เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 90 เมื่อ 10 ม.ค. 14, 08:27
|
|
ในช่วงนั้น ชาวเมืองวอลนัท โกรฟกำลังตื่นเต้นกับเส้นทางใหม่ที่พาดผ่านจากตะวันออกไปถึงเขตรัฐดาโกต้าใต้ คือเส้นทางรถไฟที่ไปสุดทางที่เมืองเทรซี ห่างจากวอลนัท โกรฟไป 7 ไมล์ มีข่าวลือกันว่าทางรถไฟจะสร้างไปจนถึงสุดเขตดาโกต้าทางทิศตะวันตกโน้น ทางรถไฟนอกจากเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญแล้ว ยังเป็นแหล่งเศรษฐกิจด้วย เพราะบริษัทที่วางรางรถไฟจ้างคนงานให้ค่าแรงถึงวันละ 1 ดอลล่าร์ ซึ่งนับว่าสูงมาก นอกจากนี้รถไฟไปถึงไหน สินค้าดีๆจากตะวันออกก็ถูกส่งไปถึงนั่น ส่วนชาวไร่ชาวนาก็มีรถไฟช่วยขนส่งผลิตผลทางเกษตรไปทางเมืองฝั่งตะวันออกของประเทศ ทำให้ขายดีราคากว่าขายพ่อค้าคนกลางหรือเอาขึ้นเกวียนไปขายในเมืองใกล้ๆ
กลับมาที่ครอบครัวของลอร่า หลังจากชาร์ลส์ทำงานอยู่ในเมืองหลายปี รายได้ของผู้ชายคนเดียวไม่พอหาเลี้ยงหกปากในครอบครัว ถ้าหากว่าชาร์ลส์มีลูกชาย อาจจะช่วยเบาแรงพ่อลงไปได้มาก แต่เขาก็มีแต่ลูกสาวเล็กๆ นอกจากลอร่าคนเดียวที่โตพอจะหารายได้บ้างนิดหน่อย ฐานะในครอบครัวนับวันก็ยิ่งชักหน้าไม่ถึงหลัง เขาต้องเป็นหนี้เป็นสินอย่างเลี่ยงไม่ได้ วิญญาณของนักบุกเบิกเริ่มกลับมาสู่ตัวชาร์ลส์อีกครั้ง เขาอยากจะเดินทางไปทางตะวันตก หาที่ดินแห่งใหม่ในรัฐดาโกต้าใต้ ซึ่งที่นั่นเขาสามารถจับจองที่ดินได้ฟรีๆ ไม่ต้องเสียเงิน ก็จะได้เริ่มลงหลักปักฐานใหม่อีกครั้ง แต่เขาก็ยังคิดไม่ออกว่าจะหาทางไปได้อย่างไร ในเมื่อยังไม่มีเงินแม้แต่จะเดินทาง แต่โชคก็ให้คำตอบชาร์ลส์เมื่อลอร่าอายุย่างเข้า 13 ปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 91 เมื่อ 10 ม.ค. 14, 08:34
|
|
วันหนึ่งผู้หญิงแปลกหน้าขับรถม้ามาถึงบ้าน ลอร่าจำเธอไม่ได้ แต่พ่อแม่จำเธอได้ทันที เธอคือดอเซียน้องสาวของพ่อที่เคยอยู่กับปู่ย่าในป่าใหญ่รัฐวิสคอนซิน ตอนนี้เธอแต่งงานแล้วกับช่างรับเหมาสร้างทางรถไฟในรัฐดาโกต้าใต้ ที่นั่นมีร้านค้าสำหรับขายของให้คนงานรถไฟ สามีเธอต้องการผู้จัดการร้านไปทำบัญชีและตรวจสอบเวลาทำงานของคนงาน เธอก็เลยมาชวนพี่ชายไปรับงานนี้ ชาร์ลส์มองเห็นโอกาสดีที่จะได้งานประจำมีรายได้สม่ำเสมอ พร้อมกับมองหาที่ดินเปล่าๆที่จะจับจองได้ฟรีๆ เพื่อจะได้ไปสร้างบ้านนาที่นั่น แคโรไลน์ไม่ค่อยจะเห็นด้วย เธอไม่อยากจะพาลูกๆโดยเฉพาะแมรี่ไปอยู่ในดินแดนเปล่าเปลี่ยวห่างไกลลิบลับจากความเจริญ แต่ชาร์ลส์สัญญาว่านี่จะเป็นการโยกย้ายครั้งสุดท้าย แคโรไลน์ก็ยินยอม ชาร์ลส์เดินทางล่วงหน้าไปก่อน แคโรไลน์กับลูกๆตามไปทีหลัง เมื่อพ่อเดินทางออกจากบ้านไป ลอร่าซึ่งกลายเป็นลูกคนโตหัวเรี่ยวหัวแรงของบ้าน ก็ช่วยแม่ดูแลบ้านและน้องๆ ตลอดจนเก็บของเตรียมอพยพจากเมืองนี้ไป เธอไม่มีโอกาสกลับมาวอลนัท โกรฟอีกเลย ลอร่าเล่าเหตุการณ์เมื่อเธออพยพโยกย้ายไปรัฐดาโกต้าใต้ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเขตชายแดนของประเทศ ไว้ในนิยายบ้านเล็กตอน By the Shore of Silver Lake หรือ ริมทะเลสาบสีเงิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 92 เมื่อ 11 ม.ค. 14, 09:57
|
|
นิสัยนักบุกเบิกของชาร์ลส์ถ่ายทอดมาถึงลอร่าเต็มตัว แตกต่างจากแมรี่ที่นิสัยคล้ายแคโรไลน์คือชอบอยู่เงียบๆในบ้าน ภายในเมืองที่สะดวกสบายหลายอย่าง มีร้านค้าให้ซื้อของกินของใช้จำเป็น มีโบสถ์ที่จะไปได้ทุกวันอาทิตย์ มากกว่าจะไปปลูกเพิงอยู่ในทุ่งกว้างเปล่าเปลี่ยว ส่วนลอร่าชอบเดินทางไปยังดินแดนไกลโพ้นที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ตรงนั้นบ้าง ขอแต่เพียงไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ถ้าลงหลักปักหลักฐาน เธอก็ชอบอยู่ในที่กว้างๆ ล้อมรอบด้วยทุ่งหญ้า ไม่มีบ้านช่องแออัด อย่างไรก็ตาม ชาร์ลส์ให้สัญญากับภรรยาว่า จะให้ลูกสาวทุกคนได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุด เขาก็รับปากว่า ดาโกต้าใต้จะเป็นดินแดนแห่งสุดท้าย เขาจะไม่อพยพไปไหนอีก ที่นี่ชาร์ลส์โชคดีว่าในฤดูหนาวแรกที่มาถึง เขาได้พักอยู่อย่างสบายในบ้านของนักสำรวจเส้นทางรถไฟ ซึ่งปลูกในทุ่งโล่งเวิ้งว้างใกล้ทะเลสาบไร้นามที่แคโรไลน์เรียกว่า "ทะเลสาบสีเงิน" ตอนนั้น เมืองเดอสเม็ตที่ชาร์ลส์ย้ายมาอยู่จนบั้นปลายชีวิตยังไม่ได้สร้าง ที่ดีกว่านี้คือเขาพบที่ดินว่างๆที่ถูกใจจำนวนถึง 160 เอเคอร์ ที่เขาสามารถไปจับจองเอาไว้ได้สำเร็จอย่างหวุดหวิด ก่อนที่ผู้อพยพอื่นๆที่หลั่งไหลมาจากทิศตะวันตกจะจับจองได้เสียก่อน
มีเหตุการณ์เล็กๆเหตุการณ์หนึ่งที่ลอร่าไม่ได้เล่าไว้ในนิยาย ริมทะเลสาบสีเงิน คือพ่อออกไปล่าสัตว์ทุกวัน วันหนึ่งพ่อไปพบเพิงร้างสองแห่งถูกทิ้งไว้ในฤดูหนาว ในเพิงหนึ่งพ่อพอเสื้อผ้าเก่าๆแขวนไว้บนฝาห้อง ในกระเป๋ามีซองจดหมายสอดอยู่จ่าหน้าซองถึง " แอลแมนโซ ไวล์เดอร์" ในอีกเพิงหนึ่งมีชื่อ "รอยัล ไวล์เดอร์" เขียนไว้บนกระดาษแข็ง ทิ้งไว้บนโต๊ะ เจ้าของเพิงกลางนาทั้งสองคือนักบุกเบิกที่มาจับจองที่ดินเอาไว้ตั้งแต่ฤดูร้อน พอฤดูหนาวก็อพยพไปอยู่ที่อื่นที่อากาศอุ่นกว่านี้ เพราะเพิงบอบบางเกินกว่าจะต้านพายุหิมะได้ แต่เขาต้องทิ้งร่องรอยหลักฐานเอาไว้ให้รู้ว่าที่ดินตรงนี้มีเจ้าของแล้ว ถ้าทิ้งที่ดินไว้ว่างๆ พวกนักฉวยอาจเข้ามายึดกรรมสิทธิ์ อยู่อาศัยหน้าตาเฉยก็ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 93 เมื่อ 11 ม.ค. 14, 11:51
|
|
เมืองเดอสเม็ตก่อตั้งขึ้นอย่างรวดเร็วในฤดูใบไม้ผลิหลังฤดูหนาวแรกที่ลอร่ามาถึงดาโกต้า ชาร์ลส์ใช้เงินเดือนที่เขาหาได้ตอนเป็นผู้จัดการร้าน ไปซื้อที่ริมถนนสายหลักในเมือง เขารื้อเอาบรรดาเพิงของพวกคนงานรถไฟที่ทิ้งร้างไว้ เอาไม้กระดานมาสร้างบ้านได้ 2 หลัง หลังแรกชาร์ลส์ขายให้คนอื่น เอาเงินมารองรัง หลังที่สองเขาเก็บไว้ให้เช่าเพื่อหารายได้ ส่วนตัวเขาไปปลูกเพิงกลางนาในที่ดินที่จับจองไว้ ทำไร่ไถนาปลูกพืชผลตลอดปีแรก แต่ก็ได้ผลน้อยมาก เพราะดินไม่ดี ปีแรกในรัฐดาโกต้า ฤดูหนาวอากาศไม่เลวร้ายนัก ฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงก็อากาศดี แต่พอขึ้นฤดูหนาวที่สอง อากาศก็วิปริตผิดเพี้ยนไปเป็นตรงกันข้าม เป็นฤดูหนาวหฤโหดที่สุดเท่าที่ลอร่าประสบมา ยิ่งกว่าในมินเนโซตาเสียอีก เคราะห์ยังดีที่พ่อของเธอสังเกตเห็นความผิดปกติของลมฟ้าอากาศตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง จึงรีบอพยพครอบครัวจากเพิงกลางนาที่เป็นไม้กระดานบางๆมาอยู่บ้านในเมืองได้ทันเวลา ในตอนแรกแคโรไลน์ก็พอใจที่เข้ามาอยู่ในเมือง อบอุ่นและปลอดภัย มีอาหารการกินในร้านชำพอจะซื้อได้ไม่ขาดแคลนอย่างอยู่กลางนา แต่เพียงสองสามเดือนต่อมา ชาร์ลส์และแคโรไลน์ก็รู้ว่าเข้าใจผิดอย่างถนัด พายุหิมะถล่มทางรถไฟทำให้รถไฟจากเมืองเทรซี่เดินทางมาถึงชายแดนรัฐดาโกต้นไม่ได้ ทำให้เดอสเม็ตถูกตัดขาดโดดเดี่ยวกลางพายุหิมะยาวนานถึง 7 เดือน คนทั้งเมืองก็ขาดแคลนเสบียงอาหาร แทบจะอดตายไปตามๆกัน ลอร่าเล่าถึงความยากลำเค็ญที่สุดในชีวิตเอาไว้ใน ฤดูหนาวอันแสนนาน The Long Winter
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 94 เมื่อ 12 ม.ค. 14, 08:44
|
|
ในต้นฤดูหนาว ลอร่าได้เข้าร.ร.ในเมืองเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนร.ร.ต้องปิดเพราะพายุหิมะกระหน่ำถี่ขึ้นทุกวัน ที่โรงเรียน เธอพบเพื่อนใหม่หลายคน เพื่อนหญิงที่สนิทที่สุดกับเธอคือแมรี่ เพาเวอร์ส ลูกสาวช่างตัดเสื้อในเมือง ส่วนเพื่อนชายคนสำคัญที่ลอร่ายก 1 บทให้เป็นชื่อของเขา คือ แค้ป การ์แลนด์ น้องชายของครูฟลอเรนซ์ การ์แลนด์ ครูของลอร่า แค้ปเป็นเด็กหนุ่มร่าเริง ประเปรียว แข็งแรงอย่างนักกีฬา ลอร่าบรรยายว่าแค้ปเป็นเด็กหนุ่มผมสีทองอ่อนที่ถูกแดดเผาจนซีดเกือบขาว ตาสีฟ้า ไม่ใช่ผู้ชายรูปหล่อ แต่เวลายิ้ม เขายิ้มกว้างจนสว่างสดใสไปทั้งหน้า เป็นคนสนุกสนานอารมณ์ดีแต่ขณะเดียวกันก็ เป็นคนกล้าไม่เกรงอันตรายอะไรเลย เขาเคยคว่ำคนงานรถไฟที่แกร่งที่สุดมาแล้ว เมื่อคมนาคมถูกตัดขาดเพราะพายุหิมะ แค้ปกับแอลแมนโซก็เป็นสองคนเท่านั้นที่กล้าออกจากเมือง เสี่ยงตายไปแสวงข้าวสาลีจากชาวไร่นอกเมือง ซื้อข้าวมาให้ชาวเมืองเพื่อมิให้อดตาย ต่อมาแค้ปมาติดพันแมรี่เพื่อนสนิทของลอร่า ส่วนแอลแมนโซ ไวล์เดอร์ก็มาชอบลอร่า ทั้งสองคู่มักจะออกไปนั่งรถเลื่อนกลางหิมะคู่กันในฤดูหนาว เธอเล่าถึงตอนนี้ไว้ในหนังสือ These Happy Golden Years ในหนังสือ ลอร่าเล่าถึงแค้ปอย่างเพื่อนสนิทที่เธอรำลึกถึง แต่ในความเป็นจริง แค้ป การ์แลนด์คือรักแรกของสาวน้อยลอร่าวัย 13 ย่าง 14 ปี เป็นรักซื่อใสที่ฝรั่งเรียกว่า puppy love ของเด็กสาวที่ไม่ประสีประสาอะไรนัก เธอปลื้มบุคลิกร่าเริง ชอบนิสัยนักกีฬาและกล้าผจญภัย ในบันทึกส่วนตัว ลอร่าเขียนเล่าไว้ว่า เวลาเธอไปโบสถ์ในวันอาทิตย์ เธอไม่เป็นอันนึกถึงอะไรอื่นนอกจากแค้ป การ์แลนด์
ข้างล่างนี้คือรูปของหนุ่มน้อยแค้ป การ์แลนด์ ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 95 เมื่อ 12 ม.ค. 14, 09:06
|
|
ใจของลอร่าจดจ่ออยู่ที่แค้ปมากกว่าแอลแมนโซ ในตอนแรก แต่แค้ปมองลอร่าเป็นเพื่อนนักเรียนคนหนึ่งมากกว่าจะคิดเป็นอย่างอื่น เด็กสาวที่เขาหมายตาไว้คือแมรี่ เพาเวอร์ส เพื่อนสนิทของเธอ ส่วนเพื่อนสนิทของเขาคือแอลแมนโซ ซึ่งสนใจลอร่ามาตั้งแต่เริ่มรู้จักกัน ในปลายศตวรรษที่ 19 ผู้หญิงไม่มีทางเลือกมากนัก แม้ว่าเธอสนใจผู้ชายคนไหน ก็ต้องรอจนเขาเป็นฝ่ายคืบหน้าเข้ามาเอง ถ้าหากว่าเขาไม่ได้สนใจเธอจนแล้วจนรอด ก็เป็นอันว่าจบกันตั้งแต่ยังไม่เริ่ม เธอก็ต้องรอจนมีชายหนุ่มคนใหม่เดินเข้ามาในชีวิต ส่วนใหญ่หนุ่มสาวในสมัยนั้นไม่เปลี่ยนแฟน ถ้าหนุ่มคนไหนจีบสาวคนไหน ก็แปลว่าชอบจริงๆ และลงเอยด้วยการแต่งงานกับคนนั้น เรียบๆง่ายๆ ตรงไปตรงมา กรณีของแอลแมนโซกับลอร่าก็เช่นกัน เขาเป็นฝ่ายชอบเธอแต่แรก ส่วนเธอเองแม้ไม่ได้ชอบเขา เพราะใจมีแค้ปอยู่แล้ว แต่ลอร่าก็รู้ว่าไม่มีหวังในเรื่องแค้ป เพราะเขาจีบเพื่อนสนิทของเธอเสียแล้ว หลังจากสนิทกับแอลแมนโซมากเข้า ลอร่าก็รู้สึกว่าเธอควรจะลงเอยกับชายหนุ่มคนนี้มากกว่า ส่วนแค้ปกับแมรี่ เพาเวอร์ส เป็นกรณียกเว้น แอลแมนโซกับลอร่าลงเอยแต่งงานกัน เหมือนหนุ่มสาวคู่อื่นๆในยุคนั้น แต่แค้ปกับแมรี่จีบกันสักพักก็เลิกกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไม่ธรรมดา ในหนังสือเล่าว่าแมรี่พบแฟนใหม่เป็นหนุ่มธนาคาร (ต่อมาเธอก็แต่งงานด้วย) ส่วนแค้ปควงผู้หญิงคนใหม่ในเมือง แต่ว่าแค้ปไม่ได้แต่งงานกับใครจนแล้วจนรอด เขาเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุหม้อน้ำระเบิด เมื่ออายุได้เพียง 26 ปี ตอนนั้นลอร่ากับแอลแมนโซแต่งงานและย้ายไปอยู่มิสซูรี่ด้วยกันแล้ว
รูปซ้ายคือแค้ปในวัยหนุ่มเต็มตัว ขวาคือแมรี่กับเอ๊ด สามีของเธอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 96 เมื่อ 14 ม.ค. 14, 09:44
|
|
หลังฤดูหนาวอันแสนนาน ครอบครัวอิงกัลส์ย้ายจากเมืองออกไปอยู่ในเพิงที่จับจองไว้อีกครั้งหนึ่ง เรื่องใหญ่ที่สุดเท่าที่ชาร์ลส์และแคโรไลน์วางแผนกันมาก็คือส่งแมรี่ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยคนตาบอดในเมืองวินตัน รัฐไอโฮไอ ท่านสาธุคุณแอลแดนมิตรดีของครอบครัวมีญาติเป็นครูอยู่ที่นั่น ท่านจึงขอให้เขาส่งรายละเอียดและใบสมัครมาให้ ที่นั่นแมรี่จะได้เรียนวิชาระดับมหาวิทยาลัย เช่นวิชาประวัติศาสตร์ ฟิสิกส์และเคมี พีชคณิต เศรษฐศาตร์ และกวีนิพนธ์ โดยใช้อักษรเบรล เรียนดนตรี งานฝีมือเช่นร้อยลูกปัดและงานถักต่างๆเพื่อประกอบอาชีพ เป็นหลักสูตร 7 ปี รัฐออกค่าเล่าเรียนให้ทั้งหมด แต่นักเรียนต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนตัวเอง ถึงแม้ชาร์ลส์และแคโรไลน์มีรายได้น้อยมาก ชักหน้าไม่ถึงหลัง และถ้าถามในเชิงเศรษฐกิจว่าการส่งแมรี่ไปเรียนจะกลับมาช่วยหารายได้ให้ทางบ้านคุ้มหรือไม่เมื่อเรียนจบ คำตอบก็คือไม่ แมรี่เรียนจบแล้วก็จะต้องกลับมาอยู่บ้านเหมือนเก่า ไม่มีโอกาสทำงานนอกบ้าน แต่พ่อแม่และลอร่าไม่ได้มองในแง่นั้น ทุกคนมองว่า สิ่งที่เศร้าโศกที่สุดสำหรับแมรี่ คือเธอไม่มีโอกาสเล่าเรียนอย่างคนอื่นๆ เธอเป็นคนตั้งใจอยากเรียน อยากเป็นครูอย่างแม่มาตั้งแต่ยังเล็ก แต่สายตาพิการตัดโอกาสนั้นออกไป เมื่อมีวิทยาลัยสำหรับคนตาบอด ก็ถือเป็นความสุขที่สุดที่แมรี่จะได้มีโอกาสอย่างคนทั่วไปอีกครั้ง ดังนั้นภาระในการหาค่าใช้จ่ายให้แมรี่จึงตกมาอยู่ที่ลอร่าในฐานะหัวเรี่ยวหัวแรงของบ้านอีกครั้ง พ่อรับจ้างเป็นช่างไม้ในการก่อสร้างบ้านเรือนใหม่ๆในเมือง ส่วนลอร่าไปรับจ้างเย็บผ้าในเมืองได้วันละ 25 เซนต์ เธอสะสมเงินได้ 9 เหรียญมาสมทบให้พี่สาว แต่ลอร่าก็เจียดเงินที่หาได้ ซื้อของเล็กๆน้อยๆเป็นรางวัลให้ตัวเองด้วย เช่นซื้อขนนกปักหมวกราคา 60 เซนต์ ปลอกนิ้วสวมเย็บผ้าราคา 10 เซนต์ รองเท้าผ้าคู่ใหม่ ราคา 1 ดอลล่าร์ และผ้าฝ้ายสี่หลาสำหรับตัดเสื้อด้วยราคาแค่ 36 เซนต์ ทั้งหมดนี้เป็นความอุตสาหะของเด็กสาววัย 14 ปี ที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบอย่างผู้ใหญ่เต็มตัว ทันทีที่พ้นวัยเด็กมาแล้ว
ภาพนี้คือแมรี่ ในวัยสาวรุ่น
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ม.ค. 14, 10:06 โดย เทาชมพู »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 97 เมื่อ 15 ม.ค. 14, 10:17
|
|
ลอร่าขมักเขม้นเรียนหนังสืออย่างหนัก เพื่อหวังว่าจะสอบได้ประกาศนียบัตรครูในอีก 2 ปีข้างหน้า เพราะมีกฎหมายว่าครูจะต้องมีอายุอย่างต่ำ 16 ปี รายได้จากการสอนหนังสือดีกว่าไปรับจ้างเย็บผ้า เธอจะได้เอาเงินนั้นมาช่วยพ่อแม่ส่งแมรี่ไปเรียนที่วิทยาลัยคนตาบอดในไอโอวา อุปสรรคครั้งใหญ่ในการเรียนเกิดขึ้นเมื่อลอร่าอายุ 15 ปี อีไลซ่า เจน ไวลเดอร์ พี่สาวของแอลแมนโซมาสอนหนังสือที่ร.ร.ในเดอสเม็ต แต่เธอควบคุมนักเรียนให้อยู่ในระเบียบไม่ได้ ซ้ำร้ายกว่านั้นคู่แข่งเก่าของลอร่าจากเมืองวอลนัท โกรฟ คือเจเนเวียฟ มาสเตอร์ส อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่นี่เช่นกัน เจเนเวียฟเป็นเด็กหัวสูง นอกจากชอบประจบประแจงครู ก็ยังชอบข่มเหงกลั่นแกล้งเพื่อนด้วย ลอร่าเป็นเป้าหมายสำคัญของเธอ เคราะห์ร้ายสำหรับลอร่า เพราะมิสไวลเดอร์ผู้เป็นครูเกิดเชื่อเจเนเวียฟเต็มร้อย ลอร่าเครียดมากกับชีวิตนักเรียน จนกลัวว่าเธอจะเรียนหนังสือไม่ได้ ส่งผลให้สอบเป็นครูไม่ได้ด้วย ในหนังสือลอร่ารวมเจเนเวียฟเข้าเป็นเนลลี่ ออลิสัน แต่ในความจริง เนลลี่ไม่ได้ตามมาอยู่ที่เดอสเม็ตด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 98 เมื่อ 15 ม.ค. 14, 10:32
|
|
โชคดีที่มิสไวลเดอร์สอนอยู่เทอมเดียว ก็กลับไปบ้านที่มินเนโซตา ชีวิตลอร่าจึงค่อยเป็นสุขขึ้นนับจากนั้น ด้วยพื้นฐานที่ดีจากแม่ ซึ่งสอนลูกสาวให้รักการอ่าน การเขียน ทบทวนบทเรียนทุกวันที่บ้าน แม้แต่เขียนบทกวีสั้นๆ ตามที่แม่เองก็ชอบเช่นกัน ทำให้ลอร่าเป็นนักเรียนดีเด่นของโรงเรียน ในงานแสดงผลงานของนักเรียนที่ครูโอเวนจัดขึ้นในต้นฤดูหนาวเมื่อลอร่าอายุได้ 15 ปี เธอได้แสดงผลงานสำคัญคือท่องประวัติศาสตร์อเมริกันตั้งแต่ต้นจนถึงตอนกลางด้วยปากเป่า คู่กับไอดา บราวน์เพื่อนนักเรียนที่เรียนเก่งอีกคน ผลงานของเด็กสาววัย 15 ไปเข้าตาชาวบ้านคนหนึ่งชื่อมิสเตอร์บุชชี เขาอยู่ในนิคมสร้างตนเองห่างจากเดอเม็ตไป 12 ไมล์ ที่นั่นมีครอบครัวเขาและญาติๆจับจองที่ดินอยู่ บุชชีอยากได้ครูไปสอนลูกๆหลานๆ ด้วยงบประมาณจำกัดเดือนละ 20 เหรียญ เป็นเวลา 2 เดือน (สมัยนั้นเขาเรียนกันสั้นๆเท่าที่จำเป็น) ด้วยความช่วยเหลือของมิสเตอร์โบ๊สต์เพื่อนสนิทของครอบครัวอิงกัลส์ เขาไปหาตัวศึกษาธิการเขตซึ่งอยู่ในเมืองพอดี มาสอบความรู้ออกประกาศนียบัตรให้ลอร่า โดยทำเป็นมองไม่เห็นว่าเธออายุยังไม่ถึง 16 ปี ด้วยวัยเพียง 15 ปี ถ้าเป็นสมัยนี้ก็อยู่ม. 3 ลอร่ากลายเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ทำหน้าที่สอนหนังสือให้เด็ก 5 คนซึ่งสามคนในนี้แก่กว่าเธอเสียอีก เธอต้องออกจากบ้านไปค้างที่บ้านมิสเตอร์บุชชี เป็นเวลา 2 เดือนกว่าจะได้กลับมา ลอร่าเล่าถึงชีวิตผู้ใหญ่ครั้งแรกของเธอในตอน These Happy Golden Years
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Mr.Fame
มัจฉานุ
 
ตอบ: 61
|
ความคิดเห็นที่ 99 เมื่อ 15 ม.ค. 14, 11:31
|
|
เข้ามาลงชื่อไว้ครับ มาบอกให้ทราบว่ามีคนติดตามอ่านอยู่นะครับผม ผมชอบอ่านกระทู้นี้ก่อนนอนครับ ให้ความรู้สึกเหมือนย้อนกลับไปตอนเด็กๆ ที่รอคุณพ่อคุณแม่มาเล่านิทานให้ฟังก่อนนอนยังไงหยั่งงั้น ..... 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 100 เมื่อ 15 ม.ค. 14, 11:37
|
|
^
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 101 เมื่อ 16 ม.ค. 14, 19:14
|
|
ชีวิตห่างบ้านของลอร่าเต็มไปด้วยความคับแค้นใจ แม้ว่ามิสเตอร์บุชชีเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ต้อนรับลอร่าอย่างเมตตา แต่ภรรยาเขาตรงกันข้าม หล่อนเป็นผู้หญิงคุ้มดีคุ้มร้าย ด้วยแรงกดดันจากชีวิตท่ามกลางทุ่งกว้างเปล่าเปลี่ยวและความลำบากรอบด้าน จึงนำความเครียดที่สะสมไว้มาลงที่เด็กสาวไร้ทางตอบโต้อย่างลอร่า หล่อนแสดงความหยาบคาย กราดเกรี้ยว และทิ่มแทงลอร่าด้วยวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง ในหนังสือลอร่าเปลี่ยนชื่อใหม่ให้สามีภรรยาคู่นี้ว่า "บรูว์สเตอร์" เธอไม่ต้องการเอาชื่อจริงของคนทั้งสองมาเปิดเผย เป็นการประจานในหนังสือที่คนอ่านกันทั้งประเทศ เหตุการณ์ตอนนี้ทำให้คนอ่านประจักษ์ว่าชีวิตครอบครัวของชาร์ลส์ และแคโรไลน์ แม้ว่ายากไร้ จนบางครั้งก็แทบจะอดตาย แต่อย่างหนึ่งที่ไม่เคยขาดแคลนคือความรักและอ่อนโยนต่อกัน ชาร์ลส์เป็นพ่อที่หัวเราะได้แม้ในยามลำเค็ญแสนสาหัส เขารักลูกเมียเป็นแก้วตา แคโรไลน์เองก็เป็นแม่ที่สุภาพ เก็บกลั้นอารมณ์ได้ดี ไม่เคยระบายอารมณ์ฉุนเฉียวกับสามีหรือลูก ต่อให้ถูกกดดันจากสภาพแวดล้อมลำบากลำบนขนาดไหนก็ตาม ในบ้านลูกๆจึงเรียนรู้ที่จะรัก ปรองดอง และเสียสละให้กัน เพราะเห็นตัวอย่างจากพ่อแม่ และมีศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างแน่วแน่ เพราะพ่อแม่เป็นตัวอย่าง ศรัทธาทางศาสนานี่เองที่ทำให้ลอร่ารู้จักรับผิดชอบต่อครอบครัว และเชื่อมั่นว่าปัญหาทุกอย่างจะผ่านพ้นไปได้ พระเจ้าจะไม่ทอดทิ้งเธอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 102 เมื่อ 16 ม.ค. 14, 20:31
|
|
อัศวินที่ควบม้าขาวเข้ามาช่วยลอร่ามิให้ต้องทนอยู่ในนรกที่บ้านของมิสเตอร์บุชชีตลอดเสาร์อาทิตย์ เป็นคนที่ลอร่านึกไม่ถึงมาก่อน คือหนุ่มนักบุกเบิกชื่อแอลแมนโซ ไวล์เดอร์ เขาช่วยพ่อด้วยการขับรถเลื่อนเทียมด้วยม้าพันธุ์มอร์แกนคู่งามมารับเธอกลับไปบ้านตั้งแต่เย็นวันศุกร์ แล้วมาส่งที่บ้านบุชชีอีกครั้งในเย็นวันอาทิตย์ เขาเทียวไปเทียวมารับเธออยู่ 2 เดือนเต็ม โดยแทบจะไม่ได้พูดคุยกันเลย ลอร่านอกจากขี้อายกับคนแปลกหน้าแล้ว อากาศหนาวจัดต่ำกว่าศูนย์องศายังไม่เป็นใจให้พูดอะไรกันได้ด้วย แอลแมนโซเป็นคนหนึ่งที่ช่วยให้ลอร่ามีกำลังใจสอนหนังสือจนครบ 2 เดือน แต่ใจเธอก็ยังหวังว่าเมื่อกลับบ้านแล้ว จะได้พบแค้ป การ์แลนด์อีกครั้ง เธอไม่ต้องการจะตอบแทนบุญคุณของหนุ่มรายใหม่นี้ด้วยการไปนั่งรถเลื่อนกับเขาหลังจากสอนจบเทอมแล้ว เธอก็เลยบอกเขาไปตรงๆ ก่อนจะหมดเทอม แต่แอลแมนโซก็ยังอุตส่าห์ฝ่าพายุและความหนาวครั้งสุดท้ายมารับเธอจนได้ ข้อนี้กลายเป็นความประทับใจของลอร่า เธอจึงเปลี่ยนใจ ออกไปนั่งรถเลื่อนกับเขาอีก จากนั้นทั้งคู่ก็คบกันสนิทสนมเรื่อยมา ภาพของแค้ป การ์แลนด์ก็ค่อยๆเลือนห่างไปจากใจของลอร่า
แอลแมนโซ ในวัยหนุ่ม หล่อไม่เบาเหมือนกันนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 103 เมื่อ 16 ม.ค. 14, 21:01
|
|
เงินเดือนสี่สิบเหรียญที่ลอร่าได้มาจากสอนหนังสือ บวกกับเงินสะสมของพ่อ กลายมาเป็นค่าซื้อออร์แกนที่เจ้าของเดิมในเมืองขายเพราะจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ เขาขายออร์แกนในราคา 100 เหรียญ พ่อต้องการซื้อให้แมรี่ไว้เล่นเพราะเมื่ออยู่วิทยาลัย เธอเรียนวิชาดนตรี เล่นออร์แกนได้คะแนนยอดเยี่ยม เมื่อวันหนึ่งเรียนจบกลับมาอยู่บ้านแล้ว แมรี่จะได้มีออร์แกนไว้เล่นแก้เหงา เพิ่มความเพลิดเพลินให้ชีวิตที่ต้องหยุดนิ่งอยู่แค่นั้น ลอร่าเต็มใจจะอุทิศเงินทั้งหมดที่เธอหาได้มาให้พี่สาว ส่วนตัวเธอก็ไปรับจ้างเย็บผ้าในเมือง เอาเงินมาซื้อของใช้ส่วนตัว เรื่องนี้แฟนหนังสือบางคนของลอร่ารับไม่ได้ พวกเด็กอเมริกันถือว่าค่าแรงของพวกเขาก็คือน้ำพักน้ำแรงของเขา นอกจากเขาไม่ต้องการพึ่งพ่อแม่แล้ว พ่อแม่ก็ไม่ควรจะมาเอาไปจากเขาด้วย แต่ความกตัญญูของลอร่าแบบนี้คนไทยไม่เห็นแปลกอะไร เพราะเราอยู่ในสังคมที่สอนความกตัญญูเป็นหลัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 104 เมื่อ 16 ม.ค. 14, 21:02
|
|
ทีนี้ขอพูดโดยส่วนตัวบ้าง ทั้งๆที่ชอบพ่อแม่ของลอร่ามาก ว่าเป็นพ่อแม่ที่ดีและรักลูก แต่ดิฉันก็อดคิดไม่ได้ว่าพ่อของลอร่าน่าจะเป็นคนที่ไม่ค่อยจะรู้ค่าของเงินเท่าไหร่นัก แต่ถ้าพูดในแง่ดีก็พอพูดได้ว่าเป็นคนให้คุณค่าทางจิตใจมากกว่าปากท้อง เงิน 100 เหรียญสำหรับออร์แกนมือสอง เป็นเงินมหาศาลสำหรับหกปากหกท้อง คนหกคนในบ้านมีสี่คนที่ไม่สามารถหารายได้เข้าบ้าน เหลือ 2 คนคือพ่อกับลอร่าต้องหาเลี้ยง 6 คน เงิน 100 เหรียญสำหรับออร์แกนให้แมรี่เล่นคนเดียว ดูจะสร้างความสุขได้ไม่คุ้มค่าเงิน ถึงไม่มีออร์แกน แมรี่ก็มีพ่อแม่และน้องๆอยู่พร้อมหน้าอบอุ่นพอแล้ว แต่พ่อของลอร่าน่าจะมีจิตใจเป็นศิลปินมากกว่าชาวบ้านทั่วไป เห็นได้จากเป็นคนรักดนตรี เล่นดนตรีเก่ง ร้องเพลงเก่ง อ่านหนังสือเก่ง จึงให้ความสำคัญกับความสุขทางใจมากกว่าอิ่มปากอิ่มท้อง แต่มันก็ไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่ ที่ความสุขนั้นมาจากน้ำพักน้ำแรงของลูกสาววัย 15 ปี ไม่ใช่ของพ่อคนเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|