เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 37752 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


 เมื่อ 11 ก.ย. 10, 22:16

คุณหนูหัวหน้าแก๊งค์หนีไปนอนแหล๋ว....

เสริม......ภาพสวยๆ..ผลงานของCarlo Allegri  อยู่ในบล็อคนี้ครับ...
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=haiku&month=08-07-2010&group=20&gblog=3



และถ้ายังไม่เครียด....ลองคิดดูว่าแม่น้ำสะโตงที่ท่านมุ้ยเพิ่งไปถ่ายภาพมาเมื่อ2-3 ปีนี้...กว้างสัก 5 เท่าของสะโตงที่สมเด็จพระนเรศวรฯทรงพระแสงปืนต้นได้ไหม??


เช่นกัน....สภาพถนนเจริญกรุงเมื่อ 120 ปีที่แล้วอาจมีตรอกส่วนบุคคลหรือถนนแยกอีกหนึ่งเส้นก็ได้?แต่ถูกสร้างเป็นอาคารไปหมด
ถ้างั้นลองดูว่าแบบนี้เป็นไปได้ไหม?.....เพราะตรงดาวแดงสองดวงนั้นคือมุมเดียวกันของรั้ว...อย่าไม่น่าต้องสงสัย?ฮืม

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.ย. 10, 22:22

ทำกราฟฟิคสวยมากเลยครับ คุณ srisiam  ยิ้มเท่ห์

เรื่อง Siam Free Press จะหันหน้าเข้าซอย คงไม่ได้ เพราะว่าดูจากถนนหน้าอาคารนั้นเป็นถนนสายใหญ่ และมีเสาไฟฟ้าขนาดใหญ่ (คงไม่ไปปักให้ซอยเล็กขนานนั้นครับ)
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ย. 10, 22:36

ขอบพระคุณครับ......


นี่คือ.....ชอยต้องสงสัย/หรือถนนส่วนบุคคลที่ถูกเปลี่ยนไป..ฮืม(ยังดื้ออยู่อีก)...ซึ่งไม่น่าจะเป็นเจริญกรุงหรือสุรวงศ์...น่าคิดนะครับ
เพราะมีแต่ต้นไม้ครึ้ม..ไม่มีตึกแถวเลย......
น่าคิด.......ผิดถูกอีกเรื่อง?

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.ย. 10, 22:57

หลอนอีกแล้วเรา ไม่น่าเปิดดูจนกระทั่งดึกเลย  ลังเล

รูปถนนสายเล็กที่ผู้ไม่ยอมเป็นประธานแก๊งค์ลูกน้ำ ซูมมาให้ดู  ลักษณะเหมือนเป็นถนนสายเล็กหรือซอยที่ตัดผ่านบ้านคนอยู่อาศัย  ไม่ใช่ถนนใหญ่ที่มีห้องแถวพาณิชย์  
บ้านสมัยโน้นปลูกต้นไม้หน้าบ้านทั้งนั้น  ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้กินได้ อย่างมะม่วง  
ถนนสายเล็กเส้นนี้น่าจะสำคัญ  เทศบาลลาดถนนเสียเรียบทีเดียว  น่าจะเป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนสำคัญสองสายก็เป็นได้   ไม่น่าจะเป็นถนนหรือซอยตัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.ย. 10, 23:07

ข้อสรุปของผมเป็นอย่างนี้ครับ

1-บ้านสองหลังนี้ ผมเอามาจากหนังสือเล่มเดียวกัน ถ่ายรูปในปลายรัชกาลที่6 จะเป็นหลังเดียวกันไม่ได้เพราะบรรยายภาพว่าเป็นที่ทำการคนละบริษัทกัน  British Dispensaryหนึ่ง และSiam Free Pressอีกหนึ่ง

2-คุณร่วมฤดีค้นมาได้ว่าBritish Dispensaryอยู่ที่แยกปลายถนนสุรวงศ์ชนกับถนนเจริญกรุง ในหนังสือของผมบอกว่าอยู่บนถนนเจริญกรุง แสดงว่าบริษัทนี้หันหน้าออกเจริญกรุง และด้านข้างอยู่สุรวงศ์ และถนนสุรวงศ์พ.ศ.นั้นก็คงมีต้นไม้เยอะอย่างนั้นเอง ตึกแถวมาที่หลัง

3-แต่เราช่วยกันพิสูจน์แล้วว่าจุดที่ถ่าย ไม่ได้อยู่หน้าBritish Dispensary แต่อยู่หน้าSiam Free Press  ดังนั้นSiam Free Pressจึงต้องหันหน้าออกเจริญกรุงด้วย วิวหน้าบริษัทจึงจะเป็นดังภาพ ซึ่งด้านข้างก็ติดถนนหรือซอยด้วย แต่อาจจะไม่ใช่ หรือใช่สุรวงศ์ก้ได้ ขึ้นอยู่กับสถานีพักพลตระเวนบางรักเดิมว่าอยู่ตรงไหนของเจริญกรุง ทว่าอย่าลืม  อัสสัมชัญที่อยู่ตรงนั้นก็เรียกอัสสัมชัญบางรักเหมือนกันนะครับ


บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 02:25

เอาจิ๊กซอล์มาต่อให้อีกตัวครับ

* ilovebangkok.doc (20.5 KB - ดาวน์โหลด 693 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 06:11



ข้อความโดย: natadol 

อ้างถึง
เอาจิ๊กซอล์มาต่อให้อีกตัวครับ


ขออนุญาตลอกมาลงไว้เลย

ตามคำบอกเล่า (บันทึกไว้เป็นข้อเขียน) ของ 'เสถียร-โกเศศ' เมื่อถนนสุรวงศ์สร้างใหม่ ๆ นั้น ปากถนนด้านเจริญกรุงสร้างเป็นเรือนตึก 2 ชั้น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ฟากละ 3 หลัง แต่ละหลังมีรั้วโปร่งทำด้วยไม้กั้นเป็นสัดส่วยของบริเวณบ้าน

หลังแรกทางขวามือ เป็นห้างจำหน่ายยาฝรั่งยาฝรั่งตรางู ของ นายแพทย์โธมัส เฮาเวิร์ด (Dr. Thomas Howard Hays) ซึ่งเป็นหมอสอนศาสนาชาวเอมริกัน ที่มาสอนที่ศิริราชพยาบาลยุคแรก และย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางรัก (ต่อมาเปลี่ยนโรงพยาบาล 'เลิดสิน' อยู่บนถนนสีลม)

หมอเฮส์เป็นผู้ให้กำเนิด 'ห้างขายยาอังกฤษตรางู' ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมือหลายครั้งจนถึงตระกูล 'ว่องวานิช' ในปัจจุบันหมอเฮส์ผู้นี้ได้ร่วมกับภรรยาซึ่งเป็นมิชชั่นนารีชาวอเมริกัน เช่นเดียวกันคือ เจนนี เนียลสัน (Jenny Neilson) ก่อตั้งห้องสมุด 'เนียลสัน เฮส์' ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสุรวงศ์มาจนถึงทุกวันนี้ (จะได้กล่าวถึงต่อไป)

บ้านหลังที่สองเคยเป็นที่อยู่ของ 'หมอปัวส์' (Poix) ชาวฝรั่งเศส ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอัศวินอำนวยเวช บ้านหลังนี้ต่อมาเป็นภัตตาคารอาหารอิตาเลียน ชื่อ 'ทรอกาเดโร' ดำเนินงานโดยสุภาพสตรีชาวอิตาเลียนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ขณะนั้นชื่อ มาดามสตาโร (Madame Staro) ซึ่งได้พัฒนาภัตตาคารมาเป็น 'โรงแรมทรอกาเดโร' ในเวลาต่อมา

บ้านหลังที่สามถัดมา เป็นที่อยู่ของ หมอยอน คาริงตัน (John Carrington) ซึ่งเป็นหมอมิชชั่นนารีอเมริกันเช่นเดียวกับหมอเฮส์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 06:51

หมายถึงแบบนี้ถูกไหม

1.หลังแรกทางขวามือ เป็นห้างจำหน่ายยาฝรั่งยาฝรั่งตรางู ของ นายแพทย์โธมัส เฮาเวิร์ด (Dr. Thomas Howard Hays) ซึ่งเป็นหมอสอนศาสนาชาวเอมริกัน ที่มาสอนที่ศิริราชพยาบาลยุคแรก และย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางรัก (ต่อมาเปลี่ยนโรงพยาบาล 'เลิดสิน' อยู่บนถนนสีลม)

หมอเฮส์เป็นผู้ให้กำเนิด 'ห้างขายยาอังกฤษตรางู' ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมือหลายครั้งจนถึงตระกูล 'ว่องวานิช' ในปัจจุบันหมอเฮส์ผู้นี้ได้ร่วมกับภรรยาซึ่งเป็นมิชชั่นนารีชาวอเมริกัน เช่นเดียวกันคือ เจนนี เนียลสัน (Jenny Neilson) ก่อตั้งห้องสมุด 'เนียลสัน เฮส์' ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสุรวงศ์มาจนถึงทุกวันนี้ (จะได้กล่าวถึงต่อไป)

2.บ้านหลังที่สองเคยเป็นที่อยู่ของ 'หมอปัวส์' (Poix) ชาวฝรั่งเศส ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอัศวินอำนวยเวช บ้านหลังนี้ต่อมาเป็นภัตตาคารอาหารอิตาเลียน ชื่อ 'ทรอกาเดโร' ดำเนินงานโดยสุภาพสตรีชาวอิตาเลียนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ขณะนั้นชื่อ มาดามสตาโร (Madame Staro) ซึ่งได้พัฒนาภัตตาคารมาเป็น 'โรงแรมทรอกาเดโร' ในเวลาต่อมา

3.บ้านหลังที่สามถัดมา เป็นที่อยู่ของ หมอยอน คาริงตัน (John Carrington) ซึ่งเป็นหมอมิชชั่นนารีอเมริกันเช่นเดียวกับหมอเฮส์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 06:53

ภาพโรงแรม'ทรอกาเดโร' ครับ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 07:17

ภาพอนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียนในความเห็นที่ ๗๕๗ นั้น  ตั้งอยู่ที่หน้าสถานทูตอังกฤษเดิมที่บางรัก
เมื่อสถานทูจอังกฤษย้ายไปอยู่ที่เพลินจิตซึ่งเป็นที่ดินของนายเลิด  การย้ายสถานทูตอังกฤษนี้น่าจะเป็นการแลกที่ดินกับนายเลิด (พระยาภักดีนรเสรษฐ) เจ้าของปาร์กนายเลิด  เพราะเมื่อสถานทูตอังกฤษย้ายไปนั้น  ที่ตั้งเดิมที่ติดกับโรงภาษีได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเลิด  แล้วกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เป็นเสนาบดีได้ตกลงซื้อที่ดินแปลงนี้จากนายเลิดเพื่อขยายพื้นที่ของโรงภาษีออกไป  โดยตกลงซื้อแล้วเรียบร้อยแล้วจึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต  ซึ่งการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต  เมื่อมีพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้นได้มีพระราชวินิจฉัยว่า การที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติดำเนินการไปก่อนได้รับพระบรมราชานุญาตนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชนิยม  เพราะกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเคยตำหนิเสนาบดีเจ้ากระทรวงอื่นที่สั่งจ่ายเงินโดยไม่ขออนุญาตกระทรวงพระคลังฯ ก่อน  แต่กระทรวงพระคลังฯ กลับมาทำเช่นที่ตำหนิกระทรวงอื่นๆ  ถึงแม้ว้าจะเกรงว่าความจะรั่วไหลแล้วจะทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น  ก็ทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า ข้าราชการในกรมราชเลขาธิการนั้นล้วนเป็นผู้มีหูมีตาแต่ไม่มีปาก  หากผู้ใดไม่รักษาความลับทางราชการก็จะถูกลงโทษไล่ออกและถอดจากยศบรรดาศักดิ์กันเลยทีเดียว

อนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียนนั้นมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบนั่ง  และแบบยืน  ชาวอังกฤษในกรุงเทพฯ ได้สั่งพระบรมรูปแบบนั่งเข้ามาประดิษฐานที่หน้าสถานทูตในกรุงเทพฯ  แล้วได้กราบบังคมทูลเชิญล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จไปทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้  มีเอกสารจดหมายเหตุบันทึกไว้เป็นเรื่องราวยืดยาว  เพราะทรงเกรงจะกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสยามกับนานาประเทศ  สุดท้ายเมื่อเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศถวายความเห็นว่า ไม่น่าจะมีผลอะไรจึงทรงรับเชิญเสด็จไปในงานนี้

เมื่อชาวอังกฤษในกรุงเทพฯ สั่งอนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียเข้ามา  ชาวอังกฤษในเชียงใหม่และมณฑลพายัพ  ก็สั่งอนุสาวรีย์แบบยืนเข้ามาประดิษฐานที่หน้าสถานกงสุลเชียงใหม่บ้าง  แต่เมื่ออาทิตย์อัสดงในแผ่นดินอังกฤษ  อิทธิพลของอังกฤษในภูมิภาคต่างเริ่มเสื่อมถอยลง  อังกฤษได้ขายสถานกงสุลที่เชียงใหม่ให้เอกชนไทย  มีการเปลี่ยนมือกันหลายทอด  แล้วอนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียผู้ยิ่งใหญ่ก็ถูกย้ายจากหน้าสถานกงสุลอังกฤษไปไว้ที่มุมหนึ่งใน "สุสานบ้านเด่น" หรือป่าช้าคริสเตียนใกล้สโมสรยิมคานา 

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 08:11

แปลจากหนังสือTwentieth Century Impressions of Siam เขียนโดย Arnold Wright และ Oliver T. Breakspear

ห้างขายยา(British Dispensary)นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ20ปีมาแล้ว(นับจากปี1908หรือพ.ศ.2451 ก็คือประมาณปีพ.ศ.2431)โดยDr. Gowan อายุรแพทย์ในพระเจ้าอยู่หัว ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาจากนั้นได้ตกเป็นของDr. T. Hayward Hays หัวหน้าหน่วยแพทย์ของราชนาวีสยาม และแพทย์ประจำกรมรถไฟ ซึ่งหลังจากเข้าครอบครองได้ไม่นานก็ขยายไปเปิดสาขาอีกหนึ่งสาขาในย่านที่เหมาะสม(ไม่บอกว่าที่ไหน)ของกรุงเทพ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน(ที่เขียน)ยังรุ่งเรืองดีอยู่ ในปี1906(2449) Dr. Haysได้ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ Mr. Macbethซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมงานกันมาตั้งแต่ปี1898 (2441) และมีผู้ช่วยชื่อMr. Davies เภสัชกรปริญญาซึ่งมีประสพการณ์หลายปีทั้งในอังกฤษและแผ่นดินใหญ่(ยุโรป)


ถนนสุริวงศ์ตัดปีอะไรครับ?


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 08:29

จิ๊กซอร์มาอีกตัวนึง


ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เมื่อพระยาสีหราชเดโชชัย ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ได้ขอพระบรมราชานุญาตตัดถนนทางฝั่งพระนครขนานกับถนนสีลม ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานชื่อว่า ถนนสุรวงศ์ และถนนเดโช ตามชื่อของท่านนั้น บุตรหลานของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้มาตั้งเคหสถาน ณ ถนนสายนี้ ตั้งแต่บริเวณมุมถนนสุรวงศ์ตัดกับถนนเจริญกรุง เป็น บ้านของพระยาประภากรวงศ์ (ว่อง บุนนาค) กับท่านเรียบ (ซึ่งต่อมาได้สร้างโรงแรมทรอคาเดโรขึ้นในบริเวณนั้น) ถัดลงมาเป็นที่ดินของ พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) กับคุณหญิงนุ่ม พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) เจ้าจอมเลียม พระอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็มสุริยวงศ์ บุนนาค) ถัดไปทางถนนเดโช เป็นบ้านของศาสตรา-จารย์นายแพทย์เติม บุนนาค ศาสตราจารย์ติดต่อ บุนนาค คุณเดียร์ บุนนาค ภรรยาพระโชติศิลปคุณ (โชติ โชติก-เสถียร) และหม่อมดำริห์ บุนนาค ในหม่อมเจ้าสิทธิยากร วรวรรณ เป็นต้น

อย่างที่ผมสันนิฐาน บ้านเหล่านี้เจ้าของต้องเป็นคนไทย ปลูกหลายๆหลังเหมือนๆกัน อาจอยู่เองด้วยให้เช่าด้วย ให้บ้านเช่าอยู่ด้านหน้าที่ติดถนน เพราะทำเลงามจะได้ราคาดีๆ บ้านที่ตนอยู่อาศัยอยู่ในที่รองๆลงไป (ที่เห็นเหมือนกับยังเป็นสวนนั่น)
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 09:13



ข้อความโดย: natadol 

อ้างถึง
เอาจิ๊กซอล์มาต่อให้อีกตัวครับ


ขออนุญาตลอกมาลงไว้เลย

ตามคำบอกเล่า (บันทึกไว้เป็นข้อเขียน) ของ 'เสถียร-โกเศศ' เมื่อถนนสุรวงศ์สร้างใหม่ ๆ นั้น ปากถนนด้านเจริญกรุงสร้างเป็นเรือนตึก 2 ชั้น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ฟากละ 3 หลัง แต่ละหลังมีรั้วโปร่งทำด้วยไม้กั้นเป็นสัดส่วยของบริเวณบ้าน





คุณหลานnatdolหายไปนาน...มาที่เดียวเป็นเรื่องเลย....เยี่ยมมาก...เหมาะกับตำแหน่งเลขาฯแก็งค์ที่สุด...อาจารย์เทาชมพูเมตตาอนุมัติด่วนด้วยครับ...



ฟากละสามหลัง...ก็ต้องรวมเป็นหกหลังใช่ไหมครับ.....
 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 09:33

สวัสดีตอนเช้าค่ะทุก ๆ ท่านที่เคารพ

กราบขอบพระคุณที่เกาะติด กัดไม่ปล่อย จนออกมาได้ชัดเจนขนาดนี้ว่า หัวมุมถนนสุรวงศ์ หน้าตาเป็นเช่นไรในสมัยแรก ๆ

พวกเราทำงาานกันตั้งแต่ ค.ค.ห.ที่ 728 มาถึง 793 คุ้มค่ามากค่ะ แฟ้มบุคคลขอปรบมือให้ดัง ๆ

ก่อนหน้านี้ ดิฉันเคยอ่านหนังสือของพระยาอนุมานราชธนทั้งหมดที่กล่าวถึงบริเวณนี้ แต่ก็นึกภาพไม่ออก

ภาพเหล่านี้ จะช่วยให้คนที่ได้อ่านหนังสือรุ่นหลัง ๆ เข้าใจอย่างง่ายดาย

ไม่ทราบมีใครเคยไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เจริญกรุง 43 หรือยังคะ

อาจารย์วราภรณ์ สุรวดี เจ้าของบ้านยกให้ก.ท.ม. ทำเป็นพิพิธภัณฑ์

ท่านเจ้าของบ้านผู้นี้ และ อีกท่านหนึ่งคือ อ.ส.ศิวลักษณ์ เป็นผู้ที่มีถิ่นฐานในละแวกนั้น

ทั้ง 2 ท่านยังมีชีวิตอยู่ และ เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ คุ้นเคยกับพระยาอนุมานราชธน

หากได้ท่านมาช่วยยืนยันข้อมูลที่เราสรุปอีกแรงหนึ่งจะดีไม่น้อยค่ะ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 ก.ย. 10, 09:44

เอามาให้ปวดหัวอีกภาพค่ะ เชื่อว่าทุกท่าน เคยเห็นบ้านหลังนี้แน่นอน บ้านใครคะ และใครมีประวัติท่านเจ้าของบ้านเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง