เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
อ่าน: 57311 ชีวิตจริงเบื้องหลังวรรณกรรมชุด "บ้านเล็ก" (ตอนจบ)
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 09 มี.ค. 14, 08:19

Scarlet fever คืออะไรคะ

Scarlet fever หรือไข้อีดำอีแดง ในอดีตเป็นโรคที่รุนแรงมาก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเสตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ปเอ
เป้นโรคที่พบในเด็กอายุ ๕-๑๕ ปี มักจะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จึงแพร่กระจายโดยการหายใจ ไอ จาม
ในรายที่รุนแรงอาจจะเกิดการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด หรือติดเชื้อที่ผิวหนังและลุกลามเร็ว
อาการคือไข้สูง เจ็บคอ ตรวจพบคอแดง ลิ้นมีสีแดง ต่อมรับรสที่ปลายลิ้นบวมแดง ลักษณะของลิ้นเหมือนผิวของผลสตรอเบอร์รี ตามตัวจะมีผื่นขึ้น คลำดูสากๆเหมือนกระดาษทราย และตรงข้อพับที่แขนทั้งสองข้าง เห็นเป็นรอยคล้ำกว่าบริเวณอื่นๆ
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลลิน
ปัจจุบันพบน้อย เข้าใจว่าเกิดจากการที่คนเรามีภูมิต้านทานต่อเชื้อเสตร็ปโตคอคคัส กรุ๊ปเอ มากขึ้น
ผลแทรกซ้อนของโรค คือทำให้เกิดโรคไข้รูมาติก เกิดลิ้นหัวใจอักเสบ
โรคนี้ไม่มีผลกับตาโดยตรงครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 09 มี.ค. 14, 09:47

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ    ถ้างั้นก็เหมือนที่ผู้ศึกษาเรื่องของลอร่า ได้แสดงความสงสัยไว้  ว่าแมรี่ไม่ได้ตาบอดเพราะโรค Scarlet fever  อย่างที่เล่าไว้ในหนังสือ   แต่ว่าเธอป่วยเป็นโรคนี้แทรกซ้อนเข้ามาด้วย เมื่อเป็นโรค  neuralgia   
แมรี่อาจมีอาการปวดเรื้อรังมาตลอดชีวิต  จนอายุ 64  จึงถึงแก่กรรมที่บ้านของแครี่ด้วยโรคเส้นโลหิตในสมอง   ก็คือโรคเดิมของเธอนั่นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 09 มี.ค. 14, 13:21

  14 ปีหลังจากวรรณกรรมเรื่องแรก "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ได้ตีพิมพ์  เกียรติยศต่างๆก็ยังหลั่งไหลมาสู่ลอร่าไม่ขาดสาย   ในปี 1948  เธอได้รับข่าวดีอีกข่าวหนึ่ง คือห้องสมุดสาธารณะของเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน  กำลังขยายสาขาตั้งห้องสมุดใหม่ขึ้นอีกแห่ง     ทางผู้บริหารห้องสมุดต้องการจะตั้งชื่อห้องสมุดใหม่นี้เป็นเกียรติแก่เจ้าของหนังสือ "บ้านเล็ก" ว่า  ห้องสมุดลอร่า อิงกัลส์ ไวลเดอร์    เป็นครั้งแรกในเมืองดีทรอยต์ที่ตั้งชื่อห้องสมุด เป็นชื่อของสตรี  และเป็นสตรีที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย   นับเป็นปรากฎการณ์ใหญ่ของวงการ

  ลอร่าตื่นเต้นกับข่าวนี้มาก   ทางห้องสมุดเชิญเธอไปร่วมพิธีเปิดห้องสมุด   แต่เธอไปไม่ได้ เพราะในวัย 91  แอลแมนโซเริ่มมีสุขภาพอ่อนแอลงกว่าเก่ามาก    เธอไม่อาจทิ้งเขาเอาไว้ตามลำพัง ส่วนตัวเองก็เดินทางไปต่างเมือง       เธอทำได้เพียงเขียนสุนทรพจน์ให้ผู้จัดงานไปอ่านในวันเปิดห้องสมุด     และส่งต้นฉบับเรื่อง "The Long Winter" กับ "These Happy Golden Years "  ไปแสดงในนิทรรศการงานนี้

   แอลแมนโซประคับประคองตัวเองมาได้อีกปีหนึ่งจนอายุ 92  ก็มีอาการหัวใจวายในช่วงเดือนกรกฎาคม   แต่ว่ารอดมาได้    ลอร่าไม่ออกจากบ้านไปไหนอีก  เธออยู่เคียงข้าง พยาบาลเขาอย่างเต็มกำลังเท่าที่วัย 82 จะเอื้อให้ได้    มีเพื่อนบ้านแสนดีมาช่วยดูแลและออกไปซื้อของใช้จำเป็นให้     
    แอลแมนโซมีอาการค่อยดีขึ้นจนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1949   แต่พอถึงวันที่ 23 เขาก็มีอาการหัวใจวายเฉียบพลันก่อนที่ใครจะพาไปรักษาพยาบาลทัน      สามีผู้เป็นคู่ทุกข์คู่สุขกับลอร่ามาถึง 64 ปี   เป็นหนึ่งในชาวเมืองเก่าแก่ยุคบุกเบิกของแมนสฟิลด์  และเป็นชายที่ผู้อ่านหลายสิบประเทศรู้จัก   จากไปอย่างสงบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 09 มี.ค. 14, 13:27

Wilder Library‎
7140 E 7 Mile Rd
Detroit, MI 48234


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 10 มี.ค. 14, 09:20

   เมื่อแอลแมนโซจากไป บ้านไร่ร็อคกี้ ริดจ์ก็เหลือลอร่าอยู่คนเดียว      โรสและเพื่อนบ้านพากันเป็นห่วงว่าลอร่าจะอยู่อย่างไรตามลำพังในวัย 82 ปี   ในบ้านที่มีตั้ง 10 ห้อง   ตั้งอยู่โดดเดี่ยวนอกเมือง  แม้ว่ามีเพื่อนบ้าน แต่เราก็คงวาดภาพออกว่าไม่ใช่เพื่อนบ้านอย่างทาวน์เฮาส์ติดกัน   แต่เป็นเพื่อนบ้านที่เป็นเจ้าของฟาร์มหรือบ้านอยู่ห่างออกไปนอกเขตฟาร์ม  ตะโกนเรียกกันไม่ได้ยิน

   ถึงตรงนี้ขออธิบายแทรกว่าฝรั่งอเมริกันเขาไม่เหมือนคนไทยเราที่นิยมอยู่กับลูกๆหลานๆ  เด็กอเมริกันอยู่กับพ่อแม่จนอายุ 18 ปีก็บินออกจากรังไปเผชิญชีวิตกันแล้ว   ไม่กลับมาอีก   ปีหนึ่งเจอพ่อแม่หนเดียว  ถ้าไม่ใช่เทศกาลคริสต์มาสก็แธ้งส์กิฟวิ่ง    เมื่อลูกบินออกจากรังไปหมด    พ่อแม่ในวัยกลางคนก็อยู่กันสองคนด้วยความสุขที่วางภาระลงจากบ่าเสียที    ถ้าไม่หย่ากันเสียก่อนก็อยู่กันไปจนแก่ชรา   เมื่อคนใดคนหนึ่งจากไป อีกคนก็อยู่ตามลำพัง    ก็มีอยู่มากเหมือนกันที่คุณตาคุณยายวัยทองแต่งงานใหม่ เพื่อมีเพื่อนมาอยู่แก้เหงาด้วยกัน
   ถ้าถามว่าทำไมโรสไม่กลับมาอยู่เป็นเพื่อนแม่  หรือรับแม่ไปอยู่ด้วยกับเธอ  คำตอบคือนั่นไม่ใช่วิถีของคนอเมริกัน      ทั้งแม่และลูกต่างก็ไม่ต้องการเช่นนั้น   ลอร่าเองก็ไม่เคยคิดจะย้ายจากร็อคกี้ริดจ์ไปอยู่ที่ไหน   เมื่อเพื่อนฝูงขอให้เธอย้ายจากฟาร์มไปหาบ้านเล็กๆอยู่ในเมือง เพื่อสะดวกแก่การดูแลและไปไหนมาไหน  เธอก็ปฏิเสธ     เธออยากอยู่ในบ้านที่เธอสร้างมากับมือมากกว่าจะไปหาที่อยู่ใหม่ที่เธอไม่คุ้นเคย   ความเหงาไม่ใช่สิ่งน่ากลัวสำหรับลอร่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 10:29

       วรรณกรรม "บ้านเล็ก" ดึงดูดแฟนวัยเยาว์ทั่วทุกทิศมาหาลอร่า     จดหมายจากต่างแดนหลั่งไหลกันมาเต็มตู้ไปรษณีย์    ส่วนบ้านนาของเธอก็กลายเป็นแหล่งที่เด็กๆอยากจะมาเห็นคุณยายเจ้าของเรื่อง    บางครั้งมีนักท่องเที่ยวมากดกริ่งหน้าบ้านตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า เพราะต้องรีบเดินทางต่อ  เพื่อจะได้ถึงปลายทางตามกำหนด   ลอร่าก็ต้อนรับทุกคนด้วยดี     ไม่ได้รังเกียจว่าทำความลำบากลำบนให้เธอ     เธอไม่อาจปฏิเสธเด็กน้อยที่กระตือรือร้นอยากจะเห็นลอร่า อิงกัลส์ตัวจริง     ลอร่าชอบมีเด็กๆมาแวดล้อมเธอโดยเฉพาะเวลาเธอได้รับเชิญไปแจกลายเซ็น
     ปีถัดมาหลังจากแอลแมนโซถึงแก่กรรม    ห้องสมุดเมือง Pomona ในรัฐคาลิฟอร์เนียก็ให้เกียรติตั้งชื่อห้องวรรณกรรมเด็กในห้องสมุดว่า "ห้องไวลเดอร์"  ลอร่ามอบของขวัญชิ้นสำคัญให้ที่นี่ คือต้นฉบับลายมือเขียนด้วยดินสอ เรื่อง "เมืองเล็กในทุ่งกว้าง" Little Town on the Prairie  ให้เป็นสมบัติของห้องสมุด      ห้องสมุดโปโมน่าแห่งนี้เป็นแห่งแรกที่เริ่มจัดงานฉลองวันเกิดให้ลอร่าทุกปี  ในงานมีขนมปังขิงสูตรของลอร่าแจกในงาน และมีผู้มาเล่นซอเพลงเก่าๆของพ่อที่ปรากฏอยู่ในหนังสือให้แขกที่มาร่วมงานได้ฟัง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 11:53

    ในวันเกิดครบรอบปีที่ 84 ของลอร่า  บัตรอวยพรและของขวัญถูกส่งมาที่บ้านร็อคกี้ริดจ์กว่า 1000 ชิ้น     ในจำนวนนี้มีโทรเลขอวยพรวันเกิดจากแฟนหนังสือเหนียวแน่นคนหนึ่งของเธอ  คือพลเอกดักลาส แมคอาเธอร์  แม่ทัพและวีรบุรุษในสงครามโลกครั้งที่ 2
    เมืองแมนสฟิลด์ถือโอกาสนี้มอบของขวัญสำคัญให้ลอร่าเช่นกัน    เธอเคยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงก่อตั้งห้องสมุดเล็กๆในเมืองนี้เพื่อบรรดาแม่บ้านและเด็กๆในเมืองจะได้มีหนังสืออ่าน      วรรณกรรมชุด "บ้านเล็ก" ของเธอก็เป็นหนังสือสำคัญของห้องสมุด    ดังนั้นห้องสมุดนี้จึงได้รับชื่อว่า "ห้องสมุดลอร่า อิงกัลส์ ไวลเดอร์" เป็นเกียรติแก่เธอ
   ลอร่าเป็นคนสงบเสงี่ยมเจียมตัว  แม้ว่ามีชื่อเสียงแพร่หลายไปในระดับนานาชาติ  เธอก็ยังดำรงชีวิตอยู่อย่างสมถะ  ไม่เคยทำตัวฟู่ฟ่าเอิกเกริก     เมื่อสามียังอยู่เธอก็เลือกที่จะอยู่ดูแลเขาใกล้ชิดมากกว่าออกไปเปิดหูเปิดตา หรือทำกิจกรรมสังคมเพื่อชื่อเสียงตัวเอง    แต่งานนี้เธอตกลงไปเพื่อเห็นแก่เพื่อนๆชาวเมืองที่ตั้งใจจัดงานให้เป็นเกียรติแก่เธอ
   ลอร่าไปถึงงานในชุดเสื้อกระโปรงกำมะหยี่สีแดงแก่   ประดับกล้วยไม้ที่กรรมการจัดงานติดให้เธอบนบ่าเสื้อ    เธอเป็นสุขมากในงานนี้  เมื่อเห็นผู้คนทุกเพศทุกวัยพากันมาต้อนรับเธอด้วยรอยยิ้มชื่นชม    เมื่อเธอเดินเข้าไปในห้องประชุม  เด็กๆในโรงเรียนเมืองแมนสฟิลด์ก็ขับร้องเพลงประสานเสียงต้อนรับ  วงดุริยางค์บรรเลงเพลง  เธอได้รับเชิญให้ขึ้นยืนบนแท่นเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ขอบใจชาวเมือง
    ลอร่าพูดได้เพียงสั้นๆว่า "ขอบคุณทุกท่าน  จากใจของดิฉัน  ขอบคุณค่ะ"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 15:51

      เกียรติยศยังคงพรั่งพรูมาสู่ลอร่าโดยไม่เสื่อมถอยไปอย่างสังขาร      เมื่อเธออายุได้ 87 ปี  สมาคมห้องสมุดแห่งชาติตกลงจะสร้างรางวัลวรรณกรรมเยาวชนขึ้นใหม่รางวัลหนึ่ง   ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เธอว่า "รางวัลลอร่า อิงกัลส์ ไวลเดอร์" มอบให้กับนักเขียนวรรณกรรมเยาวชนผู้สร้างผลงานสำคัญและมีคุณค่ายาวนานแก่เยาวชน  
     ลอร่ายังคงใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังในวัยใกล้จะเก้าสิบ     โรสเป็นฝ่ายเดินทางมาพักอยู่กับแม่ปีละหลายๆเดือน  เพื่ออยู่เป็นเพื่อนกัน   เธอประสบความสำเร็จกับอาชีพนักเขียนด้วยดี     ลอร่าเป็นฝ่ายไปเยี่ยมลูกสาวบ้างเมื่ออายุ 87  เธอนั่งเครื่องบินไปถึงเมืองแดนเบอรี่ที่โรสอยู่   พักอยู่ด้วยระยะหนึ่งก่อนกลับมาบ้านร็อคกี้ริดจ์เพราะทนคิดถึงบ้านไม่ไหว
     ลอร่าเป็นคนไม่ยอมท้อถอยต่อชีวิต     เธอใช้เวลาแต่ละวันอย่างกระปรี้กระเปร่า ทำงานบ้าน  คุยกับเพื่อนบ้านที่แวะมาเยี่ยม  คุยกับเด็กๆที่มาหา    เหนื่อยเข้าเธอก็ลงนอนพักจนกระทั่งพอมีแรงลุกขึ้นใหม่     เธอตั้งใจจะอยู่จนอายุ 90 ให้ได้เช่นเดียวกับแอลแมนโซ   ชีวิตดำเนินไปอย่างง่ายๆเรียบๆในแต่ละวัน   เธอเองก็พอใจที่จะให้เป็นเช่นนั้น   เธอไม่อยากจะไปอยู่ที่อื่นนานๆแม้แต่บ้านของโรส เพราะที่ร็อคกี้ริดจ์ ลอร่ามีเพื่อนคือแมวที่เลี้ยงไว้ และเต่าอีกหลายตัวที่คลานมาหน้าประตูครัวทุกเช้าเพื่อจะกินขนมปังกับนมที่เจ้าของบ้านหามาเลี้ยง 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 15:59

     ลอร่ามีชีวิตต่อมาจนอายุ 89  ถึงวันแธงส์กิฟวิ่ง  โรสนั่งเครื่องบินมาเยี่ยมแม่ก็พบว่าสุขภาพแม่เริ่มทรุดลง  หมอพบว่าเธอป่วยเป็นเบาหวาน จนต้องเข้าโรงพยาบาล
     สามวันหลังจากวันเกิดปีที่ 90  ลอร่าก็จากไปอย่างสงบเช่นเดียวกับแอลแมนโซจากไปแปดปีก่อนหน้านี้

     มรณกรรมของลอร่าเป็นข่าวไปทั่วอเมริกา   หนังสือพิมพ์ทั้งในรัฐและต่างรัฐต่างลงเป็นข่าวสำคัญไว้อาลัยสุภาพสตรีชราผู้สร้างผลงานอมตะสำหรับเยาวชน   ทุกคนเห็นพ้องกันว่าแม้ลอร่าจากไป  ผลงานเธอก็ยังคงยั่งยืนไม่ดับสูญ    เป็นงานที่จะตกทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งตลอดไป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 20:36

ในที่สุด ในสุสานของเมืองแมนสฟิลด์  ลอร่ากับแอลแมนโซก็ได้พบกันอีก     และไม่พรากจากกันอีกเลย
ยังมีคนแวะเวียนไปเยี่ยมเยือน และรำลึกถึงในโอกาสครบรอบต่างๆจนทุกวันนี้


บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 20:37

อ่าน ปีทองอันแสนสุขจบ
ก็คิดว่า ชีวิตของลอร่าจากนี้ไปเต็มไปด้วยความสุขอันรื่นรมย์
ที่ไหนได้ หลักไมล์แห่งความทุกข์ยากเยื้องกรายเข้าหักเหชีวิตของเธอครั้งแล้วครั้งเล่า
เหมือนไม่รู้จักพอ เดี๋ยวจะสมหวัง แล้วก้อผิดหวัง เดี๋ยวเกือบดี และแล้วก็ร้าย ร้องไห้

ชีวิตคู่ของคนทั้งสอง น่าจะเป็น คู่ทรหด นะคะ
อดทน บากบั่นกับเส้นทางระหกระเหินมาถึงขนาดนี้
เป็นคู่อื่นคงเซย์กู้ดบายกับวิถีชีวิตชาวไร่ไปนานแล้ว

แต่เพราะความมุ่งมั่นและมองโลกในแง่บวก
ทำให้ลอร่ามีชีวิตอย่างคุ้มค่าจนถึงบั้นปลายสุดท้าย
แถมอายุยืนกว่าพี่น้องคนอื่นๆเสียอีก ยิ้มกว้างๆ

ตอนดูเป็น Series โทรทัศน์
เนื้อเรื้องรวบรัดและไม่ค่อยเหมือนในหนังสือ
แมรี่ ตาบอด แต่ก็ได้เป็นคุณครูและแต่งงานกับอาจารย์หนุ่มซึ่งตาบอดเหมือนกัน
ทั้งคู่สอนหนังสือให้นักเรียนตาบอด(อีก)

ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูนะคะ ที่เปิดโลกกว้างสำหรับ บ้านเล็ก ภาคต่อเนื่อง ชีวิตที่ถูกทดสอบ

บันทึกการเข้า
Ladycamelia
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 21:53

ติดตามอ่านกระทู้ด้วยความอิ่มเอม และมีความสุขทุกครั้งเลยค่ะ ความฝันตั้งแต่ยังเด็กคือไปเยี่ยมลอร่าที่บ้านร๊อกกี้ริดส์  (อ่านตั้งแต่อยู่ในวัยเดียวกับลอร่า จนคิดว่าเป็นเพื่อนกันค่ะ อิ อิ) และยังไม่ทิ้งความฝันนั้น  สักวันคงมาถึง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 22:18

เรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิตของลอร่า จบแล้วค่ะ   แต่ต่อจากนี้คือนั่งล้อมวงสนทนากัน
ดิฉันมีความประทับใจหลายอย่างเกี่ยวกับหนังสือเด็กชุดนี้   อ่านได้หลายครั้งในหลายวัย     ยิ่งอ่านก็ยิ่งสนุกกับสาระที่แฝงไว้ระหว่างบรรทัด
แต่วันนี้ขอพักก่อน  พรุ่งนี้ถ้าว่างจะเข้ามาคุยให้ฟังต่อนะคะ

ดิฉันเคยไปมิสซูรี่ แต่น่าเสียดายมาก ไม่สามารถจะไปถึงเมืองแมนสฟิลด์ได้    โอกาสนั้นหมดไปแล้ว ได้แต่เปิดยูทูปดูปลอบใจตัวเองไปพลางๆ


บันทึกการเข้า
หลงลืม
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 11 มี.ค. 14, 23:53

ขอบคุณ อ.เทาชมพูมากค่ะ ที่นำเสนอประวัติของลอร่าจนจบ ตอนนี้เหมือนกินข้าวเต็มกระเพาะแล้ว หลังจากท้องโหวงๆมานาน  แลบลิ้น แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 12 มี.ค. 14, 08:51

พาเที่ยวบ้านไร่ร็อคกี้ริดจ์ที่ปัจจุบันนี้ยังเมืองแมนสฟิลด์ยังเก็บรักษาไว้  เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้     ภาพทั้งสองนี้คือโต๊ะเขียนหนังสือที่ลอร่าใช้เขียนต้นฉบับ  กับห้องครัวที่รวมโต๊ะอาหารเล็กๆสำหรับเธอและแอลแมนโซรับประทานอาหารด้วยกัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง