tita
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 24 ก.พ. 14, 17:23
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tita
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 24 ก.พ. 14, 17:24
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tita
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 24 ก.พ. 14, 17:25
|
|
ขออภัยรูปใหญ่ไปหน่อย ย่อรูปไม่เป็นน่ะค่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 24 ก.พ. 14, 18:01
|
|
บอกได้อย่างหนึ่ง บ้าน หรือคฤหาสน์ของเจ้าจอมมารดาเลื่อนหลังนี้ ใหญ่โตรโหฐารกว่าวังพระองค์เจ้าลักษณมีฯมากอย่างเทียบกันมิได้ ที่เรียกว่าวังนั้น ความจริงคือบ้านสองชั้นที่ดูสมถะ แต่ร่มรื่นน่าอยู่เมื่อมองเข้าไป เหมาะเป็นที่ปลีกวิเวกขององค์ผู้เจ้าของมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 24 ก.พ. 14, 18:27
|
|
เจ้าจอมเลื่อน สกุลเดิมพหลโยธิน หรือเปล่าคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tita
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 24 ก.พ. 14, 19:07
|
|
ประวัติเจ้าจอมเลื่อน จากวิกิพีเดียค่ะ
เจ้าจอมมารดาเลื่อน ในรัชกาลที่ 5 สกุลเดิม นิยะวานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2418 ที่บ้านบางขุนพรหมในพระนคร เป็นบุตรีของพระนรินทราภรณ์ ( ลอย นิยะวานนท์ ) กับ ปริก โดยปู่ของท่านเป็นน้องชายของเจ้าจอมมารดาอำพา ในรัชกาลที่ 2 ( พระมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ต้นราชสกุลกปิตถา และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ต้นราชสกุลปราโมช )
เมื่อท่านอายุได้ 9 ปี ได้เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง กับ เจ้าจอมมิ ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นลูกของป้าท่าน แล้วจึงถวายตัวแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินินาถ แล้วได้เป็นละครหลวง ต่อมาทรงพระกรุณาให้เป็นเป็นเจ้าจอม ประสูติพระเจ้าลูกเธอรวม 2 พระองค์ คือ • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
ในส่วนของเจ้าจอมมารดาเลื่อนนั้น ท่านจะมีหน้าที่ประจำ คือ การอ่านหนังสือถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาเข้าที่บรรทมเป็นนิจ เพราะพระองค์ทรงพระบรรทมยาก ท่านเจ้าจอมมารดาท่านมีเสียงที่ไพเราะ อ่านได้นานๆ ไม่แหบแห้ง ทั้งเป็นผู้ถูกอัธยาศัย ทรงพระกรุณามาก เมื่อต่อมาพระราชโอรสทรงได้รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ก็เป็นเหตุให้ทรงยกย่องเจ้าจอมมารดาเลื่อนยิ่งขึ้น ถึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และเหรียญรัตนาภรณ์ ในรัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 ครั้นพระองค์เจ้าอุรุพงษ์สิ้นพระชนม์แล้ว ปลายรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดาเลื่อนจึงถวายคืนพระมรดกของพระองค์เจ้าอุรุพงษ์ฯ ทั้งหมด
ถึงรัชกาลที่ 6 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชเงินปีเลี้ยงชีพเป็นพิเศษอีกปีละ 30,000 บาท นอกเหนือไปจากอัตราปกติของเจ้าจอมมารดาพระสนมเอก และได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 อีกด้วย
ในเวลาต่อมา เจ้าจอมมารดาเลื่อน ได้กราบถวายบังคมทูลลาออกไปอยู่นอกวัง ที่บ้านถนนพระราม 5 ( โรงเรียนนันทนศึกษาในปัจจุบัน ) และดำรงชีพอยู่โดยสัมมาปฏิบัติ ต่อมาท่านได้ย้ายไปสร้างบ้านใหม่ที่ถนนเพชรบุรี ใกล้ประตูน้ำปทุมวัน แต่มีโรคเบียดเบียนในวัยชราอยู่หลายปี จนในที่สุดก็ถึงแก่อสัญกรรมลงที่บ้านถนนเพชรบุรีนี้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tita
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 24 ก.พ. 14, 19:12
|
|
ถ้าเช่นนั้นรูปบ้านที่ดึงมาจากระบบสืบค้นของกรมศิลปากรคงเป็นเรือนของท่าน ถ. พระราม 5 ที่กลายมาเป็น รร. นันทนศึกษา แล้วล่ะค่ะ เพราะลองไปดูประวัติของโรงเรียนก็เห็นกล่าวถึงพื้นที่ที่ ถ. พระราม 5 อยู่
...ในขณะนั้น โรงเรียนนันทนศึกษา เป็นเพียงโรงเรียนเล็กๆ ที่มีนักเรียนเพียง 76 คน และมีเรือนไม้สองชั้นเพียงหลังเดียวบนที่ดินผืนเล็กๆ หัวมุมถนนสุโขทัยที่ขอเช่าจากคุณพระสุจริตสุดา ด้วยความขยันขันแข็งและวิธีการสอนที่ทำให้นักเรียนสนุกสนานกับการเรียนและกิจกรรมต่างๆ ของครูเพี้ยน ทำให้โรงเรียนเล็กๆ นี้เป็นที่นิยม จึงมีผู้ส่งบุตรหลานมาเข้าเรียนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 300 คนใน 2 ปีถัดมา จนทำให้โรงเรียนเดิมนี้คับแคบไป
ในปี 2480 ครูเพี้ยนจึงได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งอยู่ในที่ใหม่บนถนนพระราม 5 ในที่ดินของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีตึกสองชั้นหลังหนึ่งในอาณาบริเวณที่กว้างขวาง เหมาะสมแก่การเป็นโรงเรียน สถานที่นี้ได้กลายมาเป็นบ้านของโรงเรียนนันทนศึกษาต่อมานานถึง 70 ปี ตึกสองชั้นอันงามสง่านี้ถูกใช้เป็นตึกอำนวยการของโรงเรียน มีห้องทำงานของครูใหญ่ ฝ่ายธุรการและการเงิน ห้องสมุด ห้องบรรยายการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ใช้ฉายภาพยนตร์ด้วย ชั้นบนใช้เป็นห้องเรียนของชั้นเตรียมอุดม ครูเพี้ยนได้สร้างห้องเรียนเพิ่มเติมเป็นเรือนไม้สองชั้น 1 หลัง และเรือนไม้ชั้นเดียวอีก 3 หลัง เพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ขณะนั้นโรงเรียนทำการสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถม ( ชั้นมูล ) จนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษา ( มัธยม 8 )...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tita
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 24 ก.พ. 14, 19:24
|
|
สรุปแล้วรูปบ้านใน คห. 12 - 16 ที่ดึงมาจากระบบสืบค้นของกรมศิลปากรคงไม่น่าจะใช่เรือนเจ้าจอมเลื่อน ที่ถนนเพชรบุรี ใกล้ประตูน้ำปทุมวัน แล้วล่ะค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 25 ก.พ. 14, 08:58
|
|
พระนางเธอลักษมีลาวัณทรงมีรายได้ปีละ๒๐๐๐บาท จากเงินในฐานะพระราชวงศ์และเงินตามพระราชพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงได้รับพระราชมรดกเป็นเครื่องเพชรมูลค่านับล้านตามส่วนที่ทรงจับฉลากได้ บางส่วนทรงขายเพื่อนำเงินมาตกแต่งพระตำหนักลักษมีวิลาส ในบั้นปลายของพระชนม์ชีพ ทรงดำรงพระชนม์อย่างโดดเดี่ยวตามลำพังปราศจากผู้รับใช้ใกล้ชิด ดังจะเห็นได้จากพระนิพนธ์ที่ทรงเขียนโต้ข่าวลือทั้งหลายว่า
ตัวคนเดียวโดดเดี่ยวอยู่เปลี่ยวเปล่า ไม่มีบ่าวโจษจันฉันกริ้วแหว ขืนมีบ่าวเข้ามามันตอแย ยั่วยุแหย่ยุ่งขโมยโอยรำคาญ บ้างเข้ามาทำท่าเป็นบ้างั่ง เรียกจะสั่งทำใดไม่ขอขาน สั่งอย่างโง้นทำอย่างงี้เลี่ยงลี้งาน ใช่ฉันพาลเป็นอย่างนี้ทุกวี่วัน
ดังนั้น ที่พระองค์ทรงเลือกอยู่ตัวคนเดียวนั้น หาใช่ว่าทรงตรอมตรมพระทัยจนเพี้ยนไปไม่ แต่คงจะเป็นเพราะว่าในดวงพระชะตา คงจะเสียเรื่องบริวารเป็นอย่างแรง วาระสุดท้ายของพระองค์ก็เนื่องมาจากบริวารเป็นพิษนั่นแล คนสวนที่มาใหม่ๆจากบ้านนอกเล่นทีเผลอในเวลาที่พระองค์ประทับนั่งถอนหญ้าพรวนดินแปลงดอกไม้ ใช้เสียมตีพระศอของพระองค์ทางด้านหลัง แล้วจึงขึ้นไปรื้อค้นพระตำหนักเพื่อขโมยเครื่องเพชรและหนีไป มีผู้มาพบพระศพอยู่ข้างพระตำหนักในวันสองวันต่อมา ตัวคนร้ายนั้นตำรวจตามไปสืบจับได้พร้อมของกลางและสารภาพว่า เหตุที่กระทำไปเช่นนั้นเพราะถูกดุด่าจนหน้ามืด บรรลุแก่โทษะถึงกับทำร้ายพระองค์ เมื่อกระทำลงไปแล้ว ไหนๆก็ไหนๆ ขึ้นไปค้นหาเครื่องเพชรที่เขาร่ำลือแล้วก็ขโมยไปเสียเลย แต่เนื่องจากไม่ใช่มืออาชีพ เซอะชะไปขายต่อให้สายของตำรวจเข้า จึงถูกจับอย่างง่ายดาย ผมจำได้อ่านหนังสือพิมพ์เจอว่าสุดท้ายคนร้ายถูกศาลลงโทษจำคุกยาว ไม่ถึงกับประหารชีวิตเพราะไม่ได้เตรียมการจะฆ่ามาก่อน จริงๆแล้วหมอนี่คงไม่ได้ตายในคุก แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้หลุดออกมาเมื่อไหร่ ตรงนั้นไม่มีข่าว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 25 ก.พ. 14, 09:34
|
|
คุณ V_Mee เคยให้คำตอบในเรื่องนี้ไว้ว่า
"คนร้ายในคดีนี้มีสองคน ชื่อ นายแสง หรือ เสงี่ยม หอมจันทร์ ที่ 1 และ นายวิรัช หรือ เจริญ กาญจนาภัย ที่ 2 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ได้ที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2504 พร้อมของกลาง คือ ตราจักรีประดับเพชร์ 1 องค์ ราคา 13,000 บาท พระสังวาลย์จักรี 1 สาย ราคา 15,000 บาท เหรียญบรมราชาภิเษกทองคำ 1 เหรียญ ราคา 5,000 บาท จำเลยที่ 2 ถูกจับที่จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2504 พร้อมของกลางคือ ดวงตรามหาจักรีประดับเพชร 1 องค์ ราคา 17,000 บาท ดาราปฐมจุลจอมเกล้าประดับเพชร 1 องค์ ราคา 7,000 บาท ดวงตราปฐมจุลจอมเกล้าประดับเพชร 1 องค์ ราคา 900 บาท เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี กาไหล่เงิน ราคา 40 บาท ตราวัลลภาภรณ์ ราคา 80 บาท และพระแสงปืนออโตเมติค ขนาด 6.35 พร้อมกระสุน 6 นัด ราคา 1,030 บาท จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยที่ 1 และ 2 รับว่า ได้ใช้สันขวานและชะแลงทุบที่พระเศียรจน พนะนลาฎเหนือพระขนงมีบาดแผลฉกรรจ์ พระกรรณข้างขวาส่วนบนฉีกขาด อัยการศาลทหารฯ ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลทหารกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2504 ใช้เวลาสืบพยานอยู่เกือบ 3 เดือน จึงมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2505 ว่า "ศาลได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานเลย คงมีแต่พยานแวดล้อมกรณี ซึ่งถ้าไม่ได้อาศัยคำรับสารภาพของจำเลยมาก่อนแล้ว จะทำให้คดีนี้ยุ่งยากมาก ส่วนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กระทำการลอบปลงพระชนม์พระนางเธอฯ โดยไตรตรองไว้ก่อนนั้น โจทก็ก็นำสืบไม่ได้ แต่การที่จำเลยทั้งสองใช้ชะแลงเหล็ก และสันขวานทุบตีพระนางเธอฯ โดยพระนางเธอฯ ทรงเป็นหญิงไม่มีโอกาสต่อสู้ป้องกันตัวได้ ทั้งทรงกำลังเผลออยู่ ข้อนี้ศาลเห็นว่า เป็นการกระทำที่ทารุณโหดร้ายเป็นอันมาก และการฆ่าก็จะเป็นความสะดวกในการที่ลักทรัพย์ของพระนางเธอฯ เป็นการกระทำของ "ผู้ร้ายอำมหิตหินชาติ" และการกระทำต่อพระนางเธอฯ ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ชั้นพระองค์เจ้า สมควรที่สองจำเลยต้องได้รับโทษอุกฤษฏ์ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป จึงพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสอง... แต่โดยที่คำสารภาพของจำเลยเป็นประโยชน์ในการพิจารณาตลอดมาเป็นอย่างมาก จึงลดโทษให้หนึ่งในสาม คงให้จำคุกสองจำเลยไว้ตลอดชีวิต คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว" เนื่องจากช่วงเวลานั้นอยู่ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก คดีจึงเป็นที่สุดไม่มีการอุทธรณ์ หรือ ฎีกาต่อไป และไม่ปรากฏหลักฐานว่า จำเลยทั้งสองต้องรับโทษอยู่กี่ปี แต่คาดว่าคงไม่ถึงตลอดชีวิต "
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 25 ก.พ. 14, 09:40
|
|
ยังจำข่าวที่ลงครึกโครมในตอนนั้นได้ว่า คนร้ายสารภาพว่า แยกไม่ออกระหว่างเครื่องเพชรกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คิดว่าเครื่องราชฯประดับเพชรเป็นของมีราคา จึงขโมยเอาไปขาย ก็เลยถูกจับได้ สาเหตุคือเห็นเจ้านายเป็นหญิงชราอยู่ตามลำพัง จึงคิดฆ่าเพื่อหวังชิงทรัพย์ อาวุธก็ไม่มี ใช้ชะแลงเอาง่ายๆนั่นเอง
พระนางเธอฯเองก็ทรงระวังพระองค์ ทรงมีปืนพกประจำพระองค์ ในวันที่ทำสวน ทรงมีปืนใส่หีบเล็กๆวางอยู่ด้วย แต่คนสวนย่องเข้าไปข้างหลังแล้วใช้ชะแลงตีจนสิ้นพระชนม์ ขโมยเอาปืนไปด้วยนอกเหนือจากเครื่องราชฯ จึงปรากฏว่ามีปืนออโตเมติคอยู่เป็นของกลาง
คดีนี้คนร้ายถูกจำคุกอยู่นานมาก ประมาณ 20 ปี มีข่าวลงหนังสือพิมพ์เช่นกันว่าในที่สุดเมื่อครบกำหนดโทษแล้วก็ได้รับการปล่อยตัวออกมา แต่ก็ไม่มีใครไปตามข่าวว่าป่านนี้นายสองคนนี่แก่ตายไปแล้วหรือยัง น่าจะเสียชีวิตไปแล้วทั้งคู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 27 ก.พ. 14, 15:19
|
|
บ้านอีกหลังหนึ่งในความเห็นที่ 5 - 9 นั้น
หากเป็นบ้านที่สี่แยกราชเทวี อยู่หลังตึกแถวที่เรียงรายจากโรงหนังฮอลลีวู้ดจนถึงสี่แยก แล้วหักมุมฉากเรียงไปต่อตามถนนพญาไท เวลาเดินออกจากโรงหนังจะผ่านช่องว่างระหว่าง ตึกแถวเป็นทางเข้าออกบ้าน สามารถมองเข้าไปเห็นตัวบ้านและสนามได้ นั้น คือ บ้านราชเทวี ของ พระยาเทวาธิราช (ม.ร.ว.เทวาธิราช ป.มาลากุล) อดีตสมุหพระราชพิธี และที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง
บ้านนี้ได้เป็นที่จัดพิธีหมั้นระหว่างคุณเลิศ ประสมทรัพย์ กับ ม.ล.ปราลี มาลากุล ธิดาพระยาเทวาธิราช
จากแนวหน้า 5 มกราคม 2557
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tita
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 28 ก.พ. 14, 16:24
|
|
บ้านราชเทวี รูปค้นมาจากในเรือนไทยนี่แหละค่ะ เป็นรูปเก่าที่คุณ Sila ลงเอาไว้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
tita
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 28 ก.พ. 14, 16:37
|
|
พอไปเจอรูปบ้านราชเทวีที่กระทู้ "ของเก่าแก่ในภูเก็ตที่โดนทำลาย" ก็เลยเห็น คห. ที่คุณเทาชมพูเคยพูดถึงบ้านหลังหนึ่งบนถนนเพชรบุรี
"ยังมีบ้านงามเหลืออยู่หลังหนึ่งที่ถนนเพชรบุรี ถ้ามาจากยมราช จะอยู่ทางขวาก่อนถึงแยกพงศ์เพชร มีต้นไม้ขึ้นครึ้มเต็มไปหมด เป็นตัวตึกสองชั้นทาสีส้ม สภาพยังแข็งแรง เคยอ่านพบในหนังสือว่าเป็นบ้านของใคร แต่ลืมชื่อเจ้าของไปแล้วค่ะ ต้องไปค้นดูอีกที"
ดิฉันคลับคล้ายจะเคยเห็นบ้านหลังสีส้มหลังนั้น อยู่ริมถนนย่านกิ่งเพชรใช่ไหมคะ ไม่แน่ใจว่าบ้านหลังนี้เคยทำหอพักสตรีหรือเปล่าคะ คือตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยตามผู้ใหญ่ไปเยี่ยมเพื่อนท่านที่พักหอพักเป็นตึกอยู่ริมถนน เป็นตึกทรงโบราณข้างในมีต้นไม้ร่มรื่น ลมพัดเย็นสบาย
ย่านถนนเพชรบุรีมีบ้านโบราณสวยๆ เยอะ เข้าไปในซอยก็มีอีกมาก เสียดายที่ล้วนแต่ถูกละทิ้งทรุดโทรมหรือถูกรื้อไปหมด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 28 ก.พ. 14, 20:18
|
|
บ้านหลังงามที่ว่านั้นกลายเป็นอดีตไปแล้วค่ะ ถูกรื้อไปหมดแล้ว กลายเป็นคอนโดศุภาลัยแทน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|