เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 18156 ตัวเลขไทยเลขเขมร
winter_rain
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


 เมื่อ 08 ม.ค. 14, 17:14

เมื่อก่อนไปวัดพระแก้ว เห็นป้ายบอกราคาบัครเข้าชมสำหรับคนไทย ใช้เลขไทยสื่อ เพราะเขาเก็บเงินคนไทยถูกกว่าต่างชาติ
จนหลงคิดว่าเลขไทยคนไทยนั้นที่อ่านออก

เมื่อมาเที่ยวเขมร ดิฉันอ่านป้ายภาษาเขมรไม่ออก อ่านออกแต่ตัวเลข เหมือนเลขไทยเด๊ะๆ

สรุปว่าไทยเราน่าจะ "ยืม" ตัวเลขเขมรมาใช้ในภาษาไทย เช่นเดียวกับที่ยืมคำเขมรมากมายมาใช้ในราชาศัพท์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 19:08

ระบบการเขียนตัวเลขขอม กับ เลขไทยที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรขึ้นนั้น ได้พัฒนามาครับ คือ ทำให้เขียนง่ายขึ้น

ยกตัวอย่างงานของคุณเพ็ญศรี บ้านไทรทอง เทียบกันดังนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 19:20

จากหนังสือของ อ. เซเดย์กล่าวว่า ระบบอักษรไทยสุโขทัย ถูกพัฒนาจากอักษรขอมหวัด + อักษรมอญ

ตารางอักษรขอมย่อ เลขไทย ๑ ถึง ๐ และอักษรขอมเมื่อ พ.ศ. ๑๑๐๐


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 19:24

ตารางเปรียบเทียบตัวเลขไทยภาคกลาง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 19:31

ถ้าจะดูเลขไทยในกลุ่มอิทธิพลลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ควรดูจากสมัยอยุธยา จะเหมาะสมกว่า เพราะการรับวัฒนธรรมต่างๆ ถ่ายทอดจากขอมเป็นส่วนมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 12:18

ในดินแดนอุษาคเนย์แห่งนี้ นอกจากลาวแล้วก็มีเขมรนี่แหละที่มีอะไรต่อมิอะไรเหมือนกับไทยเรา

ลองอ่านบทความเรื่อง "วัฒนธรรมร่วมราก ระหว่างไทย-เขมร" หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔

แล้วจะรู้ว่า ไทย-เขมร ใกล้ชิดกันขนาดไหน

หน้าวังเขมรินทร์ในกรุงพนมเปญ  บางวันมีขนมเปียกปูนขาย ถ้าเดินเข้าไปภายในวัดพระแก้ว ภาพจิตรกรรมฝาผนังลออตา แม้จะเก่าคร่ำคร่า แต่เมื่อคนไทยเห็นก็มักหลุดคำอุทานออกมาคล้าย ๆ กันว่า เป็นลายไทย เสียงนั้นถ้าชาวกัมพูชายืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ยิน เขาจะเถียงทันทีว่า เป็นลวดลายเขมร

ครั้นเดินไปด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว วัดที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกับวังเขมรินทร์ จะพบเครื่องดนตรีมากมายตั้งอยู่ บางวันมีนักดนตรีประโคมขับ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรี และทำนองเพลง คนไทยเห็นและฟังย่อมเปล่งเสียงออกมาเต็ม ๆ ว่า เป็นดนตรีไทย

ขณะที่ชาวกัมพูชาเถียงทันทีว่าเป็นของเขมรร้อยเปอร์เซ็นต์

ยิ่งถ้าเห็นตัวเลขที่กำกับไว้ตามอาคารบ้านเรือน หรือป้ายโฆษณาต่าง ๆ ด้วยแล้ว คนไทยเห็นจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ตัวเลขไทย แต่ชาวกัมพูชาจะเถียงเสียงแข็งทันทีว่า เป็นตัวเลขของกัมพูชา คนไทยต่างหากที่นำตัวเลขของเขมรมาใช้ ชาวเขมรผู้รู้บางคน อาจอ้างถึงตัวเลขในศิลาจารึกประกอบด้วย

คำอธิบายในเรื่องนี้คืออะไร ตัวเลขนั้น รากเหง้ามาจากตัวอักษรปัลวะเหมือนกัน คำว่าอักษรปัลวะที่เราเรียกกัน หมายถึงตัวอักษรสมัยราชวงศ์ปัลวะ ที่อยู่ในอินเดียทางตอนใต้ เราต่างรับมาด้วยกัน แล้วค่อยมาพัฒนาใช้

แต่ไทยเราพิเศษกว่าเขมรเล็กน้อย ตรงที่เราไม่ได้รับจากปัลวะโดยตรง แต่เป็นการรับผ่านเขมรและมอญ แล้วพัฒนาเป็นตัวอักษรไทยอย่างที่เห็นในปัจจุบัน


สำหรับเครื่องดนตรี เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าเขมรหรือไทยคิดได้ก่อน เพราะเป็นวัฒนธรรมร่วมกันมาตั้งแต่บรรพกาล เพียงแต่ว่า บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเราไม่มียืนยัน แต่ของกัมพูชามีปรากฏในภาพจำหลักผนังปราสาท

"รากฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรมต่างก็มีที่มาที่ไป ไม่มีสังคมไหนที่บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ล้วนแล้วแต่มีจุดร่วมและจุดต่างของตัวเอง" อาจารย์กังวล อธิบาย

ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ชี้ชวนให้เห็นอีกว่า "สังเกตไหมว่าคนไทยเราจะมีความรู้สึกกับกัมพูชาแตกต่างไปจากประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ เดี๋ยวรักกัน เดี๋ยวโกรธกัน เดี๋ยวดีกัน เดี๋ยวงอนกัน ถ้าพูดในแง่ของคนทั่วไป ถือว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งมากกว่าความเป็นเพื่อนธรรมดา"

ใกล้ชิดกันขนาดนี้

รักกันไว้เถิด
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
winter_rain
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ม.ค. 14, 11:24

ขอบคุณค่ะ
ยืนยันว่าไทย-เขมร ใกล้ชิดกันมากจริงๆ ค่ะ
ไม่เฉพาะแต่มีขนมเปียกปูนเท่านั้น ขนมเขมรเป็นคู่แฝดขนมไทยได้เลย ที่เห็นก็มีทั้งขนมเปียกอ่อน ขนมชั้น ตะโก้ ข้าวเหนียวแดง บ้าบิ่น ขนมต้มแดง
และขนมครก รสชาติคล้ายกัน เขมรอาจไม่มีแป้งท้าวยายม่อมใช้ ทำให้ขนมบางอย่าง เช่น ขนมชั้น กระด้างไปบ้าง

หนังสือ"4ปี นรกในเขมร" ที่เขียนโดยสุภาพสตรีชาวญี่ปุ่น ที่แต่งงานกับนักการทูตกัมพูชา
ได้บรรยายถึงอาหารการกินที่เหมือนไทยไว้มาก เช่น ขนมตาล และขนมต้มแดง




ส่วนภาษานั้น มีหลายคำที่ไทยและเขมรใช้เหมือนกัน เช่น โบราณ สระ (น้ำ) จำเริญ เทวดา สะพาน (เขมร สะเปียน)
แต่เปิดพจนานุกรมดูว่าเป็นบาลีและสันสกฤต เสียมาก ไทยเราอาจรับคำพวกนี้ผ่านทางภาษาเขมรเช่นกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 10:35

เลขไทย ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็น "เลขไทย" หรือได้รับแบบแผนจาก "เลขเขมร" เป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่อย่างสนุกสนาน

หลักฐานที่ดีที่สุดในการพิจารณาประวัติความเป็นมา จำเป็นต้องดูจาก "จารึกโบราณ" เพื่อศึกษาถึงกระบวนวิวัฒนาการของอักษรโบราณเหล่านั้น รวมทั้ง "เลขไทย" และ "เลขเขมร" ด้วย

เลขโบราณใน "จารึกเขมร"

เลขโบราณในจารึกเขมรมีหลายแบบ เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีการกำหนดรูปแบบการเขียนที่แน่นอน จารึกเขมรโบราณแบ่งออกได้เป็น ๒ สมัยคือ

๑. จารึกเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๔ หากเปรียบเทียบกับประเทศไทยก็จะตรงกับสมัยที่เรียกว่า "ทวารวดี" อักษรเขมรโบราณที่ใช้ในจารึกสมัยนี้มีรูปแบบตัวอักษรที่รับมาจาก "อักษรอินเดียใต้ (หรืออักษรสมัยราชวงศ์ปัลลวะ)" ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ "อักษรทวารวดี" ที่พบในภาคกลางของประเทศไทย

๒. จารึกเขมรสมัยเมืองพระนคร มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๒๐ เปรียบเทียบกับไทยคือสมัยทวารวดีต่อสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น รูปแบบตัวอักษรเขมรสมัยนี้เป็นต้นแบบให้กับอักษรเขมรปัจจุบัน, อักษรขอมในประเทศไทย และอักษรไทยสุโขทัย

รูปแบบตัวเลขที่ใช้ในสมัยทั้งสองมีต่างกันไปบ้าง แต่ก็มีบางตัวที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของตัวเลขในสมัยก่อนเมืองพระนครที่มีต่อสมัยเมืองพระนครอย่างเห็นได้ชัด แต่เป็นที่แน่นอนว่าตัวเลขในจารึกเหล่านี้เก่าแก่กว่า " เลขไทยสมัยสุโขทัย" ที่จะวิวัฒนาการมาเป็น "เลขไทยสมัยปัจจุบัน"

เพื่อความชัดเจน ผู้เขียนจะเปรียบเทียบให้เห็นโดยใช้ตัวอย่างตัวเลขที่ใช้ในจารึกเขมรโบราณ สมัยก่อนเมืองพระนคร, สมัยเมืองพระนคร และจารึกสุโขทัย (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ดังนี้



จากตัวเลขที่นำมาเปรียบเทียบ แสดงให้เห็นว่าเลขที่ใช้ในจารึกเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร (ก็คือเลขอินเดียใต้ สมัยราชวงศ์ปัลลวะ) ได้วิวัฒนาการเป็นเลขเขมรสมัยเมืองพระนคร และจากเลขเขมรโบราณสมัยเมืองพระนคร ก็ส่งอิทธิพลต่อเลขไทยสมัยสุโขทัย (จารึกพ่อขุนรามคำแหง)

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็น่าจะสรุปได้ว่า "เลขอินเดียใต้ (ราชวงศ์ปัลลวะ)" เป็นที่มาของเลขที่ใช้ในดินแดนอุษาคเนย์ทั้งหมด (รวมทั้งเลขที่ใช้ในอาณาจักรทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย)

ต่อมาเลขอินเดียใต้ได้วิวัฒนาการกลายเป็นเลขเขมรโบราณสมัยเมืองพระนคร (เป็นลักษณะเฉพาะ) แล้วจากนั้นจึงส่งอิทธิพลมายังเลขไทยสมัยสุโขทัย จากนั้นจึงกลายเป็นเลขไทยในปัจจุบัน ด้วยการอธิบายตามวิวัฒนาการของรูปแบบตัวอักษร (Palaeography) ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง

จากบทความเรื่อง ถกหลักฐาน “เลขไทย” ได้แบบจากเลขเขมร หรือว่ามีต้นเค้าจาก “เลขอินเดียใต้”? โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ศานติ ภักดีคำ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 10:35

โปรดสังเกตตัวเลข เลขไทยกับเขมรเหมือนกันทุกตัว เหตุเพราะเรายืมเขมรมาใช้นั่นเอง




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 11:17

จากเพจ โบราณนานมา ใน Facebook
 
กว่าจะเป็น “ตัวเลขไทย” ในวันนี้

สืบเนื่องจาก ๒-๓ วันนี้มีการถกเถียงถึงเรื่อง “เลิกใช้เลขไทยในเอกสารราชการได้ไหม ?” ความเห็นก็แตกออกเป็น ๒ ทาง คือ 1. สนับสนุนให้ยกเลิก โดนให้เหตุผลเรื่องระบบดิจิทัล ถ้าใช้เลขอารบิก ข้อมูลดิจิทัลมันเป็นสากล และ 2. ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิก โดยให้เหตุผลในเรื่องของประวัติศาสตร์และความภาคภูมิใจในภาษาไทยและเลขไทย แล้วต่อมาก็เกิดประเด็นใหม่ขึ้นมา มีคนตั้งข้อสงสัยว่า “เลขไทยเราลอกมาจากเขมร” พร้อมกับแนบรูปตัวเลขเขมรในปัจจุบันเป็นภาพประกอบ
ส่วนที่หลายคนน่าจะส่งสัย คือ ทำไม “เลขไทยปัจจุบัน” และ “เลขเขมรปัจจุบัน” เหมือนกันอย่างกับแกะ อันนี้ก็มีคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ ในเรื่องของ “การมีอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรม” ก่อนหน้า “เขมร” จะรับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจาก “ไทย” ไป ไทยเองก็เคยรับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากหลาย ๆ แหล่งด้วยกัน รวมถึง “เขมรโบราณ” (คนละกลุ่มกับเขมรปัจจุบัน ถ้าอธิบายคงยาว) ด้วย
“ไทย” เริ่มเข้าไปมีอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมใน “เขมร” แบบจริง ๆ จัง ๆ ก็ช่วงปลายยุคกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสมัยก่อนเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จะมีประเพณีหนึ่ง คือ การชุบเลี้ยงดูองค์รัชทายาทเขมรเป็นพระราชบุตรบุญธรรม ในฐานะลูกเจ้าเมืองประเทศราช (เมืองขึ้น) ซึ่งเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ มีมาแต่โบราณ เพื่อมิให้เขมรเกิดความกระด้างกระเดื่องต่อสยาม (ไทย) เหตุการณ์และประเพณีนี้เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๔ รวมเวลาทั้งสิ้น ๗๓ ปี
การที่องค์รัชทายาทเขมร ได้เข้ามาบวชเรียนและเติบโตในราชสำนักไทยตั้งแต่วัยเยาว์ จึงได้รับเอาวัฒนธรรมและรสนิยมแบบไทยในราชสำนักไทย เอาไว้มาก เมื่อต้องกลับไปครองราชบัลลังก์เขมร
เมื่อสมัยกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ (ครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก) เสด็จออกไปปราบกบฏเมืองเขมรปี ๒๓๒๓ ไม่ทันไรก็ต้องเสด็จกลับเข้ามาระงับยุคเข็ญในกรุงธนบุรี ต่อมาประเทศเขมรก็แตกแยกกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ประจวบกับมีสงครามแขกจามจะยกมาตีเขมร พระยายมราช (แบน) เห็นจะสู้ไม่ได้จึงพาเจ้านายเชื้อพระวงศ์เขมรที่เหลืออยู่มี “นักองค์เอง” เจ้าชายองค์น้อยมีพระชันษาเพียง ๑๐ ปี อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในกรุงเทพฯ
รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงเป็นพระราชบุตรบุญธรรม นอกจากนั้นเจ้าหญิงซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีของนักองค์เองอีก ๒ องค์ คือ นักองค์อีและนักองค์เภานั้น สมเด็จพระอนุชาธิราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ทรงรับไปเลี้ยงเป็นพระสนมเอก ส่วนพระยายมราช (แบน) ได้รับแต่งตั้งจากความดีความชอบเป็นเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ต้นตระกูลอภัยวงศ์ นับแต่นั้น
ต่อมาเขมรสงบลง เหล่าขุนนางจึงได้ร้องขอพระราชทานรัชทายาท คือ “นักองค์เอง” ออกไปครองประเทศเขมร รัชกาลที่ ๑ ยังไม่ทรงอนุญาตเพราะทรงเห็นว่านักองค์เองยังทรงพระเยาว์อยู่มาก เกรงจะมีอันตราย แต่ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ออกไปรั้งราชการกรุงกัมพูชาแทน
ต่อมาเมื่อ “นักองค์เอง” ทรงเจริญพระชันษาและได้ทรงผนวชแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกมาครองเขมรสืบทอดต่อมา โดยได้รับพระราชทานนามว่า “สมเด็จพระนารายน์รามาธิบดี ศรีสุริโยพรรณ บรมสุรินทรามหาจักรพรรดิราช บรมนาถบพิตร เจ้ากรุงกัมพูชา”
สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (พระองค์ด้วง) ได้ส่ง “นักองค์ราชาวดี” เข้ามาทำราชการที่กรุงเทพฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อพำนักในกรุงเทพฯ พระองค์มีสถานะเป็นพระราชบุตรบุญธรรมของกษัตริย์สยาม ทรงผนวชในธรรมยุติกนิกาย ๑ พรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในกัมพูชาเกิดความขัดแย้งขึ้น สยามได้เรียกตัว “นักองค์ศรีวัตถา” และ “นักองค์ราชาวดี” เข้ากรุงเทพฯ สยามได้ตัดสินใจสนับสนุนให้ “นักองค์ราชาวดี” ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกรุงกัมพูชา โดยมีขุนนางกัมพูชาในกรุงเทพช่วยกันประกอบพิธี พิธีราชาภิเษกของพระนโรดมที่กรุงเทพฯ ได้เป็นไปโดยนิตินัย ก่อนที่จะมีพิธีราชาภิเษกอีกครั้งที่กรุงพนมเปญ โดยพฤตินัย
ทางการสยามได้จัดทัพทางเรือไปส่งนักองค์ราชาวดีที่เมืองกำปอด และเดินทัพทางบกไปยังเมืองอุดงมีไชย ในระหว่างนี้ เกิดการกบฏอีก ออกญาสุทศ (บา) ได้รวบรวมกองทัพตั้งมั่นที่โพธิสัตว์ สยามจึงส่งทัพจากเสียมราฐและจันทบุรีไปปราบจนราบคาบ และได้อัญเชิญสมเด็จพระนโรดมประกอบพิธีราชาภิเษกที่กรุงพนมเปญและขึ้นเป็นกษัตริย์อย่างสมบูรณ์
ขณะนั้นกัมพูชาเป็นประเทศราชของสยาม เชื้อพระวงศ์ที่จะอภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา ต้องมาจากการแต่งตั้งของรัตนโกสินทร์ ทางสยามมีสิทธิในการสถาปนากษัตริย์กัมพูชา
การเมืองที่เกิดจากระบบพ่อปกครองลูกได้ผูกมัดจิตใจให้เกิดความจงรักภักดีระหว่างสองราชอาณาจักรตลอดมา กษัตริย์เขมรที่เคยเสด็จมาพำนักและเจริญพระชันษาในกรุงเทพฯ สืบสันตติวงศ์ต่อกันมาในระยะนั้นมีสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี (นักองค์เอง) สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (นักองค์ราชาวดี) และสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ (นักองค์สีสุวัตถิ์)
ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างพระราชวงศ์ไทยกับราชวงศ์กัมพูชา ได้เกิดขึ้นตั้งแต่นั้นต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีความแน่นแฟ้นและยั่งยืนจนมาถึงรัชกาลที่ ๔ เพราะในอดีตนั้นเจ้านายหลายพระองค์ของราชวงศ์กัมพูชาล้วนมาพำนักที่กรุงเทพทั้งสิ้น แต่ในรัชกาลที่ ๕ กัมพูชาที่เคยเป็นประเทศราชของสยามนั้นก็ได้ตกไปเป็นของส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส เพราะพระเจ้านโรดม ตีตัวออกห่างจากสยามและยกกัมพูชาให้เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
นับจากรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา กัมพูชาใช้ศิลปะและวัฒนธรรมแบบอย่างสยามเป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นด้านการปกครอง, การใช้ฉัตร, พระราชลัญจกร, เครื่องราชกกุธภัณฑ์ อันมีพระมหามงกุฎเป็นเครื่องยศสูงสุด, การใช้ศาสนาพุทธนิกายแบบสยามหรือนิกายธรรมยุติ, การใช้เลขไทยและนับฐานเลขแบบไทย รวมถึงการรับท่ารำและการแสดงโขนกลับไปด้วย เป็นต้น ฯลฯ
กล่าวโดยสรุป คือ “เลขไทย” ในยุคต้นได้รับอิทธิพลมาจาก “เขมรโบราณ” ซึ่งเขมรก็รับมาจาก “อักษรอินเดียใต้ (หรืออักษรสมัยราชวงศ์ปัลลวะ)” อีกทีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ “อักษรทวารวดี” ที่พบในภาคกลางของประเทศไทย ในส่วนของอักษรไทยนั้น ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ กล่าวว่า ระบบอักษรไทยสุโขทัย ถูกพัฒนาจากอักษรขอมหวัด + อักษรมอญ ส่วน “เลขเขมรปัจจุบัน” ได้รับอิทธิพลมาจากเลขไทยในยุค “รัตนโกสินทร์ตอนต้น” ที่เวลานั้นเขมรเป็นประเทศราชของสยาม จึงทำให้ “เลขไทยปัจจุบัน” และ “เลขเขมรปัจจุบัน” เหมือนกันอย่างกับแกะ
ตัวเลขไทยนั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน  หากดูรากเหง้าที่มานั้น อาจกล่าวได้ว่าตัวเลขต่าง ๆ ในจารึกโบราณมีมาพร้อมกับการใช้ตัวอักษร อักษรในดินแดนอุษาคเนย์นั้นพบว่าได้รับอิทธิพลจากอักษรอินเดียใต้ในราชวงศ์ปัลลวะ ในจารึกเขมรสมัยก่อนพระนครปรากฏหลักฐานการใช้อักษรปัลลวะ ดังนั้นตัวเลขที่ใช้ก็เป็นเลขที่ได้รับอิทธิพลจากอักษรปัลลวะนั่นเอง  ต่อมาอักษรในระยะนี้ได้มีวิวัฒนาการไปเป็นอักษรเขมรสมัยเมืองพระนคร และส่งอิทธิพลให้กับตัวเลขที่ปรากฏในลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหง  
ที่มา
- เพจ ภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- เพจ ASEAN “มอง” ไทย
- บทความ “ตัวเลขของไทยมีมาตั้งแต่เมื่อไร” โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ วารสารศิลปากร ปีที่ ๑๖ เล่มที่ ๕ มกราคม ๒๕๑๖
- ไกรฤกษ์ นานา. วารสาร “นักล่าอาณานิคม” ตีแผ่สัญญารัชกาลที่ ๕ ทำไมสยามสละ “นครวัด” ?. https://www.silpa-mag.com/history/article_31756
. (สืบค้นเมื่อ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๔).


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 พ.ค. 22, 23:46

สังเกตเห็นอะไรแปลกๆไหมครับ ปี พ.ศ. ของเขมร มากกว่า ค.ศ. อยู่ 544 ปี

โปรดสังเกตตัวเลข เลขไทยกับเขมรเหมือนกันทุกตัว เหตุเพราะเรายืมเขมรมาใช้นั่นเอง





บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 00:03

เรื่องเลขไทยผมเฉยๆ จะใช้ต่อหรือเลิกใช้ผมไม่มีปัญหาทั้งนั้นครับ แต่เหตุที่เรียกร้องให้ยกเลิกนั้นว่ากันว่าหน่วยราชการบางแห่งเอาเลขไทยไปใส่ในที่ไม่ควรจะใส่ เช่น URL ของหน้าเว็บไซต์ ทำให้ลิงก์นั้นใช้การไม่ได้ เรื่องนี้ถือว่าเป็นการใช้พร่ำเพรื่อโดยขาดวิจารณญาณ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำกับดูแลไม่น่าจะยากเลย

ส่วนเรื่องคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ว่าเป็นต้นเหตุ เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ

‘มติชน’ ได้สอบถามไปยัง นายปฏิพัทธ์ สุสำเภา ผู้ริเริ่มแคมเปญดังกล่าว โดยนายปฏิพัทธ์กล่าวว่า ได้รับแรงผลักดันจากปัญหาที่พบหลังการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากตนเป็นวิศวกรที่มีหน้าที่จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับคะแนน โดยพบว่าข้อมูลที่ได้รับมาเป็นไฟล์พีดีเอฟ และตารางส่วนที่เป็นคะแนนถูกกรอกด้วย ‘เลขไทย’ ส่งผลให้ตนและผู้ร่วมงานต้องช่วยกันพิมพ์เป็นระยะเวลานานกว่า 5-6 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ผลคะแนนที่เป็น spreadsheet สำหรับใช้ในการคำนวณได้

(ที่มา https://www.matichon.co.th/social/news_3372561)

เรื่องนี้ผมว่าแปลกยิ่งกว่าอีก

ข้อแรก ถ้าข้อมูลต้นทางเป็นเลขไทย การเขียนคำสั่งแปลงเป็นเลขอารบิกทำได้ง่ายมาก ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การเสียเวลาพิมพ์ซ้ำผมว่าไม่ใช่ทางปฏิบัติที่สมควรอยู่แล้วครับ

ข้อสอง หากบอกว่าไม่สามารถตัดแปะมาได้ (ต้นฉบับเป็น pdf หม่ยถึงอาจจะมาเป็นภาพก็ได้) ก็ใช้โปรแกรม ocr แปลงภาพเป็นตัวอักษรที่ปัจจุบันมีให้ใช้ฟรีกันมากมาย และใช้งานได้ดีด้วยครับ ถ้าไม่รู้จะใช้อะไร google translate ในมือถือก็ใช้งานได้ดีแล้วครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 07:56

สรุปดราม่า ยกเลิกใช้ "เลขไทย" ในเอกสารราชการ ทำโซเชียลแบ่งฝ่าย

https://www.thairath.co.th/news/society/2405316

สรุปดราม่ายกเลิกใช้ "เลขไทย" ในเอกสารราชการ ทำโซเชียลแบ่งฝ่าย ร่วมกันแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายจำนวนมาก

กลายเป็นกระแสร้อนแรงบนโลกออนไลน์ หลังมีการผุดแคปเปญรณรงค์หัวข้อ "ขอให้ใช้เลขอารบิกในเอกสารราชการไทย เพื่อความพัฒนาในด้านดิจิทัล" เพื่อขอรายชื่อสนับสนุนผ่านเว็บไซต์ www.change.org โดยผู้สร้างแคมเปญได้ให้เหตุผลว่า

"ในฐานะคนทำงานด้านดิจิทัล ที่ต้องประสานงานกับภาครัฐ ขอเสนอข้อเรียกร้องไปยังหน่วยงานราชการระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ให้ปรับมาใช้เลขอารบิกในเอกสารราชการเป็นหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน เพื่อความเป็นสากล และส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงและประมวลผลข้อมูลดิจิทัล

การใช้เลขไทยในเอกสารดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข เป็นการขัดขวางความเจริญของงานประมวลผลเอกสารดิจิทัลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งคงต้องได้เวลาที่รัฐจะต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงการใช้เลขไทยให้ถูกที่ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน"

ต่อมา นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ นักเขียนชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "สนับสนุนแคมเปญนี้" พร้อมระบุต่อว่า จากส่วนงานสารบรรณโดยตรงเขียนว่า ในบางกรณีตัวเลขไทยอาจไม่เอื้อต่องานบางประเภท เช่น งานการเงิน, งานวิเคราะห์ตารางตัวเลข หรืองานที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ ส่วนราชการก็สามารถพิจารณาใช้เลขอารบิกได้ โดยไม่เป็นการบังคับว่าส่วนราชการจะต้องใช้เลขไทยอย่างเดียวเท่านั้น แต่ปัญหาคือพอไม่ได้บังคับ หน่วยงานราชการก็คิดเอาเองว่าจะใช้หรือไม่ใช้ โดยไม่ได้คำนึงว่ามันเอื้อหรือไม่เอื้อ บางหน่วยเผยแพร่ตารางทุกสิ่งอย่างโดยใช้เลขไทย แถมเป็น PDF หรือ JPEG ทำให้ไม่สะดวกในการนำไปใช้งานต่อและประมวลผล

ทั้งนี้ ลองจินตนาการว่า ถ้ารายงานงบการเงิน, สถิติหุ้นในตลาดหุ้น ตัวเลขในภาคเอกชนทั้งหมดเปลี่ยนไปใช้เลขไทยแบบที่หน่วยงานราชการทำ (บางหน่วย) จะเกิดอะไรขึ้น จริงๆ ยุคนี้มันยุคแห่ง open data, open government แล้ว ประชาชนจะเรียกร้องให้ข้อมูลสาธารณะทุกอย่างอยู่ในรูปดิจิทัลที่ใช้งานและอ่านง่ายมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าภาครัฐปรับตัวได้ก็จะดีมาก

อย่างไรก็ตาม เลขไทยไม่ต้องหายไปไหน อยู่ในข้อเขียน, บทกลอน, เอกสารประชาสัมพันธ์ของรัฐ, เอกชน ประชาชนต่อไป แต่งานประมวลผลตัวเลขนี่ควรทำให้ใช้ง่ายเข้าไว้ และคิดถึงประโยชน์ของผู้ใช้ก่อน

แต่จากแคปเปญดังกล่าว เมื่อถูกเผยแพร่ออกไปในโลกออนไลน์แล้วนั้น กลับมีบางส่วนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าต้องการให้ยกเลิกการใช้เลขไทย และมีการวิพากษ์วิจารณ์ โต้แย้งกันถึงประเด็นดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก พร้อมติดแฮชแท็ก #เลขไทย ในทวิตเตอร์

ขณะที่ น.ส.จุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.พรรครวมพลังประชาชาติไทย ก็ได้โพสต์ข้อความถึงประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า "๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เลขไทย เอกลักษณ์ทางภาษาไทยประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนความเป็นไทย"

ทางด้าน ทวิตเตอร์ PMOC ศปก.นรม. หรือ ทวิตเตอร์ข่าวสารนายกฯ และรัฐบาล ตรงจากตึกไทยคู่ฟ้า_ทำเนียบรัฐบาลโดยศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี ก็ได้ทวีตข้อความว่า "ภูมิใจในเอกราชทางภาษา ด้วยอักษรไทย เลขไทย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐"

อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องนี้ยังคงมีคนจำนวนมาก ร่วมออกมาแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย โดยแบ่งออกทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว.

ขอบคุณเฟซบุ๊ก Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล, พลัม - จุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์ Chutathut Laothamatas, PMOC ศปก.นรม.

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 08:42

อ่านแล้วนึกถึงคำพังเพยโบราณว่า "ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด"  คนยุคดิจิทัลคงไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร

เข้าใจว่าคนเริ่มต้นคงจะหมายความว่า อย่าใช้ตัวเลขไทยในการพิมพ์เอกสารดิจิทัล เพราะโปรแกรมไม่รู้จักเลขไทย  จะทำให้เสียเวลาในการแก้ไข  หรือร้ายกว่านี้คือผลออกมาผิดพลาดในเอกสารหรือในโปรแกรม     ขอให้ใช้เลขอารบิคซึ่งเป็นเลขสากลจะสะดวกกว่า
แต่เขียนท่าไหนไม่รู้  กลายเป็นยกเลิกการใช้เลขไทยไม่ว่ากรณีไหนทั้งนั้น  เพื่อจะทำให้เลขไทยสาบสูญไปจากสารบบตัวหนังสือไทย     จึงเกิดการรณรงค์ต่อต้าน เลยเถิดไปถึงขุดประวัติเลขไทยมาอ้างกันว่าเป็นของไทยแท้สมบัติของชาติ หรือไปขอยืมเขมรเขามา
ล้วนแล้วแต่ไปไกลจากจุดประสงค์เดิมที่ให้ยกเลิกเลขไทย เฉพาะการเขียนโปรแกรมหรือพิมพ์เอกสารดิจิทัล    ไม่เกี่ยวกับคุณจะเขียนเลขไทยในบัตรอวยพร  บัตรเชิญแต่งงาน  จดเลกเชอร์   หรือจะเขียนจดหมายรักแบบยุคคุณปู่คุณย่าถึงกัน ก็ทำได้โดยไม่เป็นการขัดขวางความเจริญในโลกดิจิทัล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 10:09


เรื่องนี้ผมว่าแปลกยิ่งกว่าอีก

ข้อแรก ถ้าข้อมูลต้นทางเป็นเลขไทย การเขียนคำสั่งแปลงเป็นเลขอารบิกทำได้ง่ายมาก ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การเสียเวลาพิมพ์ซ้ำผมว่าไม่ใช่ทางปฏิบัติที่สมควรอยู่แล้วครับ

ข้อสอง หากบอกว่าไม่สามารถตัดแปะมาได้ (ต้นฉบับเป็น pdf หม่ยถึงอาจจะมาเป็นภาพก็ได้) ก็ใช้โปรแกรม ocr แปลงภาพเป็นตัวอักษรที่ปัจจุบันมีให้ใช้ฟรีกันมากมาย และใช้งานได้ดีด้วยครับ ถ้าไม่รู้จะใช้อะไร google translate ในมือถือก็ใช้งานได้ดีแล้วครับ

เห็นด้วยกับคุณม้าค่ะ   ทำไมถึงต้องพิมพ์ใหม่ เป็นการแก้ปัญหาแบบอ้อมโลกไปมากๆรึเปล่า
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง