เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
อ่าน: 81245 กำแพงเมืองและป้อมกรุงรัตนโกสินทร์ถูกรื้อลงลงแต่เมื่อใด
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 03 ก.พ. 14, 07:12

กุญแจไขปริศนา คือ มีภาพ 2 เซ็ต จากฝรั่ง 2 คน มุมเดียวกัน เหมือนกันแทบทุกประการ
เว้นแต่ว่าระยะถ่ายห่างกันเป็นปีๆ อาคารถาวรในภาพไม่เหมือนกัน ต้องสังเกตจึงจะทราบ
ทำให้คนอาจทึกทักภาพโดย Mr. ก เป็นภาพโดย Mr. ข


ฝรั่ง 2 คน แต่ละคนถ่ายเซ็ตใหญ่ มาเป็นคณะใหญ่ หาใช่ไก่กา

ใช่แล้วครับ สมัยสมบูรณายาสิทธิราชนั้น การเข้า-ออก ของกรุงสยาม ต้องรายงานตามสายงาน ล่วงรู้ถึงพระเนตรพระกรรณทุกเรื่อง

ยิ่งเป็นเรื่องเทคโนโลยีแบบใหม่เช่นนี้ ทั้ง  Mr. ก และ Mr. ข ย่อมต้องได้รับพระราชทานอนุญาตให้เข้ามาและทำงานบางประการได้โดยสะดวก
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 05 ก.พ. 14, 18:14

ภาพนี้ไม่เห็นประตูพฤฒิบาศ ซึ่งตามประวัติเป็นประตูหนึ่งที่พังลงมาเอง

หรือว่าหลังคาสโลปที่โดนป้อมมหากาฬบังเป็นประตูเมือง?

แต่กำแพงเมืองยังมีอยู่

และถ้ายังไม่มีรถรางวิ่งตามที่เห็น แสดงว่า  ถ่ายก่อน พศ 2442


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 05 ก.พ. 14, 18:30

ประตูที่พังลงมาเองคือประตูที่สะพานหันครับ ในสมัยรัชกาลที่ ๖
ประตูพฤฒิบาทและกำแพงพระนครบางส่วนรื้อลงเมื่อมีการก่อสร้างถนนราชดำเนิน และสะพานข้ามคลอง ในสมัยรัชกาลที่ ๕

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 05 ก.พ. 14, 18:37

จำคลองในภาพที่ 91 ไม่ได้แล้วค่ะ   

ขอถามคุณ visitna  คุณลุงไก่หรือคุณหนุ่มสยามก็ได้   แล้วแต่ใครจะเข้ามาอ่านก่อน
ว่าภาพนี้คือที่ไหนคะ  คลองทางซ้ายและคลองทางขวาคือคลองอะไร
อยากทราบชื่อสะพานข้ามคลองทางขวาด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 05 ก.พ. 14, 19:45

ลุงไก่ครับผมอ่านมาจากหนังสือคุณเทพชู(?)

ว่าสะพานพฤฒิบาศพังลงมาเหมือนกัน

เช่นเดียวกับประตูสามยอด ก็พังเช่นกันเลยรื้อทิ้ง

ประตูทั้งสามที่มีประวัติ พังเพราะสภาพเก่า


--------------------------------------------------

ชื่อคลองตามแผนที่ครับ อาจารย์เทาชมพู



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 05 ก.พ. 14, 19:50

ลุงไก่ครับผมอ่านมาจากหนังคุณเทพชู(?)

ว่าสะพานพฤฒิบาศพังลงมาเหมือนกัน

เช่นเดียวกับประตูสามยอด ก็พังเช่นกันเลยรื้อทิ้ง

ประตูทั้งสามที่มีประวัติ พังเพราะสภาพเก่า


--------------------------------------------------

ชื่อคลองตามแผนที่ครับ อาจารย์เทาชมพู


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 05 ก.พ. 14, 20:04

คลองหลอด ? คลองบางลำพู?
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 05 ก.พ. 14, 21:38

เรื่องชื่อคลองต้องถามคุณหนุ่ม

คนไทยเรียกชื่อคลองหลอดผิด

คลองหลอดที่คน กทม เรียกแท้จริงคือคลองคูเมืองเดิมที่ขุดในสมัยพระเจ้าตาก
คลองคูเมืองเดิมด้านเหนือเคยมีโรงไหมตั้งอยู่ เลยเรียกอีกชื่อว่าคลองโรงไหม
คลองคูเมืองเดิมด้านใต้มีตลาดเลยเรียกอีกอย่างว่าคลองตลาด

เมื่อย้ายเมืองหลวงมาที่ฝั่งตะวันออกขนาดเมืองเล็ก   เพราะติดคลองคูเมืองเดิม
จึงขยายเขตเมืองใหม่ให้กว้างโดยขุดคูเมืองใหม่ เป็นคลองบางลำพูด้านเหนือและคลองโอ่งอ่างด้านใต้
โดยมีคลองมหานาค(ที่ขุดทีหลัง)เป็นตัวแบ่ง

ระหว่างคลองเขตเมืองทั้งสองมีการขุุดคลองเชื่อมเป็นเส้นตรง(หลอด) คือคลองหลอดสองเส้น
คือคลองหลอดวัดราชบพิธ กับ  คลองหลอดวัดเทพธิดาราม
สองคลองนี้คือคลองหลอดแท้จริง
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 05:44

ลุงไก่ครับผมอ่านมาจากหนังสือคุณเทพชู(?)

ว่าสะพานพฤฒิบาศพังลงมาเหมือนกัน

เช่นเดียวกับประตูสามยอด ก็พังเช่นกันเลยรื้อทิ้ง

ประตูทั้งสามที่มีประวัติ พังเพราะสภาพเก่า


สะพานพฤฒิบาทนี่ไม่มีครับ สำหรับประตูสามยอดเดิมเป็นประตูยอดเดียวเช่นกับประตูอื่น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีกิจการรถรางสายบางคอแหลมขึ้น จึงทรงให้ขยายประตูให้ใหญ่ กลายเป็นประตูสามยอด ในช่วงปลายรัชกาลทรงให้รื้อประตูสามยอดลงเสีย ด้วยเหตุผลว่าประชาชนนิยมสัญจรทางถนนมากขึ้น ประตูทำให้ลำบากแก่การสัญจร
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 07:12

ภาพนี้ไม่เห็นประตูพฤฒิบาศ ซึ่งตามประวัติเป็นประตูหนึ่งที่พังลงมาเอง

หรือว่าหลังคาสโลปที่โดนป้อมมหากาฬบังเป็นประตูเมือง?

แต่กำแพงเมืองยังมีอยู่

และถ้ายังไม่มีรถรางวิ่งตามที่เห็น แสดงว่า  ถ่ายก่อน พศ 2442

เมื่อประตูเมืองรื้อถอนออกไป แต่กำแพงเมืองยังคงอยู่ ดังนั้นจึงมีการสร้างหอรบเตี้ย ๆ ขึ้นไว้แทนที่ มีด้านซ้ายและขวาครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 08:03

เขียนประตูผิดเป็นสะพาน ตาไม่ค่อยดี

เอาข้อเขียนของคุณเทพชูมาให้ดู



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 06 ก.พ. 14, 08:30

รศ 107 หรือ พศ 2432 ปรับเปลี่ยนด้านบนเป็นประตูยอด

ประตูพฤฒิบาศ   ที่รูปทรงเป็นประตูยอดอิฐ ตามรูปต้องถ่าย หลัง พศ 2432



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 21 ก.พ. 14, 11:21

อ้างถึงพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องรื้อกำแพงเมืองหน้าวัดราชบูรณะมีใจความช่วง พ.ศ. ๒๔๓๙ ตอนหนึ่งว่า

"กำแพงพระนครโดยมีอยู่ในเวลานี้ ก็ไม่ต้องใช้การรักษาแลป้องกันอันใดได้นัก แม้มีอยู่ก็เหมือนกับไม่มีฉนั้น จึ่งเห็นว่า

บัดนี้กำแพงพระนครนั้น ควรรื้อให้ทำเลเหล่านั้นเป็นที่กว้างขวางขี้น"

ในพระราชหัตถเลขานี้ทรงเห็นประโยชน์ในการจัดการทำถนนให้กว้างขวางขึ้นเพื่อประโยชน์ในการให้ราษฎรได้มีถนนกว้างขวางกันมากขึ้น ใช้รถม้าวิ่งกันได้สบาย ๆ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 26 มี.ค. 14, 22:02

ภาพของ J Thomson ชัดจริงๆ น่าจะมาจากใช้เน็กกาทีฟกระจกแผ่นใหญ่

ปี คศ1866  สังเกตุภูเขาทองที่อยู่ข้างหลังด้วย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 27 มี.ค. 14, 12:09

ภาพนี้  เป็นส่วนหนึ่งของภาพขนาดยาว  ดิฉันเคยเห็นอยู่ในพิพิธภัณฑ์ภาพมุมกว้างของคุณ pipat  เป็นภาพที่คุณพิพัฒน์ต่อขึ้นจากหลายภาพด้วยกัน


ใน ภาพมุมกว้างฯ อาจารย์พิพัฒน์ได้เสนอข้อค้นพบว่าภาพถ่ายเก่ารุ่นรัชกาลที่ ๔ จำนวนมาก ที่มักไปปรากฏตามหน้าหนังสือฝรั่งเกี่ยวกับกรุงสยาม หรือแม้กระทั่งมีฝรั่งสมอ้างว่าเป็นผลงานการบันทึกภาพของตนนั้น แท้จริงแล้วเป็นฝีมือของ ฟรันซิส จิตร (F. Chit) หรือหลวงอัคนีนฤมิตร ช่างภาพชาวสยาม นอกจากนั้นแล้ว อาจารย์ยังได้ค้นพบว่าภาพถ่ายจากมุมสูงฝีมือนายจิตรนั้น สามารถนำมาต่อกันได้เป็นภาพมุมกว้าง (Panorama) ที่นับว่ามีความก้าวหน้าและมีผลสำเร็จเทียบได้กับช่างภาพระดับโลกในยุคเดียวกัน...





เรื่องที่น่าจะมีคำคัดค้านน้อยกว่า ก็คือการที่อาจารย์พิพัฒน์ระบุไปว่าช่างภาพที่ถ่ายภาพบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ก็คือ ฟรันซิส จิตร นั่นเอง ดังนั้นนอกจากจะเป็นสมุดภาพของยุครัชกาลที่ ๔ แล้ว พร้อมกันนั้น หนังสือเล่มนี้ก็อาจมีชื่อรองว่า อัลบั้มรวมผลงานฟรันซิส จิตร ได้ด้วย


ข้อมูลจากเรื่อง สมุดภาพรัชกาลที่ ๔ วารสารเมืองโบราณ

ภาพจาก  พิพิธภัณฑ์ภาพมุมกว้าง กรุงเทพมหานคร

ฝีมือ F. Chit หรือ J. Thomson กันแน่หนอ  ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง