เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 34195 รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 2
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


 เมื่อ 04 ก.ย. 10, 13:29

ตามดูอยู่ด้วยความอึ้ง/ทึ่ง.......กับภูมิรู้ของทุกท่าน...
ระดับเอนไซโคลพีเดียภาพเก่าเล่าเรื่องที่เดินได้หลายเล่ม............ในกระทู้นี้

ทึ่งกับความตระการตาของซุ้มที่สร้างถวาย ร.5  จึงลองเทียบความสูงใหญ่ของซุ้ม 11 ของท่าน Navarat ได้ขนาดโดยประมาณดังนี้ครับ


A -จากฐานถึงยอดแหลมประมาณ 35 เมตร
B -ขอบนอกของตัวซุ้ม ประมาณ 20 เมตร
C -ความกว้าง-วัดใน-ของประตูซุ้ม ประมาณ 11 เมตร

โดยเทียบกับความสูงของคนที่ยืนใกล้ซุ้มที่สุด.............คงพอใกล้เคียงบ้างครับ
 ยิงฟันยิ้ม




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 14:00

6



โคมจีนซ้ายมือแปลว่า “หมื่น ๆ ปี” ขวามือ “โอรสสวรรค์”

ข้อมูลเชิงลึก จากหนังสือ



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 14:12

ซุ้มที่มีความงดงามที่สุดคือ ซุ้มช้างทรง เทินพระเกี้ยว ลองวัดระยะความสูงการต่อตัวของชาวสยามได้ ๑๑ ช่วงคน ถ้าคำนวณความสูงชายสยาม สุงประมาณ ๑๗๕ ซ.ม. ได้ความสุง ๑๙.๒๕ เมตร ตีไว้ประมาณ ๒๐ เมตร ++ ถ้าอาคารสูง ๓ เมตรจะสูงเท่ากับตึก ๗ ชั้น !!!


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 14:22

มีมาเพิ่มอีกหน่อยครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 14:23

หน้าโรงภาษีอีกที


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 14:36

มุมบริเวณบริษัท อีสฑ์เอเซียติ๊ก จำกัด ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 14:46

ขอถามครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 14:49

โรงแรมโอเรียลเต็ลติดต่อกับอีสท์เอเซียติ๊ก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 14:59

ขอถามบ้าง



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 15:05

ตอบคุณหนุ่มสยามด้วยภาพนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 15:15

ขอบคุณครับอาจารย์ NAVARAT.C .. ที่ผมถามนี้เนื่องจากเห็นภาพช่างกล้องยืนถ่ายภาพซุ้มไว้ จึงนึกถึงซุ้มช้าง ด้วยระดับความสุงนี้ ช่างกล้องต้องยอมปีนเสาสูงที่ป้อมเผด็จดัสกร พร้อมกับอุปกรณ์ (อาจจะหย่อนเชือก หรือ ผูกหลังปีนพะองขึ้นไป) ซึ่งเหนื่อยยากเย็นเพียงไร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 15:28

ขอถามบ้าง



ที่ใช้สไตล์จีน เพราะว่าเพิ่งจะตัดถนนเยาวราช ที่ใช้เวลาตัดนานถึง ๘ ปีได้สำเร็จ ใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 17:18

ณ ที่นี้แบ่งเบาบำบัดทุกข์        เพิ่มพูนสุขโรคามลายหาย
อยู่กลางทุ่งลมเย็นแสนสบาย   พัดโรคร้ายให้ห่างไกลจากชีวา

เดิมทุ่งนี้เป็นนาชาวสยาม        ด้วยรำคาญพื้นที่ทั้งซ้ายขวา
เจ๊กใจดีขุดคลองให้กว้างหลายวา  เป็นที่มานามคลองสอดคล้องกัน

พื้นที่ใหม่สดใสอันไกลนี้          ฝรั่งต่างยินดีพำนักพักอาศัย
ท่านนักปราชญ์รู้ไหมว่าที่ใด    วานบอกไขแจ้งให้ทราบจักขอบคุณ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 18:45

ตอบเอยตอบถ้อย                             เดาเต็มร้อยนอกตำราอย่าเคืองขุ่น
ถ้าตอบถูกปริศนานึกว่าบุญ                      ตอบผิดเราแค่รุ่นอนุบาล
ฝรั่งมาคับคั่งอยู่บางรัก                            นี่ไม่ไกลกันนักจากสถาน
"ยานนาวา" ลมพัดเย็นเป็นอยู่นาน                ใครปลูกบ้านสุขกายสบายเอย


ถ้าผิดก็....


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 04 ก.ย. 10, 19:02

เห็นเสาธงที่ป้อมเผด็จดัสกรแล้วคิดถึง "ลุงหนุ่ม" คุณเศวต  ธนประดิษฐ์ ซึ่งล่วงลับไปแล้ว

ลุงหนุ่มท่านเล่าว่า เมื่อแรกที่ท่านรับราชการกระทรวงวังตอนต้นรัชกาลที่ ๖ นั้น  ได้เห็นทหารรักษาวังชักธงมหาไชยนต์ธวัช ซึ่งเป็นธงประจำแผ่นดินขึ้นเสาทุกเช้า  เวลาเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสานั้นท่านพับธงไว้เป็นรูปดอกบัว  พอเชิญธงขึ้นถึงยอดเสาก็จะกระตุกเชือกแล้วผืนธงจะคลี่ออกโบกสะบัด  เป็นสัญญาณว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ในพระนคร  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้รื้อย้ายเสาธงนี้ไปไว้ที่ป้อมที่ปากคลองสาน  จึงเปลี่ยนไปชักธงมหาราชขึ้น ณ พระราชทานที่ประทับ  เป็นธรรมเนียมสืบมาจนถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง