เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 191252 สัตว์ประหลาด 3
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 07 ก.พ. 15, 09:11

หมัดปลาครับ เกาะอยู่ตามลิ้นปลา เป็นปรสิตปลาแบบหนึ่ง พบได้ทั่วไปในปลา  

หมัดปลาของคุณประกอบคงหมายถึง ตัวกัดลิ้น (tongue biter) หรือ แมงกินลิ้น (tongue-eating louse) Cymothoa exigua ซึ่งเป็น isopod ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับพวกกุ้ง กั้ง ปู มันจะเกาะที่ลิ้นปลาทะเล ดูดเลือดจนลิ้นฝ่อ มันก็ทำหน้าที่เป็นลิ้นปลาต่อไป  ในปลาทูก็พบได้บ่อย ๆ  หากทำให้สุกก็รับประทานได้ รสชาติน่าจะใกล้เคียงกับกุ้งเนื่องจากมันเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกัน ยิ้มเท่ห์



ตอบได้แล้วไม่ทราบของรางวัลเป็นอะไรครับ   ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

อย่างไรก็ดี คำตอบของคุณประกอบไม่ใช่คำตอบที่บริษัททูน่ากระป๋องตอบคุณซู

คุณประกอบจะลองตอบอีกหนไหมว่า คำตอบของบริษัทคือตัวอะไร  
ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 07 ก.พ. 15, 18:27

เข้ามาติดต่อรับของรางวัลจากซายาเพ็ญครับ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

บริษัททูน่าออกมาบอกว่า จากการสืบสวนสอบสวน เจ้าตัวที่ว่าคือปู juvenile crab

http://www.dailymail.co.uk/news/article-2942626/Mysterious-slime-blob-creature-staring-tin-tuna-chunks-tongue-eating-parasite-say-experts.html

ทูน่ายี่ห้อ Princes นี่ ผมกินประจำเลย ยังไม่เคยเจอแจ็คพ็อตบ้าง


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 09 ก.พ. 15, 08:28

บริษัททูน่าออกมาบอกว่า จากการสืบสวนสอบสวน เจ้าตัวที่ว่าคือ ปู juvenile crab

http://www.dailymail.co.uk/news/article-2942626/Mysterious-slime-blob-creature-staring-tin-tuna-chunks-tongue-eating-parasite-say-experts.html

คุณประกอบคงเอาคำตอบมาจากข้อความนี้ของเดลิเมล

After conducting their own investigation, Princes however said the creature is more likely to be a juvenile crab than the tongue-eating parasite.
 
เดลิเมลก็พลาดเป็นเหมือนกัน

นอตติงแฮมโพสต์ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของเมืองที่เกิดเหตุลงข่าวว่า

Following an investigation, Princes contacted Mrs Butler and revealed it was a Megalopa - a very small immature crab.

juvenile crab กับ Megalopa สองตัวนี้ต่างกันนะคุณประกอบ   ยิงฟันยิ้ม

ข้างล่างคือวงจรชีวิตของปู


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 09 ก.พ. 15, 08:55

หน้าตาของ Megalopa ประมาณนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 09 ก.พ. 15, 09:06

ลักษณะเด่นของตัวประหลาดในกระป๋องทูน่ากับเมกะโลปานั้นสอดคล้องกันคือมีดวงตาใหญ่ปูดโปน ซึ่งต่างจากตัวกัดลิ้นอย่างเห็นได้ชัด  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 09 ก.พ. 15, 09:23

เข้ามาติดต่อรับของรางวัลจากซายาเพ็ญครับ   ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

แม้คำตอบจะไม่ถูก แต่ขอให้กำลังใจ ด้วยเสียงปรบมือ ๓ ที แปะ แปะ แปะ  ยิงฟันยิ้ม

ทูน่ายี่ห้อ Princes นี่ ผมกินประจำเลย ยังไม่เคยเจอแจ็คพ็อตบ้าง

ขออวยพรให้คุณประกอบเจอของแถมเป็นประเภทปูเหมือนที่คุณซูได้รับ แทนที่จะเป็นตัวกัดลิ้นซึ่งสามารถรับประทานได้ก็จริง แต่หน้าตาไม่ชวนรับประทานเอาเสียเลย ๕ ๕ ๕
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 09 ก.พ. 15, 16:30

อดรางวัลบ้านพร้อมที่ดินอีกแล้วเหรอเนี่ย   โกรธ  โกรธ  โกรธ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 19:30

หมู่นี้ "น้องเข้" ออกมาอาละวาดปิดเรือนไทยอยู่เรื่อย หลังจากอาละวาดครั้งใหญ่เมื่อ ๒ อาทิตย์ก่อน หวังว่าคุณแอดมินคงรับมืออยู่  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 14 ก.พ. 15, 14:47

ตามกระแส วันแห่งความรักก็จักต้องหาของมากำนัลเพื่อน ๆ ในเรือนไทย

หอยแครงรูปหัวใจ Corculum cardissa ปรกติมีหลายสี วันนี้ขอเลือกสีชมพูมากำนัล (ขอยืมมาจาก พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ)  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 14 ก.พ. 15, 18:37

สวยจัง ยังมีอยู่ หรือว่าสูญพันธุ์ไปแล้วคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 09:34

คุณแอนคงยินดี         ทราบข่าวที่เขาไม่สูญ
หากเราช่วยเกื้อกูล      คงไพบูลย์ชั่วนิรันตร์


หอยแครงรูปหัวใจอยู่ในวงศ์ (family) Cardiidae มีหลายสกุล (genus) แต่ละสกุลก็มีหลายชนิด (species)  หอย Corculum cardissa ตัวข้างบน พบที่เกาะลอย ศรีราชา นี่เอง หอยแครงพวกนี้พบในเขตน้ำตื้นบนหาดทราย บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย แต่จะพบทางแปซิฟิกมากกว่า

Corculum cardissa นานาสี  ยิงฟันยิ้ม



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 14:03

นอกจากหอยแครงรูปหัวใจแล้ว ก็ยังมีหอยกาบรูปหัวใจ ซึ่งอยู่ในวงศ์  Glossidae

Glossus humanus (ซ้าย) และ Meiocardia moltkiana (ขวา)

จาก พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติรอตเตอร์ดัม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 23 ก.พ. 15, 10:18

หากใครเคยอ่านหนังสือ  The War Of The Worlds ของ H.G.Wells หรือเคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้ผลงานล่าสุดของ Steven Spielberg คงรู้จักจักรกลทำลายล้างของชาวอังคารตัวนี้



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 23 ก.พ. 15, 10:32

เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งมีชีวิตหน้าตาคล้ายเจ้าสามขาของชาวอังคารมีจริงในโลกเรา แต่มันไม่ใช่มีแค่ ๓ ขาแต่มีถึง ๖ ขา มันคือไวรัสของแบคทีเรีย (bacteriophage) T4 มีหน้าที่ทำลายล้างเชื้อแบคทีเรียเพื่อเพิ่มจำนวนตัวมันเอง



ด้วยหน้าตาที่เหมือนเครื่องจักรกล ชวนให้คิดว่ามันคือจักรกลที่ผู้ทรงภูมิสร้างขึ้นมาหรือเปล่า  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 23 ก.พ. 15, 11:09

ภาพ T4 กำลังรุมสกรัมเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

หากสนใจในเรื่องสุขภาพจะรู้จักแบคทีเรียตัวนี้ในนาม อีโคไล เป็นตัวบ่งชี้ความสะอาดของคนปรุงอาหารและอาหารที่ปรุง มีลักษณะเป็นแท่ง ยาวประมาณ ๒ ไมโครเมตร กว้างประมาณ ๐.๒๕ - ๑ ไมโครเมตร  (๑ ไมโครเมตร = ๐.๐๐๑ มิลลิเมตร) อีโคไลว่าจิ๋วมหาจิ๋วแล้ว T4 ยังจิ๋วกว่าอีกหลายเท่า



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง