เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 37649 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 10:34

ข้อมูลเพิ่มเติม

สะพานกษัตรย์ศึก ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๗ ครับ เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๑ สร้างข้ามทางรถไฟ แต่บังเอิญความยาวของสะพานกินระยะทางลาดไปชนสะพานยศเส (เป็นสะพานไม้) จึงทำการสร้างใหม่และผนวกเข้าเป็นเหมือนสะพานเดียวกัน แล้วพระราชทาน "สะพานกษัตริย์ศึก" เพื่อให้พ้องกับถนนพระราม ๑ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าพระราชทาน ระยะถนนตั้งแต่สะพานยศเส - วัดปทุมวนาราม

แสดงว่า ถนนปทุมวัน ช่วงตั้งแต่ประตุสำราญราษฎร์ (ประตูผี) เรื่อยมาจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม ที่สะพานยศเส มีชื่อเรียกกันในช่วงระยะสั้นๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 10:51

นายยอดตรัง หรือ นายยอดทอง

เอมิล จอดตรองเดินทางไปทำงานที่สยามเมื่ออายุ 32  ปี ค.ศ. 1898 นับเป็นที่ปรึกษากฎหมายที่อายุน้อยที่สุดในคณะที่ปรึกษาชาวเบลเยียมในช่วงนั้น
   บ้านพักของปู่และย่าของเธอในสยามชื่อ วิลล่า ซูซาน อยู่ตรงถนนสระประทุมซึ่งเคยเป็นบ้านพักของที่ปรึกษากฎหมายเบลเยียมอีกคนหนึ่งที่ชื่อปิแอร์ โอตมาก่อน
   ย่าของเธอเป็นคนที่ชอบสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะแมว และชอบเก็บสะสมของทุกอย่าง ไม่ว่าจดหมาย บัตรเชิญ ภาพถ่าย ตั๋วรถรางไฟฟ้า บัตรอวยพร เมนูอาหาร แสตมป์และอื่นๆ
   หนังสือเก่าและอัลบั้มภาพที่เธอมีอยู่นี้  เธอได้รับมาจากพ่อและน้าสาวของเธอ เราสองคนเปิดดูภาพต่างๆ ในอัลบั้มด้วยความตื่นเต้น กระดาษอัลบั้มนั้นดูเก่าจนเป็นสีเหลือง กรอบแห้งตามกาลเวลา ภาพถ่ายขาว-ดำได้รับการติดอย่างปราณีตเรียบร้อย มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก หลายภาพเป็นภาพที่คุ้นตาเนื่องจากได้รับการเผยแพร่และอ้างอิงในหนังสือประวัติศาสตร์มาหลายเล่มแล้ว ในขณะที่หลายภาพเป็นภาพที่ต้องยอมรับว่าไม่เคยพบเห็นจากที่ใดมาก่อนเลย ของสะสมหลายชิ้นเป็นของที่น่าจะสูญหายไปจากประเทศไทยแล้ว (กระมั้ง) อาทิ ตั๋วรถรางไฟฟ้าในสยาม
   เกี่ยวกับตัวนาย Emile Jottrand  มาดาม Simone กล่าวว่าเธอมีความภูมิใจในตัวปู่ของเธอมาก
เมื่อถามว่าภูมิใจตรงไหน เธอตอบว่าภูมิใจที่ปู่ของเธอได้ไปทำงานในสยามและเป็นส่วนหนึ่งของคณะที่ปรึกษากฎหมายเบลเยียมสนองราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม
   คนเบลเยียมที่เธอรู้จักส่วนมาก ไม่ค่อยมีใครทราบเรื่องคณะที่ปรึกษากฎหมายเบลเยียมในสยามมากนัก ซึ่งเธอจะรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่จะได้เล่าเรื่องของปู่ของเธอให้เพื่อนๆ ฟัง
   เธอเล่าว่า ย่าของเธอเป็นคนชอบดนตรีและได้นำเอาเปียนโนไปสยามด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โกลาหลมาก เนื่องจากต้องขนเปียนโนดังกล่าวลงเรือ ขึ้นเรือหลายครั้งกว่าจะถึงสยาม ทำให้เมื่อถึงบ้านพักในสยาม
ปู่ของเธอต้องจ้างช่างดนตรีให้มาจูนเสียงกันใหม่ เธอเล่าว่า เปียนโนหลังนั้น นับเป็นหลังเดียวในสยามในขณะนั้นเลยทีเดียว
   เมื่อถามว่า หลังจากที่เอมิล จอตตรองกลับมาจากสยามแล้ว ได้ทำอะไรบ้าง เธอเล่าว่า…หลังจากกลับมาจากสยาม ปู่ของเธอได้ไปบริหารวิทยาลัยการค้าแห่งหนึ่งในเมือง Mons ใกล้เขตแดนฝรั่งเศส วิทยาลัยดังกล่าวมีชื่อว่า Institut Commerce Warocque ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็น Institut superieur de commerce du Hainaut ที่มีชื่อเสียง ปู่ของเธอได้เขียนบทความและข้อเขียนเกี่ยวกับสยามหลายชิ้น ที่มีชื่อมากที่สุดได้แก่บันทึกการเดินทางเรื่อง Au Siam :Journal de Voyage de M. et  Mme. Emile Jottrand  จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์  Plon  ในปี ค.ศ 1905 ซึ่งปรากฎว่าได้รับความนิยมจากผู้อ่านชาวเบลเยียมจนต้องจัดพพิมพ์เป็นครั้งที่ 2
เนื้อหาสาระเป็นจดหมายบันทึกการเดินทางรายวันของนาย Jottrand และภรรยา ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงจนวันสุดท้ายที่ทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในสยาม ซึ่งเป็นบันทึกที่ค่อนข้างละเอียดมาก (จดหมายฉบับแรกคือวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 1898 และฉบับสุดท้ายคือวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 1902) ผู้เขียนได้บันทึกเรื่องราวของชีวิตในสยามทั้งในด้านการงานและส่วนตัวแทบจะทุกๆเรื่อง อาทิ  ได้กล่าวถึง ความรู้สึกแรกที่ได้มาเห็นสยาม ราชสำนัก ข้าราชการ ชาวสยาม ชาวต่างชาติในสยาม  คนรับใช้ในบ้าน การพิจารณาคดี ภูมิประเทศและภูมิอากาศ วัฒนธรรม กษัตริย์ ฯลฯ ความละเอียดของบันทึกดังกล่าว ทำให้ Au Siam เป็นหนังสือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสยามที่สำคัญเล่มหนึ่งซึ่งต่อมาสำนักพิมพ์ White Lotus  โดย นาย Walter J. tips ได้จัดแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ ชื่อว่า  In Siam      นอกจากบันทึกการเดินทางดังกล่าวแล้วเขาได้เขียนบทความเรื่อง Europeens et Asiatiques และการปฎิวัตในสยามในวารสาร le Flambeau  รวมทั้งการให้สัมภาษณ์ลงหนังสือพิมพ์ Le Soir ในโอกาสการเสด็จเยือนเบลเยียมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลปัจจุบัน ในปี ค.ศ 1960 ด้วย
   ในปี ค.ศ 1909 ปู่และย่าของเธอได้เขียนเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวในอินโดจีนและญี่ปุ่น (Indo-Chine et Japon) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Plon ปารีส เนื้อเรื่องเป็นการเล่าถึงการเดินทางทางเรือจากอิตาลี ท่องมหาสมุทร์ไปยังประเทศอินโดจีนที่ไกลโพ้นทะเล ในหลายบทได้เล่าถึงการแวะเยือนสยามไว้อย่างน่าประทับใจด้วย และเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่มีส่วนทำให้ปู่ของเธอมีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดาคณะที่ปรึกษากฎหมายเบลเยียมในสยาม จะยกเว้นก็อาจจะมีเพียงเมอร์ซิเออชาลส์ บูลส์ อดีตนายกเทศมนตรีกรุงบรัสเซลส์ที่เดินทางไปสยามและกลับมาเขียนเรื่อง สยามสเก๊ตซ์ (Croquis Siamois) จนมีชื่อเสียงโด่งดังในเบลเยียมเช่นเดียวกัน
เธอได้เล่าถึงประสบการณ์ที่น่าทรงจำเหตการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองคือ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบันเสด็จเยือนเบลเยียมในปี ค.ศ.1960 ปู่ของเธอได้รับเชิญให้ไปร่วมงานเลี้ยงต้อนรับที่ฝ่ายเบลเยียมจัดถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถด้วย เธอจำได้ดีว่าเธอเองเป็นคนขับรถไปส่งปู่กับน้าสาวที่พระราชวัง โดยตัวเธอนั่งรออยู่ในรถ
   นอกจากนั้น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าโบดวง แห่งเบลเยียมเสด็จเยือนประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1964 (4 กุมภาพันธ์ 1964) สมเด็จพระเจ้าโบดวงได้มีโทรเลขสั้นๆ *ถึงปู่ของเธอ เพื่อแจ้งว่าทั้งสองพระองค์ได้เสด็จมาถึงประเทศสยามหรือไทยซึ่งเป็นประเทศที่ Emile Jottrand ปู่ของเธอได้ทุ่มเทให้อย่างมากแล้ว ซึ่งปู่ของเธอก็ได้ตอบโทรเลขของพระเจ้าโบดวง ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1964 * ด้วยความปลาบปลื้มใจเป็นที่สุด
Emile Jottrand ยังได้ระบุในหนังสือตอบด้วยว่า ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่รู้ว่า หลังจากเวลาผ่านไป 60 ปี ชาวสยามยังคงตระหนักและระลึกถึงคุณงามความดีต่างๆ ที่นายกุสตาฟ โรแลง ยัคแมงส์ หรือเจ้าพระยาอภัยราชาและคณะที่ปรึกษากฎหมายชาวเบลเยียมได้สร้างไว้ให้กับสยาม
สำหรับในส่วนตัวของนาย Jottrand นี้ ได้กราบทูลพระเจ้าโบดวงอย่างตรงไปตรงมาว่า จากการที่ได้เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ หลายประเทศ ประเทศไทย (หรือสยาม) อยู่ในความประทับใจของตนเป็นอันดับแรก เหตุผลก็คือความมีมารยาทงดงามที่ไม่มีอะไรมาเทียบได้ของชนชาวสยาม ความรวดเร็วและง่ายดายในการเรียนรู้วิชาการต่างประเทศรวมทั้งการแสดงไมตรีจิตและน้ำใจต่อผู้อื่นในเรื่องต่างๆ แทบทุกเรื่องไม่ว่าดีหรือไม่ดี ชาวสยามจะมีวิธีการแสดงออกที่งดงามเสมอ*
   พูดถึงเรื่องชื่อของนาย Jottrand มีข้อสังเกตว่าฝ่ายสยามพยายามสะกดชื่อดังกล่าวเป็นภาษาไทยซึ่งก็มีผลทำให้นาย Jottrand  มีชื่อเป็นไทยหลายชื่อ ตั้งแต่ นายชวดตรอง นายยอดตรัง และแม้กระทั่งนายยอดทอง*
   จากการที่ครอบครัว Jottrand เกี่ยวข้องกับสยามมากเช่นนี้ ทำให้เราคาดว่าเธอคงจะได้รู้จักและเคยไปเที่ยวเมืองไทยหลายครั้งแล้ว แต่ผิดคาด เธอตอบว่าเธอยังไม่เคยไปเที่ยวประเทศไทยเลยแม้ สักครั้งเดียว

ที่มา http://forums.thaieurope.net/index.php?action=printpage;topic=313.0
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 10:55

อธิบายเพิ่ม (จากการค้นคว้าเอาเอง คิดเดาเอง)

หลังจาก ร.4 ตัดถนนบำรุงเมืองในปี พ.ศ.2407 แล้ว ได้มีการปลูกห้องแถวเต็มไปตลอดแนวถนน
(ดังนั้น บ้านในภาพ ไม่ได้อยู่บนถนนบำรุงเมืองแน่นอน ไม่มีที่จะแทรกได้เลย)

ถนนบำรุงเมือง เริ่มจากเชิงสะพานช้างโรงสี ไปสุดที่สะพาน ยศเส ริมคลองผดุงกรุงเกษม(แค่นี้เท่านั้น)

ต่อมาได้มีการตัดถนนต่อจากสะพานยศเสไปทางสระประทุม เมื่อแรกสร้าง เรียกกันว่า ถนนสระประทุมบ้าง ถนนปทุมวันบ้าง หรือ เรียกผิดเป็นบำรุงเมืองก็มี

นี่คือสาเหตุที่เจ้าของภาพซึ่งเป็นฝรั่งเข้าใจผิดว่า ถนนสระประทุม คือ บำรุงเมือง แท้จริงแล้ว ชื่อในเวลานั้น คือ ถนนปทุมวัน




911 ของท่านหนุ่มสยามไม่ขัดแย้งกันหรือครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:05

ความจริงได้เตรียมเรื่องนายยอดทองไว้เรียบร้อยแล้ว มาเจอของคุณไซอามีสเข้าพอดี ขอเสนอตอนต่อก็แล้วกัน   

ย้อนอดีตสยาม 2 ภาพและสิ่งของสะสมของมาดาม"ยอดทอง"
http://forums.thaieurope.net/index.php?topic=320.0

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:12

ภาพปริศนาของคุณร่วมฤดีจึงน่าอยู่ไม่ไกลจากคลองผดุงกรุงเกษมมากเกินไปกว่าแยกบรรทัดทอง..........
หากไกลกว่านี้ก็นับว่าเปลี่ยวมากๆ...?...(หากเรานับจากพระบรมหาราชวังออกมา)


 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:16

ขอคารวะความพยายามของทุกท่าน และหลักฐานที่ช่วยกันค้นคว้ามาให้ดู
เป็นเรื่องน่าทึ่งจริงๆ


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:21

ต้องขอขอบพระคุณท่านประธานที่ปรึกษาฯผู้ริเริ่มกระทู้นี้....เมื่อหนึ่งเดือนที่แล้ว....

มาครบ ๙๙๙ วันหวยออกพอดี........ตัวใครต้วมันนะครับถ้าออกเลขนี้??

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:26

นับถอยหลัง.....๙........๘.........๗..........๖.......๕........


๙๙๙ อาจารย์เทาชมพูจองไว้แล้ว......

 ยิงฟันยิ้ม ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:32

 ยิงฟันยิ้ม
ได้เลขเด็ดจริง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:36

เลข ๑,๐๐๐ ก็สวยไม่หยอก

มาครบ ๙๙๙ วันหวยออกพอดี........ตัวใครต้วมันนะครับถ้าออกเลขนี้??

 ยิงฟันยิ้ม

ถ้าดูเลข ต้องดูให้รอบ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:43

สนุก ได้สาระ แล้วยังแถมใบ้หวยด้วยนะคะ...


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:43

นึกว่าโดนปาดหน้าไปเสียแล้ว    

 ร้องไห้

อยากจะปลอบมาดามซีโมนว่าอย่าน้อยใจ    ประเทศไทยไม่ได้ลืมคุณงามความดีของคุณปู่ของเธอ   รวมทั้งที่ปรึกษาชาวต่างประเทศอื่นๆที่มาทำงานในสยาม ก่อคุณประโยชน์แก่ประเทศเราเหลือคณานับเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน    คนไทยก็ยังยกย่องสืบกันต่อมา
แต่ว่าการรำลึกถึงและยกย่อง อยู่ในแวดวงกฎหมายที่ท่านเหล่านั้นมีบทบาทสำคัญ   ไม่ได้ข้ามแดนไปถึงแวดวงอื่น   ซึ่งสื่อไทยเล่นกันมากกว่าในปัจจุบัน เช่นเรื่องการเมือง และวงการบันเทิง  ก็เลยดูเหมือนว่าไม่มีใครรู้จักท่านเหล่านั้นแล้ว

เชิญผู้สนใจเข้าไปอ่านได้ในลิ้งค์นี้ค่ะ
http://www.coj.go.th/museum/malao/botbat.htm

หมายเหตุ อยากจะเซฟหน้านี้เก็บไว้ในเรือนไทยจริงๆ  จะลอกลงมาในค.ห.นี้ ก็ยาวมาก  และต้องแทรกรูปลงต่างหากด้วย   ต้องถามคุณม้าว่าจะทำอย่างไรดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 11:46

จะพยายามทำสถิติค่ะ  ถ้าแก๊งค์ช้อนลูกน้ำและแก๊งค์ย่อยหิน ยังไม่หนีไปไหน
ถ้าหวยออกตามที่คุณศรีสยามและเพ็ญชมพูใบ้ให้   สัญญาว่าจะเปิดเรือนไทยฉลอง
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 12:47

รอลุ้นหวยอยู่ค่ะ เผื่อจะได้ร่วมฉลอง..อิอิ

ท่านนักย่อยหินและนักช้อนลูกน้ำที่เคารพคะ.....
ช่วยสรุปเอาบุญให้หน่อยนะคะว่า "ถนนสระประทุม" อยู่ตรงไหนในภาพนี้คะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 16 ก.ย. 10, 12:56

ภาพปริศนาของคุณร่วมฤดีจึงน่าอยู่ไม่ไกลจากคลองผดุงกรุงเกษมมากเกินไปกว่าแยกบรรทัดทอง..........
หากไกลกว่านี้ก็นับว่าเปลี่ยวมากๆ...?...(หากเรานับจากพระบรมหาราชวังออกมา)
 ยิ้ม

ถนนในภาพปริศนาอยู่ชานเมือง    ดิฉันเชื่อว่าอยู่ที่ปทุมวัน ถัดจากสะพานกษัตริย์ศึกลงมา ใกล้ๆบรรทัดทอง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง