เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9646 มองสังคมไทยผ่านการ์ตูนญี่ปุ่น
earth2020
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 28 พ.ค. 01, 15:05

ทุกวันนี้
เราคงยอมรับกันได้อย่างหนึ่งว่า คนไทยเราบริโภคการ์ตูนญี่ปุ่นกันมาก
มากเสียจนเด็กไทยหลายคนรู้เรื่องวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นมากกว่าไทยเสียอีก
เด็กไทยบางคนสามารถตอบได้ว่าสงครามเซกิงาฮาร่านั้นเกิดปีอะไร ใครรบกับใคร
แล้วใช้กลยุทธอะรได้อย่างละเอียด แต่เด็กคนนั้นกลับไม่สามารถตอบได้ว่า
กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยาคือใคร
การรับเอาวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านการ์ตูนและวีดีโอเกมส์ทำให้คนไทยหลายๆคน
รู้จักญี่ปุ่นในลักษณะผิดๆ
ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศในฝันและคนญี่ปุ่นกลายเป็นฮีโร่ของพวกเขา
นั่นส่งผลให้ธุรกิจการสอนภาษาญี่ปุ่นและการขายสินค้าที่นำเสนอภาพลักษณ์แบบญี่ปุ่นได้รับความนิยมอย่างถล่มทลายทีเดียว
/>


แต่ถ้าเราลองมองในมุมกลับดู
เราเคยตั้งคำถามกันหรือไม่ว่าญี่ปุ่นมองคนไทยและสังคมไทยอย่างไร
หากใครเป็นคอการ์ตูนละก็คงรู้ว่ามีการ์ตูนญี่ปุ่นหลายเรื่องทีเดียวที่เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองไทย
โดยเฉพาะเรื่องมวยไทยนั้นได้รับการเขียนถึงบ่อยมาก
ทั้งเรื่องที่มีมวยไทยเป็นตัวเอก(แต่พระเอกเป็นคนญี่ปุ่น)อย่างเรื่อง
"คิกบ็อกซิ่งมาโมรุ"(ผู้เขียนคนเดียวกับคินนิคุแมน)
หรือที่เอามวยไทยคนไทยเป็นตัวรองๆอย่างเรื่อง"ลุยแหลกเกินหลักสูตร"(ใครอ่าน
C-Kids น่าจะรู้จักนะ) ก็มีตัวละครชื่อว่า"ครุท"ซึ่งเป็นนักมวยไทยอยู่ด้วย
ในเรื่องก้าวแรกสู่สังเวียน มิยาตะ อิจิโร่เองก็เคยมาฝึกมวยที่พัทยา
นอกจากนี้เมืองไทยยังถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบดินแดนแห่งไสยศาสตร์(จากเรื่อง 3X3
Eyes) เมืองแห่งทะเลเมืองร้อน(จิบิมารุโกะจัง) และอื่นๆอีกมาก
ซึ่งล้วนแต่เป็นภาพลักษณ์ที่คนไทยไปอ่านแล้วรู้สึกแปลกๆเหมือนกัน
/>

/>
แต่มีการ์ตูนอยู่บางเรื่องที่มีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองไทยทั้งเรื่องเลย
ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ผมชอบมากคือเรื่อง "หมาจนตรอก" (Dog In The Pool) ผลงานของ
โมโตกะ มุราคามิ อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวงการตำรวยไทย การฉ้อราษฐ์ การทุจริต
ตัวเอกนั้นเป็นนายตำรวจกองปราบที่ชื่ออวสันต์ เป็นคนไทยแท้ จบธรรมศาสตร์
เคยใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่นและมีภรรยาเป็นคนญี่ปุ่น
ซึ่งเรื่องนี้ผมยอมรับเลยว่าผู้เขียนมีการบ้านมาดีมาก
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่(คุณจะได้เห็นธนรรมศาสตร์ ตึกโดม จตุจักร
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านลายเส้นการ์ตูนญี่ปุ่นได้ที่นี่)หรือเนื้อหาที่กัดสังคมไทยได้อย่างเจ็บปวดมากทีเดียว




เนื้อหาของ Dog In The Pool นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ตอนใหญ่ๆ
ด้วยกัน คือตอนแรกจะเกี่ยวกับคดีค้ายาเสพติด
ซึ่งมีการเล่นประเด็นเกี่ยวกับสามเหลี่ยมทองคำ การตกเขียว และโสเภณีเด็ก
ตอนที่สองนั้นจะเป็นคดีลักลอบค้าสัตว์ป่า โดยมีตัวประกอบเป็น NGO
และปัญหาข้าวไทยในญี่ปุ่น และคดีสุดท้ายนั้นพูดกันตรงๆก็คือคดีเพชรซาอุนี่เอง
แต่เปลี่ยนชื่อราชวงศ์เป็นเซอร์เรเบียแทนซาอุดิอาระเบีย นอกนั้นเหมือนกันหมด
(แม้กระทั่งคดีอุ้ม 2 แม่ลูกยังมีการกล่าวถึงเลย)



ซึ่งทั้ง
3 ตอนใหญ่ๆนี้กัดเมืองไทยได้เจ็บมากๆ มากขนาดไหนก็คิดดูละกัน
สองคดีแรกนี้ตัวร้ายกลายเป็นกองทัพบก
แถมตัวหัวหน้าใหญ่เป็นนายพลคู่แข่งทางการเมืองของนายกคนปัจจุบันอีก(เอิ้ก)
ตอนสุดท้ายนี่ไม่ใช่ใครที่ไหนตำรวจเล่นตำรวจซะเอง
แถมภาพสะท้อนของเมืองไทยยังถูกนำเสนอออกมาในลักษณะที่เราเองก็ปฏิเสธไม่ได้
คือตำรวจไทยต้องเบ่ง ส่งส่วยรับใต้โต๊ะ เล่นพรรคเล่นพวก มีบ้านเล็กบ้านน้อย
เที่ยวผู้หญิง(เอิ้ก) ซึ่งนี่ก็เป็นการสะท้อนให้เห็นได้อย่างหนึ่งว่า
บางทีคนญี่ปุ่นเขามองเมืองไทยได้เข้าใจและรู้จักเมืองไทยดีกว่าคนไทยบางคนเสียอีก



/>
ผมเชื่อเลยว่าคงมีคนไทยหลายคนอ่านการ์ตูนเรื่องนี้แล้วรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าเหมือนผม
เพราะเรื่องนี้กล้าสะท้อนอะไรหลายๆอย่างซึ่งบางทีคนไทยเองยังไม่อยากจะพูดหรือบางทีก็ไม่สามารถพูดได้
เพราะสิ่งที่น่ากลัวสำหรับสังคมไทยอย่างหนึ่งคือคนไทยเป็นคนที่พอใจที่จะเลือกเสพเอาวัฒนธรรมแค่เปลือกที่สวยงามของมันเท่านั้น
วรรณกรรมไทย เพลงไทย ละครไทย
หรือการ์ตูนไทยส่วนมากจึงถูกนำเสนอไปในลักษณะสุขนาฏกรรมเพ้อฝันที่เต้มไปด้วยความฟุ้งเฟ้อตามสลักษณะสังคมทุนนิยม
วรรณกรรมทีนำเสนอเกี่ยวกับความยากจน ชาวบ้านกินข้าวแกงธรรมดา กรรมกร
หรือสะท้อนปัญหาสังคมอื่นๆมักจะถูกมองข้ามไม่ก็ถูกฟ้องร้องเอาได้หากไปพาดพิงถึงผู้มีอิทธิพลในเรื่อง
แน่นอนว่ายังคงมีคนกล้าที่จะเขียนงานเพื่อสังคมเช่นนี้ออกมาเรื่อยๆแต่พวกเขาก็ย่อมที่จะต้องจำยอมรับต่อสภาพความล้มเหลวทางผลกำไร
(เว้นแต่ว่าหนังสือเล่มนั้นจะมีซีไร์ทห้อยท้าย) ในกรณีของ Dog In The Pool
นั้นผมเคยคุยกับเพื่อนผมคนหนึ่งซึ่งเป็นนักเขียนการ์ตูนไทย
เขายอมรับว่าเขาไม่สามารถเขียนการ์ตูนอย่างการ์ตูนเรื่องนี้ได้
เพราะเขาคงต้องติดคุกหรือถูกจับด้วยข้อหาใดข้อหาหนึ่งแน่นอน
สังคมไทยยังคงไม่เปิดกว้างมากพอสำหรับการยอมรับ หนังสือการ์ตูนที่มีลักษณะ
Realistic เช่นเรื่องนี้ได้


/>
ผมชอบประโยคอยู่ประโยคหนึ่งในการ์ตูนเรื่องนี้ที่ผู้กองวสันต์พูดกับเพื่อนตำรวจของเขาว่า
"ในประเทศนี้ตำรวจที่ใจซื่อมือสะอาดก็เปรียบเสมือนสุนัขตัวน้อยๆ
ที่กำลังจะว่ายข้ามแม่น้ำที่กว้างใหญ่และไหลเชี่ยวอย่างนี้ไง"
(ในภาพเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา) "ซึ่งระหว่างทางอาจจะสำลักน้ำมากบ้างน้อยบ้าง
ไม่เป็นไร…" พร้อมตบท้ายด้วยคำพูดที่ว่า"ผมเองก็เป็นคนไทย" ซึ่งทั้ง 3
ประโยคนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมดของการ์ตูนเรื่องนี้ตรงๆได้เลยว่า
ผู้เขียนสร้างตัวละครตำรวจหมาๆอย่างวสันต์ขึ้นมาเพื่ออะไร
และพยายามจะบอกอะไรกับผู้อ่าน
ถ้าใครอ่านถึงตอนนร้แล้วสนใจที่จะหาอ่านละก็บอกได้เลยว่า"ยาก"ครับ
เพราะการ์ตูนเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ในเมืองไทยตั้งแต่ประมาณปี 39-40 และทุกวันนี้
ผมก็ไม่เคยเห็นผลงานของสำนักพิมพ์ ZP Comics ออกมาอีกเลย
ส่วนฉบับภาษาญี่ปุ่นนั้นผมเองก็กำลังตามหาอยู่
ซึ่งถ้าหากใครมีข้อมูลน่าสนใจของการ์ตูนเรื่องนี้ก็สามารถ Mail
มาคุยกันได้นะครับ



copy href='http://www.nevercities.com/japancomic.htm'
target='_blank'>http://www.nevercities.com/japancomic.htm
src='http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW612x000.jpg'>
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 12:29

ไม่เคยเห็นฉบับภาษาญี่ปุ่นเลย
พอจะทราบชื่อนักเขียนไหมครับ
บันทึกการเข้า
สวิริญช์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 พ.ค. 01, 13:02

ขอบคุณมากเลยค่ะ อ่านที่คุณเขียนแล้วหูตากว้างไกลขึ้นเยอะเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
วรวิชญ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 พ.ค. 01, 08:57

การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องหมาจนตรอกที่คุณเอิร์ธเล่าถึงผมไม่เคยดู แต่รู้สึกว่าคุณเอิร์ธจะชื่นชมอย่างมาก คงจะชอบใจที่คนต่างชาติเขียนการ์ตูนเล่าเรื่องเมืองไทยไว้ในครับ อันที่จริงแล้วเรื่องแบบนี้เราไม่ต้องดูการ์ตูนก็ได้ครับ มีนวนิยายไทยหลายเรื่องหลายเรื่องที่แต่งแบบนี้
ในสังคมญี่ปุ่นมีเรื่องที่เลวร้ายกว่าของเรามาก เช่นเรื่องของยากูซา หรือเรื่องที่ทหารญี่ปุ่นสังหารพลเรือนคนจีนในสงครามโลกครั้งที่สองหลายสิบล้านคน
อันที่จริงแล้วการ์ตูนไทยของเราไม่ใช่สุขนาฎกรรมเพ้อฝันตามความคิดของคุณเอิร์ธนะครับ คงจะต้องทำความเข้าใจหรือศึกษาเรื่องของการ์ตูนไทยให้มากกว่านี้ ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง ก่อนที่จะด่วนสรุปออกมา
จุดมุ่งหมายของคนเขียนการ์ตูนไทยหรือการ์ตูนทั่วโลกคือให้เด็กดูหรืออ่านครับ ๑.เพื่อให้เด็กรักการอ่านหนังสือ ๒.ปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม ๓.สร้างจินตนาการ ๔.เรียนรู้ศิลปะ ๕.อาจจะได้ความรู้บ้าง แต่ที่สำคัญคือได้รับความบันเทิง และไม่ควรยัดเยียดเรื่องราวอะไรลงไปในการ์ตูนอย่างเช่นเรื่องหมาจนตรอก
นิยายชุดบ้านเล็กของอิงกัล ไวล์เดอร์นี่ถือเป็นเรื่อเพ้อฝันไหมครับ
หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ดีก็มีมาก แนะนำให้อ่านเรื่อง ฮิโรชิมาเกน ในภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า Gen Barefoot
คงจะไม่ออกนอกเรื่องสักเท่าไรนะครับ
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 พ.ค. 01, 03:05

การ์ตูนเป็นมากกว่าสื่อความบันเทิงสำหรับเด็กครับ...
ในหลายๆ ประเทศ การ์ตูนเองถือว่าเป็นวรรณกรรม เป็นวัฒนธรรมการเล่าเรื่องอย่างหนึ่ง ไม่ต่างจากนวนิยาย สารคดี หรือเรื่องสั้น ฯลฯ
เพราะฉะนั้นในกรณีของ "หมาจนตรอก" ไม่ถือว่าเป็นการยัดเยียดหรอกครับ แต่คนไทยเองไม่ชินกับการ์ตูนลักษณะนี้มากกว่า
เพราะเมื่อได้ยินคำว่า "การ์ตูน" คนไทยส่วนใหญ่จะสรุปเอาเองว่าเป็นเรื่องของ/สำหรับเด็กทั้งนั้น...^_^
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 17 คำสั่ง