เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 30
  พิมพ์  
อ่าน: 37722 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 22 ก.ย. 10, 19:13

อ.เทาชมพู เหมือนรูปร้านสีลม อยุ่ปากตรอกโอเรียนเต็ล ก่อนที่ห้างขายยาอังกฤษฯ จะปลูกเป็นตึกหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 22 ก.ย. 10, 22:34

ก๊กเซียงบี้ ฟังดูเป็นภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว แต่เป็นคำที่ไม่เคยได้ยินครับ

ถ้าจะแปลว่าข้าวหอมมีชื่อระดับชาติก็แปลได้อยู่ แต่เป็นการแปลชนิดพยายามแปลให้มีความหมายให้ได้ ซึ่งโดยส่วนตัวผมว่าไม่ได้ความหมายครับ เพราะถ้าจะพูดถึงข้าวหอมระดับชาติคงไม่มีคนจีนคนไหนแปลเป็นก๊กเซียงบี้แน่

ทีนี้เป็นชื่อสมุนไพรอะไรหรือไม่? ผมลองถามพ่อผม ซึ่งรู้จักยาสมุนไพรจีนอยู่พอสมควร ปรากฏว่าพ่อไม่เคยได้ยินสมุนไพร (หรืออะไรก็ตาม) ที่ชื่อคล้ายๆอย่างนี้ครับ

เป็นอันว่าสูญหมด ต้องกลับมาตั้งต้นกันใหม่

พิจารณาสูตรอาหาร เกยย้งก๊กเซียงบี้ รังนกก๊กเซียงบี้

เกยย้งนั้นไม่ต้องสงสัย เพี้ยนจากสำเนียงแต้จิ๋ว "โกยย้ง" แน่นอน แปลว่าไก่หยอง หรือไก่ฉีกเป็นฝอย ส่วนรังนกนั้นคนจีนนิยมกินเป็นยาบำรุง

น่าสนใจว่ารังนกนี้ คนจีนเชื่อว่าเป็นของเย็น กินมากอาจจะเย็นเกินไป มักจะใส่เกาลี้ (โสมเกาหลี) ซึ่งมีสมบัติ "ร้อน" ลงไปด้วยเพื่อแก้กัน

ตรงนี้แหละครับที่ผมว่าน่าสนใจ เพราะผมสงสัยว่า ก๊กเซียง ไม่ใฃ่คำภาษาจีนครับ แต่เป็นคำที่คนจีนเรียกทับศัพท์คำไทยคำหนึ่ง

นั่นคือ "โกฏเชียง" ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยตระกูลตังกุย ที่อาจจะถูกใช้ใส่แทนโสมครับ

ดังนั้นเกยย้งก๊กเซียงบี้ก็คือ ไก่ตุ๋นโสมฉบับไทยประยุกต์ ส่วนรังนกก๊กเซียงบี้ก็เป็นรังนกตุ๋นกับโสมฉบับไทยประยุกต์ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 08:50

ข้อเสนอของคุณม้าฟังดูเข้าเค้า โกฏเชียง ---> ก๊กเซียง  แต่ยังติดอยู่ที่คำว่า บี๊ - เมล็ดพืช คืออะไร

ลองเอาเมนูอาหารที่มีก๊กเซียงบี๊ มาพิจารณา

เกาเหลาก๊อกเซียนบี๊

เครื่องปรุง  ก๊อกเซียนบี๊  เนื้อน่าอกไก่อ่อน  หมูแฮม  เกลือ  น้ำปลาขาว  ซุบผง  แป้งมัน

วิธีทำ  ต้มก๊อกเซียนบี๊ (หาซื้อได้ตามร้านจีนขายของแห้งตลาดเก่าหรือในตรอกเจ๊สัวเนียม   มีที่ต้มแล้วด้วย)

ซื้อแบบแห้งมา  แช่ในหม้อใส่น้ำให้ท่วม  ทิ้งไว้ ๒๕ นาที  ต้มไฟพอควรอย่าแรงนัก ให้เดือดอยู่สิบนาที  ยกลงเทน้ำทิ้ง ใส่น้ำใหม่  ทิ้งไว้อีก ๒๕ นาที  เอาขึ้นต้มอีกสิบนาที  แล้วถ่ายน้ำทิ้ง ทำอย่างนี้สัก ๘ - ๙ ครั้ง

ที่ทำดังนี้เพราะที่เม็ดมีทรายเกาะอยู่มากนัก  ถ้าเม็ดพองเต็มที่ทรายก็จะร่วงออกหมด

ท่านต้องระวังในเรื่องทรายให้หมดสักหน่อย ที่ดีที่สุดควรต้มวันนี้แล้วแช่น้ำไว้พรุ่งนี้ต้มอีก  พอเดือดเอาใช้จะดีมาก

เมื่อหมดทรายแล้วจงสงเอาแต่เม็ดใส่จานไว้ น้ำใส่กะทะตั้งไฟให้เดือดพล่าน  เอาก๊อกเซียนบี๊ลงลวกใส่เหล้าเสียวลงสักหนึ่งช้อนหวาน พอเดือดทั่วดีตักเนื้อก๊อกเซียนบี๊ไว้  น้ำเททิ้งไป

นี่เป็นวิธีต้มก๊อกเซียนบี๊แห้ง

ถ้าท่านได้อย่างที่เขาต้มแล้ว ก็ต้องเอามาลวกเหล้าเสียก่อนจึงจะใช้ได้

(ต่อจากนั้นก็เป็นวิธีทำเกาเหลา)

จาก ตำราปรุงอาหารจีน ของ โสภณพิพรรฒธนากร ๒๔๗๔  ราคา ๗๕ สตางค์ หน้า ๑๒

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/06/K5524407/K5524407.html#39


ในตำราอาหารข้างบนก็ระบุว่า "ก๊กเซียงบี๊" มีลักษณะเป็นเม็ด

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 09:02

ที่ทำดังนี้เพราะที่เม็ดมีทรายเกาะอยู่มากนัก  ถ้าเม็ดพองเต็มที่ทรายก็จะร่วงออกหมด

เมล็ดพืช ก็ต้องอยู่บนต้นของมัน   ไฉนเลยจะมีทรายเกาะแน่นได้   ฮืม

อะไรที่ทรายเกาะแน่นต้องอยู่ในทราย  ก็เลยเข้าใจว่า เป็นหัวของพืชชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ริมทะเล  ทรายเกาะแน่นเสียจนเคาะไม่ออก ล้างไม่ได้ (หรือไม่นิยมล้างกัน เดี๋ยวเสื่อมคุณภาพ)  ขนาดตากแห้งแล้ว ทรายยังไม่ร่วงออกมา
เห็นกรรมวิธีต้ม    แล้วอ่อนใจว่าต้มอะไรกันสาหัสสากรรจ์  กินเวลาข้ามวันข้ามคืน   กว่าจะพองให้ทรายร่วงได้  
ยังงั้นเม็ดมันคงไม่เกลี้ยงๆอย่างเมล็ดพืช   น่าจะเป็นริ้วร่อง หรือเป็นรูเล็กๆ  ทรายถึงเข้าไปอัดแน่น   ถ้าเป็นเม็ดเกลี้ยงๆอย่างเมล็ดพืชโดยมาก  ล้างต้มหนเดียวทรายก็หลุดหมดแล้ว
ลักษณะเป็นเม็ดด้วย  ไม่ใช่เป็นหัวอย่างพืชในดิน

พืชประหลาดเสียแล้วค่ะคุณเพ็ญชมพู    ไม่ทราบว่าคุณเพ็ญเชี่ยวชาญเรื่องพืช นอกเหนือจากสัตว์ประหลาดหรือเปล่า  จะได้วานให้นำรูปมาลงให้หน่อย
อยากรู้จริงๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 10:10

ในพจนานุกรมไม่มีคำว่า โกฏเชียง มีแต่ โกฐเชียง

โกฐเชียง น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Livisticum officinale  Koch. ในวงศ์ Umbelliferae.

โกฐ [โกด] น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐน้ำเต้า, ตํารายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. (ป. โกฏฺ?).

หน้าตาของโกฐเชียงคล้าย ๆ กับโสม



ไม่ทราบว่ามีโกฐเชียงอัดเม็ดขายหรือไม่

 ฮืม
 
 
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 11:14

ขออภัยที่เขียนผิดครับ โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง คัดสิบจบแล้วขอคุณครูเพ็ญชมพูโปรดอภัย

แต่เมื่อยังหาตัวเลือกอื่นไม่ได้ ผมจึงขอ defend สมมติฐาน ก๊กเซียง = โกฐเชียง ไปพลางๆก่อนนะครับ  ยิงฟันยิ้ม

คำว่า บี้ โดยทั่วไปแล้วแปลว่าธัญพืช แต่ผมคุ้นๆ เหมือนกับว่าเคยเห็นใช้เรียกอะไรที่มีลักษณะเป็นเมล็ดเล็กๆ ว่า บี้ ด้วยเหมือนกัน แต่นึกไม่ออกว่าเห็นจากอะไรนะครับ

แต่พวกโสมนี้ เคยเห็นเขาขายกันอย่างที่เป็นเศษโสม หั่นเป็นแผ่นเล็กๆ หรือแม้แต่ที่เล็กจนน่าจะเรียกได้ว่า เมล็ด เหมือนกัน

การเก็บรักษาของพวกนี้จะอยู่ในสภาพทำแห้ง เมื่อเป็นของที่ขึ้นอยู่กับดินทราย เมื่อทำแห้งแล้ว ย่อมมีดินทรายติดปนได้เป็นธรรมดา ยิ่งพวกเศษเมล็ดโสมนี่ยิ่งต้องติดมาเป็นสัดส่วนที่มากเป็นพิเศษแน่

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าเมื่อนำมาทำอาหารจึงอาจต้องมีการเอามาล้างเอาเม็ดทรายหรือเศษสกปรกออกบ้างครับ


ความจริงแล้ว วิธีที่จะรู้ได้แน่คือเดินไปถามร้านยาจีน แต่ไม่รู้จะไปถามที่ไหนเหมือนกันครับ คงต้องไปหาเอาแถวเยาวราชกระมัง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 11:22

ถ้าไม่ใช่หัวพืช ก็อาจเป็นส่วนรากของพืช   อยู่ในดินปนทราย  
เป็นโสมจีน ไม่ใช่โสมเกาหลีหรือไงคะ
เมืองจีนที่มีทรายมากคงมีแต่เมืองจีนชายทะเล   พืชปริศนาเห็นจะไม่ได้มาจากปักกิ่ง  น่าจะมาจากจีนตอนใต้

ยังติดใจคำว่าเม็ดนี่แหละค่ะ   รากอัดเม็ด น่าจะทันสมัยไปหน่อยมั้ง

ถ้าคุณณัฐดลไปติดดาวเทียมแถวเยาวราช ฝากถามเถ้าแก่เจ้าของร้านยาหน่อย   หรือถ้าเดอะแก๊งค์ไปช้อนลูกน้ำแถวไหนที่ขายยาจีนโบราณ กรุณาถามให้ที ก่อนจะหลอนกันอีก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 12:03

เว็บของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขให้ชื่อวิทยาศาสตร์ของ โกฐเชียง  ไว้อีกอย่างหนึ่งคือ Angelica sinensis (Oliv.) Diels ตรงชื่อสปีชีส์บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นพืชกำเนิดในเมืองจีน

http://www.dtam.moph.go.th/tcm/images/stories/danggui10.pdf

โกฐเชียง ก็มีชื่อจีนอยู่แล้วว่า ตังกุยเหว่ย ไฉนต้องเรียกชื่อทับศัพท์ภาษาไทยอีก

ข้อนี้น่าสงสัย

 ฮืม


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 12:20

ถ้าเป็น โสม และโกฐเชียง แล้วต้องแช่น้ำ 25 นาที ต้องต้มอีก 10 นาที และเทน้ำทิ้งไป ทำอย่างนี้ตั้ง 8-9 ครั้ง
สรรพคุณน่าจะหมดไปกับน้ำที่ทิ้งไปนะคะ แล้วโสมส่วนใหญ่เราก็ไม่ได้เคี้ยวรวมไปกับอาหาร
แค่ล้างน้ำถ้ามีทรายมากก็สามารถใช้ผ้าขาวบางห่อไว้ และตุ๋นกับเนื้อสัตว์ได้เลย

แต่ ก๊กเซียงบี๊ น่าจะเป็นอะไรที่เคี้ยวรวมไปกับอาหารได้ และไม่เละ
เพราะผ่านการต้มถึง 8-9 ครั้ง ยังสามารถตักเอาแต่เนื้อก๊กเซียงบี๊  ไปทำเกาเหลาได้อีก
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 13:11

หายหน้าไปหลายวัน เพราะทานไอศครีมอาจารย์เทาค่ะ ทำให้อาการไอ ดำรงคงอยู่อย่างเหนียวแน่น

เรื่องร้านสีลมโฆษณานั้น สังเกตุอาคารเป็นเรือนแถว สร้างด้วยไม้ น่าจะสมัยเดียวกับโรงพักพลตระเวณบางรัก
สมัยที่เรียนจบมาทำงานใหม่ ๆ แถวสีลม เรือนแถวแบบนี้ ยังหลงเหลือให้เห็นในสภาพทรุดโทรมมากก่อนจะถูกรื้อ
จะมีอยู่แถว ศาลาแดง แถว รอบ ๆ โรงพยาบาลเลิศสิน ต่อมาถูกไฟไหม้จนเกลี้ยงไปหมด

มีร้านขายของสารพัด ที่หัวมุมปากซอยศาลาแดง ชืื่อร้านสีลมสโตร์ หน้าตาก็คล้าย ๆ กัน แต่ยืนยันไม่ได้ว่าเป็นอันเดียวกันหรือไม่

มาว่ากันถึง ก๊กเซียงบี๊นะคะ ดิฉันเชื่อว่า จะเป็นพวกเมล็ดพืชมากกว่าสิ่งอื่น
และยิ่งบอกว่า แช่น้ำให้พอง ทรายจึงจะหลุด
 
ทำให้นึกถึงเมล็ดสำรอง ที่ต้องแช่ ล้างเอาทรายและเปลือกออก เยื้อข้างในใสคล้ายรังนก แต่เป็นสีน้ำตาล
 
แต่ก๊กเซียงบี๊ คงไม่มีทางใช่สำรองแน่ ๆ เพราะคนจีนเรียกสำรองว่า โพ่ง ตัว ไห้ แปลว่า พองเต็มมหาสมุทร เพราะไม่กี่เมล็ด ก็พองตัวจนเต็มหม้อต้มแล้ว

ยืนยันอีกอย่างว่า รังนกนั้น คนจีนมีวิธีกินสารพัด ทั้งเป็นยา เป็นอาหารคาว และ เป็นของหวาน
สมัยเด็ก ๆ จะกินรังนกต้องไปหาซื้อที่วงเวียน 22 กรกฏาคม สมัยก่อน เขาขายรังนกทั้งวงเวียน
ไม่ได้ขายบ้ายและแผ่นพลาสติคเช่นวันนี้

จะตอบโจทย์ข้อนี้ได้ ต้องทำการบ้าน และ ที่ ๆ จะตอบได้ จะมีตลาดเก่า(เหล่าตั๊กลัก) ตรอกมังกร(เล่งบ๋วยเอี๊ย)
หรือ ร้ายยาจีนแผนโบราณในเยาวราชเท่านั้น

จะต้องเลือกถามกับผู้สูงอายุด้วย คนจีนรุ่นใหม่ ฟังภาษาจีนไม่ออกกันแล้ว

สำหรับโสมนั้น ตัดไปได้เลย เพราะก่อนจะทำให้แห้ง เขาล้างจนหมดทรายแล้ว
และ การกินนั้น จะไม่เอาไปล้างน้ำทิ้งจนเสียคุณสมบัติของโสมอย่างที่ทำกับก๊กเซียงบี๊แน่นอน
บางอย่างหั่นแล้วชงน้ำเดือดดื่มแทนชาทีเดียว ของแพงๆ ต้องกินให้คุ้มค่าค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 13:13

ค่อยๆสืบกันไปอย่างนี้ น่าสนุก  ยิงฟันยิ้ม

พืชปริศนา ประมวลได้ว่า
๑  ลักษณะเป็นเม็ด ชื่อบอกให้รู้ว่ามาจากเมืองจีน
๒  ตากแห้ง   มีทรายจับอยู่แน่นเหนียวมาก   ต้องต้มกันแทบล้มประดาตาย ข้ามวันข้ามคืนได้ยิ่งดี  ทรายถึงจะออก
      (มันเป็นอะไรหนอ  ทรายถึงจับแน่นได้ขนาดนั้น)
๓  สรรพคุณอยู่ที่เนื้อของพืช  ไม่ได้อยู่ธาตุซึ่งละลายมากับน้ำต้ม
๔   เนื้อต้องแข็งและเหนียวมาก   ไม่งั้นต้มกันมโหฬารขนาดนี้   ถ้าเป็นตระกูลถั่ว หรือหัวมัน   น่าจะเละไม่เหลืออะไรแล้วตั้งแต่ต้ม ๒ ครั้งแรก  
      ต้มกันแทบล้มประดาตาย มันแค่พองตัวออกเท่านั้น   ถ้างั้นตอนไม่ได้ต้ม   น่าจะแข็งพอๆกับกรวด
๕    ชื่อภาษาไทยไม่มี   ก็แปลว่าไม่ได้อยู่ในตระกูลพืชไทยที่คนไทยรู้จัก   ไม่งั้นน่าจะแปลออกมาแล้ว    
๖     ไม่น่าจะเป็นโกฐเชียง ไม่งั้นคงระบุชื่อว่า ตังกุยเหว่ย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 13:18

กว่าจะหายไอ น่ากลัวจะผอมเพราะกินอะไรไม่ได้
เอาบัวลอยน้ำขิงมาปลอบขวัญค่ะ    น้ำขิงจะช่วยให้ชุ่มคอ ไม่ไอแล้วละ 

บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 13:28

กราบขอบพระคุณค่ะ
บัวลอยน้ำขิงอร่อยและทำให้หายใจสะดวกขึ้นมากค่ะ
เพียงแต่เยอะมาก หลายลูก คงกินคนเดียวไม่หมด
 
ขอเอาไปแบ่งลุง SriSiam หัวหน้าแก๊งค์ช้อนลูกน้ำ
และท่านอาจารย์ Navarat ประธานแก๊งค์ย่อยหิน
จะได้แจกจ่ายสมาชิกกันได้ทั่วหน้านะคะ  ยิ้ม ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 14:04

เมนูอะไรกันครับ?

1. ต้องต้ม ๘-๙ ครั้ง ถ้าเป็นพวกข้าว คงเหลวเละไม่เป็นท่า ต้องเป็นเมล็ดอะไรสักอย่าง
2. ยิ่งต้ม ยิ่งพอง (การพองตัวแบบนี้ ต้องมีองค์ประกอบของแป้ง เป็นหลักแน่)
3. มีทรายจับอยู่มาก (ต้องมีเปลือก หรือ ผิวขรุขระ ทรายนั้นเป็นทรายอะไร ทรายทะเล หรือ ทรายเพาะปลูก)
4. คงไม่ใช่ข้าวเหนี่ยว / ข้าวหอม อย่างที่เราเข้าใจกัน เนื่องจากของแบบนี้ไม่ต้องต้มหลายวัน ไม่ต้องต้มขาย ทำเองได้
5. คงต้องหายาก เพราะนำมาเข้าองค์ประกอบกับอาหารจีนบางประเภทเท่านั้น
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 23 ก.ย. 10, 14:47

หนูลองดูในเมนูรายการอาหารปริศนา พบว่าตัวสะกดเขียนไม่เหมือนปัจจุบัน
เช่น แฮ่กึ๊น เขียนเป็น แห้กึ๊น ,ใบคน้า เขียนเป็น ใบขน้า .....
จึงเป็นไปได้ว่า กก๊เซียงบี๊ อาจจะมีการสะกดแบบอื่น ที่เสียงใกล้เคียงกัน
แล้วหนูก็ได้เจอ.......เมนู "ก๊กเซียมบี้" ค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง