เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 81536 กำแพงเมืองและป้อมกรุงรัตนโกสินทร์ถูกรื้อลงลงแต่เมื่อใด
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 07 ม.ค. 14, 10:14

หยิบหนังสือ "บางกอกกับหัวเมือง" ของคุณเอนก นาวิกมูล ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาอ่านถึงเรื่องการรื้อกำแพงพระนครลง ท่านบ่นว่าหาข้อมูลยาก ไม่มีการบันทึกหลักฐานเอาไว้บ้างเลย

เมื่อปี ๒๕๓๘ คุณเอนกได้สัมภาษณ์บุคคล ๓ ท่านที่ได้ทันรู้เห็นการรื้อกำแพงพระนครบางส่วนลงคือ คุณทองใบ วรรณประสิทธิ์ คุณอมร แม้นเมืองแมน และคุณใหญ่ นภายน เพื่อเก็บข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน

คุณอมร แม้นเมืองแมน (เกิด พ.ศ. ๒๔๖๐) เป็นชาวบางลำพูแต่กำเนิด เล่าว่าท่านได้ทันเห็นการรื้อป้อมหน้าวังบูรพาคือป้อมมหาไชย เมื่ออายุประมาณ ๗-๘ ขวบ เมื่อรื้อลงแล้วได้มีการสร้างตึกห้าง บี. กริม ขึ้น และเปิดห้างเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ แสดงว่าการรื้อป้อมลงก็คงราวๆ ปี ๒๔๗๐




บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 11:52

ปัจจุบัน กำแพงเมือง  เหลืออยู่แค่นี้เอง
ฝรั่งคนหนึ่งอุตส่าห์ไปค้นหาถ่ายรูปไว้
เขียนเรื่องราวบันทึกไว้ ตามเวป

http://www.seetheworldinmyeyes.com/travel-diary/southeast-asia/thailand/mahakan-fort-and-bangkok-city-wall/

หลายประโยคที่แกเขียนไว้เช่น
- the last remainder of the old city wall of Bangkok
-Mahakan Fort used to be the most eastern fort and luckily it was entirely preserved.



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 13:17

ถ้าดูจากแผนที่เก่าสมัยกลางรัชกาลที่ ๕ จะเห็นว่ากระแสการสร้างถนนเพื่อสาธารณะประโยชน์นั้น โดยมีการรื้อป้อม และกำแพงพระนครลงย่อมมีประโยชน์ในการสร้างบ้านเมืองให้เจริญ

และแผนที่สมัยปลายรัชกาลที่ ๖ - ๗ ก็ยังคงเห็นกำแพงพระนครอยู่อีกมากไม่ได้รื้อลง
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 13:58

คุณเทพชู ทับทอง เคยลงภาพการรื้อประตูและกำแพงเมืองที่สะพานหัน
เขียนเรื่องประกอบ ว่า(เท่าที่ผมจำได้)
เมื่อประตูสะพานหันพังในสมัย ร 6 มีการรื้อประตูนี้และกำแพงเมืองตอนนี้ลง
เพราะไปทับทางรถราง รถวิ่งไม่ได้   ทำให้ต้องรื้ออย่างเร่งด่วน

 ท่านที่สนใจไปหาดูได้ในหนังสือภาพเก่ากรุงเทพ 100 ปี ราคาเล่มละ  หนึ่งร้อยบาท
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 14:04

นำภาพมาลงประกอบกระทู้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 14:26

เมื่อประตูสะพานหันพังในสมัย ร 6 มีการรื้อประตูนี้และกำแพงเมืองตอนนี้ลง
เพราะไปทับทางรถราง รถวิ่งไม่ได้   ทำให้ต้องรื้ออย่างเร่งด่วน

แหล่ประตูสะพานหันพัง  (แหล่เครื่องเล่นมหาชาติกัณฑ์มหาพน)

ที่ ๒๖  กันยายน                      เกิดโกลาหลอัศจรรย์
ที่ประตูยอดสะพานหัน                พังทะลายลั่นเสียงครืนคราน
ทับสายไฟฟ้าขาดเป็นแสง            ถูกนายแดงดับสังขาร
ประชาชนอลหม่าน                    พากันสงสารเวทนา
สองทุ่มหย่อน ๒๐ มินิต               เวลาเมื่ออิฐพังลงมา
เลื่องลือกันลั่นพารา                   ต่างคนต่างพากันมาดู
ทั้งไทยทั้งเจ๊กเด็กผู้ใหญ่              บ้างชวนกันไปเป็นหมู่หมู่
เสียงโจษกันลั่นสนั่นหู                ว่าจะไปดูประตูพัง
บ้างขึ้นรถไอบ้างไปรถลาก           รถม้าก็มากแล่นประดัง
เขย่ากระดิ่งเสียงกริ่งกรั่ง              ซ้อนซับคับคั่งทั้งรถยนต์
บ้างเดินกันกลุ้มทั้งหนุ่มแก่           เสียงพูดกันแซ่ตามถนน
บางคนก็ว่าตายห้าคน                 พูดกันจนล้นเลยอัตรา
สมคำโบราณท่านขานกล่าว          ว่าคนปากยาวกว่าปากกา
พูดเติมต่อแต้มแกมมุสา              บางคนก็ว่าตายมากมาย
ได้สืบถามผู้อยู่ใกล้ชิด                ว่านายแดงโปลิศคนเดียวตาย
เด็กหญิงสองคนที่ถูกสาย             ก็ไม่วางวายอย่าสงกา
ผู้ใหญ่ผู้หญิงถูกอีกคน                ก็ไม่วายชนม์แต่ช้ำกายา
เขาพาเอาไปรักษา                    ที่โรงไฟฟ้าทั้งสามคน
นี่เป็นความจริงไม่ผิดพลั้ง             ท่านผู้ฟังอย่าฉงน
ตกลงรวมสี่ตายหนึ่งคน               เจ็บอีกสามคนไม่ม้วยมรณ์.....

ยังไม่หมดเรื่องประตูพัง              ขอกล่าวแต่ครั้งเมื่อแรกสร้าง
ฉันจะแก้ไขให้กระจ่าง               ประตูนี้สร้างสามครั้งครา
ครั้งแรกรัชกาลที่หนึ่งชัด             ครั้งที่สองรัชกาลที่ห้า
ถึงครั้งที่สามตามอัตรา              รัชกาลที่ห้าอีกเหมือนกัน
ถึงรัชกาลที่หกนี้                     ประตูพังหมดที่สะพานหัน
จึงพังทลายกระจายลั่น              นี่กล่าวสั้นสั้นไม่พิสดาร
ถ้าท่านผู้ฟังยังไม่แจ้ง               ฉันจะแสดงให้วิตถาร
ท่านที่ไม่ชอบจะรำคาญ             ว่ากล่าวยาวยานจนเกินดี
เมื่อครั้งรัชกาลที่หนึ่งหนา           เสวยราชย์มาได้สองปี
จะสร้างประตูพระบุรี                 พร้อมกำแพงมีรอบนคร
แต่ประตูยอดครั้งก่อนใช้            ยอดทำด้วยไม้สูงสลอน
ทำช่องกุดบ้างเป็นตอนตอน         จนรอบนครแต่เดิมมา
ส่วนประตูที่สะพานหัน               ทำครั้งแรกนั้นช่องกุดหนา
ลงมือศกสองถึงศกห้า               จึงแล้วเสร็จว่าแต่ตั้งแผ่นดิน
ถึงรัชกาลที่สามชัด                  ประตูด้านวัดพรหมสุรินทร์
ยอดไม้ผุพังกระทั่งดิน              ทับคนตายดิ้นกลางมรรคา
จึงรื้อประตูยอดทั่วหมด             ทำซุ้มอิฐลดต่ำลงมา
เรียกว่าหอรบมีหลังคา              เผื่อข้าศึกมาได้ป้องกัน
แต่ช่องกุดที่มีประตู                 ยังคงเดิมอยู่ไม่แปรผัน
ถึงรัชกาลที่ห้านั้น                   ท่านทรงจัดสรรการแผ่นดิน
ศกเก้าสิบหกพระทูลเกล้า           โปรดให้เจ้าพระยามหินทร์
เปลี่ยนแปลงประตูพระบุริน         แต่ไม่ทั่วสิ้นทั้งบุรี
รื้อซุ้มหอรบที่มีอยู่                  ทำเป็นประตูยอดสูงดี
ประตูตัดสั้นนั้นก็มี                  ท่านทำท่วงทีดูโสภณ
แต่ประตูที่สะพานหัน               เมื่อคราวครั้งนั้นแปลงอีกหน
เป็นประตูตัดดาดฟ้าบน             ดูเหมือนจะทนทำแข็งแรง
ถึงศกร้อยปีมีสมโภช               โขนเขนเต้นโลดงิ้วตุ้งแชง
พระสงฆ์สวดมนต์รอบกำแพง      เลี้ยงข้าวเลี้ยงแกงสนุกครัน
ครั้นมาถึงศกร้อยเจ็ดปี             แปลงประตูที่สะพานหัน
เป็นประตูยอดตั้งแต่นั้น             มิได้แปรผันอีกเลยนา
ครั้นถึงศกร้อยสามสิบเอ็ด          ประตูเสด็จพังลงมา
เพราะเก่าชะแรแก่ชรา              ขอยุติกาจบกันที...นั้นแหล่


ฉบับเต็มติดตามได้ที่ ประตูแลป้อมในพระนครสมัยต้นรัชกาลที่ ๕

ให้ภาพประกอบประตูสะพานหัน ที่มีรถรางทั้ง ๒ สายวิ่งให้บริการ สายในคือวิ่งรอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนสายนอกวิ่งออกไปยังถนนเจริญกรุง ย่านบางรักถึงบางคอแหลม




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 14:33

คุณอมร แม้นเมืองมาน กล่าวว่า "เขาเอากำแพงออก ผมเสียดายจังเลย เสียดายของโบราณ เขารื้อป้อมที่เป็นเทศบาล (ป้อมมหาปราบ) ราว พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๗๔ ผมเสียดายเหลือเกิน"

"สะพานเฉลิมวันชาติสร้างเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๓ นี้เอง แต่ก่อนมีกำแพง เขารื้อกำแพงออกเพื่อสร้างสะพาน กำแพงนี่รื้อกันมาเรื่อยๆ คนงานใส่หมวกกุ้ยเล้ยทั้งนั้น รื้อแล้วเอาใส่รถม้าเอาไปทิ้งที่ไหนไม่รู้ รถโฆษณาหนังก็ใช้รถม้า ..."

บริเวณที่เคยเป็นป้อมมหาปราบ ที่คุณอมร แม้นเมืองมาน อ้างถึง ปัจจุบันเป็นอาคารของกลุ่มงานตกแต่ง สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ถนนพระสุเมรุ ระหว่างสี่แยกสะพานวันชาติกับผ่านฟ้า และประตูกำแพงพระนครหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร สภาพในอดีตกับสภาพในปัจจุบัน





บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 14:49

เมื่อ Steve Van Beek เข้ามาในเมืองไทยประมาณ ปี 1900
ได้ถ่ายภาพที่สวยงามไว้มากมาย หนึ่งในนั้นคือ

กำแพงเมืองและประตูสะพานหัน

แสดงว่าในตอนนั้น ราวปี พศ 2443 กำแพงเมืองยังคงเหลืออยู่มาก



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 14:59

กำแพงพระนครส่วนที่ยังคงเหลือบริเวณหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ถนนพระสุเมรุ
แสดงรูปตัดของกำแพง และการเรียงอิฐกำแพง ดูตามความเก่าของอิฐแล้ว พอจะสันนิษฐานได้ไหมว่าเป็นอิฐใหม่หรือเป็นอิฐเก่าที่รื้อมาจากกรุงศรีอยุธยา


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 15:08

อาคารตึกแถวชั้นเดียวริมถนนดินสอ เชิงสะพานวันชาติ น่าจะเป็นตึกแถวรุ่นแรกในบริเวณนี้ ที่พัฒนาการมาจากบ้านเรือนไม้



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 ม.ค. 14, 15:12

อีกภาพของ แวนบีค  
ถ้าเดินไปตามถนนมหาชัย
เมื่อลงจากสะพานข้ามคลองหลอดวัดสุทัศน์(วัดราชบพิตร)ทีต่อจากหน้าคุกลหุโทษ
มองไปทางป้อมมหาชัย  ยังคงเห็นกำแพงบางส่วน ป้อมมหาชัยยังเห็นราง ฯ ที่อยู่หน้ารถยนตร์

แยกที่มีป้อมคือแยกสามยอด ที่ถนนเจริญกรุงตัดผ่าน 
ตึกใหญ่ๆที่ตรงแยกสามยอด เคยเป็นห้างไทยนิยม ,การไฟฟ้าสยามที่ทำรถราง,(และอีกอย่างลืมไปแล้ว  เดี๋ยวนี้ขี้ลืม)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 09:20

ป้อมสันติไชยปราการอยู่ไหนคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 09:23

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 09:33

ป้อมสันติไชยปราการอยู่ไหนคะ

ไม่มีชื่อป้อมนี้ครับ มีแต่สวนสันติชัยปราการ และ พระที่นั่งสันติชัยปราการ เป็นสวนที่สร้างเฉลิมพระเกียรติในหลวงที่เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ (๗๒ พรรษา) ติดกับบริเวณป้อมพระสุเมรุ ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 09:55

ป้อมสันติไชยปราการอยู่ไหนคะ



ภาพข้างบนมีจุดผิดพลาดอยู่ที่หนึ่ง

"อ้างถึง
๘.ป้อมมหาปราบ  ออกบ้านเสมียนตรากรมวัง  ทิศตวันออก

๙.ป้อมยุคุนธร  มุมวัดบวรนิเวศ  ทิศตวันออกเฉียงเหนือ"



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง