสยามเอามาให้ดูนะครับ

สะพานหันยุคก่อนทุบประตูเมืองตรงนี้เป็นสะพานสร้างด้วยเหล็กแบบง่ายๆ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 20:43

อ้างถึง
5.ป้อมหมู่ทะลวง ตรงข้ามสวนรมมณีนาถหัวมุมถนนหลวง (กำแพงเมืองช่วงนี้รื้อในปี 2440 เพื่อนำไปอิฐสร้างทางรถไฟสายอยุธยาไปบ้านผาชีและแก่งคอย) ป้อมนี้ชาวบ้านจะเรียกว่า"ประตูผี" เพราะช่วงนึงอหิวาตกโรคระบาดขนศพออกไปเผาที่วัดผ่านประตูนี้

อาจารย์เทาชมพูขา อ่านปั๊ป สงสัยปุ๊ปเชียวค่ะ อิฐสร้างกำแพง กับ อิฐสร้างทางรถไฟสายอยุธยาไปบ้านภาชี มันอิฐชนิดเดียวกัน ใช้แทนกันได้หรือ แถวแก่งคอยนั่น มีอิฐให้ระเบิดใช้อยู่ข้าง ๆ ทางรถไฟ ไฉนจึงต้องมารื้อกำแพงเมืองไปด้วยคะ

ข้อมูลนี้ ขัดแย้งกับความเป็นจริงมากค่ะ

นี่ครับคุณ Ruamrudee ภาพนี้เป็นการวางเส้นทางรถไฟเมื่อสมัยก่อน จะเห็นว่าพื้นราง ต้องบดอัดและถม ยกระดับราง ดังนั้นอาจจะใช้อิฐที่รื้อจากป้อมและกำแพงมาคลุกกับดินบดอัดเพื่อวางรางรถไฟ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 20:47

ประวัติสะพานหัน

สะพานหันสะพานข้ามคลองโอ่งอ่างปลายถนนสำเพ็ง ชื่อสะพานมาจากลักษณะสะพานเมื่อแรกสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คือเป็นสะพานไม้แผ่นเดียวทอดข้ามคลองปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ อีกปลายวางพาดกับฝั่งตรงข้ามโดยไม่ตอกตรึง สามารถจับหันเพื่อเปิดทางให้เรือผ่านและหันปิดสำหรับคนสัญจรข้าม คนทั่วไปเรียกสะพานแบบนี้ว่า "สะพานหัน" มีใช้อยู่ทั่วไปทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด
สำหรับที่อื่นๆนั้น เมื่อลักษณะสะพานเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย ชื่อสะพานจึงเปลี่ยนไปด้วย แต่สะพานที่ยังคงเดิมจนบัดนี้เหลืออยู่เพียงสะพานเดียว คือสะพานหันข้ามคลองโอ่งอ่าง แม้ว่าปัจจุบันจะหันไม่ได้เหมือนเดิม

สะพานหันได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะจากเดิมหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้เรียบเสมอกัน ใต้พื้นไม่มีล้อเหล็กแล่นบนราง สามารถแยกสะพานออกจากกันให้เรือผ่านได้ และอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างสะพานหันใหม่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสะพานอื่นๆในกรุงเทพฯ ทั้งอดีตและปัจจุบัน เพราะทรงนำแบบมาจากสะพานริอัลโตที่เมืองเวนิช และสะพานเวคคิโอที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี คือเป็นสะพานไม้รูปโค้งกว้างกว่าปกติ เพราะ 2 ฟากสะพานมีห้องแถวเล็กๆ สำหรับให้เช่าขายของ ฟากละ ๗ หรือ ๘ ห้อง ตรงกลางเป็นทางเดินกว้างประมาณ ๑.๕ เมตร ปัจจุบันสะพานหันเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นเดียวกับสะพานทั่วๆไป แต่ชื่อสะพานยังคงเหลือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงลักษณะสะพานเมื่อแรกสร้าง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sanamluang&month=08-2007&date=21&group=3&gblog=29
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 13 ก.ย. 10, 22:14

ฝากรูปวัดไว้ให้ทายกันเล่นๆ  พรุ่งนี้มาฟังคำตอบค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง