เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 57354 ชีวิตจริงเบื้องหลังวรรณกรรมชุด "บ้านเล็ก" (ตอนจบ)
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 09:31

พวกเราที่อยู่มาจนศตวรรษที่ 21  เห็นบ้านเศรษฐีสร้างกันอลังการมามาก ดูบ้านนาของลอร่าแล้วก็คงรู้สึกเฉยๆ  ไม่เห็นมีอะไรน่าทึ่งสักนิด มันก็แค่บ้านไม้ทางสีขาวธรรมดาๆ
แต่ในต้นศตวรรษที่ 20   นอกจากอเมริกาไม่ได้รวยอย่างสมัยนี้  ชีวิตในเมืองชนบทสมัยนั้นยังยากจนกันอยู่มาก     ยิ่งในเมืองแล้ว เนื้อที่คับแคบ  ชาวบ้านมีได้แต่บ้านหลังเล็กๆ ติดถนน  สนามไม่ต้องพูดถึง ไม่มีเนื้อที่เหลือเฟือกันขนาดนั้น  อย่างมากก็มีที่ว่างหลังบ้านเอาไว้นิดหน่อย
บ้านของลอร่าจึงเป็นบ้านนาที่โอ่อ่าเป็นหน้าเป็นตาของเมืองมากทีเดียว

เอารูปตัวอย่างบ้านในตัวเมืองสมัยนั้นมาให้ดูกันค่ะ  
บ้านที่เปิดเป็นร้านค้า  ครอบครัวก็อาศัยอยู่ชั้นบนถ้ามีสองชั้น  หรืออาศัยอยู่ในห้องด้านหลังบ้านถ้ามีชั้นเดียว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 10:41

 แอลแมนโซกับลอร่าสนุกกับชีวิตในฟาร์มกันมาก    ผลผลิตไม่ว่าข้าวสาลีและข้าวโอ๊ต  แอปเปิ้ล แพร์และพีชให้ผลผลิตอย่างงาม    เขาสังเกตเห็นน้ำใสในลำธารและหญ้าเขียวสดที่ขึ้นมาแทนหญ้ารกเรื้อเป็นป่าเมื่อสิบกว่าปีก่อน   สองอย่างนี้เป็นอาหารอย่างดีของวัว  เขาจึงเลี้ยงแม่วัวพันธุ์เจอซี่  เพื่อรีดนมเอาไปส่งให้ลูกค้าในเมือง   
ส่วนลอร่าก็ภูมิใจกับไก่เล็กฮอร์นทั้งฝูงที่เธอซื้อหามา   เธอออกแบบโรงเลี้ยงไก่อย่างดีให้สะอาดและมีอากาศถ่ายเท    เพื่อไก่จะได้แข็งแรงไม่ป่วยง่าย      ให้อาหารสัตว์จากพืชผลในฟาร์มนั่นเอง ไม่ต้องไปซื้อหามาจากร้านอาหารสัตว์ในเมือง  นอกจากทุ่นรายจ่ายแล้วอาหารสดๆ ยังทำให้แม่ไก่ไข่ดกมาก  แม้แต่ในฤดูหนาว หิมะตก  อากาศหนาวจัดจนแม่ไก่ของชาวบ้านไม่ออกไข่   ฟาร์มร็อคกี้ริดจ์ก็มีไข่สดๆไปขายในเมืองได้เสมอ   เป็นหน้าเป็นตาแก่เจ้าของ

เพื่อนบ้านของลอร่าทึ่งกับความสำเร็จของร็อคกี้ริดจ์มาก   ลอร่าจึงได้รับเชิญเสมอให้ไปพูดเวลาเจ้าของนาทั้งหลายนัดชุมนุมพบปะกัน   เล่าถึงเคล็ดลับในการเลี้ยงไก่ได้ผลสำเร็จ       มาถึงตรงนี้  ลอร่าในวัย 40 เศษก็ยังไม่เคยนึกฝันว่าเธอจะได้เป็นอะไรยิ่งไปกว่าเจ้าของฟาร์มที่โชคดีคนหนึ่ง

ภาพนี้ แอลแมนโซกำลังไถนาบนที่ดินของเขา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 10:46

ครั้งหนึ่ง ลอร่าเกิดติดธุระไปพูดไม่ได้    เธอก็เลยเขียนเรื่องที่เธอเตรียมไปพูดเป็นข้อเขียน ให้คนนำไปอ่านแทน     ปรากฏว่าในบรรดาผู้เข้าฟังเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อจอห์น แคช   เขาชอบข้อเขียนนี้มาก จึงติดต่อขอเชิญเธอให้เขียนบทความอย่างนี้อีกในหนังสือพิมพ์ของเขา  เขาจะลงตีพิมพ์ให้
ลอร่าประหลาดใจ   แต่ก็ดีใจมาก   เธอเจียมตัวอยู่เสมอว่าเธอเป็นคนเล่าเรียนมาน้อย ไม่จบแม้แต่มัธยมปลาย   เพียงแต่เป็นคนชอบอ่านหนังสือ และชอบเขียนนั่นเขียนนี่นิดๆหน่อยๆเมื่อมีโอกาส  เช่นเขียนจดหมายและบันทึก    เธอก็เต็มใจส่งให้หนังสือพิมพ์ เป็นบทความเล็กๆเกี่ยวกับชีวิตชาวไร่ชาวนา 
บทความแรกชื่อว่า "Favors the Small Farm Home"

ตรงนี้เองคือจุดเริ่มต้นของอาชีพนักเขียน เมื่อลอร่าอายุ 44 ปี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 07 ก.พ. 14, 08:25

  ข้อเขียนของลอร่านำมาจากประสบการณ์จริงรอบๆตัวเธอ    เธอสัมภาษณ์ชาวไร่ชาวนาคนอื่นๆ เอามาเขียน    เธอเล่าถึงเรื่องราวที่เกิดในฟาร์มร็อคกี้ ริดจ์ ล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่เธอกับสามีลงมือทำด้วยตัวเอง    ภาษาของเธอง่ายและน่าอ่าน   แนวคิดที่นำเสนออย่างเสมอต้นเสมอปลายก็คือ "ชีวิตของชาวนานั้นเป็นสุข"
   จดหมายคนอ่านเริ่มทยอยกันเข้ามาชื่นชมข้อเขียนของมิสซิส เอ.เจ.ไวลเดอร์  อย่างที่บก.หนังสือพิมพ์เรียกเธอในตอนนั้น   ในที่สุดบก.ก็ตั้งคอลัมน์ให้เธอเขียนประจำ  ในตอนแรกชื่อ The Farm House  และต่อมาเปลี่ยนเป็น As a Farm Woman Thinks  ค่าเรื่องไม่มากนัก แค่ 5 ดอลล่าร์ และต่อมาขึ้นเป็น 10 ดอลล่าร์  แต่มันก็ช่วยเพิ่มรายได้ของสองสามีภรรยาได้ดีมาก
   ลอร่าส่งข้อเขียนของเธอไปลงในหนังสือพิมพ์อื่นๆในรัฐ   ทั้งบทความและโคลงกลอนอย่างที่แม่เคยปลูกฝังให้เธอตอนเด็กๆ  ก็ได้รับการตอบรับจากบก.ด้วยดี   ถึงกระนั้นเธอก็ไม่ได้หวังอะไรมากไปกว่าเขียนถึงสิ่งที่เธอรัก  มีรายได้นิดๆหน่อยๆมาเป็นกำลังใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 07 ก.พ. 14, 08:32

 ขอกลับมาทางโรส
 หลังจากออกจากบ้านไปทำงานอยู่ในเมืองใหญ่ แคนซัส ซิตี้เมื่ออายุ 17     โรสทำงานเป็นพนักงานโทรเลขของบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน     เธอไม่ได้จับเจ่าอยู่ในที่เดียว หากแต่ย้ายไปไกลถึงซานฟรานซิสโก  ที่นี่เองโรสพบชายหนุ่มชื่อกิลเลต เลน  ทั้งสองแต่งงานกันเมื่อโรสอายุ 23 ปี
  สามีภรรยาหนุ่มสาวย้ายกลับมาปักหลักที่แคนซัส ซิตี้     โรสเข้าทำงานที่หนังสือพิมพ์แคนซัส ซิตี้ โพสต์   เลือดของศิลปินและการฝึกฝนเรื่องการเขียนการอ่านมาแต่เด็กเริ่มออกแววในตอนนี้    แต่โรสก็ยังไม่ได้จับงานนี้จริงจังนัก     เธอหันไปหาอาชีพอื่นช่วยสามีหารายได้ที่ดีกว่า คือเป็นนายหน้าค้าขายที่ดินร่วมกัน
  โรสกลับมาเยี่ยมบ้านตามคำชวนของแม่    ลอร่ากับแอลแมนโซเข้ากับลูกเขยได้ดี      ชีวิตทำท่าจะไปด้วยดีด้วยกันทุกฝ่ายถ้าไม่ถูกคั่นจังหวะด้วยเรื่องน่าเศร้าสลดเรื่องหนึ่งคือ โรสตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย แต่เด็กน้อยก็เสียชีวิตหลังคลอด  เช่นเดียวกับบุตรชายของลอร่าเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน  และน้องชายของลอร่าเมื่อสามสิบกว่าปีมาแล้ว 
  จากนั้นโรสก็ไม่มีบุตรอีกเลย

โรสในวัยสาว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 08 ก.พ. 14, 10:23

     โรสรับถ่ายทอดนิสัยชอบเดินทางมาจากคุณตาชาร์ลส์และแม่เต็มตัว   อยู่แคนซัสซิตี้ไม่นานเธอก็เดินทางไปคาลิฟอร์เนียอีกครั้ง  เพื่อจับธุรกิจเป็นเอเยนต์ค้าขายบ้านและที่ดินอย่างเป็นล่ำเป็นสัน    กิลเลต เลนก็ทำธุรกิจนี้เช่นกัน  ทั้งทำร่วมกับภรรยาและแยกกันเป็นอิสระ  แต่ว่าโรสขายเก่งกว่าสามีเธอเสียอีก
    อาชีพของโรสดำเนินไปด้วยดีจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1  เริ่มฉายเงาขึ้นมาในยุโรป   มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในอเมริกาด้วย  ธุรกิจบ้านและที่ดินก็เริ่มซบเซา      ในตอนนี้เองเพื่อนคนหนึ่งของโรสชวนเธอไปทำงานใหม่ คือเป็นนักหนังสือพิมพ์ในซานฟรานซิสโก   มอบหมายให้เขียนคอลัมน์และสัมภาษณ์คนดังๆ   ตอนนี้เองโรสได้ใช้ทักษะที่เธอเคยเก่งสมัยเรียนอย่างเต็มที่   ไม่นานเธอก็ประสบความสำเร็จในฐานะคอลัมนิสต์คนดังของหนังสือพิมพ์ซานฟรานซิสโกบุลเลทิน  

     โรสเขียนจดหมายถึงแม่  เล่าถึงความสำเร็จในอาชีพใหม่    เธอแน่ใจว่าแม่ผู้มีฝีมือทางนี้เช่นกันไม่ควรที่จะทำงานจำเจเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่อย่างนี้ไปจนตาย   เธอจึงแนะนำให้แม่หาคนงานมาช่วยเลี้ยงไก่  แม่จะได้เอาเวลาไปเขียนหนังสือได้มากกว่านี้  และควรเขยิบขั้นจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไปยังหนังสือพิมพ์สำคัญ เพื่อรายได้และชื่อเสียงที่ดีกว่า
    ลอร่าประทับใจกับความสำเร็จของลูกสาวมาก    ลูกน้อยเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนบัดนี้ก้าวขึ้นไปถึงขั้นได้สัมภาษณ์บุคคลดังๆระดับชาติอย่างเฮนรี่ ฟอร์ด เจ้าของบริษัทรถยนต์ฟอร์ด   ชาลี แชปลินยอดดาราตลก และนักบินผาดโผนอย่างอาร์ท สมิธ     เธออยากจะรู้ว่าโรสมีเทคนิคการเขียนยังไงแบบไหนถึงทำได้ขนาดนี้     ดังนั้นในปี 1915  เมื่อโรสชวนแม่ไปเที่ยวซานฟรานซิสโก เพื่อชมงานสินค้าโลก  ลอร่าก็ตกลงเดินทางจากมิสซูรี่ไปทันทีตามลำพัง   แอลแมนโซอยู่เฝ้าบ้าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 08 ก.พ. 14, 10:27

โรสในวัยทำงาน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 09 ก.พ. 14, 10:36

   ลอร่าใช้เวลาอยู่ในคาลิฟอร์เนียกับลูกสาว 2 เดือน    ก่อนหน้าเดินทาง หนังสือพิมพ์ขอให้เธอเก็บประสบการณ์จากการชมนิทรรศการงานสินค้าโลกกลับไปเขียนลงในคอลัมน์  เธอก็ตกลง     เธอเขียนจดหมายถึงสามีอย่างสม่ำเสมอ เล่าถึงทุกอย่างที่เห็น  แอลแมนโซเก็บจดหมายไว้ทุกฉบับ     หลังจากลอร่าถึงแก่กรรมไปแล้ว มีผู้พบจดหมายเหล่านี้ในทรัพย์สินส่วนตัวของเธอจึงนำมาตีพิมพ์รวมเล่มในปี 1974   ให้ชื่อว่า West from Home

   โรสชวนพ่อแม่มาอยู่ด้วยกันในซานฟรานซิสโก   คาลิฟอร์เนียมีอากาศอบอุ่น และเจริญมากกว่าเมืองเล็กๆอย่างแมนสฟิลด์    แต่ลอร่าปฏิเสธ  เธอไม่ยอมแลกชีวิตในฟาร์มกับที่แห่งใดอีกทั้งสิ้น     ตอนนี้ฟาร์มร็อคกี้ริดจ์ขยายพื้นที่ออกไปถึง 200 เอเคอร์ จากน้ำพักน้ำแรงและการเก็บออมเงินของสามีภรรยา     ทั้งคู่ทำงานกันอย่างไม่หยุดยั้ง ผลตอบแทนจากบ้านนาก็นับว่าน่าชื่นใจ แม้ไม่ทำให้รวย  แต่ก็มีกินมีใช้ ไม่ยากจน
  ส่วนโรสไม่เห็นด้วยเลย  เธอคิดว่าพ่อแม่อายุมากแล้ว ทำงานหนักตรากตรำเกินไป  น่าจะขายฟาร์มแล้วไปซื้อบ้านเล็กๆในชนบท  ใช้ชีวิตอย่างสบายๆ อยู่ที่ไหนสักแห่ง   แต่ลอร่าบอกว่า
  "ก็พ่อกับแม่อยู่ในชนบทแล้วไง"  


บันทึกการเข้า
Singing Blue Jay
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 10 ก.พ. 14, 18:45

เข้ามาตามอ่านต่อเนื่องนะคะ ชอบลอร่ามาตั้งแต่เด็กเหมือนกันค่ะ เป็นความรู้สึกที่ดีมากๆทุกครั้งที่หยิบหนังสือชุดนี้ขึ้นมาอ่าน เก็บมาหลายเวอร์ชั่นค่ะ หายบ้าง ตามเก็บไม่ครบชุดบ้าง จนล่าสุดซื้อเก็บของอมรินทร์ไว้อีกชุดเมื่อสามสี่ปีที่แล้ว...กันเหนียว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 11 ก.พ. 14, 09:23

เรื่องนี้อ่านกี่หนก็ประทับใจค่ะ   ชอบความอบอุ่นในครอบครัว  และมองโลกในแง่ดีของลอร่า   อ่านแล้วเกิดกำลังใจ ไม่ย่อท้อต่อความลำบาก

ในช่วงที่โรสดำเนินชีวิตอย่างสาวเมืองใหญ่ ประสบความสำเร็จในฐานะนักเขียนคอลัมน์คนดัง   ลอร่าก็ประสบความสำเร็จตามแบบของเธอ   นอกจากเขียนในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจนเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว   เธอยังทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ เข้าร่วมกับสมาคมพัฒนาที่อยู่อาศัยของรัฐมิสซูรี่  ซึ่งเน้นทางด้านสวัสดิการให้ชาวไร่ชาวนา      ต่อมาก็ร่วมก่อตั้งสโมสร The Athenians ซึ่งเป็นกลุ่มทำงานเพื่อพัฒนาพวกผู้หญิงชาวไร่   ผลงานของลอร่าออกมาในรูปการก่อตั้งห้องสมุดสาธารณะให้พวกนี้มีหนังสืออ่าน  มีหนังสือพิมพ์ใหม่ๆ เพื่อเปิดหูเปิดตาบรรดาเมียชาวนา แทนที่จะอยู่แค่ทำงานในไร่ไปวันๆ

ในสโมสรอะธีเนียน  ลอร่าตั้งกลุ่มพบปะสังสรรค์กันด้านวรรณกรรมเดือนละครั้ง   นำวรรณกรรมดังๆเช่นงานของเชคสเปียร์ ดิกเกนส์ มาร์ค ทเวน มาอ่านและวิจารณ์และเปลี่ยนความเห็นกัน      แอลแมนโซขับรถม้ามาส่งเธอในเมืองเวลานัดสังสรรค์  ส่วนตัวเขาก็ไปเล่นหมากรุกฆ่าเวลากับเพื่อนๆผู้ชายด้วยกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 13 ก.พ. 14, 09:12

   ลอร่าได้รับถ่ายทอดนิสัยจากพ่อมาเต็มตัว     เธอเป็นคนสร้างความสุขให้ตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาวัตถุภายนอก   สำหรับเธอ งานหนักในฟาร์มหมายถึงความสำเร็จรออยู่เบื้องหน้า   ไม่ได้หมายถึงความทุกข์ยากลำเค็ญที่จะต้องดิ้นรนหลีกหนี     เธอกับแอลแมนโซเป็นสุขที่ค่อยๆพลิกพื้นดินรกร้างจำนวนมากขึ้นมาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์    สุขที่ได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติห่างไกลจากความแออัด  ได้เห็นดวงอาทิตย์ทอแสงในยามเช้า และตะวันตกดินในยามใกล้ค่ำ   ได้ยินเสียงนกร้องบนกิ่งไม้ใกล้หน้าต่าง    แค่นี้ก็เป็นสวรรค์บนดินสำหรับสองสามีภรรยา   ไม่จำเป็นต้องย้ายไปอยู่อย่างสะดวกสบายในเมืองใหญ่แห่งไหน

  ด้วยความสันโดษ และพอใจกับชีวิต   ลอร่าจึงมีความสุขกับชีวิตเจ้าของฟาร์มและกิจกรรมสังคมที่เธอทำอยู่ เป็นเวลานานหลายต่อหลายปี   เธออายุห้าสิบกว่าแล้วในเวลานี้   แต่ก็ยังสนุกกับงานโดยไม่คิดจะถอยหลังไปรอวัยเกษียณ     เมื่อเจ้าของฟาร์มรวมตัวกันตั้งกองทุนกู้ยืมเงินสำหรับเกษตรกร โดยมีธนาคารในมิสซูรี่เป็นแหล่งเงินกู้  ลอร่าก็ได้รับตำแหน่งเหรัญญิกของกองทุน  มีเงินเดือนประจำตำแหน่งด้วย 

  ขณะที่แม่ประสบความสำเร็จอยู่ในชนบท   โรสก็ประสบความสำเร็จในเมืองใหญ่ ในฐานะนักเขียนชื่อดังคนหนึ่ง     ชีวิตสมรสของเธอกับสามีเริ่มขรุขระ เพราะงานทำให้ทั้งคู่ต้องแยกกันอยู่ห่างไกลออกไปทุกที   ในที่สุดก็ลงเอยด้วยการหย่าขาดในค.ศ. 1912  โรสกลับมาเยี่ยมพ่อแม่บางครั้ง      หนังสือพิมพ์ลงข่าวเธอในฐานะวี.ไอ.พี.  เป็นหน้าเป็นตาให้พ่อแม่ได้มากมาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 13 ก.พ. 14, 09:42

โรสหย่าขาดจากสามีเมื่ออายุ 32 ปี  สมัยนั้นเรื่องหย่าร้างไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยนักในสังคม   เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่แต่งงานเพื่อไปเป็นแม่บ้าน  สามีเป็นฝ่ายหาเลี้ยง   แต่โรสเป็นผู้หญิงทำงานที่ประสบความสำเร็จมากกว่าสามีหลายเท่า    ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเขา
กิลเลต เลนกับเธอแยกกันอยู่มาหลายปีก่อนตัดสินใจหย่าขาดจากกันในที่สุด


บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 13 ก.พ. 14, 15:12

- ยังติดตามอ่านอยู่นะคะ

- โรสสวยนะคะ  สวยหวานมาก  รูปด้านข้างใน คห. 43  เห็นแล้วอิจฉาจมูกโด่งๆ นั่นมากมาย

   จะว่าไปลูกสาวบ้านนี้สวยๆ ทั้งนั้น  ลอร่าสวยเข้ม แครี่สวยเก๋  เกรซสวยหวานละมุน  แมรี่รูปตอนรุ่นสาวก็สวยเย็นตา  ถ้าเธอไม่มีปัญหาสายตาอาจดูแลรูปโฉมได้ดีกว่านี้ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 14 ก.พ. 14, 08:50

เอารูปโรส ที่มองเห็นจมูกโด่งชัดเจนอีกรูปมาให้คุณ tita ดูค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 14 ก.พ. 14, 09:35

  ดวงของโรสพุ่งแรงในช่วงค.ศ. 1920   เธอเดินทางไปยุโรป ทั้งตะวันตกและตะวันออก   เขียนบันทึกเรื่องราวจากประสบการณ์ลงเป็นหนังสือตีพิมพ์จำหน่าย นอกจากเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงแล้วยังมีรายได้งามพอจะส่งเช็คมาให้พ่อแม่ได้ถึงปีละ 500 ดอลล่าร์เพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในฟาร์ม
   โรสใช้เวลาเดินทางรอบโลกอยู่ 4 ปีก่อนจะกลับมาเยี่ยมพ่อแม่ที่ร็อคกี้ริดจ์   พักระยะยาวอยู่ที่นั่น  มีเพื่อนฝูงที่เป็นคนมีชื่อเสียงในแวดวงวรรณกรรมมาเยี่ยมเป็นระยะ   ตัวเธอเองก็เขียนเรื่องสั้นและหนังสือสารคดีชีวประวัติอยู่ไม่หยุดยั้ง     เป้าหมายของเธอก็คือหาเงินให้มากพอที่จะทำให้พ่อแม่เลิกทำงานหนัก อยู่ได้สบายๆเสียที   ของขวัญราคาแพงชิ้นแรกที่โรสซื้อให้พ่อแม่คือรถยนต์ยี่ห้อบูอิคสีน้ำเงินรุ่นปี 1923 สั่งตรงจากนิวยอร์ค   เธอหัดให้พ่อขับรถคันนี้ แม่เองก็หัดขับด้วย แต่ยกหน้าที่โชเฟอร์ให้พ่อทำแทน
   โรสเริ่มฝึกหัดให้แม่เขียนหนังสืออย่างจริงจังแทนที่จะเขียนบทความเล็กๆน้อยๆอย่างเมื่อก่อน    ลอร่าได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของลูกสาว ให้อยากเขียนหนังสือเป็นเล่มขึ้นมาบ้าง   โรสคิดว่าถ้าแม่มีรายได้อย่างงาม  เธอก็จะได้สบายใจหมดห่วงเสียที  จากนั้นก็จะได้ย้ายไปพำนักอยู่ในประเทศอัลบาเนีย ซึ่งเป็นประเทศที่เธอชอบมากที่สุด  ตามที่วางแผนเอาไว้

 รถบูอิคสีน้ำเงินอย่างคันที่โรสซื้อให้พ่อแม่


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ก.พ. 14, 10:45 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง