เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 18131 ตัวเลขไทยเลขเขมร
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 10:35

สังเกตเห็นอะไรแปลกๆไหมครับ ปี พ.ศ. ของเขมร มากกว่า ค.ศ. อยู่ 544 ปี[


เขมรมีการนับพุทธศักราชต่างจากไทย โดยพุทธศักราชของไทย นับวันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. ๐ แต่ที่เขมร รวมทั้งศรีลังกา พม่า ลาว ล้วนนับ พ.ศ. มากกว่าประเทศไทยไป ๑ ปี กล่าวคือ นับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ ๑ นั่นเอง

นอกจากความแปลกเรื่องการนับพุทธศักราชแล้ว โปรดสังเกตในหนังสือพิมพ์เขมรฉบับนี้ มีระบุแต่คริสตศักราช หามีพุทธศักราชไม่



ปัจจุบันนี้ มีไทยเราประเทศเดียวเท่านั้น ที่ใช้ปีพุทธศักราชในทางราชการ และเป็นปีในทางศาสนาควบคู่ไปด้วย

ในขณะที่ประเทศที่นับถือพุทธศาสนารอบบ้านเรา คือ เขมร, ลาว รวมทั้งศรีลังกา ล้วนใช้คริสตศักราช เป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราช เป็นปีในทางศาสนา  

ส่วนในพม่าใช้จุลศักราชหรือเมียนมาศักราช (Myanmar Era - ME) เป็นปีราชการ และใช้พุทธศักราช เป็นปีในทางศาสนา แต่ในสื่อสิ่งพิมพ์และความนิยมของประชาชน จะใช้จุลศักราชควบคู่กับคริสตศักราช

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 10:35

นอกจากเรื่องการใช้เลขไทยก็มีปีพุทธศักราชนี่แหละ ที่มีนักวิชาการหลานท่านให้ความเห็นว่าควรเลิกใช้ในทางราชการ

อ.สุรพศเสนอให้เลิกใช้ พ.ศ.
ถือเป็นเรื่องที่ก้าวหน้ามาก ๆ ครับ
คนที่พูดเรื่องนี้ให้ผมฟังคนแรก
คือ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ตอนนั้นผมไม่เห็นด้วย
และคิดว่าพ.ศ.คือความยิ่งใหญ่สุด ๆ
และเราเป็นชาวพุทธควรภูมิใจ
ทำไม่เราต้องไปใช้ ค.ศ. ตามฝรั่ง
แต่พอได้มีโอกาสศึกษามากขึ้น
เจอผู้คนในโลกนี้มากขึ้น
ทำให้รู้ว่า พ.ศ. มันมีปัญหามาก
ไม่ใช่แค่ประเทศเถรวาทด้วยกันเอง
นับ พ.ศ.ไม่ตรงกันเท่านั้น
แต่ พ.ศ.มันเชื่อมต่อกับโลกภายนอกไม่ได้
คือคนทั้งโลกเขาไม่รู้จัก พ.ศ.
ดังนั้นเวลาจะพูดกับสากลโลก
หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ ๆ กัน
ต้องแปลง พ.ศ.เป็นค.ศ.
วุ่นวายมาก
เดิมในภูมิภาคนี้เราใช้จุลศักราชหรือมหาศักราช
ซึ่งก็ถือว่าเป็นศักราชระดับภูมิภาค
พ.ศ.มีใข้น้อยมาก
ส่วนมากจะเขียนว่า"พุทธศาสนาล่วงมา...ปี"
พ.ศ. เพิ่งมาประกาศใข้สมัย ร.๖ นี้เอง
อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากอุดมการณ์
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
แต่ต่อมาเราต้องเชื่อมต่อคนทั้งโลก
จุลศักราชหรือมหาศักราชเราก็ไม่ใช้
ขนาด ร.ศ. เราก็ยังไม่ใช้
แล้วหันมาใช้ พ.ศ.เพียงอย่างเดียว
ซึ่งมาวันนี้ดูจะมีปัญหาดั่งที่ว่า
ขัอเสนอเรื่องเลิกใช้ พ.ศ. แล้วมาใช้ ค.ศ.แทน
จึงเป็นเรื่องที่น่ารับฟังและน่าทำ 
แต่ผมเชื่อว่ากระแสต้านจะเยอะ
โดยเฉพาะพวกพุทธไทยแท้ ๆ

สมฤทธิ์ ลือชัย
นักวิชาการอิสระด้านอุษาคเนย์ศึกษา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 11:33

 ยิ้มกว้างๆ
ถ้าพ.ศ. (รวมทั้งเลขไทย อักษรไทย วรรณยุกต์ไทย ฯลฯ) กลายเป็นอุปสรรคในโลกดิจิทัลมากนัก   ก็คงจะค่อยๆหมดไปเอง


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 15:31

เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ เรื่องเชิงวัฒนธรรม อะไรที่คนยังพอใจจะใช้ มันก็อยู่ต่อไปได้ อะไรที่ไม่มีใครใบ้ หรือแทบไม่มีใครใช้มันก็จะหายไปเอง

ดุอย่างยุโรปใช้เลขโรมันมาก่อน พอรู้จักเลขอารบิกที่ใช้ประโยชน์ในทางคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าเขาก็รับมาใช้ ส่วนเลขโรมันแทบจะไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่มีที่ยืนของตัวเองอยู่ ไม่ได้หายไปไหน มีที่มีทางของตัวเอง เป็นความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของเขา

ที่น่าทำจริงๆผมว่าคือการเข้ารหัสข้อมูลอักษรไทยกับคีย์บอร์ดมากกว่า การพิมพ์ในภาษาไทยเราไปยึดตามรูป เพราะข้อจำกัดของพิมพ์ดีดที่ใช้กันมาตั้งร้อยกว่าปี คำบางคำอย่างคำว่า เก่า เวลาสะกด เราสะกดว่า ก เอา ไม้เอก แต่เวลาพิมพ์ กลายเป็น สระเอ ก ไม้เอก อา ข้อมูลที่บันทึกก็บันทึกตามนี้ เวลาจัดเรียงข้อมูลก็วุ่นวาย เพราะสระเอาก็คือสระเอา ดันไปเก็บเป็น เอ กับ อา แยกกันวุ่นวาย เวลาเรียงข้อมูลต้องเขียนโปรแกรมให้เอา เ กับ า มาประกอบร่างกันใหม่ ปวดหัวเข้าไปอีก

เทียบกับภาษาที่มีระบบคล้ายเราอย่างกัมพูชา อินเดีย เขาเก็บเป็นระบบกันทั้งนั้นครับ จะพิมพ์เกาก็ ก แล้วอยากแก้เป็นไก ก็กด backspace ทีนึง แล้วพิมพ์ ไ เข้าไปก็จบ ไม่ใช่ต้องถอยกันสุดซอยอย่างที่เราทำกันทุกวันนี้

น่าเสียดายครับ ทำตอนนี้คงยุ่งยากมาก ถ้าทำตั้งแต่ 30-40 ปีที่แล้วคงไม่ต้องวุ่นวายแบบนี้
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 31 พ.ค. 22, 18:00

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 01 มิ.ย. 22, 10:35

ใน จักรวาลคู่ขนาน 'แดนดาว' ประเทศไทยอาจมีการใช้ "ตัวเลขไทย" เพื่อคำนวณในโจทย์คณิตศาสตร์ ทำนองนี้ ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 มิ.ย. 22, 14:13

ก็ใช้ได้ดีนะครับ อ่านเข้าใจได้สบาย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเลขไทยกับเลขฝรั่งมีที่มาจากเลขอินเดียด้วยกัน ระบบเดียวกัน

ลองเขียนสมการด้วยเลขโรมันสิครับ บันเทิง 555

ปัญหาเรื่องมาตรฐาน ฝรั่งยังมีปัญหามากกว่านะครับ เราคุ้นเคยกับระบบการใช้ , . ในแบบ 1,234,567.89 แต่ชาติส่วนมากในภาคพื้นทวีปยุโรปเขาใช้ 1.234.567,89 และถ้านับจำนวนชาติแล้ว ทั้งโลกนี้ยังใช้แบบหลังนี้มากกว่าแบบแรก แล้วเราต้องเปลี่ยนไปใช้ตามเขาด้วยไหมครับ  : )


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 มิ.ย. 22, 15:15

การใช้เลขไทยในการคำนวณทางคณิตศาสตร์เป็นไปได้ แต่ไม่เหมาะสม และจริง ๆ แล้วคงไม่มีใครอยากใช้

อนุทิน วงศ์สรรคกร นักออกแบบตัวอักษร ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

จริง ๆ เลขไทยเขามีฟังชั่นของเขาอยู่แล้ว มีบริบทการใช้อย่างชัดเจนด้วยว่าใช้ในโอกาสใดบ้าง งานลักษณะใดควรที่จะต้องใช้  ไม่จำเป็นต้องเพิ่มฟังชั่นการคำนวณคณิตศาสตร์แบบอารบิคก็ได้ ไม่ได้ลดทอนความสำคัญของมันลงอย่างที่คิดกันไปเอง เลขไทยยังไงมันก็ไม่หายไปไหน เพราะมันมี unicode access point อยู่แล้ว ยังไงก็ไม่หายไปไหนแน่นอน

นอกจากนั้น เลขไทยนั้นไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็น line up numeral เพราะมียื่นเลยความสูงของลำตัว เรื่องนี้ก็จะทำให้ใช้เป็นเลขทางคณิตศาสตร์ได้ยาก เพราะเมื่อ stag เป็นชั้น ๆ ส่วนที่ยื่นเหล่านั้นจะยื่นปนกันจนอ่านยาก เลขหลักหน่วยหลักสิบไม่มีปัญหา แต่พอเป็นหลักร้อยหลักพัน stag ขึ้นไปหลายบรรทัดในสมการจะอ่านยากมาก ยิ่งถ้าพยายามทำเป็น tabular style ถามว่าเป็นไปได้ไหม ก็เป็นไปได้ทางการออกแบบ แต่นี่จะยิ่งทำให้วุ่นวายมากไปอีกเพราะ ความกว้างขวางของเลขบางตัวจะเป็นปัญหา ถ้าไม่ทำเลขให้กว้างเท่ากัน พอตั้งหลักบวกเลขแล้วหลักไม่ตรงกัน ก็จะยากต่อการคำนวณ และถ้าบีบให้เป็น tabular หมายความว่า width ต้องเป็น mono บางเลขก็จะดูผิดปกติไป อีกทั้งเรื่องการมีหางยาวทำให้เกิดพื้นแอ่งของพื้นที่สีขาวรอบตัวเลขมากเกินไป เวลาอ่านเลขเยอะ ๆ ก็จะบ่นกัน บอกอ่านยาก โดยไม่รู้ว่าสาเหตุมาจากอะไร (ก็มาจากเรื่องสีขาวและความไม่สมมาตรนี่แหละ) นี่ขอละข้ามเรื่องการที่จะทำเลข monospace monowidth มันน่าจะกลับไปดูด้วยว่าภาษาไทยจริง ๆ ไม่ได้เป็น monospace (คือทำได้เหมือนกันนะ แต่เป็น styling มากกว่า mathematic function)
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 มิ.ย. 22, 23:28

ถ้าบอกว่าไม่มีใครใช้เพราะไม่นิยมผมเห็นด้วย แต่ถ้าบอกว่าไม่เหมาะสมที่จะใช้ ผมว่าเหตุผลมีน้อยเหลือเกิน

ลองดูเหตุผลที่คุณอนุทินยกมา (ซึ่งเป็นปัญหาเชิงการใช้งานการพิมพ์และบนจอ)
- stack กันหลายชั้นแล้วทับกัน ดูยาก - ก็เว้นระยะระหว่างบรรทัดให้ดีสิครับ ไม่เห็นจะเป็นประเด็นเลย ถ้าคุณเขียนบรรทัดชิดกันจนตัวเลขทับกัน เลขอารบิกก็อ่านไม่ออกเหมือนกัน
- ความกว้างเลขไม่เท่ากัน วางแล้วหลักไม่ตรงกัน - เลขไทยตัวกลมๆทุกตัว ส่วนเลขอารบิก ลองเทียบ 1 กับ 0 ดูก็พอครับ มันต่างกันน้อยกว่าเลขไทยหรือเปล่า?

ความเห็นส่วนผม ไม่เคยคิดใช้เลขไทยในการเขียนสมการคณิตศาสตร์ ด้วย 2 เหตุผล
1. ไม่เคยใช้ และไม่มีใครเขานิยมใช้กัน (ไม่ต้องไปคิดว่าสากลไม่สากล จะทำให้คนอื่นไม่เข้าใจหรือเปล่า เพราะไม่ได้เขียนให้คนต่างชาติดูครับ)
2. เขียนยาก เส้นซับซ้อนกว่าเลขอารบิก

แค่นี้จริงๆครับ ไม่มีข้อไหนเป็นปัญหาทางเทคนิคเลย
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 มิ.ย. 22, 09:43

       เลขไทย น่ารัก เหมือนน้องแมว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 มิ.ย. 22, 10:00

คุณ pan ต่อยอดไอเดียไว้ใน twitter

ช้างหรือแมวน่ารักกว่ากัน ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 มิ.ย. 22, 17:31

ถ้าฟอนต์แบบนี้ไม่แนะนำให้เอามาใส่ในสมการครับ

น่ารักเกินไป เสียสมาธิครับ 555
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง