เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 57310 ชีวิตจริงเบื้องหลังวรรณกรรมชุด "บ้านเล็ก" (ตอนจบ)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 15 ก.พ. 14, 11:05

   ล่วงมาจนถึงปี 1928   แอลแมนโซอายุ 71 อาการเดินเขยกๆไม่ถนัดก็ชักจะมากขึ้นทุกที  จากเท้าขึ้นไปสู่ขาจนทำให้เคลื่อนไหวได้ช้ามาก    ลอร่าก็ปาเข้าไป 61   โรสเห็นว่างานในฟาร์มหนักเกินไปสำหรับพ่อแม่เสียแล้ว   ทั้งสองควรได้อยู่สบายๆสมกับที่เหนื่อยมาตั้งแต่หนุ่มสาว     ประกอบกับเธอขายลิขสิทธิ์เรื่องได้เงินมาถึงหนึ่งหมื่นดอลล่าร์    ซึ่งเป็นเงินก้อนโตในยุคนั้น     เธอก็เลยสร้างบ้านใหม่ให้พ่อแม่อยู่ในเนื้อที่ของฟาร์มร็อคกี้ริดจ์นั่นเอง
  บ้านหลังใหม่เป็นบ้านแบบอังกฤษ ห้าห้องนอน ก่อด้วยหินสีน้ำตาลเหลือบอ่อนแก่หลายสี     เป็นแบบบ้านที่โก้และแปลกตาไม่ซ้ำกับบ้านนาแถวมิสซูรี่ จึงเป็นที่ตื่นตาตื่นใจของชาวบ้านมาก    ขนาดยังสร้างไม่เสร็จ  เจ้าของยังไม่ทันย้ายไปอยู่   ก็มีคนเข้ามาขอชมแล้ว
  เมื่อสร้างเสร็จ  โรสสั่งเครื่องเรือนใหม่ทั้งหมดมาจากเมืองสปริงฟิลด์    ติดไฟฟ้าให้แทนตะเกียงน้ำมันอย่างเมื่อก่อน   ส่งกุญแจบ้านให้แม่เป็นของขวัญวันคริสต์มาส      ส่วนเธออยู่ในบ้านนาสีขาวหลังเดิม   บัดนี้ทาสีใหม่  ติดไฟฟ้าสว่างไสวเช่นกัน    มีเพื่อนฝูงในแวดวงหนังสือมาเยี่ยมเยียนและพำนักอยู่ด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 15 ก.พ. 14, 11:08

  ในปีที่ลอร่าและแอลแมนโซย้ายมาอยู่บ้านใหม่ คือครบรอบปีที่ 35  ที่เธอย้ายมาอยู่ที่มิสซูรี่พอดี    เธอจ่ายค่าผ่อนชำระที่ดินงวดสุดท้ายที่กู้ยืมแบงค์มาเสร็จสิ้น    ฟาร์มร็อคกี้ริดจ์ตกเป็นของเธอและแอลแมนโซโดยสมบูรณ์
   มันก็น่าจะเป็นตอนจบแบบแฮปปี้เอนดิ้งของลอร่า   เธอก้าวล่วงเข้าสู่วัยปลายอย่างเป็นสุข     ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชรกับสามี  มีลูกสาวคนเดียวก็รุ่งโรจน์ในอาชีพอย่างน่าปลื้มใจ  แถมยังเป็นลูกกตัญญูอีกด้วย  เป็นชีวิตที่จบลงอย่างสวยงามเหมือนฝัน
   แต่พระเจ้าไม่ยอมให้ชีวิตของลอร่าจบเพียงแค่นี้         ในวัยหกสิบกว่า เธอเพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้นเอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 10:59

กระท่อมแบบอังกฤษที่โรสสร้างให้พ่อแม่  (ภาพใหญ่)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 11:55

ภาระต่างๆถูกปลดเปลื้องลงไปจากบ่าของสามีภรรยา   เมื่อไม่ต้องผ่อนธนาคาร และแอลแมนโซก็ขายฝูงแกะรุ่นสุดท้ายไป ได้เงินมาอีกก้อนหนึ่ง  สามีภรรยาก็ค่อยสบายขึ้น   มีเวลาว่างมากขึ้นกว่าเก่า   แอลแมนโซมีเวลาไปสังสรรค์กับชาวบ้านมากขึ้น  ก็ไม่ได้ทำอะไรมาก  แค่ฆ่าเวลาด้วยการไปเล่นพูลในเมืองบ้าง แนะนำชาวบ้านเรื่องการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มบ้าง  ตามประสาผู้สูงอายุที่ไม่มีห่วงเรื่องทำมาหากินอีกแล้ว

ส่วนลอร่าเมื่อมีเวลาว่างมากขึ้น   เธอเริ่มย้อนนึกถึงอดีตในวัยเด็กที่ไม่เหลือร่องรอยอีกแล้วในชีวิตของคนยุคนี้   หลังสงครามโลกครั้งที่ 1   เทคโนโลยี่ใหม่ๆเกิดขึ้นมาก  ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน รถยนต์ ไฟฟ้าตามบ้านเรือน   เมืองขยายใหญ่ขึ้น   วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปมากมาย     แต่ความทรงจำในเรื่องดีๆเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อนยังแม่นยำอยู่ในใจ     เธอก็เลยไม่อยากให้ชีวิตในอดีตเหล่านั้นสูญหายไปกับกาลเวลา

ลอร่าหยิบสมุดนักเรียนที่ซื้อมานมนานแล้วขึ้นมาเปิด  เหลาดินสอ แล้วเริ่มเขียนต้นฉบับอย่างบรรจง  ถ่ายทอดชีวิตของเธอตั้งแต่เริ่มจำความได้ที่บ้านในป่าใหญ่รัฐวิสคอนซิน   โยกย้ายอพยพไปหลายแห่งจนลงเอยที่เมืองเดอสเม็ต  เมื่อเธอเป็นสาวและได้แต่งงานกับแอลแมนโซ
เธอตั้งชื่อหนังสือเรื่องนี้ว่า Pioneer Girl
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 18 ก.พ. 14, 12:12

    โรสช่วยแม่อ่านและตรวจสอบแก้ไข เพราะเธอเคยทำหน้าที่บรรณาธิการมาก่อน    จนกระทั่งต้นฉบับแก้ไขปรับปรุงจบบบริบูรณ์  เธอพิมพ์ต้นฉบับเป็นตัวพิมพ์ดีดทั้งเล่ม  แล้วนำไปเสนอสำนักพิมพ์ต่างๆ    แม้ว่าบรรณาธิการหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่าเรื่องราวชีวิตของลอร่าน่าสนใจมาก แต่ก็ไม่มีที่ไหนรับซื้อเพื่อตีพิมพ์รวมเล่มอยู่ดี   

    เหตผุลสำคัญ  หนังสือเล่มนี้แน่นเอี้ยดไปด้วยรายละเอียดข้อเท็จจริง จนกลายเป็นสารคดีอัตชีวประวัติมากกว่ามีรสชาติสนุกสนานอย่างนวนิยาย   ลอร่าเน้นการบันทึกเหตุการณ์เสียมากกว่าจะสร้างพัฒนาการของตัวละคร     หลังจากต้นฉบับถูกส่งกันไปมาอยู่หลายแห่ง   เพื่อนในวงวรรณกรรมของโรสก็ออกความเห็นว่า เจ้าของเรื่องน่าจะดัดแปลงเสียใหม่ ให้เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กจะอ่านง่ายกว่า และสนุกดีด้วย

   ลอร่าเอาต้นฉบับกลับมาแก้ไขอีกครั้ง    เธอตัดตอนออกเหลือแต่ชีวิตวัยต้นที่ป่าใหญ่ในรัฐวิสคอนซิน    เขียนถึงชีวิตของชาวบ้านสมัยนั้นที่ดำเนินไปในแต่ละรอบปี  เริ่มจากฤดูหนาวที่ต้องหาและกักตุนอาหารไว้กินตลอดฤดูหนาว     ฤดูใบไม้ผลิที่เด็กๆเริ่มออกมาเล่นนอกบ้านได้  กับไปพบปะญาติๆในงานเต้นรำตามบ้าน     ฤดูร้อนที่เพื่อนบ้านไปมาหาสู่กัน  และฤดูใบไม้ร่วงที่เก็บเกี่ยวพืชผลเพื่อเตรียมสะสมไว้กินในฤดูหนาวอีกครั้ง
  สำนักพิมพ์ Harper&Brothers ตกลงรับพิมพ์เรื่องนี้ในค.ศ. 1931    ทั้งตัวบรรณาธิการและลอร่าเองก็ไม่คิดว่าหนังสือเล็กๆเขียนขึ้นสำหรับเด็กวัยประถมอ่านกันเล่มนี้ จะเป็นหนังสือที่เลื่องลือไปทั่วโลก   พาเอาชีวิตชาวนาจนๆครอบครัวหนึ่งที่ไร้ความสลักสำคัญใดๆ สมัยเขายังมีชีวิตอยู่ กลายเป็นบุคคลอมตะในที่สุด


บันทึกการเข้า
หลงลืม
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 19 ก.พ. 14, 22:55

ขอบคุณ อ.เทาชมพูมากๆค่ะ เคยอ่านชุดบ้านเล็กในป่าใหญ่เมื่อครั้งเป็นวัยรุ่น และซื้อเก็บไว้ย้ายบ้านหลายครั้งหอบหิ้วมาตลอด จนลูกโตเป็นสาววัยรุ่น เลยหยิบมาอ่านอีกครั้ง แต่การอ่านครั้งนี้มีความรู้สึกว่าเหมือนไม่จบ อยากรู้จักครอบครัวลอร่ามากกว่านี้ พยายามค้นหาข้อมูลก็ได้มาเพียงเล็กน้อย จนมารู้จักเรือนไทย มาเจอหัวข้อนี้ ดีใจมากค่ะ เหมือนคนกินข้าวเต็มกระเพาะ   ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 20 ก.พ. 14, 10:46

ดีใจมาก ที่เจอคนชอบหนังสือเรื่องเดียวกัน
กระทู้นี้ทำให้รู้ว่าแฟนหนังสือของลอร่าในประเทศไทยมีไม่น้อยเลยค่ะ    เห็นได้จากค.ห.ที่โพสเข้ามา  และจากสถิติคนอ่านที่ขึ้นไปเรื่อยๆทุกวัน   

ย้อนกลับไปที่ลอร่า เมื่อหนังสือเล่มแรกของเธออยู่ระหว่างตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์   ในค.ศ. 1931  เธอกับแอลแมนโซก็ตัดสินใจจะเดินทางกลับไปสู่ความหลัง  ด้วยการขับรถบูอิคสีน้ำเงินที่โรสซื้อให้  ออกจากมิสซูรี่ไปตามเส้นทางที่ทั้งสองเคยนั่งเกวียนอพยพกันมาเมื่อ 37 ปีก่อน   ย้อนกลับไปเมืองเดอสเม็ต  อันเป็นที่ที่พ่อตั้งหลักแหล่งอยู่เป็นครั้งสุดท้าย
ลอร่ากลับไปเดอสเม็ตครั้งสุดท้ายเพื่อดูใจพ่อ   หลังจากนั้นเธอไม่ได้กลับไปอีกเลย  แม้แต่ตอนที่แม่และแมรี่ถึงแก่กรรม   ทั้งสองป่วยกะทันหันและสิ้นลมหายใจไปในเวลาไม่กี่วัน   ก่อนที่แครี่และเกรซจะทันส่งข่าวถึงพี่สาว      บัดนี้ก็เหลือแต่น้องสาวสองคน อยู่กันคนละเมืองในรัฐดาโกต้าใต้

ลอร่ากลับไปถึงเมืองเล็กที่เธอเคยอยู่ตั้งแต่เห็นเมืองก่อตัวขึ้นกลางทุ่งกว้าง  พ่อเป็นผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานคนแรก   บัดนี้ก็ยังเป็นเมืองเล็กไม่ต่างจาก 37 ปีก่อนที่เธอจากที่นี่ไป    อากาศในฤดูร้อนยังคงร้อนและแห้งแล้งเช่นเก่า    เพื่อนนักเรียนและเพื่อนบ้านบางคนยังตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เดิม   แต่หนุ่มสาววัยเดียวกันในสมัยโน้นกลับกลายเป็นคนแก่ในวัยเกษียณกันหมดแล้ว   แปลกตาจนลอร่าต้องบันทึกเอาไว้ในสมุดความจำของเธอ ว่า ทุกคนที่เธอรู้จักกลายเป็นคนชรากันไปทั้งหมด

เดอสเม็ตในปัจจุบันยังคงทิ้งร่องรอยเมื่อลอร่าเคยอยู่  แม้ว่าเกวียนและรถม้า กลายเป็นรถยนต์  ถนนก็ขยายกว้างขึ้นแทนที่จะเป็นถนนดินปนฝุ่นของเดิม


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 20 ก.พ. 14, 11:11

ดูภาพเก่าในอเมริกาที่นี่มีภาพเยอะมาก คมชัด

http://www.shorpy.com/


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 20 ก.พ. 14, 11:39

^
เข้าไปดูแล้วค่ะ ภาพสวยน่าทึ่งมาก
ถ้าจะตั้งกระทู้เล่าถึงบ้านเมืองของอเมริกาในยุค 1950s หรือก่อนนั้น  ใช้ภาพประกอบในเว็บนี้เว็บเดียวก็พอ

กลับมายังลอร่าในเดอสเม็ต
เธอแวะไปเยือนสถานที่ต่างๆในอดีต    ขับรถออกนอกเมืองไป 7 ไมล์เพื่อเยี่ยมเกรซที่เมืองแมนเชสเตอร์  เธอย้ายจากบ้านเดิมของพ่อไปอยู่ที่บ้านฟาร์มของสามีนับแต่แมรี่ถึงแก่กรรม     
ลอร่าแวะไปเยือนที่ดินเคยจับจองไว้  ไม่มีเพิงหรือบ้านเดิมเหลืออยู่ กลายเป็นที่ดินว่างๆ ต้นไม้เหลือไม่กี่ต้น   บ้านเพิงที่เคยอยู่ตอนโรสเกิดก็กลายเป็นนาข้าวสาลี  ทำให้ลอร่าคิดถึงคนเก่าๆจับใจ     เวลาผ่านไป 37 ปี   พ่อ แม่ แมรี่  สามีภรรยาโบ๊สต์ที่เป็นเพื่อนสนิทของครอบครัว และแค้ป การ์แลนด์ล้วนจากไปหมดแล้ว    แครี่ก็อยู่ห่างไกล  มีแต่เกรซเท่านั้นที่ยังอยู่ในละแวกบ้านเดิม

ลอร่ากลับไปที่บ้านเดิมในเมืองที่พ่อสร้างไว้     เมื่อเกรซย้ายออกไปอยู่บ้านนาของสามี ก็ให้บ้านนี้เช่า พร้อมกับขนข้าวของเครื่องใช้เดิมขึ้นไปเก็บไว้ในห้องใต้หลังคา  ลอร่าเสียดายมากพบว่าของใช้หลายอย่างหายสูญไป


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 20 ก.พ. 14, 11:43

บ้านที่พ่อสร้างไว้ในเมือง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 20 ก.พ. 14, 11:45

มีคำบรรยายว่าบ้านหลังนี้เป็นบ้านของลอร่าในเมืองเดอสเม็ต  แต่ดูหน้าตาแล้วเป็นคนละหลังกับบ้านข้างบนนี้  เป็นไปได้ไหมว่าเป็นบ้านที่ลอร่ากับแอลแมนโซเคยมาเช่าอยู่ หลังจากขายฟาร์มไปแล้ว แต่ยังไม่ได้อพยพไปมิสซูรี่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 21 ก.พ. 14, 20:43

  หลังจากไปเยี่ยมเยียนเพื่อนฝูงเก่าๆที่ยังเหลืออยู่ในเมืองเดอสเม็ต   ลอร่ากับแอลแมนโซก็เดินทางไปที่เมืองคีย์สโตน ใกล้เชิงเขารัชมอร์  เพื่อไปเยี่ยมแครี่กับสามี   น้องสาวของลอร่าแต่งงานกับพ่อม่ายเจ้าของเหมือง อาศัยอยู่ที่นั่น     เธอพาพี่สาวพี่เขยท่องเที่ยวไปในละแวกนั้นจนกระทั่งถึงเวลาลอร่ากลับไปมิสซูรี่
  ลอร่าเรียกรัฐดาโกต้าใต้ว่า "ดินแดนแห่งอดีตที่ไม่คืนกลับมา"  ทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอเคยรู้จักและผูกพัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านฟาร์ม  บ้านในเมือง พ่อ แม่ พี่สาวคู่ใจ  เพื่อนสนิทมิตรสหาย ล้วนแต่ลับหายไปกับกาลเวลา     เดอสเม็ตที่ยังอยู่ก็กลายเป็นบ้านอื่นเมืองอื่น ไม่เกี่ยวกับอดีตของเธออีกต่อไป      เธอจึงโล่งใจเมื่อถึงเวลาเดินทางกลับมาแมนสฟิลด์  มาสู่บ้านในปัจจุบันของเธอ

   ไม่กี่เดือนต่อมา พอถึงค.ศ. 1932    "บ้านเล็กในป่าใหญ่ "นิยายเรื่องแรกในชีวิตของลอร่าก็ตีพิมพ์เสร็จสมบูรณ์ ออกวางจำหน่าย      ลอร่าดีใจมากที่เห็นผลงานของตัวเองปรากฏเป็นจริงขึ้นมา   แม้ว่าเธอไม่ได้คาดหวังมากนัก  เพราะมันก็เป็นเพียงหนังสือเด็กเล่มเล็กๆเรื่องหนึ่งเท่านั้น     แต่เธอก็ภูมิใจที่ทำให้ชีวิตของพ่อ แม่ แมรี่และแครี่น้องสาวพลิกฟื้นขึ้นมาอีก จากอดีตในป่าใหญ่วิสคอนซินเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน

" บ้านเล็กในป่าใหญ่" ฉบับพิมพ์ครั้งแรก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 21 ก.พ. 14, 20:52

  1932  เป็นยุคเศรษฐกิจตกต่ำของอเมริกา  ธนาคารล้ม โรงงานปิด ผู้คนตกงาน  ทำให้การจำหน่ายหนังสือออกจะฝืดเคืองอยู่บ้าง  แต่ถึงกระนั้นก็ตาม   นิยาย"บ้านเล็ก" กลับเป็นที่ต้อนรับอย่างดีตามโรงเรียน ห้องสมุด และร้านหนังสือ     หนังสือเล่มนี้ถูกนำไปอ่านประกอบในวิชาประวัติศาสตร์ของอเมริกาเมื่อเรียนถึงยุคบุกเบิก    สถิติการจำหน่ายก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่หยุดยั้ง   
   ลอร่ารับเช็คครั้งแรกเป็นจำนวนกว่า 500 ดอลล่าร์ด้วยความสุข    แต่สิ่งที่ดีกว่านั้นก็คือ จดหมายจากเด็กๆเริ่มหลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ    กระหายอยากจะอ่าน และอยากจะรู้ถึงชีวิตหนูน้อยในกระท่อมไม้ซุงมากกว่านี้อีก

  ในวัย 65 ปี ที่คนทั่วไปเกษียณจากงาน เริ่มพักผ่อนรอรับบั้นปลายชีวิตกัน     ดาวประจำตัวของคุณยายชาวนาคนหนึ่งในมิสซูรี่ก็เริ่มฉายแสงขึ้นสว่างไสวในฟากฟ้าวรรณกรรมของอเมริกา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 22 ก.พ. 14, 11:14

     ในเมื่อส้มทองคำหล่นลงมาทั้งเข่งในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ  สำนักพิมพ์ Harper&Brothers จึงไม่ยอมให้โอกาสทองผ่านมือไปง่ายๆ   แต่เสนอให้ลอร่าเขียนวรรณกรรมเด็กเรื่องต่อไป เกี่ยวกับชีวิตในยุคเดียวกันเช่นเดียวกับเล่มแรก      ลอร่ายังนึกไม่ออกว่าเธอจะเขียนตอนต่อไปในชีวิตวัยเยาว์อย่างไร  ก็เหลียวซ้ายแลขวาไปเจอชีวิตของสามีเข้าก่อน
    แอลแมนโซเคยเป็นเด็กชาวนามาอย่างเดียวกับเธอ   ชีวิตวัยเด็กของเขาสมบูรณ์พูนสุขอยู่ในเมืองมาโลน  รัฐนิวยอร์ค    เขาเคยเล่าถึงชีวิตประจำวันให้เธอฟัง ประกอบกับลอร่าเองก็เป็นชาวนามาตลอดชีวิต  เธอจึงเข้าใจวิถีชีวิตของชาวนาเจ้าของฟาร์มอย่างดี   เสียแต่แอลแมนโซเป็นคนขี้อายและถ่อมตัว  เขาก็เฝ้าแต่ตอบคำถามภรรยาว่า "ชีวิตฉันไม่มีอะไร"  " ก็ไม่เห็นมีอะไรต้องเล่านี่"
   แต่ผู้หญิงอย่างลอร่าก็ไม่ยอมแพ้     เธอไม่เล่า ฉันเล่าแทนเธอก็ได้
    ผลก็คือ  นิยายเล่มที่สอง Farmer Boy หรือ "เด็กชายชาวนา"  เปิดตัวสู่โลกวรรณกรรมในปีต่อมาคือปี 1933   ได้รับการต้อนรับอย่างดีเช่นกัน สำหรับเด็กๆทั่วอเมริกาที่กระหายอยากรู้จักชีวิตเมื่อหกสิบปีก่อน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 23 ก.พ. 14, 20:16

      โรสเองก็ขะมักเขม้นผลิตงานวรรณกรรมในช่วงนี้    เธอเขียนเรื่องที่ใช้ฉากยุคบุกเบิก ส่วนหนึ่งจากคำบอกเล่าของแม่เมื่อวัยเยาว์ ลงเป็นตอนๆในหนังสือพิมพ์ชื่อ Let the Hurricane Roar  (สุคนธรสแปลเป็นไทยว่า "ไม่ระย่อมรสุม" )   กลายเป็นหนังสือดังอีกเล่มหนึ่งของวงวรรณกรรม     ส่วนลอร่าเอง ความสำเร็จของหนังสือสองเล่มเป็นกำลังใจให้เธอมุมานะจะเขียนเล่มที่สามขึ้นมาจนสำเร็จ   เธอยังเลือกเนื้อเรื่องจากชีวิตวัยเด็กของเธอ ตามคำร้องขอทั่วสารทิศจากเด็กๆและผู้ใหญ่   
      บ่อยครั้งเธอตื่นขึ้นในตอนดึก  สมองเต็มไปด้วยความคิดที่จะเขียนตอนใหม่ๆในหนังสือเล่มใหม่    เธอก็จะลุกจากเตียงอย่างเงียบกริบ ลงมาเขียนหนังสือด้วยดินสอ ลงในสมุดนักเรียนราคาถูกๆที่เธอซื้อมาจากร้านในเมือง   เมื่อจบตอนลงไปเธอก็ส่งให้ลูกสาวอ่าน และแก้ไขขัดเกลา    แต่โรสก็จะให้กำลังใจแม่เสมอว่า
     "แม่เขียนอะไรก็น่าอ่านทั้งนั้นละจ้ะ"

     เมื่อเขียน "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ลอร่าไม่ได้คิดว่าจะมีภาค 2   ชีวิตของหนูน้อยลอร่าในป่าใหญ่จบลงอย่างผาสุก เมื่อฤดูหนาวเวียนมาอีกครั้ง   ในฉากสุดท้ายเธอเข้านอนพร้อมกับแมรี่และน้องน้อยแครี่   เมื่อไฟยังลุกอบอุ่นอยู่ในเตา  แม่นั่งถักไหมพรม  พ่อสีซอไวโอลินขับกล่อมลูกน้อยด้วยเพลง Auld Lang Syne   ซึ่งหมายถึง "เวลานมนานมาแล้ว"    แต่เมื่อเสียงเรียกร้องระดมกันมาหนักเข้า   เธอก็ตัดสินใจเล่าถึงชีวิตช่วงต่อไป เมื่อพ่อแม่พาลูกๆอพยพจากป่าใหญ่ไปตั้งถิ่นฐานในรัฐแคนซัส
    เรื่องนี้คือ Little House on the Prairie  บ้านเล็กในทุ่งกว้าง   ต่อมาเป็นชื่อที่แพร่หลายที่สุดในชุด "บ้านเล็ก"

    ซ้ายคือฉบับพิมพ์ครั้งแรก  ขวาคือฉบับพิมพ์ปัจจุบัน
 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง