เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 22611 ชื่อโรงเรียนราชินีบน คำว่า บน มาจากอะไรคะ
pranee_p
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


 เมื่อ 03 ก.พ. 14, 14:07

เรียนถามท่านผู้รู้   เึคยอ่านหนังสือหรือได้ยินคำบอกเล่าว่า คำว่า บน จากโรงเรียนราชินีบน มาจาก สมเด็จที่บน แต่จำไม่ได้ว่าอ่านจากแหล่งข้อมูลใด วอนท่านผู้รู้ช่วยให้คำแนะนำด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 ก.พ. 14, 14:33

จากคำบอกเล่าของเด็กนักเรียนราชินีบนค่ะ

หลายคนมักจะจำสับสน ระหว่างโรงเรียนของพวกเรา
“ราชินีบน”  ที่สี่แยกบางกระบือ กับโรงเรียน “ราชินี”  ที่อยู่ถนนมหาราช ปากคลองตลาด ว่ามีความเกี่ยวของกันยังไง?? ทำไม๊ทำไมจะต้องมาชื่อคล้ายกันด้วย? จริงๆ แล้วโรงเรียนทั้งสองเป็นโรงเรียนพี่โรงเรียนน้องกัน

โรงเรียนราชินี ก่อตั้งก่อน โดยพระราชมารดาของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลย์ฯ ค่ะ  ส่วนโรงเรียน“ราชินีบน” ของหนูนานั้นก่อตั้งขึ้นทีหลัง แต่ที่ได้ชื่อ “ราชินีบน” เพราะว่าโรงเรียนหนูนาตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำเจ้าพระยามากกว่านั่นเอง

http://www.dek-d.com/education/26911/
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 ก.พ. 14, 15:00

โรงเรียนราชินี ที่ถนนเขียวไข่กา เรียกลำลองว่า "ราชินีบน"

โรงเรียนราชินี ที่ปากคลองตลาด เรียกว่า "ราชินีล่าง"

โดยเรียกตามถิ่นที่ตั้งของโรงเรียนครับ ไม่มีอะไรมากมายเลย คือ อยู่บน กับ ล่าง แม่น้ำเจ้าพระยา  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ก.พ. 14, 15:23

โรงเรียนราชินี ที่ปากคลองตลาด เรียกว่า "ราชินีล่าง"

ดูเหมือนที่นั่นเขาไม่ชอบให้เรียกชื่อโรงเรียนโดยมีฅำว่า "ล่าง"   แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ก.พ. 14, 15:30

เรามักจะเรียกชื่อโรงเรียนราชินีว่า "โรงเรียนราชินีปากคลองตลาด" แต่ด้วยความทะลึ่งของความเป็นนักเรียนโรงเรียนชาย เราเลยเรียกชื่อไปอีกอย่างหนึ่ง และด้วยความไม่ฉลาดของผมในสมัยนั้น จึงมีข้อสงสัยว่า ทำไมเสื้อนักเรียนของโรงเรียนราชินีจึงปักอักษรย่อชื่อโรงเรียนว่า ส.ผ.


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ก.พ. 14, 15:41

นักเรียนราชินี ถือว่ามีร.ร.ราชินีบน  กับร.ร.ราชินี เฉยๆค่ะ ไม่มีคำว่า "ล่าง"
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ก.พ. 14, 22:54

ผมเคยสงสัย จนทุกวันนี้ก็ยังไม่หายสงสัยว่าทำไมต้องตั้งชื่อโรงเรียนให้เหมือนกัน

ปัจจุบันก็ยังนิยมมาก เราจึงมีสารพัดเตรียมอุดม สารพัดสวนกุหลาบ สารพัดเทพศิรินทร์ ฯลฯ ทั้งๆที่ไม่มีอะไรเกี่ยวกันเลย ครูก็เป็นคนละคน ผู้บริหารก็คนละคน
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.พ. 14, 07:38

เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงก่อตั้งโรงเรียนราชินีบนนั้นอยู่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงตั้งชื่อว่า ราชินีบน หมายถึง ราชินี (ที่) บน คือ สมเด็จพระศรีพัชรินทร์ฯ
ความหมายนี้เป็นที่ทราบกันมาแต่แรก
แต่กลับเพี้ยนไปในเวลาต่อมา กลายเป็น บน ล่าง ตามทิศที่ตั้งไป

เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ที่ผ่านมา อาจารย์หม่อมหลวงประทิ่นทิพย์ ผู้จัดการโรงเรียนราชินี
ท่านไปปาฐกถาที่จุฬาฯ ท่านก็พูดถึงความหมายเช่นนี้เหมือนกัน จึงเป็นที่อ้างอิงได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.พ. 14, 07:54

นอกจาก ราชินีบน ราชินี ยังมี โรงเรียนราชินีบูรณะ อีกด้วยครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.พ. 14, 09:51

และด้วยความไม่ฉลาดของผมในสมัยนั้น จึงมีข้อสงสัยว่า ทำไมเสื้อนักเรียนของโรงเรียนราชินีจึงปักอักษรย่อชื่อโรงเรียนว่า ส.ผ.



ราชินีและราชินีบนมีอักษรย่อเดียวกันคือ ส.ผ. มาจากพระนามเดิมของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง คือ "เสาวภาผ่องศรี"    ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ก.พ. 14, 13:28

ประวัติการก่อตั้งโรงเรียนราชินีบนตามบันทึกลายพระหัตถ์ของ หม่อมเจ้าวงศ์ทิพย์สุดา เทวกุล

พ.ศ. ๒๔๗๒

โรงเรียนนี้เดิมมีนามว่า "โรงเรียนศรีจิตรสง่า" อยู่ในความอุปถัมภ์ของหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี แรกตั้งอยู่ที่ตึกแถวริมถนนอัษฎางค์ เชิงสะพานวัดราชบพิตร เปิดการสอนเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ มีตั้งแต่ชั้นเล็กๆ ขึ้นไป สูงสุดเพียงชั้นมัธยมปีที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๖๕ ก็ย้ายมาสอนที่ตึกของพระยามหิบาลฯ ถนนนครไชยศรี ใกล้โรงไฟฟ้าหลวง ตำบลสามเสน เมื่อตั้งอยู่ ณ ที่นี้ได้สัก ๓ ปี ได้ขยายการสอนสูงขึ้นเปนลำดับจนถึงชั้นมัธยมปีที่ ๖

ครั้น พ.ศ. ๒๔๖๙ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร ทรงพระศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์อุดหนุนการศึกษาเปนจำนวนมาก โปรดให้จัดซื้อที่ดินณที่นี้มีเนื้อที่ ๒ ไร่ - งาน ๗๔ ตรางวา เปนจำนวนเงิน ๒๕๓๖๐- บาท  - สตางค์ กับทรงขอประทานที่ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ริมถนนเขียวไข่กามาสมทบ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถมคูที่คั่นอยู่กลางนั้นเสีย จึงเปนเนื้อที่ติดต่อกันรวมราว ๔ ไร่  ๑๙๗ ตรางวา และโปรดให้กองช่างสุขาภิบาลอำนวยการสร้างสถานที่ศึกษาสำหรับสตรีลงณที่นี้เปนจำนวนเงิน ๑๑๗,๘๔๗ บาท ๔๑ สตางค์ ประทานเครื่องเรือนด้วยพร้อม สั่งที่โรงเรียนเพาะช่างเปนราคา ๑๑๐๒๔ บาท ๓๕ สตางค์ ทรงพระดำริว่านักเรียนชั้น ๗ ชั้น ๘ ของโรงเรียนราชินีที่ปากคลองตลาด เปนชั้นสูงซึ่งจวนสำเร็จโรงเรียนอยู่แล้ว สมควรจะให้คุ้นเคยกับสถานที่ซึ่งถูกต้องตามแบบสุขาภิบาลเสียบ้าง เมื่อออกไปอยู่บ้านจะได้จัดแต่งบ้านรักษาอนามัยได้เปนอันดี จึงโปรดให้ย้ายมาเล่าเรียนณโรงเรียนนี้ สมทบกับนักเรียนที่มีอยู่เดิม ตัดชั้นเล็กๆออกเพื่อมิให้มีนักเรียนเกินจำนวนสถานที่ๆจะรับ จัดการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ ๓ ขึ้นไป กับได้ประทานนามใหม่นี้ว่า "โรงเรียนราชินีบน" เพื่อเฉลิมพระเกียรติ์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงสืบไป

ที่มา - หนังสือ ๑๐๐ ปีท่านอาจารย์วงศ์ทิพย์สุดา เทวกุล ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๗

ที่สะกิดใจคือสถานที่ตั้ง "ตึกแถวริมถนนอัษฎางค์ เชิงสะพานวัดราชบพิตร" (คำสะกดที่ถูกต้องคือ วัดราชบพิธ)




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ก.พ. 14, 17:17

ย้ายนางสาว พี. เอน. กวินน์ นางสาวสำนวน อมาตยกุล นางสาวพร คำสัตย์ จากโรงเรียนราชินีล่างมาเปนผู้สอนอยู่ที่นี่
นางสาวดารา ไกรฤกษ์ นางสาวน้อม นิลกำแหง เข้าเปนครูผู้ช่วย แต่นางสาวดารา ไกรฤกษ์ ยังป่วยอยู่มาสอนไม่ได้
พระยาเทววงศ์ฯ เจ้ากรม ให้นาฬิกาตั้งเรือนใหญ่เปนสมบัติของโรงเรียน ๑ เรือน
ครูผู้รับหน้าที่สอนโรงเรียนนี้คือ :-
หม่อมเจ้าหญิงวงศ์ทิพสุดา เปนผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่
นางสาว พี. เอน. กวินน์ สอนชั้นวิสามัญปี่ที่ ๒ (ชั้น ๘)
นางสาว สำนวน อมาตยกุล สอนชั้นวิสามัญปีที่ ๑ (ชั้น ๗)
นางสาว สารภี โรจนประดิษฐ์ ประจำชั้น ๖
นางสาว ปุก เรืองพานิช ประจำชั้น ๕
นางสาวจรัสสี โลหะนันท์ ประจำชั้น ๔
นางสาว ผจง ตามรภาค ประจำชั้น ๓
นางสาวพร คำสัตย์ นางสาวดารา ไกรฤกษ์ นางสาวน้อม นิลกำแหง เปนครูผู้ช่วย สอนวิชชาบางอย่างดังมีแจ้งในตรางสอนแล้ว.

วันนี้ครูบางคนที่มาสอนวิชชาบางอย่างจากโรงเรียนราชินีล่าง มีหม่อมเจ้าหญิงพิมพ์ภักตร์พาณี  นาง นิล เสนีวงศ์ ณ อยุธยา  นางสาว เป้า วิมุกตกุล นางสาว สายใจ ณ มหาชัย เปนต้น
ส่วนครูผู้ชายที่จะมาสอนวิชชาต่างๆ คือ :-
พระเรี่ยม วิรัชพากย์ สอนภาษาฝรั่งเศส
นางจำนงพิทยประสาท สอนวิทยาศาสตร์ เฆมิสตรี
ขุนวิรุฬจรรยา สอนพิชคณิต
หลวงอิงคศรีกสิการ สอนพฤกษศาสตร์
ขุนอาจดรุณวุฒิ สอนการคำนวณ
หลวงชวลักษณ์ สอนชวเลข


สังเกตว่าในบันทึกใช้คำว่า โรงเรียนราชินีล่าง

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 ก.พ. 14, 17:26

๒๖/๕/๗๒  เวลา ๑๒ นาฬิกา ครูพานักเรียนไปโรงเรียนราชินีปากคลองตลาดเพื่อประชุมรื่นเริงและฟังเทศน์ในวันประสูติของท่านอาจารย์ เสร็จงานเวลา ๑๖ นาฬิกา วันนี้เป็นวันปิดโรงเรียนเทอมต้น ภาควิสาขะบูชา

๑๔/๓/๗๓ เวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา ครูและนักเรียนไปการรื่นเริงในวันประชุมนักเรียนเก่าที่โรงเรียนราชินีปากคลองตลาด

๑๒/๔/๗๓ ทุกวันเสาร์ตั้งแต่ ๙ นาฬิกาเปนต้นไป หลวงประดิษฐ์ไพเราะ จะมาสอนดนตรีแก่นักเรียนที่สมัครจะเรียน และทุกวันพุธตอนบ่าย เวลา ๑๕-๑๗ นาฬิกา ถ้าคราวใด หลวงประดิษฐืไพเราะมีราชการมาไม่ได้ นางสาวชิ้น ศิลปบรรเลง จะมาแทนตัว


สังเกตว่าในบันทึกจะใช้คำว่า โรงเรียนราชินีปากคลองตลาด

ในบันทึกช่วงหลังๆ จะมีการใช้คำ โรงเรียนราชินีล่าง และโรงเรียนราชินีปากคลองตลาด

๓๐ ก.ย. ๘๕ น้ำเริ่มท่วม
๑ ต.ค. ๘๕ น้ำท่วมมากขึ้น
๒ ต.ค. ๘๕ น้ำท่วมมากขึ้น
๓ ต.ค. ๘๕ วันนี้ (วันเสาร์) โรงเรียนปิดตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องในเหตุน้ำท่วมมากขึ้น การไปมาไม่สดวกยิ่งขี้นเป็นลำดับ (เปิดเรียน ๓๐ ต.ค. ๘๕)






 
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ก.พ. 14, 12:17

"ตึกแถวริมถนนอัษฎางค์ เชิงสะพานวัดราชบพิธ" ตามความเข้าใจของผม จะอยู่ที่ปากซอยพระยาศรีด้านถนนอัษฎางค์ หลังตึกหันลงคลองหลอดวัดราชบพิธ



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ก.พ. 14, 12:19

แต่ในเวปของโรงเรียนราชินี บอกว่าเป็นตึกแถวที่หัวมุมถนนอัษฎางคืตัดกับถนนพระพิพิธ คือใกล้ๆ กับวังบ้านหม้อ (ภาพบน)
เชิงสะพานอุบลรัตน์ที่ทอดข้ามคลองคูเมืองชั้นใน (ภาพล่าง)





บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง