เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5674 อยากทราบประวัติของนามสกุลพระราชทาน "ศราคนี" ค่ะ
vodka_p
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


 เมื่อ 04 ก.พ. 14, 00:09

หนูหาข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างๆ จนมาเจอข้อมูลอันนี้ค่ะ

"๑๓๘๘ ศราคนี Saragani นายร้อยเอกแส ผู้บังคับกองร้อยที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๓ ปู่ชื่อขุนศรอัคนีพิจิตร (รัก) บิดาชื่อหลวงศรอัคนีพิจิตร (ภู่) 27/4/14"

อ้างอิงจาก https://sites.google.com/site/thailandsurname/home/-s

แล้วก็ค้นๆต่อไปเรื่อยๆจนบังเอิญไปอ่านเจอกระทู้หนึ่งในเรือนไทยกระทู้นี้ค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4858.0

จากความคิดเห็นที่ ๔

"อันที่จริงมีข้าราชการคนอื่นที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ด้วย
ได้แก่  หลวงสรอัคนีพิจิตร์ (หรุ่น) เจ้ากรมช่างหล่อขวา
และขุนสุวรรณนิมิตร์  (นิ่ม  พึ่งรุ่ง) เจ้ากรมช่างบุ
ท่านผู้นี้  ไม่รายละเอียดประวัตินัก  ทราบแต่ถึงแก่กรรม
เมื่อวันที่  ๑๑  สิงหาคม ๒๔๖๙  อายุได้  ๖๗ ปี"


ทีนี้หนูเลยเริ่มสับสนค่ะว่า หลวงสรอัคนีพิจิตร์ (หรุ่น) และ ขุนศรอัคนีพิจิตร (รัก) เป็นบุคคลท่านเดียวกันหรือเปล่า (หรือได้รับการเลื่อนชั้นยศ เพราะหนูดูจากตำแหน่ง เป็นเจ้ากรมช่างหล่อขวาเหมือนกัน)

เพราะหนูเข้าไปหาข้อมูลที่เว็บไซต์ช่างสิบหมู่ มีข้อมูลว่า

ช่างหล่อ       
ขุนศรอัคนีพิจิตร   เจ้ากรมช่างหล่อขวา   นา 300

( http://www.changsipmu.net/Tamniapchang1.php )

ไม่ทราบว่าจะถามเรื่องราวเหล่านี้ได้จากใครเลย เพราะคุณพ่อและญาติผู้ใหญ่ที่น่าจะทราบท่านเสียหมดแล้วค่ะ

เหลือแต่รุ่นหลังๆ ที่เป็นวัยรุ่น

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ก.พ. 14, 07:06


ทีนี้หนูเลยเริ่มสับสนค่ะว่า หลวงสรอัคนีพิจิตร์ (หรุ่น) และ ขุนศรอัคนีพิจิตร (รัก) เป็นบุคคลท่านเดียวกันหรือเปล่า (หรือได้รับการเลื่อนชั้นยศ เพราะหนูดูจากตำแหน่ง เป็นเจ้ากรมช่างหล่อขวาเหมือนกัน)



คนละคนกันครับ ท่านหนึ่งชื่อ หรุ่น  และอีกท่านหนึ่งชื่อ รัก คนละคนกันครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ก.พ. 14, 07:09

เอาเป็นว่า หลวงสรอัคนีพิจิตร (ภู่) นั้นมีอายุวัยทำงานในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕  รั้งตำแน่งได้ดป็นถึงเจ้ากรม และบ้านของท่านอยู่ที่ ถนนบ้านขมิ้น หลังวัดระฆังฯ ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ก.พ. 14, 09:13

จาก ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๗ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๑ หน้า ๕๙๕ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๗  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 ก.พ. 14, 10:29

นักเรียนนายร้อยจบใหม่ จบการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อย ถนนราชดำเนินกลาง เป็นนายทหารเข้ารับสัญญาบัตร มีชื่อ แส อยู่ ๒ ท่านคือ

ร.ศ. ๑๒๔  ร้อยตรีแส  ประจำกองร้อย ๔ กองทหารมหาดเล็ก

ร.ศ. ๑๒๕  ร้อยตรีแส ประจำกองร้อยที่ ๒ กรมทหาราบ ๑


ถ้าจบ ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) เรียนจบประมาณอายุ ๑๘-๒๐ ปี คงเกิดประมาณ พ.ศ. +- ๒๔๓๐
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ก.พ. 14, 16:04

ดูจากนามสกุลที่พระราชทานนั้น มีหลังอยู่หลายอย่าง เช่น การนำชื่อพ่อ ชื่อแม่ ชื่อสถานที่กำเนิด ชื่อที่เกี่ยวพ้องกัน นำมาตั้งเป็นนามสกุล

ดังนี้แล้ว "ศราคนี" ก็คงมาจาก ชื่อบรรพบุรุษ และชื่อแห่งอาชีพที่ทำ คือ "ศร - สอน" และ "อัคนี - ทำช่างหล่อ เกี่ยวข้องกับไฟ" จึงนำมาประสมกัน "ศร + อัคนี"
บันทึกการเข้า
vodka_p
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 03:11

ดูจากนามสกุลที่พระราชทานนั้น มีหลังอยู่หลายอย่าง เช่น การนำชื่อพ่อ ชื่อแม่ ชื่อสถานที่กำเนิด ชื่อที่เกี่ยวพ้องกัน นำมาตั้งเป็นนามสกุล

ดังนี้แล้ว "ศราคนี" ก็คงมาจาก ชื่อบรรพบุรุษ และชื่อแห่งอาชีพที่ทำ คือ "ศร - สอน" และ "อัคนี - ทำช่างหล่อ เกี่ยวข้องกับไฟ" จึงนำมาประสมกัน "ศร + อัคนี"

ขอบพระคุณค่ะ แบบนี้แสดงว่าชื่ออาจเขียนได้ ๒ แบบใช่ไหมคะ เป็นได้ทั้ง สร และ ศร
บันทึกการเข้า
vodka_p
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 03:19

จาก ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๗ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๓๑ หน้า ๕๙๕ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๗  ยิงฟันยิ้ม

ขอบพระคุณ คุณเพ็ญชมพูมากๆเลยค่ะ สำหรับรูป  ยิ้มกว้างๆ

ที่บ้านมีรูปใบพระราชทานนามสกุล อัดใส่กรอบไว้ เหมือนย่อมาจากของต้นฉบับอีกทีน่ะค่ะ เลยไม่ชัดเหมือนเช่นรูปยกตัวอย่างข้างล่างนี้

ถามคุณแม่ท่านก็ไม่ทราบว่าใบต้นฉบับอยู่ที่ไหน หรืออาจจะหายไปแล้วก็ได้

ถ้าหนูอยากหาใบต้นฉบับ (หากว่าเป็นไปได้) เพื่อเก็บไว้ให้รุ่นต่อจากหนูได้เห็น หนูจะสามารถหาได้จากที่ใดบ้างคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 11:36

ที่บ้านมีรูปใบพระราชทานนามสกุล อัดใส่กรอบไว้ เหมือนย่อมาจากของต้นฉบับอีกทีน่ะค่ะ เลยไม่ชัดเหมือนเช่นรูปยกตัวอย่างข้างล่างนี้

ถามคุณแม่ท่านก็ไม่ทราบว่าใบต้นฉบับอยู่ที่ไหน หรืออาจจะหายไปแล้วก็ได้

ถ้าหนูอยากหาใบต้นฉบับ (หากว่าเป็นไปได้) เพื่อเก็บไว้ให้รุ่นต่อจากหนูได้เห็น หนูจะสามารถหาได้จากที่ใดบ้างคะ

คุณ UP ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

หากกระดาษแผ่นที่หายไปนั้นเป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสกุล ก็นับว่าน่าเสียดายมาก

ผมคิดว่าคงหาสำเนาที่ใดไม่ได้อีกแล้วล่ะครับ คงเหลือแต่ราชกิจจานุเบกษา กับทะเบียฬนามสกุลพระราชทาน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเอกสารที่จำเพาะเจาะจง คงเป็นแต่รายนามสกุลที่ถูกบันทึกไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น

ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลประสบเหตุน่าเสียดายเช่นนี้กันมากทีเดียว

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำมีโครงการทำใบรับรองนามสกุลพระราชทาน สำหรับผู้บริจาคสมทบทุนมูลนิธิ (จำได้ว่าไม่กี่บาท)

มีข้อความรับรองว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสกุล.....แก่......แล้วก็ลงลายมือชื่อรองประธานกรรมการมูลนิธิฯ (ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ) ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ) มีกรอบลวดลายอัษฎมงคล หรือมงคลแปด ประดับอยู่โดยรอบ สวยงามดีทีเดียวครับ

แม้จะไม่ใช่พระราชหัตถเลขา แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย หากคุณนันทนรักษ์ สนใจ สามารถติดต่อขอรับได้ที่ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่ชั้นล่าง หอวชิราวุธานุสรณ์ ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ครับ

ตัวอย่าง

ปัจจุบัน มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดพิมพ์ใบนามสกุลพระราชทานขึ้นใหม่
โดยรักษาเนื้อหาตามใบพระราชทานนามสกุลของเดิมไว้



บันทึกการเข้า
vodka_p
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 ก.พ. 14, 00:44

ที่บ้านมีรูปใบพระราชทานนามสกุล อัดใส่กรอบไว้ เหมือนย่อมาจากของต้นฉบับอีกทีน่ะค่ะ เลยไม่ชัดเหมือนเช่นรูปยกตัวอย่างข้างล่างนี้

ถามคุณแม่ท่านก็ไม่ทราบว่าใบต้นฉบับอยู่ที่ไหน หรืออาจจะหายไปแล้วก็ได้

ถ้าหนูอยากหาใบต้นฉบับ (หากว่าเป็นไปได้) เพื่อเก็บไว้ให้รุ่นต่อจากหนูได้เห็น หนูจะสามารถหาได้จากที่ใดบ้างคะ

คุณ UP ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

หากกระดาษแผ่นที่หายไปนั้นเป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสกุล ก็นับว่าน่าเสียดายมาก

ผมคิดว่าคงหาสำเนาที่ใดไม่ได้อีกแล้วล่ะครับ คงเหลือแต่ราชกิจจานุเบกษา กับทะเบียฬนามสกุลพระราชทาน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเอกสารที่จำเพาะเจาะจง คงเป็นแต่รายนามสกุลที่ถูกบันทึกไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น

ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลประสบเหตุน่าเสียดายเช่นนี้กันมากทีเดียว

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำมีโครงการทำใบรับรองนามสกุลพระราชทาน สำหรับผู้บริจาคสมทบทุนมูลนิธิ (จำได้ว่าไม่กี่บาท)

มีข้อความรับรองว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามสกุล.....แก่......แล้วก็ลงลายมือชื่อรองประธานกรรมการมูลนิธิฯ (ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ) ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ) มีกรอบลวดลายอัษฎมงคล หรือมงคลแปด ประดับอยู่โดยรอบ สวยงามดีทีเดียวครับ

แม้จะไม่ใช่พระราชหัตถเลขา แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย หากคุณนันทนรักษ์ สนใจ สามารถติดต่อขอรับได้ที่ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่ชั้นล่าง หอวชิราวุธานุสรณ์ ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ครับ

ตัวอย่าง

ปัจจุบัน มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดพิมพ์ใบนามสกุลพระราชทานขึ้นใหม่
โดยรักษาเนื้อหาตามใบพระราชทานนามสกุลของเดิมไว้






ขอบพระคุณมากๆค่ะ เดี๋ยวหนูจะลองไปติดต่อตามที่อยู่ที่ให้ไว้ดูค่ะ

เอาให้แม่อ่านว่าประวัติความเป็นมาเป็นอย่างไร บางเรื่องแม่ก็เพิ่งทราบเองค่ะ เจ๋ง

บันทึกการเข้า
vodka_p
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 ก.พ. 14, 00:47

หนูขอบพระคุณทุกๆท่านอีกครั้งนะคะ สำหรับข้อมูลทุกๆอย่างเลยค่ะ  ยิ้มกว้างๆ

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง