เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 57226 ชีวิตจริงเบื้องหลังวรรณกรรมชุด "บ้านเล็ก" (ตอนจบ)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 01 มี.ค. 14, 21:15

เขียนดีมากค่ะ  เป็นบทความของใครคะ
มองออกว่าเจ้าของบทความชอบนิยายชุด "บ้านเล็ก" จริงๆด้วย

เป็นบันทึกช่วงเดียวที่ แคโรไลน์ แม่ของลอร่า
อารมณ์หงุดหงิดใส่สามีค่ะ  แลบลิ้น

แม่ของลอร่าช่างเป็นผู้หญิงที่อดทนและสำรวมกาย วาจา ใจได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงอย่างน่าสรรเสริญ     ต่อให้ชีวิตลำบากลำบนยังไงเธอก็ไม่เคยหลุดอารมณ์เสียออกมา   
จนกระทั่งเจอพายุหิมะกระหน่ำถึงเดือนที่ ๗  เธอจึงหลุด เอ็ดสามีไปหนหนึ่งให้หยุดสบถสาบานด่าพายุ 
ถ้าเป็นคนอื่น คงหลุดตั้งแต่แต่งงานกับผู้ชายที่เอาแต่อพยพไม่หยุดไม่หย่อนแล้วละค่ะ     


บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 01 มี.ค. 14, 21:18

อืมม์... ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 02 มี.ค. 14, 11:41

   หนังสือเล่มต่อไปของลอร่าคือ เมืองเล็กในทุ่งกว้าง Little Town on the Prairie   เล่าถึงชีวิตช่วงลอร่าเติบโตเป็นสาวน้อยวัยสิบห้า   เรื่องนี้วางตลาดเมื่อค.ศ. 1941   รางวัลนิวเบอรี่ออนเนอร์ก็ลอยมาสู่มือเธออีกครั้งหนึ่ง   แฟนหนังสือทั่วประเทศกระหายที่จะรู้ตอนต่อไป  เพราะตอนนี้ แอลแมนโซ หนุ่มนักบุกเบิกใจกล้าในตอน The Long Winter  เริ่มโชว์ความเป็นพระเอกขึ้นมารำไรแล้วเมื่อเขาแวะรับสาวน้อยลอร่าขึ้นรถม้าไปส่งที่โรงเรียน   จากนั้นก็เดินจากโบสถ์มาส่งเธอที่บ้าน   
    สาวน้อยก็แสนจะซื่อไม่ประสีประสา  ไม่เข้าใจว่าชายหนุ่มคนนี้เดินตามอารักขาเธอทำไม   ในเมื่อพ่อแม่ก็เดินมาด้วย   แต่ด้วยมารยาทเธอก็พยายามหาหัวข้อเรื่องมาคุยกับเขาจนได้ ตลอดทาง

   ลอร่าเขียนหนังสือเล่มสุดท้ายในชุด "บ้านเล็ก" คือ These Happy Golden Years   ออกวางตลาดในค.ศ. 1943แครี่น้องสาวคนเดียวที่เหลืออยู่ตื่นเต้นกับหนังสือของพี่สาวมาก   พี่น้องเขียนจดหมายถึงกัน  ส่งข่าวคราวและเล่ารายละเอียดในอดีตสู่กันฟัง    จดหมายจากแฟนหนังสือหลั่งไหลมาที่ร็อคกี้ริดจ์ฟาร์ม  จนแอลแมนโซต้องสร้างตู้รับจดหมายขนาดใหญ่มหึมาไว้รองรับจดหมายจากเด็กๆทั่วอเมริกา    ลอร่าตอบจดหมายแฟนหนังสือเสมอ ไม่ทำให้ใครผิดหวัง
   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 02 มี.ค. 14, 11:41

    หนังสือเล่มสุดท้ายเล่าถึงชีวิตเมื่อลอร่าในวัยสิบห้า เติบโตเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว  ทั้งๆยังเรียนไม่จบเธอก็สอบประกาศนียบัตรครู ไปสอนหนังสือในโรงเรียนเล็กๆใกล้เมืองเดอสเม็ต เพื่อหารายได้มาช่วยส่งเสียพี่สาวให้เรียนจนจบวิทยาลัย     เธอเรียนรู้ที่จะชนะความกลัวจากผู้หญิงคุ้มดีคุ้มร้ายที่เธอจำต้องไปพักอยู่ด้วย     ชนะอุปสรรคในการสอนนักเรียนที่อายุมากกว่าเธอ    เมื่อความรักเข้ามาเยือน ลอร่าก็เอาชนะสาวคู่แข่งที่พยายามจะมาแย่งความสนใจจากแอลแมนโซจนได้   จบลงด้วยพิธีสมรสง่ายๆ แต่เต็มเปี่ยมด้วยความรักและความเข้าใจ ในตอนจบของเรื่อง
 
  ไม่ต้องบอกก็เดาได้  เรื่องนี้ได้รางวัล Newbery Honor Award  อีกครั้งหนึ่งค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 03 มี.ค. 14, 12:40

    บัดนี้ลอร่าอายุ 76  เธอขะมักเขม้นทำงานมา 11 ปีเต็มๆ    เธอทำให้พ่อ แม่ พี่ๆน้องๆ ยืนยงอยู่เป็นอมตะในหน้าหนังสือวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ได้รางวัลนิวเบอรี่ถึง  4 รางวัลติดต่อกัน     ก็ถึงเวลาที่จะวางปากกาเสียที     
    แฟนหนังสือทั่วประเทศ  สำนักพิมพ์ และเพื่อนฝูงของเธอต่างเรียกร้องให้ลอร่าเขียนหนังสือต่อ    แต่เธอก็ปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่า   เธอขออยู่ชื่นชมกับเวลาปัจจุบันของเธอให้เต็มอิ่ม หลังจากเดินย้อนกลับไปในอดีตนานพอแล้ว    ในวัย 76 และแอลแมนโซ 86  เธอยังแข็งแรงดี  ส่วนเขาเองแม้ว่าเริ่มมีโรคภัยเบียดเบียนบ้าง แต่ก็ยังช่วยตัวเอง ไปไหนมาไหนและทำงานเล็กๆน้อยๆในฟาร์มเองได้   นับเป็นชีวิตวัยทองที่สงบสุข จนลอร่าไม่อยากจะแลกกับสิ่งอื่นแม้แต่ชื่อเสียงเงินทองที่จะไหลมาเทมา

   สงครามโลกครั้งที่ 2  ลามจากยุโรป ส่งผลกระทบถึงสหรัฐอเมริกาโดยตรง    เมื่อญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ล ฮาเบอร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941   อเมริกาทั้งประเทศก็ตกอยู่ในภาวะสงคราม   พวกผู้ชายถูกเกณฑ์ทหารไปรบนอกประเทศ    เชื้อเพลิงกลายเป็นของขาดแคลน  ทำให้ลอร่าและแอลแมนโซกลับไปเยี่ยมบ้านเดิมไม่ได้อีก    ส่วนอาหารการกินไม่เป็นปัญหา เพราะเธอปลูกผักผลไม้และเลี้ยงสัตว์เองในฟาร์ม จึงไม่กระทบกระเทือนในด้านนี้
     สามีของแครี่ถึงแก่กรรม    แครี่จึงค่อนข้างว้าเหว่    เธอก็เป็นอีกคนที่ได้นิสัยชอบเดินทางมาจากพ่อ    ในค.ศ. 1944 เธอเดินทางจากดาโกต้าใต้มาพักกับพี่สาวระยะหนึ่งที่มิสซูรี่  บัดนี้พี่น้องเหลือกันอยู่แค่สองคนเท่านั้น  ทั้งสองตกลงกันว่าซอไวโอลินที่เป็นมรดกตกทอดจากพ่อ  ควรจะเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์มากกว่าเก็บเป็นสมบัติส่วนตัว    ลอร่าจึงบริจาคซอให้พิพิธภัณฑ์ในเมืองเดอสเม็ต    ซอก็ยังอยู่มาจนทุกวันนี้


บันทึกการเข้า
จูลิน
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 03 มี.ค. 14, 22:45

อ่านมาตั้งแต่เด็ก จำรายละเอียดไม่ได้เลยค่ะ เมื่อโตขึ้นมาคิดจะซื้อหนังสือมาอ่าน ยังไม่ได้ซื้อ แต่ตอนนี้มี ebook โหลดไว้ใน kindle แล้ว ครบทุกตอนมาหลายปี ยังไม่ได้เริ่มอ่านเลยค่ะ มาอ่านกระทู้นี้แล้วรู้สึกอยากอ่านกระทันหัน ขอบคุณนะคะ

เมื่อขับรถไปเที่ยวผ่านแถวนั้นเห็นป้ายข้างทางถึง Laura Ingalls แต่ไม่ได้แวะเข้าไปเที่ยวเสียดายจังค่ะ เพราะถนนเส้นนั้นคงไม่ได้ขับผ่านกันง่ายๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 04 มี.ค. 14, 09:36

มีกระทู้เกี่ยวกับวรรณกรรมเรื่องนี้อีกหลายกระทู้ในเรือนไทย  เล่าถึงอาหารการกินใน "บ้านเล็ก"  มีรูปประกอบชวนน้ำลายไหลอย่างยิ่งค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5439.0
อาหารการกินใน "บ้านเล็ก" (2)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 05 มี.ค. 14, 11:15

     ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2   ลอร่ากับแอลแมนโซใช้ชีวิตในร็อคกี้ริดจ์อย่างสงบ  ภัยสงครามไม่ได้กระทบกระเทือนบ้านไร่เล็กๆ เพราะอาหารการกินทุกอย่างหาได้จากพื้นที่ของตัวเอง   เหมือนอย่างที่พ่อกับแม่เคยทำสมัยตั้งถิ่นฐานนอกเมืองเดอสเม็ต
    ลอร่าปลูกผักกับผลไม้ไว้เหลือเฟือ    ใส่รถเอาไปขายในเมืองได้สม่ำเสมอ   แอลแมนโซเลี้ยงวัว  ฟาร์มนี้จึงมีนมสดๆจากแม่วัวเอาไว้ทำเนยแข็ง และเนย  เหลือกินก็เอาไปขาย   ลอร่าเลี้ยงไก่เอาไว้กินไข่ และขายไข่สดเช่นเดียวกับนมวัว    และยังมีเนื้อไก่ให้กินได้อีกด้วย   คำว่า "อดอยาก" จึงไม่แผ้วพาน  แม้ว่าสงครามดำเนินอยู่ยาวนานถึง 6 ปีก็ตาม
    สิ่งเดียวที่ขาดแคลนก็แต่เชื้อเพลิง ทำให้เธอไม่สามารถเดินทางกลับไปดาโกต้าใต้ได้ง่ายๆอีก     ลอร่าจึงไม่ได้กลับไปดูใจน้องสาวคนเดียวที่เหลืออยู่   เมื่ออายุมากขึ้น แครี่ป่วยเรื้อรังด้วยโรคเบาหวาน   มีอาการแทรกซ้อนจนถึงแก่กรรมในค.ศ. 1946   หลังสงครามโลกสงบลงปีเดียว  อายุได้ 75 ปี
    ก่อนหน้านี้ 5 ปี เกรซน้องสาวคนสุดท้องก็ล่วงหน้าไปก่อนแล้วด้วยโรคเบาหวานเช่นเดียวกัน   

    รูปนี้คือแครี่เมื่อสูงวัยขึ้นค่ะ
   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 05 มี.ค. 14, 11:39

       น้องสาวคนเดียวที่เหลืออยู่ก็จากไปแล้ว    ลอร่าตระหนักว่าเธออายุย่างเข้า 80  ส่วนสามีก็ใกล้ 90     วันเวลานับถอยหลังอย่างกระชั้น   เธอจึงวางแผนรับมือกับชีวิตบั้นปลายอย่างรอบคอบรัดกุม     ก่อนหน้านี้ เธอขายกระท่อมแบบอังกฤษที่โรสสร้างให้พ่อแม่ไปแล้ว  เพราะเห็นว่าแม้เป็นบ้านสวยงามมาก แต่ในเมื่อเธอกับแอลแมนโซไม่ได้อยู่อาศัยอีกต่อไปก็ไม่ควรเสียดาย   มีแต่จะเป็นภาระ เสียแรงและเสียภาษีเปล่าๆปลี้ๆ         เธอจึงขายพร้อมที่ดินโดยรอบ    ได้เงินมาอีกก้อน  และไม่ต้องเปลืองค่ารักษาดูแลอีกด้วย
      อีกเรื่องหนึ่งคือเธอรู้ว่าโรสไม่มีวันกลับมาใช้ชีวิตที่ฟาร์มร็อคกี้ริดจ์       ลูกสาวเธอชินกับการใช้ชีวิตอย่างชาวเมืองใหญ่มาหลายสิบปี   ก็คงจะอยู่ในเมืองใหญ่ตลอดไป      เธออยากรักษาฟาร์มอันเป็นที่รักไว้ แทนที่จะปล่อยไปตามยะถากรรม  จึงบอกขายให้สามีภรรยาคู่หนึ่งที่เธอคุ้นเคย   เชื่อว่าเขาสองคนจะรักษาฟาร์มและดูแลบ้านของเธอด้วยดี   โดยมีเงื่อนไขว่าเขาจ่ายผ่อนส่งค่าซื้อให้เธอเป็นรายเดือน เดือนละ 50 เหรียญ  เธอกับแอลแมนโซมีสิทธิ์จะอยู่ไปจนสิ้นชีวิต  หลังจากนั้นบ้านและที่ดินจึงจะตกเป็นของผู้ซื้อ      สองคนนั้นก็ตกลงตามเงื่อนไข   ก็เป็นอันหมดห่วงเรื่องฟาร์มร็อคกี้ริดจ์ไป

   ภาพนี้คือลอร่าในวัย 80  และแอลแมนโซถ่ายกับหลานชายเมื่อเขาอายุ 81 ปี
   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 06 มี.ค. 14, 20:13

    ชื่อเสียงของลอร่าที่แพร่หลายไปทั่วประเทศมานานปี  ก้าวขึ้นสู่อีกระดับหนึ่งคือระดับนานาชาติ
    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง  วรรณกรรมชุด "บ้านเล็ก" เกิดไปกระทบสายตานายพลดักลาส แม็คอาเธอร์ ผู้บัญชาการรบภาคพื้นแปซิกฟิก ในสมัยสงครามและเป็นผู้ทำให้ญี่ปุ่นยอมลงนามพ่ายแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตร       เขาติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศของอเมริกาให้แปลเป็นภาษาเยอรมันและญี่ปุ่น   แมคอาเธอร์มีความเห็นว่านิยายของลอร่าให้ภาพที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงของชีวิตชาวอเมริกัน     ดังนั้นถ้าแปลเป็นภาษาเยอรมันและญี่ปุ่นได้ก็จะเป็นประโยชน์แก่ชาวประเทศทั้งสองที่จะเข้าใจชีวิตคนอเมริกันดีขึ้น
     "บ้านเล็ก" จึงมีทั้งภาษาเยอรมันและญี่ปุ่น นับแต่นั้น

     เมื่อออกไปสู่สายตาชาวโลก     "บ้านเล็ก" ก็เหมือนติดจรวด   หลายประเทศแปลวรรณกรรมเด็กเรื่องนี้เป็นภาษาของตน   ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างชาติต่างภาษาได้เรียนรู้ถึงชีวิตของครอบครัวอิงกัลส์   จนกลายมาเป็นแฟนคลับเพิ่มขึ้นจากแฟนคลับทั่วอเมริกา  จดหมายต่างภาษาก็หลั่งไหลมาสู่ตู้จดหมายของร็อคกี้ริดจ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 07 มี.ค. 14, 21:04

"บ้านเล็ก" ที่แปลเป็นภาษาต่างๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 08 มี.ค. 14, 08:20

     แมรี่เคยเดินทางไปไกลถึงชิคาโกหนหนึ่ง เพื่อรับการผ่าตัดรักษาโรค neuralgia ( อาการปวดตามเส้นประสาท โดยเฉพาะบริเวณหน้า/ศีรษะ)   มาถึงตรงนี้ก็ต้องฝากคำถามไว้ให้คุณหมอ CVT หรือผู้รู้ท่านอื่นๆว่าโรคนี้คืออะไร และผ่าตัดรักษาได้หายขาดหรือไม่
เป็นไปได้หรือไม่ว่ามันเกี่ยวข้องกับอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงที่แมรี่เป็นเมื่ออายุ 14  ทำให้สายตาเธอมัวลงจนมืดสนิท 

จากอาการที่บอกว่าแมรี่ปวดศีรษะอย่างรุนแรง จนตามัวมืดสนิท แสดงว่าแมรี่น่าจะเป็นโรคที่มีชื่อว่า Trigerminal neuralgia
Trigerminal nerve เป็นเส้นประสาทคู่ที่ ๕ ที่ออกจากสมองโดยตรง แบ่งเป็น ๓ แขนงจึงเรียกว่า Trigerminal
แขนงที่ ๑ ไปเลี้ยงบริเวณใบหน้าด้านบน ตา
แขนงที่ ๒ ไปเลี้ยงที่แก้ม ฟันบน เหงือกบน
แขนงที่ ๓ ไปเลี้ยงที่คาง ฟันล่าง เหงือกล่าง

ส่วนโรค Trigerminal neuralgia เกิดจากการที่มีอะไรไปกดเส้นประสาทนี้ โดยมากจะเป็นเส้นเลือดที่คู่ไปกับเส้นประสาทมีการโป่งพองผิดปกติจนกดเส้นประสาท
คนไข้จะมีอาการปวดแบบมีอะไรแทง ปวดมากตามแรงที่กดทับ
เรามักจะได้ยินคนรุ่นเก่าบอกว่าเวลาปวดฟันอย่าไปถอน เพราะจะปวดมากจนตาย
มันเกิดจากโรคนี้ อาการปวดฟันไม่ได้มาจากฟันผุ แต่เป็น Trigerminal neuralgia แล้วคิดว่าปวดจากฟันผุ จึงถอนฟัน
หลังถอนฟันก็ยังไม่หายปวด มีแต่จะปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
Trigerminal neuralgia จึงมีชื่อเรียกกันว่า Suicide disease เพราะคนไข้ปวดมากจนทนไม่ได้ ถึงกับตัดสินใจฆ่าตัวตายหนีความเจ็บปวด

การรักษามีตั้งแต่กินยา จนกระทั่งผ่าตัดไปแก้ไขการกดทับเส้นประสาท แต่ผลการรักษามักจะไม่ค่อยดีครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 08 มี.ค. 14, 19:19

ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ CVT
เมื่อรู้แล้วก็ยิ่งสงสารแมรี่มากขึ้น      ในนิยายเรื่องนี้   ลอร่าอยู่ในยุคที่การแพทย์ไม่เจริญมากนัก  เธอจึงบอกว่าเมื่ออยู่ที่พลัมคริ้ก   ครอบครัวอิงกัลส์ พ่อแม่และเกรซรวมทั้งแมรี่ป่วยด้วยโรค Scarlet fever    แมรี่มีอาการหนักกว่าเพื่อน ไข้ขึ้นที่ตา ทำให้ตาบอด 
แต่ในประวัติบอกว่าเมื่ออายุมากขึ้น แมรี่เดินทางไปรับการรักษาโรค  neuralgia   เป็นได้ว่าเป็นความเข้าใจผิดของคนสมัยนั้นเอง
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 08 มี.ค. 14, 22:22

ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ CVT

ด้วยความยินดีครับอาจารย์
ต้องขออภัยที่มาตอบช้า เพราะผมไม่ได้ติดตามกระทู้นี้ครับ ต้องรอคนไปตามมาตอบ
หากอาจารย์หรือสมาชิกท่านอื่นๆ มีคำถามเกี่ยวกับการแพทย์ หรือเรื่องอะไรก็ตามที่คิดว่าผมช่วยได้ ส่งข้อความถึงผมจะเร็วกว่าครับ ไม่ต้องเกรงใจครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 08 มี.ค. 14, 22:39

ขอรบกวนอีกสักครั้ง
Scarlet fever คืออะไรคะ    ปัจจุบันยังมีอยู่หรือเปล่า
ไข้ขึ้นที่ตาทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ จริงไหมคะ
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 20 คำสั่ง