เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 18870 สอบถามประวัติถึงคุณนิลวรรณ ปิ่นทอง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 ก.พ. 14, 10:10

นางแบบสตรีสาร เปรี้ยวที่สุดเห็นจะได้แค่นี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 ก.พ. 14, 10:12

พระฉายาลักษณ์งามน่ารัก บนปกสตรีสาร


บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 28 ก.พ. 14, 20:50

  คุณ Kulapha นึกอะไรออกมากกว่านี้อีกไหมคะ   อยากอ่านค่ะ

ลองรวบรวมเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยดูนะคะ
เพราะได้มีโอกาสสัมผัสกับอาจารย์นิลวรรณต่างกรรมต่างวาระ

ประเดิมเรื่องเบาๆก่อน

พี่ปรียาคือใครกันหนอ

นักอ่านสตรีภาคเด็กและผู้เยาว์มักจะชอบเดากันต่างๆนานนาว่ามีปรียาคือคนนั้นคนนี้
"พี่ปรียา อายุเท่าไหร่แล้วคะ"
"พี่ปรียา  ชอบอ่านการ์ตูนไหมคะ"
"พี่ปรียาใช่พี่ปีนังหรือเปล่า"

และสารพัดอีกมากมาย
แม้แต่ผู้ใหญ่ก็ชอบนั่งเดา เอ..คุณย่าจะลงมาตอบเองหรือเปล่าหนอ คงไม่ล่ะมั้ง
หรือว่าเป็น คุณวาณิช จรุงกิจอนันต์ ที่ชอบขี้เล่นเหมือนๆกัน
หรือจะเป็นพี่คนโน้น คนนี้ในกองบรรณาธิการ

คำตอบที่พอเปิดเผยได้ก็คือ พี่ปรียาคือหลายๆคน

เพราะ "พี่ปรียา" มีบุคลิกลักษณะที่ชัดเจนและรู้จักกันมานาน
(บางคนกล่าวว่า คืออาจารย์นิลวรรณภาคเด็กนั่นเอง)
ด้วยสำนวนการตอบจดหมายแบบพี่น้อง อบอุ่น แนะนำ
จนทุกคนในกองบรรณาธิการแทบจะมโนภาพรูปร่าง หน้าตาของ "พี่ปรียา"ออกมา

ถ้ามีคำถามนี้ "พี่ปรียา" น่าจะตอบแบบนี้ แบบนั้น ด้วยสำนวนและถ้อยคำประมาณนี้
ซึ่งใครคนใดมารับหน้าที่ตอบจดหมาย  ก็จะอยู่ในกรอบแบบเดียวกัน
พูดขึ้นต้นและลงท้ายแบบนี้ ส่วนเนื้อหาตรงกลางผิดแผกกันบ้างขึ้นอยู่กับคำถาม
หากผู้อ่านรับรู้ในถ้อยสำเนียงที่เสมอต้น เสมอปลายของ"พี่ปรียา"

พูดภาษาง่ายๆก็คือ  เนียนและไม่หลุดบท นั่นเองค่ะ

ฉะนั้น "พี่ปรียา" ผู้ซึ่งอมภูมิจะยิ้มแก้มป่องเสมอ เมื่อเด็กๆทักว่า
"รักพี่ปรียาจัง พี่ปรียาอายุเยอะกว่าหนูนิดเดียว แต่ทำไมรอบรู้จังคะ" ยิงฟันยิ้ม

ส่วนพี่ปีนัง ไม่รู้ได้ร่วมสวมบทบาทเป็น"พี่ปรียา"บ้างหรือเปล่า
แต่ที่รู้แน่ๆก็คือ เป็นนักวาดการ์ตูนมือหนึ่งของ สตรีสาร
โดยเฉพาะในภาคพิเศษสำหรับเด็ก
ลายเส้นของพี่ปีนัง จะเห็นชัดแบบนี้  พร้อมลายเซ็นกำกับทุกครั้ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 ก.พ. 14, 21:28

ส่วนพี่ปีนัง ไม่รู้ได้ร่วมสวมบทบาทเป็น"พี่ปรียา"บ้างหรือเปล่า
แต่ที่รู้แน่ๆก็คือ เป็นนักวาดการ์ตูนมือหนึ่งของ สตรีสาร
โดยเฉพาะในภาคพิเศษสำหรับเด็ก
ลายเส้นของพี่ปีนัง จะเห็นชัดแบบนี้  พร้อมลายเซ็นกำกับทุกครั้ง

ส่วนพี่ปฐม นอกจากชัยพฤกษ์แล้ว ก็ยังเห็นผลงานในสตรีสารภาคพิเศษด้วย คนนี้เป็นฮีโร่นักวาดการ์ตูนของพุพูค่ะ วาดเด็กได้น่ารักเป็นพิเศษ

คิดถึงตอนเด็ก ๆ จังค่ะ


พี่ปีนัง = พี่ปฐม (พัวพิมล)

ซ.ต.พ.

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ก.พ. 14, 21:35

สตรีสารภาคพิเศษ ยังอยู่ในความทรงจำในหลายๆเรื่อง   การ์ตูน "คนพิลึก" ก็เรื่องหนึ่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 ก.พ. 14, 21:38

อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่อาจลืมได้ วรรณกรรมเยาวชนชุด "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก"


บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 ก.พ. 14, 22:07

ที่สตรีสารก็มีอภิสิทธิ์

อภิสิทธิ์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงอดีตนายกรัฐมนตรีของเราค่ะ
ยุคสมัยนั้นเธอน่าจะยังเตะบอล เรียนหนังสืออยู่ที่อังกฤษ อายจัง

อภิสิทธิ์คือสิทธิพิเศษที่ได้รับเพียงผู้เดียวหรือมากกว่าใคร
ถ้าทับศัพท์ฟังหรูๆก็คือ Privilege ซึ่งบรรดาบัตรเครดิตชอบนิยมนำมายกย่องเราๆ(เพื่อหวังขาย)

หลายท่านคงได้รู้เรื่องราวประวัติความเป็นมาของ สตรีสาร เบื้องต้นมาบ้างแล้ว
เจ้าของและผู้อำนวยการคนแรกก็คือ คุณเรวดี เทียนประพาส
เมื่อท่านเสียชีวิตไปเมื่อปี 2513
ธุรกิจโรงเรียนเรวดีและนิตยสารก็ได้รับการถ่ายโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของลูกสาว
คือคุณ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ (รู้จักกันในสมญานาม คุณแดง)

ด้านหนึ่งของคุณสุรางค์ คือผู้คุมธุรกิจของนิตยสารผู้หญิงฉบับเก่าแก่ สงบเสงี่ยมเรียบร้อยเล่มนี้
แต่อีกด้านของเธอ คือคุมบังเหียนธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ช่องเจ็ดสี  เล็กเสียที่ไหนล่ะคะ

ด้วยสายสัมพันธ์เนิ่นนานอีันนี้
สตรีสาร จึงเป็นนิตยสาร เล่มเดียว ที่ได้รับสิทธิ์ลงพิมพ์รายการโทรทัศน์ของสถานีล่วงหน้าทั้งอาทิตย์
เป็นที่ถูกอกถูกใจสำหรับแฟนติดขอบจอ เพราะไม่ต้องไปไล่เปิดหนังสือพิมพ์รายวันดูทีล่ะฉบับ ทีล่ะวัน
แถมบางทีก็ลงรายการผิดอีกด้วย รูดซิบปาก


เมื่อสตรีสารได้ Privilege ดังกล่าวแล้ว ในทางกลับกันก็ได้เปิดหน้าเปิดตาตัวเองในช่องโทรทัศน์

เชื่อว่า จำนวนผู้อ่านไม่น้อยยังจำติดหูถึงสป็อตโฆษณา คำพูดทำนองนี้
"สตรีสารฉบับใหม่ออกแล้ว พบกับ.......(บทความและนิยายเด่นๆ)
คอลัมน์อาจารย์สมศรี สุกุมลนันท์ (ขาดไม่ได้ค่ะ)
และไม่ลืม ภาคพิเศษสำหรับเด็กและผู้เยาว์
พบกับสตรีสารตามแผงหนังสือ ทุกวันศุกร์ " ผ่าง ผ่าง เสียงดนตรี
อะ..อะ ไม่ใช่เสียงอย่างเดียว มีการขึ้นปกนางแบบฉบับล่าสุดด้วย

คนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว (เช่นดิฉันเอง ตอนเด็กๆ)นึกแปลกใจ
ทำไมช่วงเวลาโฆษณาเป็นเงินเป็นทองของสถานี
ถึงมีสป็อตนิตยสารรูปลักษณ์หน้าตาผู้หญิงเชยๆแทรกขึ้นมา(ว้า)
เออ..ถ้าเป็นนิตยสารเฉี่ยวๆ โมเดอร์น อื่นๆก็อาจจะเข้าใจ
แต่นี่ ไม่เข้าใจจริงๆเล้ย...

ความรักภาษาและหนังสือของคุณสุรางค์ยังเผื่อแผ่อภิสิทธิ์(น้อยๆ)ลงไปถึงนักเขียนผู้สร้างผลงานในนิตยสารด้วย
นวนิยายเรื่องไหนอ่านแล้วสนุก ได้ทัศนะคติืดีๆ
ก็มักจะได้รับการพิจารณานำไปดัดแปลงเป็นบทละครโทรทัศน์ต่อไป
กล่าวกันว่า ยุคนั้นเป็นยุคทองของละครช่องเจ็ดสีเลยทีเดียว
(ช่อง 3 มาทีหลังเพราะยังสนุกกับหนังจีนกำลังภายในอย่างฮฺุ้นปวยเอี้ยง กระบี่ไร้เทียมทานอยู่)

บทประพันธ์หลายเรื่องกลายเป็นละครติดปากติดใจชาวบ้านจนต้องสร้างแล้วสร้างอีก (ที่เรียกสมัยนี้ว่า Remake)
บางเรื่องก็ได้รางวัลละครดีเด่น ผู้แสดงดีเด่น บทดีเด่นและหลายๆดีเด่น
ตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็คือ ผลงานของโบตั๋น ไม่ว่าจะเป็น ทองเนื้อเก้า  ตะวันชิงพลบ ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด

น่าเสียดายที่ละครทุกวันนี้ นานๆจะมีบทดีๆหลุดออกมาสักเรื่อง นอกนั้นจะเวียนว่ายอยู่แถว...สามีทั้งหลาย
หรือไม่ก็  คุณหนูซุ่มซ่าม คุณชายชาเย็น  คุณหนูจุ้นจ้าน คุณชายจุ๊กกรู ลังเล

ใครๆร่ำลือว่า คุณสุรางค์เข้มงวดมากสำหรับผู้ประกาศข่าวประจำช่อง
ทั้งรูปลักษณ์ กิริยา การแต่งเนื้อแต่งตัว และที่สำคัญที่สุดคือการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง (เป๊ะ)

จะไม่แปลกใจเลยว่า ทุกครั้งของการสอบเป็นผู้ประกาศข่าว
บทความในสตรีสารจะถูกนำไปใช้เป็นข้อสอบในการอ่าน - เขียน ภาษาไทยของเหล่านักล่าฝันผู้หวังจะเป็นดาวดวงใหม่ประจำสถานี ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 ก.พ. 14, 22:48

บทประพันธ์หลายเรื่องกลายเป็นละครติดปากติดใจชาวบ้านจนต้องสร้างแล้วสร้างอีก (ที่เรียกสมัยนี้ว่า Remake)
บางเรื่องก็ได้รางวัลละครดีเด่น ผู้แสดงดีเด่น บทดีเด่นและหลายๆดีเด่น
ตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็คือ ผลงานของโบตั๋น ไม่ว่าจะเป็น ทองเนื้อเก้า  ตะวันชิงพลบ ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด

ละครที่คุณกุลภายกมาเคยดูทุกเรื่อง มีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งประทับใจมากตอนนั้นอ่านแล้วน้ำตาซึมเชียว

เคยอ่านเรื่อง "ตราไว้ในดวงจิต" ของ "โบตั๋น" นางเอกชื่อ "พักตร์เพียงเพ็ญ" น้องชายชื่อ "เพียงบุญพา" 

และตัวเอกของเรื่องคือ "ผักกาด" และ "ข้าวฟ่าง"

สร้างเป็นละครช่องเจ็ดเช่นกัน




บันทึกการเข้า
SRISOLIAN
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 ก.พ. 14, 23:43

ขอบพระคุณทุกท่านในกระทู้นี้ครับ ทำให้ได้ทราบถึงคุณงามความดีของคุณนิลวรรณ ปิ่นทอง พร้อมทั้งเกร็ดต่างๆ อันเป็นประโยชน์จากการทำงานท่าน อ่านสนุกจริงๆ ครับ เห็นคุณเทาชมพูโพสต์ภาพเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก และการ์ตูนคนพิลึกสนุกมากทุกเรื่องครับ สำหรับผมชอบเรื่องบ้านไร่ชายทุ่งครับ ชอบเจ้าทุยเป็นพิเศษน่ารักแสนซื่อดี คงต้องขอบคุณ "ปีนัง" ผู้วาดภาพประกอบทำให้การ์ตูนชุดนี้สนุกชวนติดตาม ยังคงรอติดตามเกร็ดความรู้ต่างๆ ของสตรีสารและสตรีสารภาคพิเศษจากทุกท่าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 มี.ค. 14, 09:10

รำลึกถึงสตรีสาร ทำให้ได้ความทรงจำดีๆกลับมาหลายเรื่องทีเดียวค่ะ   ขอเปิดรับความเห็นของท่านผู้อ่านในกระทู้นี้อีกไม่จำกัด   ช่วยกันเล่าถึงความประทับใจที่มีต่อคุณนิลวรรณ และนิตยสารทรงคุณค่าเล่มนี้ด้วย

นอกจาก "ตราไว้ในดวงจิต"   ยังจำได้ถึงนวนิยายที่ประทับใจหลายเรื่องที่ลงในสตรีสาร   ทำให้ต้องตามอ่านทุกสัปดาห์ เรื่องหนึ่งที่จำแม่นคือ "จดหมายจากเมืองไทย" ของโบตั๋น    ชอบชีวิตในเมืองไทยของหนุ่มน้อยตันส่วงอู๋ ที่มาเผชิญโชคด้วยมือเปล่า แล้วกลายเป็นเถ้าแก่ในที่สุด
บันทึกการเข้า
SRISOLIAN
อสุรผัด
*
ตอบ: 36


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 01 มี.ค. 14, 15:11

ผมได้มีโอกาสติดตามนิตยสารพลอยแกมเพชรอยู่เป็นประจำ ทำให้ได้รู้ว่าพี่ชาลี (ชุลิตา อารีย์พิพัฒน์กุล) ได้เคยทำงานที่สตรีสารมาระยะหนึ่งด้วยเช่นกัน ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะรับผิดชอบคอลัมน์ "ของขวัญจากชาลี" ภาพวาดเสื้อผ้าสำหรับสตรี ผมคิดว่าแนวทางของสตรีสารได้ส่งอิทธิพลต่อนิตยสารพลอยแกมเพชรไม่มากก็น้อยครับ เช่น หน้าปกที่สวยงามและมีเพียงข้อความสั้นๆ บนหน้าปก เนื้อหาที่หลากหลายและที่สำคัญยังมีนวนิยายให้ผู้อ่านได้ติดตาม ที่สำคัญพี่ชาลีได้รับรางวัลคุณนิลวรรณ ปิ่นทอง ในฐานะบรรณาธิการดีเด่นในปีเดียวกับคุณวงศ์ทนง แห่งนิตยสาร A Day นอกเรื่องสักนิดนะครับถ้าสตรีสารเป็นตัวแทนในการส่งเสริมสถานภาพด้านต่างๆ ของสตรีแล้ว จะเป็นไปได้ไหมครับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ กลุ่มนักเขียนที่่เรียกว่าคณะสุภาพบุรุษที่คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นนักเขียนในกลุ่มนี้ หากเป็นการถามนอกประเด็นก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 01 มี.ค. 14, 15:34

อ้างถึง
จะเป็นไปได้ไหมครับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ กลุ่มนักเขียนที่่เรียกว่าคณะสุภาพบุรุษที่คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นนักเขียนในกลุ่มนี้

ไม่เคยได้ยินความสัมพันธ์กันกับกลุ่มนักเขียนคณะสุภาพบุรุษค่ะ     ดิฉันคิดว่าสตรีสารกำเนิดขึ้นทีหลังยุคสุภาพบุรุษนะคะ
ในเมื่อเป็น(นิตย)สารของสตรี   ก็เห็นแต่มีนักเขียนสตรีเป็นหลัก    เพิ่งเห็นคุณวาณิช จรุงกิจอนันต์ไปทำงานที่สตรีสาร เป็นนักเขียนชายคนเดียวในช่วง 1970s

อ.นิลวรรณเคยพูดถึงพี่ชาลีให้ฟัง บอกว่า ชื่อชาลี มาจาก ชาลีตุ๊  ซึ่งผันจากชื่อ ชุลิตา
บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 มี.ค. 14, 20:16

"ตราไว้ในดวงจิต"ที่คุณเพ็ญชมพูกล่าวถึง
ตัวเองก็ได้อ่านเรื่องนี้เหมือนกันค่ะ
คลับคล้ายคลับคลาว่า ผู้แต่งคือโบตั๋นได้รับแรงบันดาลใจจากข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวหนึ่ง
เกี่ยวกับเพื่อนสมัยเด็กๆที่สานสัมพันธ์ผูกพัน เมื่อโตขึ้นก็แยกทางกันไป
เจอกันอีกที กลายเป็นโจรปล้นเพื่อนเสียแล้ว เศร้า

โบตั๋น นักเขียนหญิงคุณภาพก็มีช่วงชีวิตที่แวะเวียนในสตรีสารเหมือนกันนะคะ
อ่านจากชีวประวัติการทำงานของเธอใน Face Book ของเธอ

"เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว คุณสุภาได้เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการเป็นครูโรงเรียนราษฎร์แห่งหนึ่งในระยะเวลาสั้นๆ
จากนั้นก็ได้เข้าทำงานที่นิตยสารชัยพฤกษ์ ซึ่งเป็นนิตยสารสำหรับเด็ก ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช เป็นเวลา ๓ ปี
ก็ได้ลาออกไปทำงานแปลกับบริษัทประชาสัมพันธ์ของชาวต่างประเทศอยู่อีกช่วงหนึ่ง

ครั้นถึงปี ๒๕๑๕ จึงได้เข้าร่วมงานกับนิตยสารสตรีสารรายสัปดาห์ โดยได้ทำงานในส่วนของสตรีสารภาคพิเศษสำหรับเด็ก
ต่อมาได้เข้าทำงานประจำเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจแบบเรียนของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชไปด้วย
จนกระทั่งลาออกมาเพื่อจัดตั้งสำนักพิมพ์ชมรมเด็ก
ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์หนังสือสำหรับเด็กเป็นหลัก
ต่อมาก็ได้จัดตั้งสำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์นขึ้นแทนชมรมเด็กที่เปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้จำหน่ายหนังสือสำหรับเด็ก"


นามปากกาดอกไม้จีนโบตั๋นก็เริ่มจากที่นี่เช่นกันค่ะ

"ชีวิตการเป็นนักเขียนของ คุณสุภา สิริสิงห เริ่มขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ยังเรียนอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยได้เขียนเรื่องสั้นชื่อ “ไอ้ดำ” โดยใช้นามปากกาว่า “ทิพเกษร” ลงตีพิมพ์ในนิตยสารขวัญจิต
ส่วนนามปากกา “โบตั๋น” อันลือเลื่องนั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๐๘
โดยคุณสุภาได้ใช้นามปากกานี้เขียนนวนิยายเรื่อง “น้ำใจ” เพื่อตีพิมพ์ในนิตยสารสตรีสาร
จากนั้นก็ได้ใช้นามปากกา โบตั๋น นี้ ในงานประพันธ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน "


ด้วยความผูกพันดังกล่าวนี้เอง งานเขียนนวนิยายของโบตั๋นจะปรากฏในสตรีสารไม่ขาด
แต่ละเรื่องล้วนสะท้อนแง่มุมสังคมต่างๆนานา
เป็นนวนิยาย"น้ำดี"ที่พระเอก-นางเอกมักไม่ได้มาจากคุณหนู คุณชายรูปสวยรวยทรัพย์ ตระกูลมั่งคั่ง
แต่ต้องต่อสู้ บากบั่นสร้างฐานะด้วยลำแข้ง ลำขา และสองมื
อาจจะเป็นอีกนิยามหนึ่งของ นวนิยายเพื่อชีวิต(ที่ดีกว่า)กลายๆก็ว่าได้

นอกเหนือจาก "จดหมายจากเมืองไทย"ที่จะขุดมาอ่านช่วง ตรุษจีน ของทุกปีแล้ว
อีกเรื่องที่ดิฉันชอบก็คือ "ก่อนสายหมอกเลือน"
ซึ่งลงตีพิมพ์ในสตรีสารเช่นกัน
เรื่องราวของหนุ่มจีนมิตรสหายจากบ้านเดียวกัน 2 คน
ร่อนเร่จากแผ่นดินแม่มาแสวงหาชีวิตใหม่ในกรุงเทพ
หนุ่มคนหนึ่งมีสูตรยาโบราณจากเมืองจีนเป็นสมบัติล้ำค่า
ด้วยมุ่งปณิธานจะปรุงยาเพื่อรักษาเป็นทานแก่มวลมนุษย์
หากสูตรดังกล่าวกลับตกในมือของเพื่อนผู้หวังเห็นลาภทรัพย์จากการขายยา

ชีวิตทั้งคู่เดินห่างจากเส้นขนานของความเป็นเพื่อนนับแต่นั้น เศร้า
ไม่ทราบเคยมีการนำไปสร้างเป็นละครหรือยังเอ่ย
ไม่ได้ติดตามค่ะ


อาจารย์นิลวรรณชื่นชมนักเขียนนามปากกาดอกไม้จีนท่านนี้มาก
นี่แหละคือ ตัวอย่างของคนที่เขียนในสิ่งที่รัก (คิอเรื่องเกี่ยวกับคตินิยมคนจีนซึ่งโบตั๋นเติบโตขึ้นมาท่ามกลางสิ่งแวดล้อมนี้)
รักในสิ่งที่รู้ (ภูมิใจในสายเลือดและสิ่งที่ตัวเองได้ซึมซับรับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ)  
และรู้ในสิ่งที่เขียน (นำเสนอคุณค่า ขนบนิยมคนจีนผ่านทัศนะคติของตัวละครอันนำไปสู่ปมขัดแย้งและคลี่คลายตามลำดับ)

ฟังแล้ว คุณโบตั๋นอยู่ไหน คงตัวลอยโบยบินค้างฟ้า ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 มี.ค. 14, 20:43

      นักเขียนสตรีสารอีกท่านหนึ่งที่จะเว้นเอ่ยถึงเสียมิได้คือ คุณ "ศุภร บุนนาค"     เจ้าของเรื่อง "รสลิน" ที่ดิฉันตามเก็บผลงานของท่านเอาไว้หมดเท่าที่จะหาได้       ท่านเป็นธิดาของปรมาจารย์ภาษาไทย คุณพระวรเวทย์พิสิฎฐ์     นอกจากรสลิน คุณศุภรเขียน แม้ความตายมาพราก และเกลียวทอง  ลงในสตรีสารอีกด้วย
      โบตั๋นเขียนถึงชีวิตคนจีนในประเทศไทยออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวาสมจริง       ส่วนคุณศุภรจำลองชีวิตคนไทยรุ่นเก่าในกรุงเทพออกมาอย่างงดงามในรายละเอียดซึ่งแม่นยำไม่มีใครเทียบได้       ชีวิตวัยเยาว์ของตัวละครเอกใน "รสลิน" มีพื้นฐานจากสภาพแวดล้อมของท่านเอง  จึงออกมาเป็น "ของแท้" อย่างผู้ที่รู้จริงว่าชีวิตคหบดีในสมัยรัชกาลที่ ๖ เขาอยู่กันอย่างไร   เรื่อยมาจนหนุ่มสาวเขาผจญความยากแค้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ แบบไหนบ้าง

     ดิฉันอ่าน "รสลิน" มาตั้งแต่เด็ก  หยิบมาอ่านอีกหลายครั้งก็เหมือนเพิ่งอ่านใหม่ทุกครั้ง  เพราะได้ความคิดดีๆแฝงอยู่ระหว่างบรรทัดมากมาย    ตอนเป็นเด็กก็คิดอย่างเด็ก  เป็นผู้ใหญ่ก็คิดอย่างผู้ใหญ่   ตอนนี้คิดมาอีกขั้นหนึ่งแล้วคือคิดแย้งกับคนเขียน    มีหนังสือน้อยมากที่กระตุ้นความคิดคนอ่านได้ถึงขั้นนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 03 มี.ค. 14, 13:27

   เมื่อเอ่ยถึงนักเขียนแล้วก็ต้องเอ่ยถึงนักแปลด้วย
   นักแปลของสตรีสารเมื่อ 40 ปีก่อน ที่ดิฉันจำได้คือคุณ "นิดา" หรือ ปราศรัย รัชไชยบุญ   เรื่องแปลเรื่องแรกคือ "คำสารภาพของมารี อังตัวแนตต์"   แปลจาก The Queen's  Confession ของ Victoria Holt    เรื่องนี้คุณนิดาแปลโดยใช้สำนวนแบบไทย ขัดเกลากลิ่นนมกลิ่นเนยออกไปจากรูปประโยคฝรั่ง  อ่านแล้วจึงไม่สะดุด  ไม่แปร่งหู  เหมือนเรื่องแต่งมากกว่าเรื่องแปล
  ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยมี  The Queen's  Confession ด้วย ก็เลยเป็นโอกาสที่จะได้อ่านเปรียบเทียบทั้งฉบับไทยและอังกฤษ   เพื่อศึกษาสไตล์การแปลของคุณ "นิดา" เป็นแนวทาง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง