เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 81257 กำแพงเมืองและป้อมกรุงรัตนโกสินทร์ถูกรื้อลงลงแต่เมื่อใด
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 10:36

ทำกราฟฟิค บนแผนที่ ๒๔๔๖ ให้เห็นร่องรอยว่า ในช่วงเวลานี้ ป้อมหลัก และป้อมรองรอบพระนครถูกรื้อทิ้งไปก็มากแล้ว คงเหลือไว้อยู่ ๙ แห่ง (จุดสีฟ้า)

ส่วนกำแพงพระนครก็เหลืออยู่มาก สำหรับกำแพงพระนครที่หายไปคือกลุ่มด้านใต้ของกรุงเทพฯ ช่วงตั้งแต่ปากคลองตลาด - โรงเรียนราชินี หายไปทั้งแถบ


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 11:44

ภาพนี้ถ่ายจากจุดเดียวกับ คห. 10 (จากสะพานข้ามคลองหลอดวัดสุทัศน์)
แต่หันกลับทิศกัน โดยภาพนี้มองไปทางทิศเหนือ ไปทางป้อมมหากาฬ
ยังเห็นแนวกำแพงเมืองมีอยู่ทั้งแนว



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 12:27

เดินขึ้นไปข้างหน้าอีกหน่อย



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 13:18

มีคนเอาวัวขึ้นไปเลี้ยงบนกำแพงเมืองด้วย
บางทีวัวเหยียบพลาดตกลงบนหลังคาชาวบ้านที่สร้างชิดกำแพง
เรื่องนี้จำไม่ได้ว่าใครเล่า - อาจจะเป็นขุนวิจิตรมาตรา หรือ พระยาอนุมานฯ

ที่ลุงไก่ว่าอิฐกรุงศรีอยุธยากับอิฐกรุงเทพแยกกันได้ไหม
น่าจะแยกกันได้
เพราะอิฐกรุงศรีอยุธยา  เขาว่าใหญ่มาก
ฝรั่งว่าใหญ่กว่าอิฐในยุโรป(กว้างยาวมากกว่า แต่ อาจจะหนาน้อยกว่า)

ภาพอิฐที่ป้อมเพชร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 13:22

มีคนเอาวัวขึ้นไปเลี้ยงบนกำแพงเมืองด้วย
บางทีวัวเหยียบพลาดตกลงบนหลังคาชาวบ้านที่สร้างชิดกำแพง
เรื่องนี้จำไม่ได้ว่าใครเล่า - อาจจะเป็นขุนวิจิตรมาตรา หรือ พระยาอนุมานฯ

จากหนังสือ "ประวัติเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์" โดย ม.ล.ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ค่ะ
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 13:27

ในภาพของคุณเพ็ญชมพู  จะมีคนหรือประชากรเยอะขึ้น กว่าภาพแรก

ภาพกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช และ อิฐ ลักษณะการสอปูนเหมือนกับของอยุธยา
เพราะสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
กำแพงเมืองนครฯสูงใหญ่กว่ากำแพงเมืองกรุงเทพ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 15:23

ตึกห้าง บี. กริม แอนโก ที่สร้างขึ้นตรงพื้นที่ที่เคยเป็นป้อมมหาไชย หน้าวังบูรพา
ถ่ายภาพจากบนสะพานภาณุพันธ์ซึ่งเป็นต้นสายของถนนเยาวราช


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 15:31

คำบรรยายใต้ภาพว่า ถนนมหาไชย  วังบูรพาภิรมย์  และป้อมมหาไชย ก่อนจะถูกรื้อ  ตามรับสั่งของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ฯเมื่อ 25 ธันวาคม  พ.ศ. 2468


ส่วนประวัติความเป็นมาของตึก "ห้างบีกริมแอนด์โก เชิงอยู่สะพานภาณุพันธ์ มีเรื่องเล่าสืบเนื่องมาว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "วังบูรพาภิรมย์" พระราชทานแก่ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช" (สมเด็จฯ วังบูรพา) ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ แล้ว ในเวลาต่อมา หลวงอมรสมบัติ (อมรเชษฐ์ จุนทะเกาศลย์) สมุหบัญชีของสมเด็จฯ วังบูรพา ก็ได้ถวายคำแนะให้ให้สร้างตึกแถวที่หน้าวังบูรพาฯ เพื่อให้คนเช่าทำการค้า แต่ในตอนแรกการสร้างตึกแถวได้เริ่มจากริมถนนเจริญกรุงตรงประตูสามยอดบริเวณเชิงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) มาสิ้นสุดอยู่เพียงแค่ข้างป้อมมหาไชยเท่านั้น

จนกระทั่งในต้นรัชกาลที่ ๗ หลวงอมรสมบัติจึงได้ส่งคนไปแนะนำให้นายห้างเอ็ลโบเฮนสกี้ ทำหนังสือทูลถวาย ขอให้สมเด็จฯ วังบูรพาสร้างตึกในที่ว่างข้างป้อมมหาไชยให้ห้างบีกริมแอนด์โกเช่า สมเด็จฯ วังบูรพาจึงทรงขอพระบรมราชานุญาติรื้อป้อมมหาไชยที่หน้าวังบูรพาภิรมย์ แล้วสร้างตึกแถวขนาดใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้ห้างบีกริมแอนด์โกและผู้อื่น ๆ เข้ามาเช่าทำการค้า โดยได้เปิดประมูลสร้างอาคารในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ และเมื่อทำการก่อสร้างอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการทำพิธีเปิดห้างบีกริมแอนด์โกเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๗๑  แต่เดิมในปี ๒๔๒๑ ห้างบีกริมแอนด์โก ตั้งที่ทำการแห่งแรกอยู่ที่ข้างโรงแรมโอเรียลเต็ล แล้วจึงย้ายไปอยู่ที่ปากคลองตลาดในปี ๒๔๒๔   ครั้นถึงต้นรัชกาลที่ ๖ จึงย้ายไปอยู่ที่ตึกแถวของวังบูรพาภิรมย์ที่ข้างประตูสามยอด ถนนจริญกรุง จากนั้นจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกใหม่ข้างสะพานภาณุพันธ์ดังกล่าว

จาก lucksiam.com

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 15:52

จากภาพในความเห็นที่ ๒๑ ถ้ามองอย่างผิวเผินจะเข้าใจว่าตึกห้าง บี. กริม แอนโก เป็นตึกเดี่ยวๆ แต่เมื่อมาพิจารณาภาพถ่ายทางอากาศของวิลเลียม ฮันส์ ที่ถ่ายภาพไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด) จะเห็นว่าตึกห้างบี. กริม แอนโก เป็นส่วนต้นสุดของตึกแถวที่ก่อสร้างขึ้น

กำแพงพระนครส่วนที่ติดกับป้อมมหาไชยตรงเชิงสะพานภาณุพันธ์คงจะถูกรื้อลงก่อนหน้านี้ คราวการก่อสร้างถนนเยาวราช เพราะมีการก่อสร้างสะพานเหล็กข้ามคลองโอ่งอ่างขึ้นด้วย แต่คงจะก่อนการรื้อประตูสะพานหัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 10:11

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๔ ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯให้ทำการรื้อกำแพงเมืองตั้งแต่ศาลต่างประเทศหน้าวัดพระเชตุพนฯ ไปจรดประตูยอดท่าเตียนเพื่อสร้างตลาดท่าเตียน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 14:44

การรื้อกำแพงเมืองนั้น เป็นการรื้อแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้รื้อเสียทีเดียวในคราวเดียว ดังนั้นจึงต่างกรรมต่างวาระกัน หลายช่วง หลายพ.ศ.

เช่นในสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ ถัดจากป้อมพระสุเมรุลงมา เป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการหนึ่ง คือ ที่ว่าการตำรวจภูธร ก็รื้อกำแพงพระนครออกเพื่อเปิดเป็นพื้นที่โล่ง (แนวเส้นสีแดง)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 14:53

และถ้าดูจากแผนที่กรุงเทพ ๒๔๓๐-๒๔๓๙ พบว่า ป้อมปราการที่ถูกรื้อถอนเป็นอันดับแรกคือ "ป้อมจักรเพชร"


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 18:35

นอกจากกำแพงแพงที่ข้างป้อมมหากาฬ
ยังมีกำแพงเมืองและประตูเมือง(เพียงประตูเดียว ที่เหลือ) คงมีอยู่ที่ข้างวัดบวรนิเวศน์
ยาว 40 เมตร

* wall.jpg (0 KB - ดาวน์โหลด 334 ครั้ง.)

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 18:37

และถ้าดูจากแผนที่กรุงเทพ ๒๔๓๐-๒๔๓๙ พบว่า ป้อมปราการที่ถูกรื้อถอนเป็นอันดับแรกคือ "ป้อมจักรเพชร"

จากภาพในความเห็นที่ ๒๖ ประกอบภาพในความเห็นที่ ๑๕  "ป้อมผีเสื้อ" บริเวณตลาดปากคลองตลาดปัจจุบันน่าจะเป็นป้อมแรกที่ถูกรื้อ
จากภาพที่อ้างถึง แสดงป้อมมหาปราบอยู่หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร และป้อมยุคลธรอยู่ตรงสะพานวันชาติ
จากบทความของครูใหญ่ นภายน เรื่อง "ภาพสะท้อนชีวิตไทยในอดีต ตอน สองฟากทางรถไฟแล่น "รถรางสายรอบเมือง" " ตีพิมพ์ในหนังสือวารสารไทย ฉบับเดือนตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๕ อ้างถึงคำพูดของคุณอมร แม้นเมืองมาน"  ว่า ป้อมที่อยู่หน้าวัดบวรนิเวศคือป้อมยุคลธร และป้อมที่อยู่ระหว่างแยกสะพานวันชาติกับสะพานผ่านฟ้าคือป้อมมหาปราบ

ตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ (ขำ บุนนาค) กล่าวถึงการสร้างถนนเฟื่องนครว่า "อีกสายหนึ่งแก้ถนนเก่าบ้างตัดใหม่บ้าง ตั้งแต่กำแพงด้านทักษิณหว่างวังกรมหลวงเทเวศวัชรินทร์ ตลอดมาตามทางบ้านหม้อจนถึงกำแพงพระนครด้านอุดรข้างวัดบวรนิเวศ ยาวห้าสิบเส้นกว้างสิบสอก ... ประทานชื่อถนนเฟื่องนคร" (พ.ศ. ๒๔๐๖)

กำแพงพระนครตามภาพนี้บอกว่าอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เรียนถามว่าอยู่ตรงส่วนไหน?


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 19:03

ภาพนี้ไม่ทราบว่าเป็นประตูเมืองบริเวณไหน
สังเกตุ หน้าตา การแต่งกายของชาวเมืองที่เป็นคนเมืองหลวง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง