เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 34035 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 2
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 07 ก.ย. 10, 21:58

ขอบคุณค่ะคุณ V_Mee น่าทึ่งมาก
คงมีเจ้าจอมน้อยคนนักที่จะได้รับพระราชทานอย่างนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 07 ก.ย. 10, 22:00

ผมไม่อยากตอบเพราะเกรงใจคนแถวนั้น แต่ป่านฉะนี้แล้วไม่ทราบไปช้อนลูกน้ำกันที่ไหนหมด เดี๋ยวคุณหนุ่มสยามจะไม่ยอมออมมือให้อีก ทายก็ได้แต่ถ้าผิดก็ขอไม่ใช้ฆ้อนแล้วกัน หักหมดแล้ว

เพลินจิตอาเขตครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 07:06

ใช่แล้วครับ สถานที่นี้คือ เพลินจิตอาเขต เป็นห้างที่ได้รับความนิยมในสมัยช่วง ๔๐ ปีก่อน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 08:08

ภาพที่มีชื่อเสียงภาพหนึ่งคือ ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงกับข้าวแบบลำลองที่พระตำหนักเรือนต้น พระที่นั่งวิมานเมฆครับ



พระบรมฉายาลักษณ์นี้เป็นที่นิยมประดับไว้ในร้านอาหารทั่วไป

อยากถามว่า พระกระยาหารที่ทรงปรุงอยู่ในกระทะนั้นคืออะไร ?

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 08:11

ให้คนที่ช้อนลูกน้ำเขตอื่นมารู้จักเพลินจิตอาเขต   ขายหน้าจริงๆ
จำไม่ได้เลยค่ะ    เพลินจิตอาเขตตอนสร้างใหม่ๆทำเป็นศูนย์การค้าเล็กๆชั้นเดียว   ต่อมาก็กลายเป็นอาคารสำนักงาน   เลยไม่ได้ไป

พอจะโพส ชนกลางอากาศกับคำถามชั้นเซียนขี่ไดโนเสาร์ปราสาทตาพรม    ขอบายดีกว่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 08:28

ภาพที่มีชื่อเสียงภาพหนึ่งคือ ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงกับข้าวแบบลำลองที่พระตำหนักเรือนต้น พระที่นั่งวิมานเมฆครับ



พระบรมฉายาลักษณ์นี้เป็นที่นิยมประดับไว้ในร้านอาหารทั่วไป

อยากถามว่า พระกระยาหารที่ทรงปรุงอยู่ในกระทะนั้นคืออะไร ?

 ยิงฟันยิ้ม


เคยได้อ่านบทความว่าเป็นสิ่งนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 08:34




ดร. กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ เขียนเล่าไว้ในหนังสือ “ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕” ว่า

สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเสวยปลาทูเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้นถือว่าปลาทูเป็นของหรู เสด็จเมืองเพชรคราวใดก็มักจะเอ่ยถึงปลาทูเสมอ บุญมี พิบูลย์สมบัติ จากบทความ “ข้าวต้มสามกษัตริย์”  หน้า ๒๐๕-๒๐๖ ในหนังสือ พระปิยมหาราชกับเมืองเพชร กล่าวว่า

“ปลาทูก็เป็นของกินอร่อย เพราะตัวโต และมีจำนวนมาก”

และอีกตอนว่า

“เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จมาเมืองเพชรบุรี แต่ละคราวของกินในฤดูกาลปลาทูชุก ก็ทรงโปรดเสวยปลาทูเป็นอย่างมาก เช่น เมื่อคราวเสด็จประพาสเพชรบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ในวันที่ ๑๔ กันยายน ได้เสด็จลงเรือเล็ก ๒ ลำ มีเจ้าพนักงานเตรียมของแห้ง และเครื่องครัวขึ้นไปเที่ยวตอนเหนือลำน้ำเพชรบุรีจนถึงท่าเสน แล้วจอดเรือเสด็จขึ้นไปทำกับข้าวกลางวันกินกันที่ท่าน้ำวัดท่าหมูสี หรือวัดศาลาหมูสี”

พระราชหัตถเลขาจากเพชรบุรี ฉบับที่ ๕ วันที่ ๑๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘ ที่มีมาถึงมกุฎราชกุมาร หน้า ๓๑ ได้กล่าวถึงเรื่องปลาทูไว้ว่า

“น้ำที่เพชรบุรีวันนี้ขึ้นสูงอีกมาก แต่ถ้าฝนไม่ตกก็น่าจะยุบลงได้อีก อากาศวันนี้แห้งสนิท มีฝนประปรายบ้างในเวลาจวนพลบ แต่ก็ไม่ชื้น มีความเสียใจที่จะบอกว่าปลาทูปีนี้ใช้ไม่ได้ ผอมเล็กเนื้อเหลว และมีน้อย ไม่ได้ทุกวันด้วย”

หรือในพระราชหัตถเลขาจากเพชรบุรีถึงพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ หน้า ๑๐๙ ที่ว่า

“พระยาบุรุษ

วันนี้เห็นปลาทูตัวโต ควรจะมีการเลี้ยงได้เช่นเมื่อปีกลายนี้ เป็นอาหารเช้าเวลาก่อฤกษ์แล้วให้ไปคิดจัดการกับพระยาสุรินทร์และกรมดำรง จะหาปลาได้ฤๅไม่”

หรืออีกฉบับหนึ่งจากเพชรบุรีถึงพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภเช่นกัน

“พระยาบุรุษ

ปลาทูที่ได้มา ให้แจกไปตามเจ้านายและขุนนางคนละตัวสองตัว เพราะได้มาไม่ทันเลี้ยง”

หรือสำเนาพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘ ที่มีมาถึงพระราชชายา เจ้าดารารัศมี จากหนังสือ ราชสำนักสยาม ของ ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ หน้า ๖๕ มีพระดำรัสถึงปลาทูไว้ว่า

“หมู่นี้ฝนชุกหาเวลาเที่ยวยาก....ในเดือนสิงหาคมคิดจะไปกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรีสอนกินปลาทูเสียใหม่อีกสักที เพราะเหตุที่หมู่นี้กินไม่ได้ เหม็นคาว....”

บทความเรื่อง “ข้าวต้มสามกษัตริย์” ในหนังสือ พระปิยมหาราชกับเมืองเพชร ของ บุญมี พิบูลย์สมบัติ หน้า ๒๐๖ เล่าถึงการที่ทรงเอาจริงเอาจังมากกับปลาทู ซึ่งเป็นอาหารโปรดเวลาที่เสด็จเมืองเพชร และคนทอดปลาทูที่ถูกใจก็เห็นมีแต่เจ้าจอมเอิบเท่านั้น

“การเสวยปลาทูนั้น ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพิถีพิถันมาก แม้แต่คนทอดปลาทูก็ทรงใช้คนที่มีความรู้ความเข้าใจในการปรุง การทำให้ถูกต้องคือกินอร่อย ใช่สักแต่ว่าทำได้พอเสร็จ โดยเฉพาะทรงเลือกหาคนทอดปลาทูที่ถูกใจ และมีฝีมือตามพระราชประสงค์นั้นคงได้แก่ เจ้าจอมเอิบ ซึ่งเป็นท่านหนึ่งในจำนวนเจ้าจอมจากสกุลเมืองเพชร ๘ ท่านนั่นเอง”

ในงานขึ้นพระตำหนักพญาไท  เมื่อเดือนพฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙ ก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยาบุรุษในเรื่องการทอดปลาทู โดยให้รถไปรับเจ้าจอมเอิบมาที่พระตำหนักพญาไทเพื่อมาทอดปลาทูโดยเฉพาะ ดังความว่า

สวนดุสิต
๒๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙

พระยาบุรุษ

เรื่องทอดปลาทูข้าอยู่ข้างจะกลัวมาก ถ้าพลาดไปแล้วข้ากลืนไม่ลง ขอให้จัดตั้งเตาทอดปลาที่สะพานต่อเรือนข้างหน้าข้างใน บอกกรมวังให้เขาจัดรถให้นางเอิบออกไปทอดเตรียมเตาและกระทะไว้ให้พร้อม”

นอกจากจะโปรดเสวยปลาทูแบบที่ทอดตามปกติแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงคิดเมนูใหม่โดยนำปลาทูมาทำข้าวต้ม เรียก “ข้าวต้มสามกษัตริย์” ตามที่ บุญมี พิบูลย์สมบัติ เล่าไว้ในบทความเรื่อง “ข้าวต้มสามกษัตริย์” ในหนังสือ พระปิยมหาราชกับเมืองเพชร หน้า ๒๐๗ ความว่า

“ข้าวต้มสามกษัตริย์ ประกอบด้วย ปลาทู หมึก และกุ้ง ที่ได้สด ๆ จากทะเล ปรุงเป็นข้าวต้มอย่างง่าย ๆ ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงคิดคราวเสด็จประพาสทางทะเล ขณะเสด็จจากปากอ่าวแม่กลอง จะมายังปากอ่าวบ้านแหลม มายังจังหวัดเพชรบุรี”

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 08:39

มีพระบรมฉายาลักษณ์อีกองค์หนึ่งซึ่งนิยมประดับไว้ในร้านอาหารเช่นเดียวกัน



คำถาม มีไครบ้าง ที่ไหน ใครถ่าย

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 09:17

ขอตอบเรื่องสถานที่ก่อนว่า "เรือนตาอ้น" ในหมู่พระที่นั่งวิมานเมฆ ก่อนเพี้ยนมาเป็น "เรือนต้น"

จับฉากญี่ปุ่นลายเดียวกัน - ฆ้องโหม่งลูกใหญ่ที่แขวนไว้ - ตู้ประดับมุก (เลื่อนตำแหน่ง) - ขื่อไม้ - ขันน้ำพานรอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 09:45

ขอตอบเรื่องสถานที่ก่อนว่า "เรือนตาอ้น" ในหมู่พระที่นั่งวิมานเมฆ ก่อนเพี้ยนมาเป็น "เรือนต้น"

คุณไซอามีสจะสรุปว่า "เรือนต้น" มาจาก "เรือนตาอ้น" เห็นทีจะไม่ถูก



แต่ถ้าจะสรุปอย่างนี้อาจจะใช่

เรือตาอ้น  ---> เรือต้น ----> ประพาสต้น ---> เพื่อนต้น ---> เรือนต้น

การเสด็จประพาสต้นเริ่มมีครั้งแรก  เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗)  รายการเสด็จประพาสต้นครั้งนี้  นายทรงอานุภาพได้เขียนจดหมายเล่าเรื่องประพาสต้นไว้โดยพิสดาร  ดังที่พิมพ์ไว้ในตอนต้นสมุดเล่มนี้

เหตุที่จะเรียกว่า ประพาสต้น นั้นเกิดเมื่อเสด็จในคราวนี้  เวลาจะประพาสมิให้มีใครรู้ว่าเสด็จไป  ทรงเรือมาดเก๋ง ๔ แจวลำหนึ่ง   เรือนั้นลำเดียวไม่พอบรรทุกเครื่องครัว  จึงทรงซื้อเรือมาดประทุน ๔ แจวที่แม่น้ำอ้อมแขวงจังหวัดราชบุรีลำหนึ่ง   โปรดฯให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้น   เจ้าหมื่นเสมอใจราชชื่อ อ้น  จึงทรงดำรัสเรียกเรือลำนั้นว่า "เรือตาอ้น" เรียกเร็ว ๆ เสียงเป็น "เรือต้น"  เหมือนในบทเห่ซึ่งว่า "พระเสด็จโดยแดนชล  ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย"  ฟังดูก็เพราะดี

แต่เรือมากประทุนลำนั้นใช้อยู่หน่อยหนึ่งเปลี่ยนเป็นเรือมากเก๋ง ๔ แจวอีกลำหนึ่ง  จึงโปรดให้เอาชื่อเรือต้นมาใช้เรียกเรือมาดเก๋ง  ลำที่เป็นเรือพระที่นั่งทรง  อาศัยเหตุนี้  ถ้าเสด็จประพาสโดยกระบวนเรือพระที่นั่งมาดเก๋ง ๔ แจว  โดยพระราชประสงค์จะมิให้ผู้ใดทราบว่าเสด็จ  จึงเรียกการเสด็จประพาสเช่นนั้นว่า "ประพาสต้น"  

คำว่า "ต้น " ยังมีที่ใช้อนุโลมต่อมาจนถึงเครื่องแต่งพระองค์  ในเวลาทรงเครื่องอย่างคนสามัญเสด็จประพาสมิให้ผู้ใดเห็นแปลกผิดกับคนสามัญดำรัสเรียกว่า "ทรงเครื่องต้น"  ต่อมาโปรดฯให้ปลูกเรือนฝากระดานอย่างไทย  เช่นพลเรือนอยู่กันเป็นสามัญขึ้นที่ในพระราชวังดุสิต  ก็พระราชทานนามเรือนนั้นว่า "เรือนต้น"

จาก หนังสือ "ชีวิตและงานของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 10:08

อ๋อ รับทราบครับผม มาจาก "เรือตาอ้น" แล้วกร่อนเสียงกัน แล้วเรียก "ต้น" กับสิ่งต่างๆ ขอบคุณครับ อายจัง อายจัง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 11:15

หายไปไหนหมดเอ่ย กลับมาดูภาพงามๆของพระนครกันครับ อยากไปจ่ายตลาดไหมครับ ถ้าอยากต้องรู้จักตลาดแห่งนี้ก่อน จึงจะเรียกรถรางไปถูก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 11:25

อ้าว! ไปจ่ายตลาดเสียแล้ว

กำลังรอคำตอบเรื่อง ใครถ่าย - ใครถูกถ่าย อยู่เชียว

 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 12:09


ทราบอยู่คนเดียวคือเจ้าจอมเอิบ นั่งทางขวาของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 08 ก.ย. 10, 12:31

น่าจะองค์เดียวกันไหม ?


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง