เป็นซูเปอร์แอนิมอล เนื่องจากมีชีวิตอยู่ได้ในน้ำเดือด อยู่ได้ในที่ที่หนาวเย็นที่สุดของโลก รับแรงดันมหาศาลในทะเลที่ลึกที่สุดได้สบาย และทนรังสีเอ็กซ์ที่รุนแรงได้มากกว่ามนุษย์หลายร้อยเท่า อยู่ได้เป็นร้อยปี มีอยู่ทุกที่ทั้งหนองน้ำมหาสมุทร
"อยู่ได้เป็นร้อยปี" เรื่องนี้อาจไม่ถูกต้อง
ในหนังสือและเว็บไซต์หลายแห่งได้กล่าวถึงความอัศจรรย์ของหมีน้ำว่า "หมีน้ำสามารถอยู่ได้นานถึง ๑๐๐ ปีในสภาพพักตัว" คำกล่าวอ้างนี้มาจากงานวิจัยในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยนักชีววิทยาชาวอิตาลีชื่อ Tina Franceschi เธอได้ซากหมีน้ำในตัวอย่างมอสที่ถูกเก็บเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๑ หรือเมื่อ ๑๒๐ ปีก่อนในพิพิธภัณฑ์ของอิตาลี เมื่อเธอเอาน้ำใส่ก็พบว่าร่องรอยการมีชีวิตของหมีน้ำตัวนี้ ซึ่งเป็นการขยับเขยื้อนของขาหน้าข้างเดียวเท่านั้น ในปี ๒๕๔๔ นักวิทยาศาสตร์ได้ปฏิเสธคำกล่าวอ้างนี้แล้ว แล้วมันมีอายุมากที่สุดเท่าไหร่ล่ะ? ในหมีน้ำที่อยู่ในสภาวะปกติ อายุของพวกมันจะอยู่ได้นานเพียงสองสามเดือนถึงสามปีเท่านั้น ในหมีน้ำสกุล
Macrobiotus และ
Hypsibius ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดจะมีอายุนานประมาณ ๑-๒ ปี ในขณะที่หมีน้ำในสกุลเดียวกันที่อาศัยอยู่ตามมอสจะมีอายุอยู่ได้ ๔-๑๒ ปี การพักตัวในหมีน้ำจะช่วยยืดอายุได้นานขึ้น ระยะเวลาการอยู่ในสภาวะนี้ก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นตลอดช่วงเวลาดังกล่าว จากข้อมูลที่น่าเชื่อถือพบว่า อายุที่มากที่สุดของหมีน้ำจะแตกต่างกันในแต่ละชนิด หมีน้ำชนิด
Microbiotus sp. จะมีชีวิตอยู่ได้นานเกือบ ๗ ปีในภาวะขาดน้ำ จากหมีน้ำ ๓ ชนิดที่เก็บตัวอย่างมาจากทวีปแอนตาร์กติกแล้วแช่เย็นที่อุณหภูมิ -๒๒ องศาเซลเซียสเป็นเวลา ๘ ปีพบว่ายังมีอัตราการรอดชีวิตสูงถึง ๘๐ % แต่บางชนิดก็พบว่ามีอายุค่อนข้างสั้นเช่น หมีน้ำบางชนิดที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศกึ่งบก (semi-terrestrial) จะมีอายุเพียง ๑-๒ เดือนเท่านั้น นอกจากตัวเต็มวัยแล้ว ไข่ของหมีน้ำ
Ramazzottius oberhaeuseri จำนวน ๔ ฟองที่อยู่ในตัวอย่างไลเคนที่ถูกเก็บรักษานาน ๙ ปีสามารถฟักออกมาเป็นตัวได้หลังจากให้น้ำแก่ไข่เหล่านี้
ข้อมูลจาก
เว็บ siamensis 