เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 14968 Foreign Office: Consulates, Siam: Letter Books
pad
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 17 ม.ค. 14, 08:02

ขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยแน่ะนำ เอาไว้ถ้ากระผมมีเวลาจะลองค้นหาเอกสารเรื่องการว่าจ้างนายทหารเรืออังกฤษในเรือรบสยามครับ สำหรับขณะนี้กระผมคงจะใช้คำว่า the Inspector ไปก่อน.   ยิ้ม

บันทึกการเข้า
pad
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 17 ม.ค. 14, 08:37

จดหมายข้างล่างทำให้กระผมปวดหัวมากเพราะไม่ทราบว่าชื่อบุคคลนี้คือใคร

เป็นจดหมายขอใบเิกทาง (passport) สำหรับ มิศเตอ ยอนชิ์ยรลักซิ์ ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ จะขอเข้ามาเก็บตัวอย่างพืช สำหรับ Botanical Garden Calcutta (ซึ่งอาจจะเป็นที่นี่ Acharya Jagadish Chandra Bose Indian Botanic Garden)

กำซิลรอแอนโบแทนไอแคลกาเดน - Councillor and Botanical Garden

กาละกะตะ - Calcutta

มิศเตอ ยอนชิ์ยรลักซิ์ -  ฮืม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 17 ม.ค. 14, 09:23

มิศเตอ ยอนชิ์ยรลักซิ์    เจอนามสกุลเข้าแทบตกเก้าอี้  ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่รู้จักมาก่อนเลย
ฤๅจะเป็น  John Shiraz 
บันทึกการเข้า
pad
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 18 ม.ค. 14, 16:25

ขอบพระคุณอาจารย์ เทาชมพูครับ

เท่าที่ผมค้นหาได้ Botanist ที่เข้ามาในสยามช่วงรัชกาลที 5 มีอยู่หนึ่งคนชื่ิอ Johannes Elias Teijsmann เป็นชาว Dutch เข้ามาในสยาม 'was also part of a Dutch fact-finding mission to Siam' (http://en.cyclopaedia.net/wiki/Teijsm) แต่ก็ไม่ทราบว่ามาในช่วงปีไหน.

ไม่ทราบว่าอาจารย์ คิดว่า ยอนชิ์ยรลักซิ์ = Johannes Elias พอจะได้มั้ยครับ ?

ผมอาจจะ speculated มากไปหน่อย  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 18 ม.ค. 14, 17:08

ดิฉันก็นึกถึงนักพฤกษศาสตร์คนหนึ่งที่เคยมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯและกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญอยู่เหมือนกัน  มีอยู่ในกระทู้เก่าเรื่องกรมพระราชวังบวรฯ   แต่ยังลังเล เพราะนายคนนั้นไม่ใช่คนอังกฤษ   
ถึงแม้ชื่อ Johannes ตรงกับ John   เว้นแต่วิชาประวัติศาสตร์ ชื่อบุคคลเขาก็ไม่เห็นจะต้องแปลข้ามชาติกันนี่คะ
ข้อนี้ก็เลยยังไม่ฟันธงลงไปว่าเป็นคนเดียวกัน

ถ้าคุณ pad เช็คค.ศ. ได้อาจจะช่วยให้กระจ่างขึ้นว่าคนเดียวกันหรือเปล่านะคะ   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 19 ม.ค. 14, 19:28

ส่วนที่หน้าวัดเกาะ (อาจจะเป็นแห่งเดียวกับที่คุณ Siamese พูดถึงในความเห็นข้างบน) นั้นได้ถูกเลหลังไปเพื่อที่จะได้เอาเงินที่เลหลังได้ไปคืนให้กับพระเจ้าแผ่นดิน เพราะอัปดุลฮุเซนได้จำนำไว้ต่อในหลวง. แต่เงินที่เลหลังนั้นไม่พอเงินที่จะถวายคืนให้กับในหลวง. ดูเหมือนว่าตึกอัปดุลฮุเซนหน้าวัดเกาะนั้นภายหลังได้ถวายให้ในหลวงในปี 1877.

ขยายความเรื่องตึกแถวหน้าวัดเกาะ

อับดุลฮุสเซน เป็นคนบังคับร่มธงอังกฤษ ดังนั้น มิศเตอร์น๊อกซ์จำเป็นต้องช่วยเหลือ และต้องการเอาใจราชสำนักด้วยในทางเดียวกัน จึงได้ช่วยเหลือให้มีการเจรจาซื้อขายตึกแถวต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยตึกนี้มีจำนวน ๓ หลัง จำนวน ๔๑ ห้อง ปลูกติดริมกำแพงวัดเกาะ  เมื่อการเจรจาสำเร็นลุล่วงแล้วทรงโปรดเกล้าให้อับดุลฮุสเซนพร้อมบุตร พำนักและเช่าตึกได้ต่อไป
บันทึกการเข้า
pad
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 23 ม.ค. 14, 16:25

ขออภัยครับที่เข้ามาช้าไปสอง สามวัน

ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูด้วยครับ ผมจะลองติดต่อไปที่ Royal Botanical Gardens, Kew เพือที่ว่าจะมี รายชื่อของ Botanists ในช่วงเวลานี้รึเปล่า.

ขอบคุณๆ Siamese ครับสำหรับจำนวนของตึกที่อัปดุลฮุเซ่นเป็นเจ้าของ, ในเอกสารนี้บอกว่า หลังจากที่ตึกได้เลหลังไปแล้วอัปดุลฮุเซ่นได้ขออาศัยอยู่ต่ออีกเป็นเวลา 6 เดือน แล้วหลังจากนั้นจะถวายคืนให้ในหลวง, Mr Knox เห็นว่าหลังจากที่อัปดุลฮุเซ่นถวายคืนแล้ว ในหลวงคงจะทรงโปรดพระราชทานค่าตึกให้กับลูกของอัปดุลบ้าง.
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 23 ม.ค. 14, 16:40

ไปสวน Kew ได้อะไรบ้างไหม  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
pad
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 23 ม.ค. 14, 17:09

ยังไม่มีเวลาแวะไปเลยครับ คุณ Siamese  เศร้า

จดหมายฉบับนี้อาจเป็นอะไรที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจประวัติการสื่อสารโทรคมนาคมของสยามในช่วงต้นๆของรัชกาลที่ 5





บันทึกการเข้า
pad
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 23 ม.ค. 14, 17:11






บันทึกการเข้า
pad
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 23 ม.ค. 14, 17:13






บันทึกการเข้า
pad
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 23 ม.ค. 14, 17:14





บันทึกการเข้า
pad
อสุรผัด
*
ตอบ: 34


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 23 ม.ค. 14, 17:30

สายตลิกราบ = Telegraph line
เกาวแมน = Government
มาดะรัศ = Madras
กำปะนี = Company
มิศเตอ สิเมอกลาก = Simon Clarke ?
เมือง ยุรบ = Europe
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 23 ม.ค. 14, 19:07

ยังไม่มีเวลาแวะไปเลยครับ คุณ Siamese  เศร้า

จดหมายฉบับนี้อาจเป็นอะไรที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจประวัติการสื่อสารโทรคมนาคมของสยามในช่วงต้นๆของรัชกาลที่ 5

ใช่ครับ เป็นการเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที ๕ เท่านั้น แต่ก่อนหน้าที่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเจรจาขอทำสายโทรเลขในดินแดนสยามแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

จากจดหมายเหตุที่คุณ Pad เอามาให้อ่านนี้เป็นความพยายามของทางฝ่ายอังกฤษที่จะเอาใจรัฐบาลสยามให้เดินสายโทรเลขทางทวาย ปีนัง ซึ่งก่อน

หน้านี้ไม่นานทางรัฐบาลสยาม ได้รับการติดต่อจากฝรั่งเศสแล้ว โดยขอให้สยามปักเสาโทรเลขไปเชื่อมกับกัมพูชาได้เลย โดยฝรั่งเศสจะเดินสายโทรเลข

จากไซ่ง่อนให้ฟรีๆ เช่นนี้แล้วทางอังกฤษ โดยมิศเตอร์น๊อกซ์ จำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาแบ่งอิทธิพลดังกล่าวด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 24 ม.ค. 14, 09:46

หนังสือจากมิสเตอร์น็อกซ์ถึงพระเจ้ากรุงสยามเรื่องการวางสายโทรเลข ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ ที่คุณเผด็จกรุณานำมาแสดงนั้น ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง จึงได้ถอดความเป็นอักษรไทยตามวิธีปัจจุบันไว้ดังนี้

มิสเตอร์น็อกซ์ ถึงพระเจ้ากรุงสยาม  

        ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับหนังสือจากเกาวแมนอินเดียใจความว่า ให้ข้าพระพุทธเจ้าถามเกาวแมนสยาม เรื่องตลิกราบที่คิดจะทำกันโดยทางเมืองทวาย ให้ติดต่อเนื่องกับสายตลิกราบของประเทศอื่น ๆ นั้น บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่ว่าด้วยสายทางเมืองทวายนี้ก่อน จะว่าด้วย ๒ สายที่ได้พูดไว้แต่ก่อนนั้นแล้ว สาย ๑ ไปทางเมืองสงขลาตลอดไปถึงเมืองปีนัง ผู้ที่คิดจะทำสายนี้จะต้องไปติดต่อสายที่เมืองออสเตรเลีย ที่เมืองออสเตรเลียนั้นมีพวกอังกฤษถึง ๔ ล้านคนแล้ว ในอีกสัก ๕๐ ปีคงจะมีทวีมากขึ้นถึง ๓๐ ล้านคน ก็จะเป็นเมืองโตใหญ่ขึ้นอีกสายนี้หมายจะมาเมืองยะวาเมืองปีนัง ตั้งแต่เมืองปีนังมาทางบกจนถึงกรุงเทพฯ ออกจากเมืองกรุงเทพฯจะไปเมืองทวายจนถึงเมืองรางกูน

        อย่างนี้จะมี ๒ สายจากเมืองอังกฤษไปถึงเมืองออสเตรเลีย เพราะมีสาย ๑ แล้วที่ไปทางปีนังมาดะรัศ ตลิกราบสายนี้กำปะนีอังกฤษคิดจะทำ แต่จะให้เกาวแมนสยามทำการังติรับใช้เงินทุกปีให้มีกำหนดว่าปีละเท่าไร ฝ่ายเกาวแมนสยามไม่ยอมเพราะเกาวแมนสยามว่า เห็นสิ้นเงินมากเหลือเกินไป เกาวแมนสยามจึงว่าจะทำสายตลิกราบเอง

        ในคำซึ่งแก่งแย้งกันดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้คิดลำเอียงช่วยบำรุงข้างกำปะนีอังกฤษจริง เพราะเห็นว่าสายตลิกราบที่จะไปทางเมืองออสเตรเลียจะมีเมดเซซคือใช้คำพูดไปมามากนัก ซึ่งคำสำคัญใหญ่ควรจะต้องรักษาโดยดี ๆ แลสายตลิกราบตอนของไทยนี้อยู่กลาง กลัวจะเหลือกำลังของไทยที่จะรักษาให้สมควรกับการ คงจะเกิดเหตุฟ้องร้องเพราะชาวต่างประเทศทั้งปวงจะกล่าวโทษเกาวแมนไทย ว่าไม่รักษาตอนส่วนของไทยตามสมควร การซึ่งกล่าวโทษเกาวแมนไทยนั้น ก็มีอยู่เนือง ๆ เสมอแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าไม่อยากจะให้กล่าวโทษซ้ำอีกบ่อย ๆ

        การซึ่งผู้ที่ชื่อร้องว่ามิสเตอร์สิเมอกลากขอเงินมากเกินไปนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า ถ้าเกาวแมนสยามรับทำตลิกราบเอง ค่าทำตลิกราบแลค่ารักษาจะขึ้นเงินมากกว่าที่มิสเตอร์สิเมอกลากขออีก

        แต่บัดนี้สายตลิกราบที่จากปีนังไปรังกูนนั้น มีผู้ได้ทำไปในทางทะเลสำเร็จแล้ว เป็นใช้ได้แทนสายที่มิสเตอร์สิเมอกลากคิดจะทำนั้น เพราะฉะนี้สายที่มิสเตอร์สิเมอกลากจะทำก็จะว่างปล่าอยู่ช้านาน

        บัดนี้จะว่าด้วยสายตลิกราบที่จะไปทางเมืองไซ่ง่อน ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าสายนี้จะเป็นถูกกว่าสายที่จะไปทางปีนัง แต่ถ้าว่าสายที่จากไซ่ง่อนไปสิงคโปร์นั้นเป็นแต่สายเดียวในทะเลลึก แลจากสิงคโปร์ไปฮ่องกงก็เหมือนกัน อย่างหนึ่งสายที่ไปไซ่ง่อนนั้นเป็นการผ่านไปตามหัวเมืองเล็กน้อย ไม่สำคัญเหมือนสายที่ไปทางปีนังทางเมืองทวาย

        บัดนี้จะว่าด้วยสายที่ไปทางเมืองทวาย สายนี้จะติดต่อกันกับสายที่เมืองรางกูน แลจากรางกูนไปปีนังนั้นมีถึง ๒ สาย สาย ๑ ไปตามเมืองอินเดียเมืองมาดะรัศ ตั้งแต่มาดะรัศถึงปีนังในทะเลลึก อีกทาง ๑ ตรงไปปีนังในทะเลลึก สายที่ไปเมืองอินเดียนั้นติดต่อกันกับ ๒ สายที่ไปเมืองยุโรป การที่จะทำนี้ส่วนของไทยก็น้อยแลทางนี้ไปตามระยะบ้านเมืองเสียมาก จะรักษาดูแลก็ง่าย เงินที่จะออกทุนควรจะน้อยกว่าสายที่ไปไซ่ง่อนแลปีนัง ถ้าจะเสียไปด้วยประการใด มีคนมากจะทำให้ดีขึ้นก็ได้โดยง่ายโดยเร็ว แล้วก็ถูกด้วย

       ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า ควรจะทำสายที่ไปทางเขตแดนให้ติดต่อกันกับสายที่เมืองทวาย แลสายนี้เป็นสายที่จากเมืองทวายมาเมืองไทยเท่านั้น พวกชาวต่างประเทศก็จะไม่เกี่ยวข้องฟ้องกล่าวโทษได้

        การซึ่งข้าพระพุทธเจ้าชี้แจงมาดังนี้ ท่านทั้งปวงก็ย่อมจะทราบอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าตลิกราบสายที่เมืองทวายนี้สมควรกับความปรารถนาของเมืองไทย สมควรกว่าสายที่ไปปีนังแลไปเมืองอื่น ๆ แลถูกกว่าด้วย

        ข้าพระพุทธเจ้ามีหนังสือไปรเวศถวายมาต่อพระองค์ครั้งนี้  เพราะถ้าจะเขียนมาตามราชการก็มีคนหลายคนในกรุงเทพฯ จะอุปมัยเปรียบก็เหมือนแร้งได้กลิ่นอาสพมาแต่ไกล แต่ถ้าว่าผิดกับแร้งที่แบ่งปันกินโดยปรกติดี พวกนี้ก็แย่งชิงอาสพจนเกิดวิวาทกัน แลผลประโยชน์นั้นก็เลยสูญเสียเปล่า ๆ

        บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าพักรออยู่ที่ปากน้ำ เพื่อจะเชยลมอากาศทะเลด้วย แต่กำหนดว่าจะกลับมาวันเสาร์นี้ เมื่อมาถึงแล้วข้าพระพุทธเจ้าจะขอเฝ้าพระองค์ในวันอาทิตย์ฤๅวันจันทร์นี้ด้วย ข้าพระพุทธเจ้าคงจะได้ทราบน้ำพระทัยพระองค์ในการเรื่องนี้ก่อนหน้าที่จะมีหนังสือตามไปถึงเกาวแมนอินเดีย

         คำนับทูลมา ณ วันพุธ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู นพศก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง