เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 37271 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 08:02

ดูจากแผนที่ เพื่อหาตำแหน่งบ้านที่คล้ายกันในถนนบำรุงเมือง - ถนนประทุมวัน ไม่มีที่ใดจะเหมือนตรงนี้ไม่มีอีกแล้ว นอกนั้นเลยข้ามคลองผดุงฯ ไปวังใหม่ ก็เป็นทุ่งนาโล่งเตียน ครับ  ร้องไห้ ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 10:47

พักผ่อนสมอง ละสายตาจากแผนที่

มานั่งรถรางชมเมืองกรุงกันดีกว่า

!

คลิปนี้มีเสียงนาทีที่ ๐.๕๒ หลังจากนั้นบรรยายเป็นภาษาญีุ่ปุ่น

เหล่าบรรดาเซียนในเรือนไทยคงช่วยกันบรรยายเป็นภาษาไทยได้บ้างว่า รถรางผ่านสถานที่อะไรบ้าง

 ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 11:07

เอาละ ซื้อตั๋วแล้ว พร้อมเดินทางได้ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 11:13

ขอฉากนี้ก่อนเลยครับ ห้างรัตนมาลา ปัจจุบันคือ The Old Siam Plaza


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 11:19

นั่งรถรางชมกรุงกับคุณเพ็ญชมพู เพลินๆ สะดุดตากับต้นไม้ค่ะปลูกอยู่ด้านนอกแนวรถราง
เลยเอามาเทียบกับภาพของคุณ Ruamrudee ดู อิอิ แบบว่ามันยังหลอนน่ะค่ะ
ถ้าเป็นแนวเตรียมสร้างรางรถรางจริง ถนนเส้นนี้ก็น่าจเป็นด้านหน้าบ้านนะคะ ไม่ใช่หลังบ้าน
ข้อสังเกตของคุณ siamese ตามความเห็นที่ 1027 น่าจะเข้าเค้าสุดๆ แล้วค่ะ
ติดอยู่นิดเดียว ตรงถนนโค้งและมีต้นไม้เนี่ยแหละค่ะ ยังหลอนอยู่ อิอิ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 11:21

พักผ่อนกันก่อน นะครับ อิอิ
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


มาก่อนขึ้นรถราง ต้องรู้จักต้นทางเสียก่อน ช่วงวินาทีแรก ขึ้นรถรางกันที่ไหน เห็นสถาปัตยกรรมเสาโรมัน คุ้นไหมเอ่ย?


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 11:39

อ้างถึง
ส่วนปัญหานอกคูเมือง...อาจเป็นความคลาดเคลื่อนในการบันทึกรายละเอียด...
ต้องรอฟังความเห็นจากเจ้าของภาพอีกครั้งครับ...

ที่เชื่อว่าบ้านพักฝรั่งน่าจะอยู่นอกคูเมืองนั้น เป็นการคาดเดาเอาเองค่ะ อาจจะเป็นไปได้ที่อยู่ในถนนบำรุงเมืองจริง ๆ ดังที่ท่านทั้งหลายได้ค้นจากแผนที่เก่าจนพบตำแหน่งที่น่าเชื่อถือที่สุดแล้ว

แผนที่เก่าในยุคเดียวกันเท่านั้น ที่จะบอกได้ใกล้ความจริงที่สุด ไม่น่าเชื่อเลยว่า จอมยุทธในที่นี้ จะมีแผนที่ชัดเจนขนาดนี้
ค.ค.ห.1033-1034  แผนผังรูปที่ดินและตัวอาคารนั้น น่าจะใช่แล้วนะคะ

เสียดายที่เรื่องนี้ ไม่มีหนังสืออ้างอิงสนับสนุนการค้นคว้าอันนี้ได้ชัดเหมือนบ้านเช่าของสกุลบุนนาคที่หัวถนนสุริวงศ์

เอาละค่ะ ถึงเวลาไปนั่งรถรางเที่ยวแล้ว ตีตั๋วยืนลดครึ่งราคาไหมคะ อยากจะยืนตีระฆังรถรางอ่ะค่ะ ยิ้มเท่ห์ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 12:30

แน่ะ............หายป่วยรึยังคุณหนู....ซนอีกละซี
ยืนตีระฆัง..ระวังวูบตกรถรางหรอกนะ...จะบอกให้.....



ฝากหนู:D ยิ้มกว้างๆ ดูแลคนเพิ่งฟื้นไข้ด้วย........อิอิอิอิ

 ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 13:22

ได้รับตั๋วรถรางจากกระเป๋า (รถรางมีกระเป๋าหรือเปล่า ?) เอามาพิจารณา



ใช่ตั๋วใบที่มาดามซีโมนสะสมไว้หรือเปล่า

มาดามซีโมนหลานสาวของมิสเตอร์ชวดตรังที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในเบลเยียม อัลบั้มที่เธอเก็บรักษาเอาไว้นั้นมีสิ่งหลายอย่างที่หายากและน่าดูมาก ทำให้เราสามารถจินตนาการถึงสภาพความเป็นอยู่ของสยามในยุคนั้นได้ดี ดังได้นำมาให้ดูกันพอหอมปากหอมคอ  ณ ที่นี้

บัตรเชิญงานเลี้ยง, ตั๋วรถราง, เมนูอาหาร, ตั๋วชมละคร, แสตมป์ภาษีอากรในรัชกาลที่ ๕, ตราของหน่วยงานต่าง ๆ, ข่าวหนังสือพิมพ์ตัด ฯลฯ


ย้อนอดีตสยาม 2 ภาพและสิ่งของสะสมของมาดาม"ยอดทอง"
http://forums.thaieurope.net/index.php?topic=320.0

มีข้อข้องใจอยู่ ๓ ข้อ

๑. บริษัทรถรางกรุงเทพ (Bangkok Tramways) ใครเป็นเจ้าของ

๒. ข้อความในตั๋วมีภาษาไทยแค่ "ราคา ๔ (หรือ ๘ ?) อัฐ" นอกนั้นเป็นภาษาอังกฤษ

คนไทยรับมาแล้วก็ไม่เข้าใจว่าัต้องเก็บเอาไว้ให้ตรวจ

ฤๅจะมีตั๋วอีกชุดสำหรับคนไทย

๓. เงิน ๔ หรือ ๘ อัฐ สมัยคุณ "ยอดทอง" (พ.ศ. ๒๔๔๑) ซื้อข้าวแกง (สมัยนั้นมีขายกันหรือเปล่า ?) ได้กี่จาน

 ฮืม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 13:52

เอามาให้คุณเพ็ญชมพู ดูตั๋วอีก สวยงามดีนะครับ


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 13:58

ได้รับตั๋วรถรางจากกระเป๋า (รถรางมีกระเป๋าหรือเปล่า ?) เอามาพิจารณา



ใช่ตั๋วใบที่มาดามซีโมนสะสมไว้หรือเปล่า

มาดามซีโมนหลานสาวของมิสเตอร์ชวดตรังที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในเบลเยียม อัลบั้มที่เธอเก็บรักษาเอาไว้นั้นมีสิ่งหลายอย่างที่หายากและน่าดูมาก ทำให้เราสามารถจินตนาการถึงสภาพความเป็นอยู่ของสยามในยุคนั้นได้ดี ดังได้นำมาให้ดูกันพอหอมปากหอมคอ  ณ ที่นี้

บัตรเชิญงานเลี้ยง, ตั๋วรถราง, เมนูอาหาร, ตั๋วชมละคร, แสตมป์ภาษีอากรในรัชกาลที่ ๕, ตราของหน่วยงานต่าง ๆ, ข่าวหนังสือพิมพ์ตัด ฯลฯ


ย้อนอดีตสยาม 2 ภาพและสิ่งของสะสมของมาดาม"ยอดทอง"
http://forums.thaieurope.net/index.php?topic=320.0

มีข้อข้องใจอยู่ ๓ ข้อ

๑. บริษัทรถรางกรุงเทพ (Bangkok Tramways) ใครเป็นเจ้าของ

๒. ข้อความในตั๋วมีภาษาไทยแค่ "ราคา ๔ (หรือ ๘ ?) อัฐ" นอกนั้นเป็นภาษาอังกฤษ

คนไทยรับมาแล้วก็ไม่เข้าใจว่าัต้องเก็บเอาไว้ให้ตรวจ

ฤๅจะมีตั๋วอีกชุดสำหรับคนไทย

๓. เงิน ๔ หรือ ๘ อัฐ สมัยคุณ "ยอดทอง" (พ.ศ. ๒๔๔๑) ซื้อข้าวแกง (สมัยนั้นมีขายกันหรือเปล่า ?) ได้กี่จาน

 ฮืม




ได้มาจาก พอล เลอมัง ในเวปไทยยุโรปดอทเนตที่อ.เพ็ญชมพูให้มา........
   นับย้อนไปร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เมืองไทยหรือสยามของเราเคยมีรถรางวิ่งในบางกอกมาแล้ว ชาวสยามรุ่นคุณปู่คุณย่าคุณทวด คงจะจำได้ โดยเฉพาะบริเวณสนามหลวง ท่าพระจันทร์ จะมีรถรางไฟฟ้าวิ่งผ่านไปมา เวลาวิ่งผ่านหน้าวัดพระแก้วคนขับจะสั่นกระดิ่งดังเก๊งๆ ๆ ให้คนที่เดินไปเดินมาหลีกทาง...เป็นความทรงจำที่น่าประทับใจจริงๆ รถรางในยุคนั้นทำให้สยามเป็นที่เลื่องลือในความเจริญก้าวหน้า และจัดเป็นประเทศหนึ่งในเอเซียที่มีความเจริญก้าวหน้าและความโด่ดเด่นมาก ประวัติความเป็นมาของรถรางในสยามนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าจะมีการค้นคว้า เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบ ในฐานะที่ผู้เขียนได้มีโอกาสมาใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในดินแดนที่เป็นต้นตำรับรถรางในยุโรป และมีความเกี่ยวดองกับกิจการรถรางของไทย จึงขอนำข้อมูลส่วนหนึ่งของประวัติรถรางไทยที่ได้รับจากผู้รู้ในเบลเยี่ยมท่านหนึ่งมาเสนอ ประกอบกับรถรางเบลเยี่ยมยังคงเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองของชาวเบลเยี่ยม การระลึกถึงกิจการรถรางไทยจึงให้สีสันและจินตนาการที่เป็นรูปธรรมดียิ่ง

   รถรางที่วิ่งกันในบางกอกในสมัยดังกล่าวนั้น ตามประวัติรถรางไทยจากหนังสือ The modern tram way เล่มที่ 18 ฉบับที่ 212 ปี ค.ศ. 1955 ได้ระบุว่าสยามมีรถรางไฟฟ้าวิ่งอยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1893 ซึ่งนับว่าเป็นประเทศแรกในเอเซียที่มีรถรางไฟฟ้า กิจการรถรางได้ดำเนินกิจการมาจนถึงปี ค.ศ. 1968 ก่อนที่จะถูกยกเลิกไป รวมเวลา 75 ปีทีเดียว
 
   ในช่วงปี 1912  กิจการรถรางในสยามอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท Siam Electricity and Cy บริษัทของเบลเยี่ยม ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลและดำเนินกิจการด้านไฟฟ้าด้วย กิจการของบริษัทเบลเยี่ยมดังกล่าวเจริญรุ่งเรืองและทำกำไรอย่างงดงาม ว่ากันว่าในบรรดาบริษัทเบลเยี่ยมในเครือที่อยู่ในประเทศต่างๆ บริษัทในสยามมีผลประกอบกิจการที่กำไรมากที่สุด อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 1930 เป็นต้นมา โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร ปี 1932 กิจการรถรางและไฟฟ้าเบลเยี่ยมก็ถูกกระแสชาตินิยมและการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจากกิจการรถเมล์ ยังผลให้กิจการรถรางไฟฟ้าต้องสิ้นสุดลงในปี 1942 ซึ่งเป็นช่วงญี่ปุ่นยึดครอง ทั้งที่ระยะเวลาสัมปทานยังมีอยู่ถึง ปี 1949 กิจการรถรางไทยมาสิ้นสุดเมื่อปี 1968 โดยมีกิจการรถเมล์แทนที่
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 13:58

ส่งตั๋วภาษาไทยอีกแบบมาให้ดูค่ะ
คุณ Ruamrudee คะ ไม่ซนนะคะ เพิ่งฟื้นไข้กลับมานั่งข้างในซะดีๆ รถรางจะออกแล้ว...อิอิ !!!


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 14:07

...ดูด้านหลังตั๋วสิคะ มีโฆษณาด้วยนะคะ...


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 14:08

ขอวกกลับมาวิลลา ซูซาน กันสักหน่อย ได้พบบทความหนึ่งเรื่องการตัดถนน ขยายถนนให้กว้างออกไป (ถ้าในภาพนั้นถูกต้อง) ถนนที่ชายถอดเสื้อควรอยู่ถนนพลับพลาไชย และถนนรั้วขาวคือถนนประทุมวัน (บำรุงเมืองในปัจจุบัน) ซึ่งบอกว่าเป็นบ้านให้เช่า เจ้าของเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลธิฆัมพรฯ ซึ่งปลูกบ้านเช่า และมีฝรั่งเช่าอยุ่ด้วย


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 17 ก.ย. 10, 14:18

ว้าว!!!!ท่าน siamese เยี่ยมจริงๆ ค่ะ
คนอื่นเขาขึ้นรถรางไปเที่ยวกันหมดแล้ว...


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.706 วินาที กับ 19 คำสั่ง