เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 46951 ชีวิตจริงเบื้องหลังวรรณกรรมชุด "บ้านเล็ก"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 06:39

ส่วนผู้ใหญ่เต้นรำกันแบบนี้  คงสังเกตได้ว่าดนตรีประกอบมีซออย่างเดียว   ชาร์ลส์สีซอเป็นเพลงแบบนี้
ย่าของลอร่าที่เต้นรำจังหวะจิ๊กได้เร็วและนานกว่าลูกชาย ก็เต้นคล้ายๆในคลิปนี้ละค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 07:00

กลับมาที่ชาร์ลส์ ต่อ นะคะ
ย้อนกลับไปเล่าถึงครอบครัวของชาล็อตต์ ควินเนอร์       ผู้หญิงคนนี้ไม่ได้เป็นแค่หญิงชาวนาธรรมดา   ก่อนสมรสเธอเคยเป็นครูโรงเรียนมาก่อน  หมายความว่าเธอได้รับการศึกษาเล่าเรียนมากกว่าผู้หญิงยุคเดียวกันทั่วไป   แต่เมื่อแต่งงานแล้วก็ต้องหยุดอาชีพนี้ เพราะสมัยนั้นครูผู้หญิงมีแต่สาวโสดเท่านั้น
ชาล็อตต์ปลูกฝังลูกๆถึงความสำคัญของการเล่าเรียนเขียนอ่าน   คนที่ซึมซับมากกว่าใครเพื่อนคือแคโรไลน์  ลูกสาวคนโต      เธอหัดอ่านหัดเขียนตั้งแต่เล็ก ชอบเขียนโคลงกลอน และเรียงความ เรียนหนังสือจนอายุ 16 ปีก็สามารถสอบได้รับประกาศนียบัตรครู  ไปสอนหนังสือตามโรงเรียนได้      แม้ว่ารายได้ครูนับว่าน้อยมากในสมัยนั้น แค่สัปดาห์ละ 2.50 - 3.00 ดอลล่าร์  แคโรไลน์ก็ภาคภูมิใจในรายได้ที่เธอหามาด้วยน้ำพักน้ำแรง ทำให้เธอสามารถหาซื้อเสื้อผ้าของตัวเองและแบ่งเงินส่วนหนึ่งจุนเจือพ่อแม่และน้องๆได้

ตามที่ลอร่าจำได้   แคโรไลน์เป็นหญิงสาวสวยผมสีเข้ม   พูดน้อย มีบุคลิกสงบเสงี่ยมเป็นกุลสตรีทุกกระเบียดนิ้ว  บอกถึงการอบรมอย่างดีจากแม่   เขียนและอ่านหนังสือเก่ง  คุณสมบัติเหล่านี้เป็นที่ต้องตาต้องใจของหนุ่มเพื่อนบ้านชื่อชาร์ลส์ อิงกัลส์อย่างมาก   ทั้งคู่มีโอกาสพบกันเมื่อไปโบสถ์วันอาทิตย์  เจอกันในงานเต้นรำของเพื่อนบ้าน   ไปเดินเล่นด้วยกันในป่าละเมาะใกล้บ้านฯลฯ  จนวันหนึ่งเมื่อแคโรไลน์สอนหนังสือได้ 2 เทอม ชาร์ลส์ก็ขอแต่งงานกับเธอ  เธอก็ตอบรับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 10:19

ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างเพื่อนบ้านหนุ่มสาวสองตระกูลนำไปสู่การแต่งงานถึง 3 คู่ด้วยกัน    

คู่แรกคือเฮนรี่ พี่ชายของแคโรไลน์  พบรักกับพอลลี่น้องสาวของชาร์ลส์  มีลูกด้วยกัน  7 คนคือหลุยซา   ชาร์ลส์ (หรือในหนังสือบ้านเล็กในป่าใหญ่ ลอร่าเรียกว่า "พี่ชาร์ลี"  อัลเบิร์ต  ล็อตตี้ จอร์ช ลิเลียนและรูบี้  

เฮนรี่กับพอลลี่ปลูกบ้านอยู่ในป่าใหญ่ของรัฐวิสคอนซินด้วยกัน ไม่ห่างจากบ้านของชาร์ลส์และแคโรไลน์นัก      ลอร่าเล่าถึงตอนเด็กๆที่พ่อกับลุงเฮนรี่แลกเปลี่ยนแรงงานกัน  คือสองชายจะช่วยกันทำงานในไร่ของแต่ละฝ่าย เช่นเกี่ยวข้าว  โดยพาครอบครัวของตัวเองไปอยู่ที่บ้านของอีกฝ่ายในช่วงเช้าถึงเย็นที่พวกผู้ชายช่วยกันทำงาน   แม่ๆก็ช่วยกันทำกับข้าว และทำงานบ้าน   เด็กๆก็ได้เล่นด้วยกัน สนุกไปตามประสาเด็ก

ลอร่าเล่าในตอน "บ้านเล็กในทุ่งกว้าง" (Little House on the Prairie) ว่าพ่อโยกย้ายพาครอบครัวออกจากป่าใหญ่ของรัฐวิสคอนซิน  ไปตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่ในดินแดนอินเดียนแดงของรัฐแคนซัส   อยู่กันตามลำพังพ่อแม่ลูกได้1  ปีเศษ ก็ได้ข่าวว่ารัฐบาลจะไล่ฝรั่งผิวขาวที่ไปตั้งถิ่นฐานที่นั่นออกให้พ้นจากเขตแดนของอินเดียนแดง   จึงอพยพกันใหม่อีกครั้ง  ทิ้งบ้านและไร่นาที่ลงทุนลงแรงไว้มากมาย  เดินทางไปตั้งบ้านเรือนใหม่ที่เมืองพลัมครี้ก รัฐมินเนโซตา

ในหนังสือ เขียนไว้ว่าพ่อแม่และลอร่าไม่ได้เจอลุงเฮนรี่กับอาพอลลี่อีกเลย     เจอแต่ลูกๆคือพี่หลุยซาและพี่ชาร์ลีที่โตเป็นหนุ่มสาวแล้วอีกครั้ง เมื่อพ่อแม่พาลอร่าและพี่น้องอพยพไปอีกหนึ่งที่ทะเลสาบสีเงินในรัฐดาโกต้าใต้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 10:29

  แต่ในเรื่องจริง เมื่อพ่อแม่อพยพโยกย้ายออกจากป่าใหญ่ในรัฐวิสคอนซิน เขาไม่ได้ไปตามลำพัง   มีครอบครัวของลุงเฮนรี่เดินทางไปด้วยในปี  1868,   ทั้งสองครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐมิสซูรี่ประมาณ 1 ปี จากนั้น ชาร์ลส์พาครอบครัวเดินไปทางตั้งหลักใหม่ในรัฐแคนซัส  ซึ่งยังรกร้างว่างเปล่าเป็นดินแดนของอินเดียนแดง แต่ว่าอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยสัตว์ป่าให้ล่าได้มากมาย     ส่วนเฮนรี่และพอลลี่เดินทางกลับไปป่าใหญ่ในวิสคอนซินตามเดิม

  หลังจากห่างกันไปหลายปี     ลุงเฮนรี่กับครอบครัวก็อพยพออกจากป่าใหญ่ไปตั้งหลักแหล่งใหม่ในรัฐมินเนโซตา ในปี 1872 พบกับครอบครัวของชาร์ลส์ระยะสั้นๆ ก่อนจะแยกย้ายกันไปอีก     ลุงเฮนรี่ไปปักหลักอยู่ในเมืองเล็กๆในรัฐดาโกต้าใต้   ซึ่งเป็นคนละเมืองกับชาร์ลส์และแคโรไลน์ใช้ชีวิตบั้นปลาย    แต่ว่าอยู่ในรัฐเดียวกัน

  เฮนรี่กับครอบครัวของชาร์ลส์ไม่ได้เจอกันอีก   เฮนรี่ตายเมื่ออายุได้เพียง 51 ปี  อีกปีหนึ่งต่อมาพอลลี่ก็ถึงแก่กรรม  ก่อนหน้านี้ลูก 7 คนก็ตายกันไปถึง 4 คน ไม่มีรายละเอียดว่าตายเพราะอะไร แต่เข้าใจว่าเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ  เพราะชีวิตในยุคนั้นนอกจากทุรกันดารแล้ว หยูกยาการรักษาโรคก็ยังล้าหลัง   ทำให้อัตราการตายสูงมากในแต่ละครอบครัว
   พี่ชาร์ลีซึ่งลอร่าเอ่ยถึงไว้อย่างรักและเอ็นดู ในตอน "บ้านเล็กในป่าใหญ่"   ก็เป็นหนึ่งในลูกที่ตายจากไปเร็วเหมือนกัน   เหลือแต่หลุยซา อัลเบิร์ตและล็อตตี้ซึ่งไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในไวโอมิงในบั้นปลาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 10:51

คู่ที่สองที่แต่งงานกันคือปีเตอร์ อิงกัลส์ พี่ชายของชาร์ลส์  แต่งงานกับอีไลซ่า น้องสาวของแคโรไลน์แม่ของลอร่า  มีลูกด้วยกัน 4 คนคืออลิซ เอลลา ปีเตอร์ และน้องสาวคนเล็กชื่ออีดิธ  แต่ในหนังสือ ลอร่าเรียกญาติคนเล็กสุดนี้ว่าดอลลี่ วาร์เดน 
ในนิยายตอน "บ้านเล็กในป่าใหญ่"   ลอร่าเล่าถึงวันคริสต์มาสที่ลุงปีเตอร์และน้าอีไลซ่าพาลูกๆมาฉลองคริสต์มาสด้วยที่บ้านของเธอ  เด็กๆก็ได้เล่นด้วยกันอย่างอบอุ่นสนุกสนาน     
เมื่อครอบครัวของเธอย้ายออกจากป่าใหญ่  ลอร่าเขียนว่าเธอไม่มีโอกาสเจอลุงกับป้าอีก   แต่สิบปีต่อมาเมื่อลอร่าโตเป็นสาวรุ่น  อลิซ
เป็นสาวใหญ่สมรสแล้ว  เธอกับสามีแวะมาพักที่บ้านของลอร่าในเมืองเดอสะเม็ต รัฐดาโกต้าใต้ ก่อนจะเดินทางต่อไป   ส่วนลุงกับป้ายังอยู่บ้านเดิม
เมื่อลอร่าแต่งงานกับแอลแมนโซ    ปีเตอร์ญาติของเธอมาพักอยู่ด้วยที่บ้านใหม่ของเธอชั่วระยะหนึ่ง  เลี้ยงแกะร่วมกับแอลแมนโซและแบ่งกำไรจากการขายด้วยกัน  เธอเล่าไว้ในหนังสือ The First Four Years

แต่ในเรื่องจริง    เมื่อชาร์ลส์พาภรรยาและลูกเล็กๆ 3 คนออกจากป่าใหญ่รัฐวิสคอนซิน   ลุงปีเตอร์ก็พาครอบครัวเดินทางไปด้วยกัน   จนกระทั่งมาถึงรัฐมินเนโซตา   ลุงปีเตอร์ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองซัมโบร ฟอลส์  ส่วนชาร์ลส์พาครอบครัวเดินทางต่อไปจนถึงเมืองวอลนัท โกรฟ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 10:53

     เรื่องจริงที่ลอร่าตัดออกไปจากหนังสือ ข้ามไปเลยไม่เล่าถึงก็คือเหตุการณ์เศร้าที่สุดชีวิตวัยเยาว์ของเธอ   เมื่อพ่อแม่พาลูกๆไปพักอยู่ที่บ้านนาของลุงปีเตอร์ในมินเนโซตา    ในตอนนั้น แคโรไลน์คลอดลูกชายคนเดียวชื่อเฟรดดี้ได้ไม่นานนัก   แต่หนูน้อยเฟรดดี้ไม่แข็งแรง  อายุเพียง 9 เดือน วันหนึ่งก็ป่วยและหมดลมหายใจไปเฉยๆ
    เรื่องที่ทำให้ครอบครัวของลอร่าเศร้าโศกที่สุดอีกครั้งก็คือ  ชาร์ลส์ตัดสินใจเดินทางโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่อีกครั้ง     จึงจำต้องฝังศพหนูน้อยเฟรดดี้เอาไว้ในสุสานใกล้ๆกันนั้น    เหมือนทอดทิ้งให้แกนอนอยู่ตามลำพัง เมื่อพ่อแม่และพี่เดินทางจากไปไม่ได้หันกลับมาอีก
     การเสียลูกชายไปเป็นเรื่องสะเทือนใจแคโรไลน์มาตลอดชีวิตของเธอ  แม้ว่าได้ลูกสาวคนเล็กคือเกรซมาอีกไม่นานหลังจากนั้น ก็ไม่ทำให้เธอลืมลูกชายได้จนแล้วจนรอด       ในวัยชรา ลอร่าได้ยินแม่ปรารภว่าถ้าเฟรดดี้ยังมีชีวิตอยู่  เธอก็จะสุขใจกว่านี้
อาจจะด้วยเหตุนี้ เมื่อลอร่าเขียนนิยายชุดบ้านเล็ก  เธอจึงข้ามเหตุการณ์ช่วงนี้ไปเลย ไม่เอ่ยถึงน้องชายอีก และทำให้จำต้องตัดลุงปีเตอร์ออกไปจากเรื่องด้วย

    ปีเตอร์ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 67   ส่วนอีไลซ่าอายุยืนกว่า อยู่ต่อมาอีกหลายสิบปีจนถึงแก่กรรมก่อนหนังสือ "บ้านเล็ก" ตีพิมพ์ออกมาแค่ปีเดียว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 11:04

  อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านเรือนไทยอาจจะเกิดสงสัยขึ้นมาว่า สมัยนั้นชาวบ้านเขาอพยพอะไรกันนักกันหนา     ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรก็ว่าลำบากแล้ว   การเดินทางก็แสนจะลำบากยากเย็นหนักขึ้นไปอีก       ถนนก็ไม่มี  รถยนต์ก็ไม่มี   เดินทางด้วยเกวียนประทุน  วันๆ ม้าลากไปได้ 20 ไมล์ก็ถือว่าเก่งแล้ว    ยิ่งเดินทางจากรัฐหนึ่งไปอีกรัฐหนึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน  กินนอนกันอยู่ในเกวียนนั่นเอง  อาหารการกินก็ต้องหาใส่เกวียนกันไปเอง  หุงต้มกินกันเองแสนจะทุลักทุเล   ไม่เหมือนไปปิคนิคในสมัยนี้สักนิดเดียว   จะหนาวจะร้อนก็ต้องทนกันอยู่ในนั้น
  ทำไมไม่ปักหลักอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่ง  ที่สะดวกสบาย มีร้านรวง มีผู้คน มีบ้านอยู่เป็นหลักแหล่งถาวร

  คำตอบตรงประเด็นที่สุดคือ  อพยพ เพราะอยู่ที่เดิมไม่พอกิน

  ชีวิตชาวบ้านโดยเฉพาะชาวไร่ชาวนาในสมัยนั้นต้องพึ่งธรรมชาติอย่างเดียว     ในแต่ละรัฐ  ไม่มีใครรู้ว่าที่นั่นอุดมสมบูรณ์หรือว่าทุรกันดารขึ้นมาในตอนไหน     เพราะปีนี้ อาจปลูกพืชผลได้ดี  แต่ปีหน้าเกิดแห้งแล้งขึ้นมา ปลูกอะไรไม่ขึ้นก็เป็นได้   ลมฟ้าอากาศเป็นสิ่งไว้ใจไม่ได้เลยว่าจะตลบหลังเล่นงานชาวไร่ชาวนาขึ้นมาเมื่อไหร่ 
  นอกจากนี้ สมัยนั้นไม่มีการคุมกำเนิด    อัตราการตายของทารกสูงมาก  พ่อแม่จึงต้องมีลูกหลายๆคนเผื่อจะรอดไปได้สักครึ่งตอนโต    ครอบครัวเกษตรกรรมต้องการลูกมากๆเพื่อช่วยแรงงานในไร่นา      ดังนั้นชาวบ้านจึงมีลูกกันบ้านละมากๆ   เมื่อมีหลายปากหลายท้องเข้าก็ไม่พอกิน     การอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ในดินแดนไกลๆที่มีสัตว์ป่าให้ล่าอุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอาหารได้ง่ายกว่าจะอยู่ในเมือง
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 11:14

ขออนุญาตส่งสัญญาณว่ายังติดตามอยู่ตลอดนะคะ

ในชุดบ้านเล็กนี้  แต่ละเล่มให้ความประทับใจแตกต่างกันออกไป  น่าทึ่งอย่างมากคือผู้เขียนสามารถบรรยายจนผู้อ่านรับรู้ได้ถึงบรรยากาศในช่วงชีวิตนั้นๆ  เช่นตอนบ้านเล็กในป่าใหญ่ก็รู้สึกได้ถึงความร่มรื่น เรียบง่าย อบอุ่น ปราศจากปัญหา  ซึ่งก็คือการรับรู้ชีวิตของเด็กเล็กๆ อย่างลอร่าในช่วงอายุนั้น  เล่มต่อๆ มา ลอร่าเริ่มโต  ชีวิตก็จะมีแง่มุมให้เรียนรู้มากขึ้น  คนอ่านก็เหมือนจะเห็นมุมมองชีวิตที่ซับซ้อนขึ้นตามลอร่า

ในเล่มฤดูหนาวที่ยาวนาน  ช่วงต้นในฤดูร้อนผู้เขียนก็บรรยายหน้าร้อนออกมาได้ระอุดี  พอเข้าช่วงหน้าหนาวก็รับรู้ได้ว่าฤดูหนาวนั้นช่างเหน็บหนาวทารุณโหดร้ายเหลือประมาณ  หยิบมาอ่านตอนนี้  ช่างเข้ากับบรรยากาศดีแท้ๆ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 11:54

^


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 14:32

ติดตามอยู่
เป็นหนังสือที่ประทับใจมากชุดหนึ่ง  เรื่องราวที่ซึ้งนี้ทำให้เป็นคนรักการอ่าน
เคยซื้อไว้ชุดหนึ่ง  ตอนนี้อาจจะเหลือไม่ครบทุกเล่ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 15:47

คู่ที่สาม คือชาร์ลส์กับแคโรไลน์ แต่งงานกันเมื่อค.ศ. 1860  จากนั้นก็เริ่มสร้างครอบครัวกันในกระท่อมไม้ซุงหลังเล็ก ในป่าใหญ่ของวิสคอนซิน ใกล้ๆกับญาติพี่น้อง    ไปมาหาสู่และแรกเปลี่ยนแรงงานกันได้ง่าย

ชาร์ลส์มีนิสัยอย่างหนึ่งที่แคโรไลน์ดูออกอย่างดี  คือนิสัยที่เขาเรียกว่า "เท้าฉันมันคัน มันก็ชอบเดินทางเรื่อยไป" คือชอบเดินทางอพยพไปหาที่ใหม่ที่ดีกว่า     นับเป็นนิสัยของนักบุกเบิกโดยแท้      แคโรไลน์ไม่ชอบเดินทางร่อนเร่ไปตามที่โน่นที่นี่    เธออยากอยู่ในบ้านเมืองที่ตั้งมั่นคงแล้ว เพราะมันหมายถึงความเจริญและโอกาสเล่าเรียนของลูกๆ      เมื่อแต่งงาน เธอขอว่าถ้ามีลูกสาว ก็ขอให้ทุกคนที่จะเกิดมาได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน  ชาร์ลส์ก็ให้สัญญาตามนั้น และรักษาสัญญาอย่างมั่นคง
ลูกสาวสี่คนได้รับการศึกษาอย่างดีเท่าที่พ่อแม่จะให้ได้    แม้แต่แมรี่ ลูกสาวตาบอดก็มีโอกาสเรียนที่วิทยาลัยคนตาบอดในไอโอวาจนจบ   
แคโรไลน์ตั้งใจให้ลูกสาวคนใดคนหนึ่งเจริญรอยเป็นครูตามแม่   ลอร่าก็ได้เป็นสมใจแม่  และอีกคนหนึ่งก็คือเกรซ น้องสาวคนเล็ก

ข้างล่างนี้คือบ้านจำลองของบ้านไม้ซุงในป่าใหญ่ที่ลอร่าเกิดและเขียนถึงในนิยายเล่มแรก "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 15:57

ดิฉันเคยเข้าไปดูบ้านไม้ซุงแบบนี้ ที่เขาจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง  ที่ไหนสักแห่งจำไม่ได้แล้ว    โผล่เข้าไปข้างในรู้สึกว่ามันมืดและอับทึบเหลือเกิน    แต่เมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีก่อน  ในฤดูหนาวบ้านแบบนี้อบอุ่นได้ง่ายกว่าบ้านกว้างๆซึ่งเปลืองฟืนในเตาผิงมาก  นอกจากนี้   แม่ของลอร่าเป็นแม่บ้านที่สะอาดเรียบร้อย จัดบ้านช่องได้น่าอยู่ ไม่ว่าจะอยู่ในบ้านเล็กขนาดไหนก็ตาม     ในบ้านอบอวลไปด้วยความรัก  เสียงหัวเราะของพ่อและเสียงซอในยามค่ำคืน    มันก็ย่อมเป็นบ้านที่น่าอยู่ยิ่งกว่าบ้านใหญ่ๆที่เงียบเหงา

เรื่อง "บ้านเล็กในป่าใหญ่" เล่าถึงวงจรชีวิตของชาวบ้านในแต่ละฤดูกาล  เริ่มต้นด้วยช่วงเวลาปลายฤดูใบไม้ร่วงต่อกับต้นฤดูหนาว   ที่พ่อแม่จะต้องสะสมอาหารไว้กินตลอดเวลาหลายเดือนที่หิมะตก  ปลูกพืชผลไม่ได้ ล่าสัตว์ก็ยาก      ลอร่าเล่าไว้ในชีวิตจริงว่าเธอยังจำได้ถึงกวางที่พ่อยิงได้ แขวนอยู่รอบบ้าน  รอเวลาถลกหนัง และหั่นเนื้อออกมารมควัน     เล่าถึงแม่ที่เก็บผักผลไม้มาไว้ในห้องใต้หลังคาซึ่งเย็นเฉียบในหน้าหนาว    เคี่ยวน้ำมันหมู   หั่นเนื้อหมูแช่เกลือ ปั่นเนย  มีลูกเล็กๆคอยช่วยเท่าที่จะช่วยได้   

สำหรับเด็กน้อยไร้เดียงสา  งานที่คนอื่นมองว่าเหน็ดเหนื่อยเหล่านี้ล้วนเป็นของสนุก   เพราะพ่อแม่ไม่ได้ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องยากลำบากตรากตรำ     งานเป็นส่วนสำคัญของชีวิต  การนั่งอยู่เฉยๆในวันอาทิตย์เสียอีก เป็นความน่าเบื่อสุดจะทน


บันทึกการเข้า
sirinawadee
ชมพูพาน
***
ตอบ: 101


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 17:27

โอย เกือบพลาด

มาลงชื่อรายงานตัวค่ะ เดี๋ยวจะมาไล่อ่านให้หมดเลย ขอไปทำงานก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 ธ.ค. 13, 07:36

บ้านแรกที่ชาร์ลส์และแคโรไลน์มีเนื้อที่แปดสิบเอเคอร์ แบ่งสองกับเฮนรี่  ปลูกบ้านอยู่ใกล้กัน   แต่ในนิยาย "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ลอร่าตัดฉากที่บ้านลุงเฮนรี่ออกไป  เหลือแต่เพียงบ้านของเธอโดดเดี่ยวอยู่ในป่าใหญ่    บ้านสองหลังนี้อยู่ห่างจากทะเลสาบเปปินไป 7 ไมล์    เมืองเปปินริมทะเลสาบเป็นแหล่งรับซื้อขนสัตว์ที่ชาร์ลส์วางกับดักและยิงได้ในป่า   เอากลับบ้านมาถลกหนัง  รวบรวมได้ทีหนึ่งก็แบกไปที่ร้านค้าในเมือง  ขายขนสัตว์ซื้อของใช้จำเป็นและของสวยๆเช่นผ้าตัดเสื้อมาให้ลูกเมีย

ชาร์ลส์กับแคโรไลน์แต่งงานกัน 5 ปีถึงมีลูกสาวคนแรก  ผมสีทอง ตาสีฟ้า   พ่อแม่ตั้งชื่อว่าแมรี่ อะมีเลีย    สองปีต่อมาลูกสาวคนที่สองก็ตามมา   คนนี้ผมสีน้ำตาลและตาสีฟ้า  ได้รับชื่อว่าลอร่า เอลิซาเบธ

ความทรงจำเริ่มแรกของหนูน้อยลอร่า คือพ่อ แม่ พี่สาวตัวเล็กๆโตกว่าเธอไม่เท่าไร    อาศัยอยู่รวมกันในกระท่อมหลังเล็กที่แสนจะเป็นสุขและอบอุ่นพร้อมหน้าพร้อมตากัน     ภาพชีวิตเหล่านี้  เมื่อลอร่าเข้าวัยชรา เธอเรียกมันว่า "ภาพที่แขวนอยู่ในความทรงจำของฉัน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 ธ.ค. 13, 07:43

ภาพที่ลอร่าจำแม่นยำไม่ลบเลือนคือค่ำคืนที่หนาวเย็นภายนอก   แต่ในบ้านสว่างและอบอุ่นด้วยแสงไฟจากฟืนท่อนใหญ่ๆในเตาผิง   มีพ่อ แม่ และแมรี่อยู่ในภาพนั้น
ภาพแรกเมื่อลอร่าจำความได้ คือพ่อ    สิ่งแรกในตัวพ่อที่เธอจำได้คือดวงตาสีฟ้าสดของพ่อ  แจ่มกระจ่าง และคมกริบ    เป็นดวงตาที่เล็งเป้าอย่างแม่นยำ ยามประทับปืนไรเฟิลบนบ่า  พ่อสามารถฆ่าหมี หรือหมูป่าตัวใหญ่ด้วยกระสุนนัดเดียว     แต่ดวงตาคมกล้าของพ่อ ก็เปลี่ยนเป็นอ่อนโยนยามพ่อมองแม่ หรือลูกสาวตัวน้อยๆในยามเธอป่วยไข้
พ่อมีผมดกหนาและละเอียด สีน้ำตาลเข้ม   พ่อไว้เครายาวสีน้ำตาลอมแดง ตลอดชีวิตตั้งแต่หนุ่มจนชรา

เท่าที่ลอร่าจำความได้ พ่อเป็นคนแข็งแรง แคล่วคล่องว่องไวที่สุด   พ่อเล่นสเก๊ตได้เก่งกว่าใครๆ  ว่ายน้ำก็เร็ว   พ่อสามารถเดินได้วันละหลายไมล์ท่ามกลางหิมะในป่า เพื่อไปล่าสัตว์ หรือเดินทางเข้าเมืองเอาขนสัตว์ไปขาย    เธอยังจำได้ถึงฝีเท้าสม่ำเสมอของพ่อที่เดินไปเดินมาทั้งคืน แบกลูกสาวตัวน้อยที่ป่วยไข้งอแงจนเธอหลับไปกับบ่าพ่อ
เธอยังจำได้ถึงเสียงพ่อปลอบประโลมลูกสาวให้นิ่งไม่ร้องไห้   และเสียงพ่อพูดกับแม่ว่า
" เธอพักเสียเถอะ แคโรไลน์ ฉันจะดูแลลูกเอง"


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง