เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 191679 สัตว์ประหลาด 3
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 09 พ.ย. 14, 02:53

รบกวนคุณเพ็ญอธิบายให้ฟังหน่อยครับว่าตัวสงกรานต์มัน "หาย" ไปได้อย่างไร เห็นในเด็กคลองบางหลวงท่านเล่าเอาไว้ว่า ตักใส่ในถังน้ำ พอลับตาก็ 'ละลาย' หายไปหมด มันจะคลานออกไปหรือ decompose เร็วขนาดนั้นเชียวหรือ ผมข้องใจมานานแล้วครับ

อีกเรื่องหนึ่งทำไมมันถึงมีเฉพาะช่วงเวลานี้ครับ ตัวสงกรานต์ของไทยทางวิทยาศาตร์มีการศึกษาแล้วหรือยังครับ หาลุงกุ๊กดูมีแต่อะไรไร้สาระเต็มไปหมดครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 09 พ.ย. 14, 07:24

ก่อนอื่นขอแก้ไขข้อมูลเก่า ใน # ๒๕๓ ที่ว่า ตัวสงกรานต์ อยู่ใน วงศ์ Syllidae แก้เป็น วงศ์ Phyllodocidae

บทความของ อาจารย์ ดร.ณัฐพล อ่อนปาน คงไขข้อข้องใจให้คุณโฮโบได้  ยิงฟันยิ้ม

ตัวสงกรานต์ของนักชีววิทยา

หากได้เห็นตัวสงกรานต์ตอนนี้ นักเรียนวิชาชีววิทยา ความหลากหลายของสัตว์ น่าจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่ามันเป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom) ไฟลัมแอนีลิดา (Phylum Annelida) หรือเรียกว่าเป็นพวก “หนอนปล้อง” ในภาษาไทยแบ่งออกเป็นสามคลาส แต่เจ้าตัวสงกรานต์นี้จะอยู่ในคลาส โพลีคีตา (Class Polychaeta) ซึ่งแตกต่างจากคลาสอื่นที่เหลือตรงที่จำนวนของ “เดือย” หรือซีเต้ (setae) นั้นมีจำนวนมากกว่าสัตว์ในไฟลัมนี้จากคลาสอื่น ๆ

มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องโพลีคีต (polychaete) เช่นตัวสงกรานต์นี้ว่ามันเป็นสัตว์ในวงศ์ฟิลโลโดซิดี (Family Phyllodocidae) และอยู่ในสกุล (Genus) Phyllodoce

เวลาไปค้นดูเองอาจพบว่าชื่อสกุลมันเหมือนกับพืชดอกพวกเมาเทนฮีท (mountainheath) ระวังจะสับสนเพราะมันเป็นไปได้ที่จะใช้ชื่อสกุลเหมือนกัน แต่จะไม่เหมือนกันแน่ๆหากรวมชื่อสปีชีส์เข้าไปด้วย

ยังหาไม่พบข้อมูลที่จำแนกว่า “ตัวสงกรานต์” หมายถึง Phyllodoce sp. ไหนกันแน่

มันคงไม่ได้ปรากฎขึ้นมาในวันสงกรานต์แต่เพียงวันเดียว แต่สามารถพบได้ในช่วงนั้น ก่อนหน้านี้มันคงอยู่ไกลจากชุมชน เช่นในทะเล แต่ในหน้าแล้งเช่นช่วงเดือนเมษายน น้ำทะเลอาจหนุนสูง เพราะปราศจากน้ำจืดไปช่วยผลักดัน ทำให้พวกมันเข้ามายังแม่น้ำลำคลองได้ อาจเกี่ยวข้องกับการเข้ามาเพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งอาจอธิบายถึงการมีสีเหลือบรุ้งว่าอาจเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ด้วยก็เป็นได้

พอจับมัน มันก็หลุดเป็นชิ้นๆ ก็ตรงกับธรรมชาติในฤดูผสมพันธุ์ของมันที่ว่าปล้องส่วนใหญ่ของมันเต็มไปด้วยไข่สุก หรือสเปิร์มที่พร้อมผสมพันธุ์ แต่มันต้องให้ปล้องหลุดและผนังลำตัวแตกออกเพื่อปล่องไข่และสเปิร์มออกสู่สิ่งแวดล้อม และเกิดการปฏิสนธิกัน ซึ่งอธิบายว่าทำมันถึงได้เปราะบางถึงกับหลุดเป็นชิ้น ๆ ได้นั่นเอง

คนละตัวกับ…

“ตัวสงกรานต์” เป็นคนละตัวกับ “ตัวร้อยขา” ที่มักเป็นข่าวว่าโผล่มาจากก็อกน้ำประปา ซึ่งเราคาดว่ามันคงหลุดเข้าไปเพราะรอยแตกระหว่างทาง แต่มันเป็นสัตว์พวกเดียวกันกับตัวสงกรานต์เพียงแต่ว่าคงเป็นคนละชนิดกัน (แต่อย่างไรก็ต้องให้มีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อยืนยันหรือปฏิเสธจากผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน)

“ตัวสงกรานต์” ยังเป็นคนละตัวกับ “แม่เพรียง” ซึ่งอย่างหลังนั้นเป็นสัตว์ในสกุล Neresis คนละสกุลกับตัวสงกรานต์

ตัวอย่างของสัตว์ในสกุล Phyllodoce

Phyllodoce citrina


บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 09 พ.ย. 14, 07:38

ขอบพระคุณครับ อาจารย์ตื่นเช้าจังครับ
เข้าใจตรงที่ว่ามันสลายตัวไปแล้วครับ
ผมยังสงสัย 'ตัวสงกรานต์ในอดีต' ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร หวังว่าสักวันคงจะได้เห็นครับ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 09 พ.ย. 14, 07:42

ตัวนี้วงศ์เดียวกันกับที่อ.เพ็ญแนะนำ มีลายเหลือบรุ้งด้วย คงคล้ายๆ ตัวนี้กระมังครับ


http://www.roboastra.com/Worms/images/hpwo350.jpg


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 12 พ.ย. 14, 10:27

สัตว์สีทองมาอีกแล้ว  "ม้าน้ำสีทอง"  

ข่าวจาก มติชน

ประมงอือฮา! พบม้าน้ำสีทองอร่ามกลางทะเลชุมพร เผย!เป็นสัตว์หายาก พบในรอบ ๕๐ ปี



"ม้าน้ำสีทอง" จะว่าประหลาดก็ประหลาด อย่างน้อยก็ประหลาดว่า "ปลาไหลสีทอง" ที่ผ่านมา แต่ที่ประหลาดกว่าเป็นอมตะนิรันดร์กาลเห็นจะเป็นคนที่มาจุดธูปของตัวเลขนี่แหละ  ยิงฟันยิ้ม

ป.ล. หากสนใจเรื่องตัวเลขให้อ่านข่าวของ "ไทยรัฐ" ไม่พลาดเป็นแน่แท้ ๕ ๕ ๕ ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 14 พ.ย. 14, 11:02

สัตว์ที่ชาวบ้านเห็นเป็น "สีทอง" เช่น ปลาไหล หรือ ม้าน้ำ นักชีววิทยาเขาเห็นเป็น "สีเหลือง"

อย่างม้าน้ำตัวที่เป็นข่าวนี้ มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า ม้าน้ำธรรมดา, ม้าน้ำดำ ส่วนในภาษาอังกฤษคือ common seahorse, estuary seahorse, yellow seahorse และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Hippocampus kuda ลำตัวมีหลายสี เช่น ดำ เหลือง ม่วง น้ำตาลแดง และสามารถเปลี่ยนสีตามสภาพแวดล้อมได้

ภาพจาก คลังภาพของคุณกุ๊ก  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 14 พ.ย. 14, 11:34

ยังมีม้าน้ำสีเหลืองอีกตัวหนึ่ง เรียกในภาษาไทยว่า ม้าน้ำเหลือง ชื่อภาษาอังกฤษคือ Barbour's seahorse ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hippocampus barbouri พบได้ในทะเลแถบอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบางส่วนในประเทศมาเลเซีย แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 10:34

ด้วยความคิดสร้างสรรค์เชิงศิลปะ เอ็มมา เฟย์ ศิลปินวาดภาพบนเรือนกาย วัย ๒๗ ปี ขาวอังกฤษ ได้ สร้างสัตว์นานาชนิดบนเรือนกายของนางแบบ เช่น ม้าลาย ลิง แมลงปอ ปู แมงมุม ยีราฟ รวมถึงม้าน้ำของเราด้วย  ยิงฟันยิ้ม

รายละเอียดอยู่ที่ เดลิเมล



แต่เชื่อไหมว่า

คนเรามี "ม้าน้ำ" อยู่ในร่างกายของเราจริง ๆ  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 18 พ.ย. 14, 11:05

ซ่อมคลิปข้างบน  ยิงฟันยิ้ม



แต่เชื่อไหมว่า

คนเรามี "ม้าน้ำ" อยู่ในร่างกายของเราจริง ๆ  

ขวามือคือม้าน้ำจากทะเล ส่วนซ้ายมือคือม้าน้ำที่ธรรมชาติฝากไว้ในกายเรา

เคยเล่าไว้ในกระทู้นี้แล้วครั้งหนึ่ง  ใครจำได้ยกมือขึ้น  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 11:20

ม้าน้ำมีอยู่เพียงสกุลเดียวคือ Hippocampus ส่วนมากอยู่ในทะเล แต่มีอยู่ชนิดหนึ่งอยู่ในกายเรา แต่ละคนมีส่วนที่เรียกว่า Hippoampus ซึ่งเรียกตามลักษณะซึ่งเหมือนม้าน้ำอยู่ในสมองคนละ ๒ ตัว  ยิงฟันยิ้ม



เจ้าม้าน้ำตัวน้อยตัวนี้มีหน้าที่สำคัญก็คือเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ต่าง ๆ ให้เห็นความทรงจำในระยะยาว

หากเราขาดเจ้าม้าน้ำนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขอแนะนำให้รู้จักคุณ  Henry Gustav Molaison หรือ Mr. H.M. ผู้สูญเสียม้าน้ำในสมอง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 11:20

พามาหรือยังคะ ตัวนี้ หรือควรจะพาไปกระทู้ปูจานเด็ด ดี


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 09:12

เคยมาแล้วจ้า  ยิงฟันยิ้ม

เอาปูมาฝากอีกตัว   ไม่รู้ว่ากินได้หรือเปล่า  ชื่อปูมะพร้าวยักษ์  (Giant Coconut crab)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 09:15

คุณนวรัตนก็จัดการเอามาขึ้นโต๊ะอาหารเรียบร้อยแล้วจ้า  ยิ้มเท่ห์

งั้นเปลี่ยนเป็นปูมะพร้าวก็แล้วกัน รสชาติอย่างไรผมก็ไม่เคยลอง เพราะเมนูนี้มันมีเฉพาะคิวบาและประเทศแถวๆนั้น เขาว่าอินโดนีเซียและฟิลลิปปินส์ก็มีเยอะ แต่กฏหมายคุ้มครองสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เข้มแข็งอยู่ จะเอามาขึ้นภัตตาคารประเจิดประเจ้อไม่ได้อีกแล้ว คนเคยทานบอกตัวนี้เป็นสุดยอดของปู เพราะทั้งหวานทั้งมัน ก็เพื่อนเล่นกินแต่มะพร้าว อยู่ในทะเลนี่แหละแต่ปีนต้นมะพร้าวเก่งชะมัด

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 15:56

ปูที่น่าจะเรียกว่า "ปูมะพร้าว" ได้เหมือนกัน คือปูในสกุล Calappa ซึ่งมาจากภาษามาเลย์ kelapa แปลว่า "มะพร้าว" คงได้มาจากรูปร่างที่เหมือนมะพร้าว

ตัวนี้คือ Calappa calappa



ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษก็มาจากรูปร่างเหมือนกัน  box crab เพราะว่าเหมือนกล่อง และนิสัยที่ชอบเอาก้ามปิดหน้าคล้ายกับอายผู้คนจึงชื่อว่า shame-faced crab ชื่อไทยคือ ปูฤๅษี  ปูหน้าหลบ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 01 ธ.ค. 14, 09:26

ทุกวันแห่งความหวังของคนไทยมักมีสัตว์ประหลาดโผล่มาทักทายอยู่เสมอ  

เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเป็นคิวของ "จิ้งจกสีแดง"

๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ที่ภูเก็ต



๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ที่สุโขทัย



คุณกุ๊ก รายงานว่า จิ้งจกสีแดงพบได้ทุกปี  เริ่มเป็นข่าวตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ที่อยุธยา ปี ๒๕๕๕ และ ๒๕๕๖ ที่นครศรีธรรมราช  

จบรายงานข่าว   ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง