เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 81252 กำแพงเมืองและป้อมกรุงรัตนโกสินทร์ถูกรื้อลงลงแต่เมื่อใด
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 19:08

ภาพนี้ไม่ทราบว่าเป็นประตูเมืองบริเวณไหน
สังเกตุ หน้าตา การแต่งกายของชาวเมืองที่เป็นคนเมืองหลวง

ประตูพฤฒิบาทครับ ตรงที่เป็นสะพานผ่านฟ้าปัจจุบัน ตรงนี้มีบ่อนอยู่บ่อนหนึ่งด้วย ชื่อบ่อนต้นมะขาม

ภาพนี้ไม่ชัดเจน ถ้าชัดเจนกว่านี้จะเห็นป้อมมหากาฬและภูเขาทองอยู่ด้านหลังด้วย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 19:12

และถ้าดูจากแผนที่กรุงเทพ ๒๔๓๐-๒๔๓๙ พบว่า ป้อมปราการที่ถูกรื้อถอนเป็นอันดับแรกคือ "ป้อมจักรเพชร"

จากภาพในความเห็นที่ ๒๖ ประกอบภาพในความเห็นที่ ๑๕  "ป้อมผีเสื้อ" บริเวณตลาดปากคลองตลาดปัจจุบันน่าจะเป็นป้อมแรกที่ถูกรื้อ




แสดงว่ามีการ code แผนที่ป้อมที่ผิด ที่ถูกต้องควรเป็นดังภาพนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 19:20

การรื้อกำแพงเมืองนั้น เป็นการรื้อแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้รื้อเสียทีเดียวในคราวเดียว ดังนั้นจึงต่างกรรมต่างวาระกัน หลายช่วง หลายพ.ศ.

เช่นในสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ ถัดจากป้อมพระสุเมรุลงมา เป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการหนึ่ง คือ ที่ว่าการตำรวจภูธร ก็รื้อกำแพงพระนครออกเพื่อเปิดเป็นพื้นที่โล่ง (แนวเส้นสีแดง)

กรมตำรวจภูธร ได้จัดตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีหน้าที่ทำการเป็นพลตระเวณในหัวเมือง ดังมีแจ้งอยุ่ในท้องตราพระราชสีห์ใหญ่ ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) แต่อาคารที่ทำการกรมตำรวจภูธร จะก่อสร้างขึ้นใหม่หรือจะใช้วังของเจ้านายพระองค์ใดหรือจะใช้บ้านของข้าราชการผู้ใดเป็นที่ทำการยังค้นไม่พบ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 20:06

แสดงว่ามีการ code แผนที่ป้อมที่ผิด ที่ถูกต้องควรเป็นดังภาพนี้
[/quote]

คุณณล ตรวจสอบในแผนที่อีกที ถนนในแผนที่ที่บอกว่าเป็นถนนตรีเพชรน่าจะเป็นถนนบ้านหม้อหรือถนนเฟื่องนครเดิม ไม่น่าจะใช่ถนนตรีเพชรเมื่อเทียบตำแหน่งถนนกับโบสถ์วัดราชบูรณะ

จากแผนที่ภาพแสดงสะพานเจริญรัตน์ ๓๑ ปลายถนนจักรเพชรข้ามคลองคูเมืองแล้ว สะพานเจริญรัช ๓๑ สร้างขึ้นเมือต้นรัชกาลที่ ๖ ในปี ๒๔๕๓
หมายความว่าแนวกำแพงพระนครแถบนี้และป้อมผีเสื้อน่าจะรื้อถอนในภายหลังปี ๒๔๕๓ แต่คงต้องตรวจสอบกับแผนที่บริเวณออฟฟิตไปรสนี ปากคลองโอ่งอ่าง และแผนที่บริเวณรอบๆ โรงเรียนสวนกุหลาบก่อน

ประวัติถนนจักรเพชร จากวิกิพีเดีย
ถนนจักรเพชรสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2441 โปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนนมีทางเดินสองข้างจากป้อมจักรเพชร หน้าวัดราชบุรณราชวรวิหารไปถึงปากคลองตลาด ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนต่ออีกช่วงหนึ่ง จากถนนเยาวราชมาตามแนวถนนกับกำแพงพระนครจนถึงป้อมจักรเพชร แล้วพระราชทานชื่อว่า "ถนนจักรเพชร" ตามชื่อป้อมจักรเพชรที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 10 ม.ค. 14, 07:29

ก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕ กำแพงเมืองตรงป้อมจักรเพชร หน้าวัดราชบูรณะยังเหลืออยู่หย่อมเดียว ในภาพเก่านี้เป็นการรื้อเวนคืนอาคารเพื่อจะสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เห็นแนวกำแพงเมืองได้ชัดเจน


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 ม.ค. 14, 15:32

กำแพงเมือง   ที่อยู่ตรงข้ามการอาคารไฟฟ้าสยาม  หน้าวัดเลียบ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 ม.ค. 14, 15:33

ท่าราชวรดิษฐ์



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 10 ม.ค. 14, 15:50

ป้อมพรหมอำนวยศิลป์ อยู่ริมน้ำเหนือท่าราชวรดิษฐ์ - ป้อมอินทรอำนวยศร อยู่ริมน้ำใต้ท่าราชวรดิษฐ์ เป็นป้อมที่สร้างขึ้นที่ท่าราชวรดิษฐ์สำหรับตั้งปืนคุ้มกันทางเรือ

เวลาถึงคราวมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะต้องมาไหว้เทวรูปที่หอรบนี้
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 10 ม.ค. 14, 22:23

ลุงไก่ เห็นแต่ใบมะขาม  บ่อนคงจะหลบอยู่แถวนี้



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 11 ม.ค. 14, 07:42

ลุงไก่ เห็นแต่ใบมะขาม  บ่อนคงจะหลบอยู่แถวนี้



ภาพนี้ให้หลักฐานชัดเจนว่ากำแพงพระนครช่วงที่เป็นสะพานผ่านฟ้าลีลาศได้ถูกรื้อลงแล้ว สันนิษฐานเอาเองว่าคงรื้อลงในตอนที่มีการก่อสร้างสะพานเหล็กโค้งข้ามคลอง

การตัดทางก่อสร้างถนนพระสุเมรุมีมาก่อนการก่อสร้างถนนราชดำเนิน
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 11 ม.ค. 14, 09:51

ภาพเต็มๆต้องอันนี้



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 11 ม.ค. 14, 16:48

ต่อจากท่าราชวรดิษฐ์ เป็นบริเวณริมนํ้าวัดโพ

(เดิมวัดโพอยู่ริมนํ้า    หน้าวัดหันออกแม่นํ้า) ที่กลายเป็นท่าเตียน

ภาพนี้ปี พศ 2438   กำแพง ประตูเมือง ป้อม ริมนํ้ายังมีอยู่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 14 ม.ค. 14, 13:03

ชื่อป้อมรอบพระบรมมหาราชวังและรอบพระนคร

พระเจ้าราชวงษเธอ กรมหมื่นภูวไนยนฤเบนทราธิบาลได้เรียบเรียงชื่อป้อมรอบพระบรมมหาราชวังแลรอบพระนครไวัเพื่อราชการ
เมื่อกราบบังคมทูลพระกรุณาจะได้เรียกให้ถูกต้องตามนี้

ป้อมรอบพระบรมมหาราชวัง ๑๖ ป้อม ดังนี้
ป้อมอินทรังสรค์ มุมประตูท่าพระ ทิศตวันตกเฉียงเหนือ
ป้อมขันเขื่อนเพชร ริมประตูวิเสศไชยศรี ทิศเหนือ
ป้อมเผดจดัษกร มุมโรงสัก ทิศตวันตกเฉียงเหนือ
ป้อมสัญจรใจวิง ใต้พระที่นั่งไชยชุมพล ทิศตวันออก
ป้อมสิงขรขันธ์ ใต้พระที่นั่งไชยชุมพล ทิศตวันออก
ป้อมขยันยิ่งยุทธ เหนือพระที่นั่งสุทไธสวรรย ทิศตวันออก
ป้อมฤทธิรุธโรมรัน ใต้พระที่นั่งสุทไธสวรรย ทิศตวันออก
ป้อมอนันตคีรี ตรงพระตำหนักสวนกุหลาบ ทิศตวันออก
ป้อมมณีปราการ มุมวัดพระเชตุพน ตวันออกเฉียงใต้
ป้อมพิศาลเสมาตรงพระวิหารวัดป่าเลไลย วัดพระเชตุพน ทิศใต้
ป้อมภูผาสุทัศน ตรงโบสถพระพุทธไสยาศน วัดพระเชตุพน ทิศใต้
ป้อมสัตตบรรพต มุมประตูพิทักษบวร ทิศตวันตกเฉียงใต้
ป้อมโสฬศสีลา ใต้ฉนวนออกราชวรดิฐ ทิศตวันตก
ป้อมมหาสัตตะโลหะ เหนือฉนวนท่าราชวรดิฐ ทิศตวันตก
ป้อมพรหมประสาทสิลป เหนือพระที่นั่งชลังคณพิมาน
ป้อมอินทประสาทศร ใต้พระที่นั่งชลังคณพิมาน ทิศตวันตกทั้งสองป้อม
(อ้างถึง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒ หน้า ๓๐๖ จ.ศ. ๑๒๓๗)

ป้อมรอบพระนคร รอบพระนครรวม ๑๓ ป้อม ดังนี้
ป้อมมหายักษ ตรงการเปรียญวัดพระเชตุพน ทิศตวันตก
ป้อมมหาฤก น่าวังกรมหมื่นภูมินทรภักดี ทิศใต้
ป้อมผีเสื้อ น่าวังกรมพระเทเวศวัชรินทร ทิศใต้
ป้อมจักรเพชร เชิงตพานช้างวัดราชบูรณ ทิศตวันตกเฉียงใต้
ป้อมมหาไชย น่าวังใหม่สมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ ทิศตวันออก
ป้อมใหม่ใต้บ้านพระยาอัพพันตริกามาตย (ดิษ) ทิศตวันออก
ป้อมมหากาล น่าบ้านหม่อมเจ้าหญิงพิกุล ในกรรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทิศตวันออก
ป้อมมหาปราบ ออกบ้านเสมียนตรากรมวัง ทิศตวันออก
ป้อมยุคุนธร มุมวัดบวรนิเวศ ทิศตวันออกเฉียงเหนือ
ป้อมพระสุเมรุ ปากคลองบางลำภู ทิศตวันตกเฉียงเหนือ
ป้อมอีสินทร ออกบ้านพระยาสุรเสนา (บุญคง) ทิศตวันตก
ป้อมพระอาทิตย มุมพระราชวังบวรสถานมงคล ทิศตวันตก
ป้อมพระจันทร มุมวัดมหาธาตุ ทิศตวันตก

(อ้างถึง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒ หน้า ๓๐๖ จ.ศ. ๑๒๓๗)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 14 ม.ค. 14, 20:48

ภาพถ่ายมุมสูง


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 16 ม.ค. 14, 14:52

ต่อจากท่าราชวรดิษฐ์ เป็นบริเวณริมนํ้าวัดโพ

(เดิมวัดโพอยู่ริมนํ้า    หน้าวัดหันออกแม่นํ้า) ที่กลายเป็นท่าเตียน

ภาพนี้ปี พศ 2438   กำแพง ประตูเมือง ป้อม ริมนํ้ายังมีอยู่



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.105 วินาที กับ 20 คำสั่ง