เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 46936 ชีวิตจริงเบื้องหลังวรรณกรรมชุด "บ้านเล็ก"
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 13:53

อีกเรื่องที่ผมอ่านครั้งแรกก็ชอบคือ ท้องนาข้างกรุง ของ ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ
จำเนื้อเรื่องไม่ได้แล้ว ซื้อเก็บไว้ในตู้เหมือนกันไม่ได้หยิบมาอ่านนานแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 13:59

มาถอดรหัส

แค้นนี้ด้วยชีวิต มนันยาแปลจากนิยายของ Jackie Collins   นักเขียนฝรั่งคนนี้เขียนเรื่องอาชญากรรมได้สีสันจัดจ้านมาก   จนกลายเป็นนักเขียนเบสต์เซลเลอร์ของนิวยอร์ค ไทมส์    คุณมนันยาเป็นนักแปลที่แปลได้เนียนมาก จนอ่านแล้วเหมือนเรื่องแต่งมากกว่าเรื่องแปลค่ะ

ส่วนงานของนักเขียนอีกคนที่คุณ scarlet บอกมา ค่อนข้างจะโนเนมในเรือนไทยค่ะ  นึกไม่ออกว่าเรื่องอะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 14:01

อีกเรื่องที่ผมอ่านครั้งแรกก็ชอบคือ ท้องนาข้างกรุง ของ ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ
จำเนื้อเรื่องไม่ได้แล้ว ซื้อเก็บไว้ในตู้เหมือนกันไม่ได้หยิบมาอ่านนานแล้ว
ถ้าชอบแนวนี้น่าจะชอบ "เสเพลบอยชาวไร่"  ของรงค์ วงษ์สวรรค์ ด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
scarlet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 155

โกหกเมียตายไปตกนรก แต่พูดความจริงตายทันที เลือกเอา


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 14:37

ถ้าตรวจสอบปีที่ประพันธ์ ถ้าหากเกิดวังปารุสก์ เขียนที่หลังบ้านเล็กในป่าใหญ่ เป็นไปได้ไหมว่า เป็นการเขียนอัตชีวประวัติที่ได้แนวความคิดมาจากบ้านเล็กในป่าใหญ่ เพราะท่านผู้นิพนธ์น่าจะได้ทรงอ่านมาแล้ว? นอกจากเป็นการนิพนธ์ชีวประวัติที่บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสได้รับรู้ ยังเป็นผลงานเขียนประวัติศาสตร์ของประเทศที่ผู้อื่นไม่สามารถเขียนได้อีกด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 14:55

Little House in the Big Woods เรื่องแรกในนิยายชุดบ้านเล็ก ออกจำหน่ายเมื่อค.ศ. 1932 ตรงกับพ.ศ. 2475  ปีเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี  ขณะนั้นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ยังทรงศึกษาอยู่ในอังกฤษ   
การเขียนอัตชีวประวัติ เป็นเรื่องที่นิยมกันของปัญญาชนชาวอังกฤษและอเมริกัน    รูปแบบหนึ่งคือการเขียนไดอารี่หรือบันทึกประจำวัน  อีกรูปแบบหนึ่งคือการเขียนอัตตชีวประวัติ เมื่อเจ้าของประวัติอายุมากพอสมควรแล้ว
ดิฉันไม่ทราบว่าพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงได้อ่านวรรณกรรมสำหรับเด็กของอเมริกันหรือเปล่า   เลยออกความเห็นไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 21:28

 
ลองสแกนบทความมาดูเป็นตัวอย่างค่ะ

ขนาดภาพยังไม่ค่อยถูกใจ ตัวหนังสือเล็กเกินไปค่ะ

 








บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 08 ม.ค. 14, 21:36

เอาไฮไลท์สำคัญๆตอนท้ายมาให้อ่านดูก่อนค่ะ

"หนังสือชุด บ้านเล็ก ไม่เพียงแต่บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตรฺ์
และความทรงจำของคนอเมริกันยุคบุกเบิกไว้เท่านั้่น
แต่ยังให้บทสรุปและแนวทางหลายอย่างสำหรับคนรุ่นหลัง

ชีวิตของครอบครัวอิงกัลล์ส์และไวล์เดอร์
ได้สะท้อนภาพการต่อสู้ที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคทั้งจากธรรมชาติและสังคม
แต่ผลจากความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อก็นำพวกเขาไปสู่จุดหมาย
ภาพของลอร่ากับพ่อที่นั่งบิดหญ้าแห้งทำเป็นเชื้อเพลิง
แอลแมนโซและแคบ การ์แลนด์ ที่บุกฝ่าพายุหิมะและความหนาวอันทารุณโหดร้าย
เพื่อไปหาข้าวสาลีมาให้ชาวเมืองที่หิวโหย
เกวียนประทุนที่เปลี่ยนรอยทางเกวียนเป็นถนน  เป็นทางและเป็นอื่นๆ
ได้ชี้ให้เราเห็นว่า การยืนหยัดต่อสู้กับความยากลำบากนั้นย่อมมีหนทาง
เพราะมันจะถ่ายทอดผ่านการทดสอบจากการปฎิบัติมาจนเป็นผล

ดังนั่นเมื่อหนังสือหน้าสุดท้ายถูกปิดลง
บางที บ้านเล็กในป่าใหญ่ ในความฝันและความนึกคิดของผู้อ่าน
จึงอาจกำลังเริ่มต้นพร้อมกับบทสรุปว่า
ถ้าหากไม่ยืนหยัดต่อสู้แล้ว..ชัยชนะก็จะไม่ได้มา" ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 09:15

^
ใช่เลยค่ะ

ขอบคุณที่กรุณานั่งหลังขดหลังแข็งพิมพ์ข้อความยาวๆ มาลงในกระทู้นี้ให้ค่ะ   เพิ่มข้อคิดและสาระในกระทู้ได้มาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 09:30

    ลอร่าเติบโตขึ้นจนอายุ 12 ในเมืองวอลนัท โกรฟ   เธอไม่ใช่เด็กเล็กๆอายุ 8 ขวบอย่างครั้งแรกที่มาถึงที่นี่อีกแล้ว แต่เป็นเด็กโตพอจะทำงานหารายได้ เพื่อช่วยครอบครัว      ภรรยาเจ้าของโรงแรมในเมืองขอตัวเธอไปเป็นลูกมือเสิฟอาหารให้แขก  ล้างชาม และเป็นพี่เลี้ยงช่วยดูแลลูกเล็กของคุณนายในบางวันที่แม่มีธุระ  โดยให้ค่าแรงสัปดาห์ละ 50 เซนต์  ตกใจ   คุณนายสัญญากับพ่อแม่ลอร่าว่าจะไม่ใช้งานหนักเกินไป   พ่อแม่ก็ตกลง
ลอร่าทำงานที่โรงแรมโดยไม่เกี่ยงงอน   เธอไม่รังเกียจการจัดโต๊ะ และล้างชาม  แต่ก็ขี้อายอยู่ดีเมื่อต้องไปเสิฟอาหารให้คนแปลกหน้า     คุณนายมาสเตอร์สเจ้าของโรงแรมเป็นคนใจดี  เมื่อมีเวลาว่างระหว่างวันเธอก็อนุญาตให้ลอร่าหลบไปหามุมสงบอ่านหนังสือพิมพ์เก่าๆหลังจากแขกอ่านจบแล้ว   วางซ้อนไว้เป็นตั้งๆ  เป็นหนังสือพิมพ์จากนิวยอร์คชื่อนิวยอร์คเลดเจอร์   ในนั้นมีนิทานและเรื่องราวสนุกๆ ลงตีพิมพ์   ลอร่าอ่านนิทานในนั้นอย่างเพลิดเพลิน

    นิสัยรักการอ่าน และได้อ่านหนังสือประจำช่วยให้ลอร่าจำหนังสือได้แม่นยำมาก    เมื่อมีการแข่งขันท่องโคลงในพระคัมภีร์ไบเบิล  แม้ว่าเป็นคนละนิกายกับที่พ่อกับแม่นับถือ   ลอร่าก็ไปร่วมแข่งขันด้วย  เธอท่องโคลงแต่ละบทได้ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยนเลยสักตัว  จนเข้าถึงรอบชนะเลิศร่วมกับเด็กนักเรียนชายอีกคน   แต่มีรางวัลเดียว   คือหนังสือไบเบิล ที่ไม่รู้จะแบ่งกันอย่างไร   ภรรยาของท่านสาธุคุณแอบบอกลอร่าว่าถ้าเธอรอไปอีกหน่อย  หนังสือพระคัมภีร์เล่มใหม่ที่มีภาพประกอบสวยกว่านี้จะถูกส่งมาให้  ลอร่าก็เต็มใจจะรอเล่มใหม่  ยกเล่มนี้ให้นักเรียนอีกคนไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 09:41

   ชาวเมืองเริ่มรู้จักลอร่าว่าเป็นเด็กขยันขันแข็ง  รับผิดชอบงานได้เรียบร้อย    คนโน้นคนนี้จึงมาจ้างงานเธอเล็กๆน้อยๆมากขึ้นเช่นวานให้ไปซื้อของในร้าน หรือส่งจดหมาย   หรือว่าช่วยเลี้ยงลูกเล็กๆเป็นรายชั่วโมง      ไม่ว่าใครใช้งานอะไรลอร่าก็ไม่รังเกียจรังงอน  เพราะหมายถึงเงินทิปทวีจำนวนขึ้น     เธอรู้ดีว่าพ่อทำงานตัวเป็นเกลียวเลี้ยงคนถึงหกคนในบ้าน    จนชักหน้าไม่ถึงหลัง    เงินเล็กๆน้อยๆของเธอจะช่วยพ่อแม่ได้มาก
   ลอร่ายอมแม้แต่ไปอยู่พยาบาลคนเจ็บในบ้านนาห่างจากเมืองไปสองไมล์ เพื่อเอาค่าพยาบาลมาช่วยพ่อแม่   เธอเศร้าโศกคิดถึงบ้านมาก  แต่ก็กัดฟันอยู่จนกระทั่งลุล่วงไปในที่สุด

   เมื่อลอร่าอายุ 12 นี่เอง   เรื่องร้ายที่สุดก็เกิดขึ้นในครอบครัว    แมรี่ผู้บัดนี้เป็นสาวรุ่นอายุ 14  ป่วยหนักเป็นไข้สูง  จนทีแรกพ่อแม่คิดว่าจะไม่รอดเสียแล้ว     พ่อไปติดต่อขอหมออีกเมืองมาดูอาการ  หมอก็ขึ้นรถไฟมารักษา   แมรี่รอดตายแต่ว่าเธอปวดศีรษะอย่างรุนแรง จากนั้นสายตาเธอก็มัวลง..มัวลงทุกที จนกระทั่งมืดสนิทมองอะไรไม่เห็นอีกต่อไป
   ภาพสุดท้ายที่แมรี่มองเห็นคือดวงตาสีฟ้ากลมใสของเกรซน้องเล็ก ที่ปีนเก้าอี้ข้างเตียงมองเป๋งมาที่พี่สาวคนโต  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 09:47

 พ่อเรียกลอร่าไปหา แล้วบอกว่า..เธอจะต้องเป็นดวงตาให้แมรี่   ทำหน้าที่เล่าทุกอย่างให้พี่สาวฟัง เพื่อแมรี่จะได้ไม่ต้องอยู่ในโลกมืดตามลำพัง   ลอร่าก็รับคำ
  จากวันนั้น ลอร่าแบ่งสายตาเธอเป็น 2 อย่าง อย่างแรกคือเธอมองโลกด้วยสายตาของแมรี่  คอยเล่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอเห็น  ถ่ายทอดให้พี่สาวฟังอย่างละเอียดจนแมรี่รู้สึกเหมือนกำลังเห็นได้เอง     อย่างที่สองคือเธอมองโลกด้วยสายตาตัวเอง      ลอร่าพัฒนาการมองทุกอย่างรอบตัวออกเป็นสองแบบอย่างนี้มาตลอดชีวิต     มันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เธอเป็นนักเขียนระดับโลกได้ในเวลาต่อมา

  อ่านมาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านคงจะเกิดคำถามว่า มองยังไง 2 แบบที่ว่า  ไม่เข้าใจ
  ลอร่าเล่าไว้ในหนังสือ Little Town on the Prairie หรือ  เมืองเล็กในทุ่งกว้าง อันเป็นเหตุการณ์เมื่อเธอย้ายจากมินเนโซตาไปดาโกต้าใต้  เมื่อเธอพาแมรี่ไปเดินเล่นยามเย็น อย่างที่ทำเป็นประจำ    เธอมองเห็นพระอาทิตย์กำลังจะตกลับไปจากขอบฟ้า  ทิ้งแสงสีงดงามต่างๆไว้ทางตะวันตก   ลอร่ารู้สึกเหมือนพระราชากำลังรูดม่านผืนใหญ่ออกปิดรอบพระแท่นบรรทม ก่อนจะเข้าบรรทม   แต่แมรี่ไม่ชอบจินตนาการโลดโผนแบบนี้    เธอชอบคำบรรยายอย่างตรงไปตรงมามากกว่า    ลอร่าก็เลยบรรยายแต่เพียงว่าเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า  พื้นฟ้าและเมฆมีสีต่างๆสวยงามอย่างไรบ้าง
   ถ้าอธิบายในวิชาการประพันธ์ ก็คือสิ่งที่แมรี่ชอบฟังคือบรรยายโวหาร คือเล่ารายละเอียดอย่างธรรมดา   แต่สายตาของลอร่าชอบมองโลกด้วยพรรณนาโวหาร  มีอุปมาอุปมัย และจินตนาการที่เพริศแพร้วประกอบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 10:49

จากซ้าย แครี่  แมรี่ และลอร่า ในวัยที่กำลังเล่าถึงนี้
ดูสีหน้าลอร่า  เธอดูเป็นผู้ใหญ่กว่าวัยมาก เมื่อเทียบดวงหน้ากับรูปร่าง


บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 21:07

หลังจากใช้ความพยายามหลายรอบในการปรับขนาดภาพสแกน ไม่ประสบความสำเร็จค่ะ
ตัวหนังสือก็ยังเล็กอยู่ดี สงสารคนอ่าน ร้องไห้

เอาเป็นว่าจะพิมพ์บทความเป็นช่วงๆในการพูดถึงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
เพื่อเสริมกับเนื้อหาของอาจารย์เทาชมพูแล้วกันนะคะ

ในบทความของสันติ นามธรรม จะเขียนสาธยายเรื่องราวในแต่ละเล่มพร้อมเนื้อหาโดยย่อจนจบทั้งชุด
สอดแทรกมุมมองเชิงสังคมวิทยากึ่งประวัติศาสตร์เข้าไป


ดิฉันขออนุญาตเปลี่ยนการเรียบเรียงใหม่
จะแยกเนื้อหาหลักๆเป็นหัวข้อย่อยออกมา โดยคงรักษาอรรถรสจากต้นฉบับ ตัวอักขรเหมือนเดิม
หวังว่า เจ้าของบทความ (ซึ่งไม่รู้ตอนนี้อยู่ที่ใด) คงไม่ว่ากัน

ขอให้เรื่องราวของลอร่า จากอาจารย์พวงชมพู จบก่อนนะคะ
จะได้อ่านต่อเนื่องทีเดียวไปเลย

ที่เตรียมไว้ก็จะมีหัวข้อคร่าวๆดังนี้ค่ะ

"ตะวันตกที่ปรากฏในดวงตา"

"ภูมิใจแม้เป็นแค่เด็กชายชาวนา"

"อินเดียนแดงที่ดีคืออินเดียนแดงที่ตายแล้ว"

"เสียงหวู้ดรถไฟ   มหัศจรรย์แห่งตะวันตก"


ลองดูแค่นี้ก่อนนะคะ เอ..ไม่รู้จะล่มกลางครันหรือเปล่าน้า...
บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 21:18

ฝากอีกเล่มค่ะ
สำหรับผู้สนใจการมุ่งสู่ตะวันตก



มีการแปลเป็นภาษาไทยในชื่อนี้ค่ะ




จำได้ว่าตอนอ่านสมัยนั้น สนุกมาก ลุ้นระทึกไปกับพระเอกของเรื่อง อายุแค่ 13 ปี
แต่ต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวนำน้องๆมุ่งพิชิตตะวันตกตามความมุ่งหวังของพ่อ
เกิดอุปสรรคท้าทายมากมากย ขณะน้องคนเล็กก็ยังแบเบาะอยู่เลย ตกใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 09 ม.ค. 14, 21:19

ดิฉันรู้จักเจ้าของบทความ   เชื่อว่าเขาไม่ว่าหรอกค่ะ   ขอขอบคุณแทนคุณสันติด้วยที่คุณนำบทความของเขามาให้อ่านกันอีกครั้งทางอินเทอร์เน็ต

ขอเล่าต่ออีกนิดหนึ่ง
แมรี่เป็นเด็กที่เข้มแข็งมาก   เธอไม่เคยร้องห่มร้องไห้ตีโพยตีพายในชะตากรรมของตัวเอง    แต่อดทนความพิการที่ได้รับโดยไม่เคยปริปากบ่นแม้แต่ครั้งเดียว       แมรี่เป็นเด็กที่มีศรัทธาในศาสนาอย่างมาก   และเชื่อมั่นในพระเจ้าว่าไม่เคยทอดทิ้งเธอ      นิสัยเคร่งศาสนานี้เธอได้รับถ่ายทอดมาจากแม่    ไม่ว่ายากลำบากอย่างไร แมรี่ก็เชื่อมั่นในพระเจ้าเสมอต้นเสมอปลาย    ทำให้เธอมีกำลังใจเข้มแข็งพอจะดำเนินชีวิตต่อมา  ทำตัวให้เป็นภาระน้อยที่สุดสำหรับครอบครัว
แมรี่ช่วยงานบ้าน เช่นปูที่นอน ล้างชาม จัดจานชามวางบนโต๊ะอาหาร และช่วยแม่เลี้ยงเกรซน้องคนเล็ก     ในระหว่างเวลาที่ลอร่าต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อหารายได้มาช่วยครอบครัว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง