เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 24988 อยากทราบรายละเอียดของภาพนี้ครับ
bpnu
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


 เมื่อ 23 พ.ย. 13, 23:31



เป็นงานพระราชพิธีเรือที่เกิดขึ้นในสมัย ร.5 ใช่ไหมครับ อยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ครับ รบกวนพี่ๆทีครับขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 07:09

เป็นภาพมุมสูงในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งเป็นวันที่ ๔ ของการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพระราชกุมารพระองค์ใหญ่ (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ)

ในภาพตรงกลางเป็นพระตำหนักแพที่โปรดให้ผูกไว้ที่หน้าพระราชกิจวินิจฉัย  ท่าราชวรดิษฐ เป็นที่สำหรับสมเด็จพระบรมฯ เสด็จลงสรงสนานตามโบราณราชประเพณี

โปรดสังเกตทางมุมล่างขวาของภาพจะเห็นเรื่อพระที่นั่ง ๒ องค์ จอดเทียบท่าอยู่  องค์แรกนั้นมีพระวิสูตรปิดไว้โดยรอบ  เทียบไว้สำหรับเป็นฉนวนปลื้องเครื่อง  เวลาเสด็จพระราชดำเนินมาถึงท่าเรือ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระมาลา  แล้วมาเปลื้องพระมาลาในเรือพระที่นั่งฉนวนที่จัดเป็นพลับพลาเปลื้องเครื่องนี้  แล้วทรงพระมหากฐินประทับในเรือพระที่นั่งเมื่อเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่งก็จะทรงเปลื้องพระมหากฐินมาทรงพระมาลา

การที่ต้องทรงเปลื้องพระมหากฐินนั้น  เป็นเพราะพระมหามงกุฎนั้นไม่เหมาะสำหรับจะทรงเวลาเสด็จพระราชดำเนิน  เนื่องจากขนาดที่ไม่เหมาะ  และน้ำหนักที่มากถึง ๓.๕ กก. (โดยประมาณ)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 07:30

ใน จดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ หน้า ๑๕๙-๑๖๐ บันทึกไว้ดังนี้




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 07:46

ในที่สุดจดหมายเหตุรายวันของพระราชกุมารชันษา 8 ขวบ ก็กลายเป็นกุญแจไขปริศนา ดังนี้

(หมายเหตุ: มีงาน 3 วันก่อน วันที่ 4 จึงเป็นการลงสรง)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 07:48

เหตุการณ์ในวันสำคัญ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 07:53

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 08:08

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 09:03

การสร้างแพลงสรงในพระราชพิธีครั้งนี้ ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ กรมพระภาณุพันธุวงศ์ วรเดช องค์อำนวยการจัดงานพระราชพิธี โดยมีหม่อมเจ้าอลังการ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ เป็นนายช่างการก่อสร้างแพลงสรง

แพลงสรงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร จัดสร้างขึ้น ณ พระที่นั่งชลังคพิมาน (พระตำหนักแพ) บริเวณท่าราชวรดิษฐ์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใต้ฐานแพใส่ไม้ไผ่และไม้ไผ่นี้รองรับด้วยโครงไม้วางสลับเป็นรูปตาราง เว้นช่องว่างบริเวณกึ่งกลางแพเพื่อเป็นที่ลงสรงรอบๆฐานแพปิดด้วยไม้ไผ่สานเป็นแผงตาชะลอม เข้าขอบบุด้วยผ้าแดง แล้วใช้ลวดตาข่ายสังกะสีบุทับอีกชั้นหนึ่ง เพื่อความเรียบร้อย

ด้านตะวันออกของแพลงสรงเป็นที่ตั้งของพลับพลาทองจัตุรมุขซึ่งมีพระที่นั่งโธรนตั้งอยู่เพื่อเป็นที่ประทับ บริเวณกลางแพเป็นที่ตั้งของมณฑปทำด้วยไม้มะเดื่อ กลางมณฑปเจาะช่องที่พื้น สำหรับเสด็จลงสรง โดยทำเป็นกรงบุผ้าขาวเนื้อละเอียด แล้วใช้ตาข่ายสังกะสีตาละเอียด ปิดทองบุทับผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง ในกรงมีรูปกุ้งทอง กุ้งนาก กุ้งเงิน ปลาทอง ปลานาก ปลาเงิน มีมะพร้าวปิดทอง ๑ คู่  มะพร้าวปิดเงิน ๑ คู่ ทางด้านตะวันตกมีมณฑปตั้งพระแท่นแว่นฟ้า ๗ ชั้น มีตั้งไม้มะเดื่อสำหรับประทับรับน้ำพระพุทธมนต์พระกระยาสนานหลังจากเสด็จขึ้นจากที่สรง

แพลงสรงดังกล่าวเปรียบเสมือนรูปจำลองภูมิจักรวาล อันประกอบด้วยเขาไกรลาส (หรือเขา พระสุเมรุ) ซึ่งมีน้ำล้อมรอบอยู่อย่างแท้จริง และแพลงสรงนี้ก็เปรียบเสมือนรูปจำลองภูมิจักรวาลที่สามารถลอยเคลื่อนที่ได้นั่นเอง

ภาพแพลงสรงจำลอง อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 09:06

วันแรกของพระราชพิธี พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ๒๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ตั้งน้ำวงด้ายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โดยมีการวงด้ายสายสิญจน์รอบพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย

ในวันอังคาร ที่ ๑๑ – พฤหัสบดีที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๒๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทรงประกอบพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นเวลา ๓ วัน

ในวันศุกร์ ที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๒๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับ ณ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ทรงรับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ จากพระราชยาน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ทรงเปลี่ยน พระภูษาฉลองพระองค์ เสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงรับพระกรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอไปประทับที่พลับพลาหน้าพระที่นั่งชลังคพิมาน ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการเสร็จแล้วสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ถวายศีล จากนั้น ทั้งสองพระองค์เสด็จลงยังแพยังพระที่นั่งโธรน พราหมณ์ลอยกุ้งทอง กุ้งเงิน กุ้งนาก ปลาทอง ปลาเงิน ปลานาก มะพร้าวงอกทอง มะพร้าวงอกเงิน ที่มุมกรงสำหรับสรงสนาน แล้วจุดเทียนบูชาอวยชัย โหรบูชา พระฤกษ์และลอยบัตร์ตามกระแสน้ำ เรือเจ้าพนักงานตรวจตราความเรียบร้อย



เมื่อถึงเวลาพระมหามงคลฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับพระกรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช รับพระกรต่อจากพระหัตถ์นำเสด็จลงจุ่มพระองค์ในกรงสรงสนานพร้อมด้วยมะพร้าวคู่ปิดเงินปิดทองถวายให้ทรงโผไปมา ๓ ครั้ง ขณะเดียวกันเจ้าพนักงานประโคมดนตรี พระราชาคณะสวดถวายไชยมงคล กรมพระแสงปืนต้นยิงปืนสัญญาณขึ้นพร้อมกัน เจ้าพนักงานประจำเรือทอดทุ่นล้อมวงยิงปืนใหญ่น้อยขึ้นผลัดเปลี่ยนกันไปจนกว่าจะสิ้นเวลาสรงสนาน ปืนใหญ่ยิงสลุตถวายพระเกียรติแห่งละ ๒๑ นัด การละเล่นสมโภช  ก็เล่นขึ้นพร้อมกัน

ครั้นลงสรงสนานพอสมควรแล้วก็เชิญเสด็จขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสอดพระธำมรงค์นพรัตน์แก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ และพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวรรตและพระเต้าเบญจครรภ์ พระมหาสังข์ ๕ พระมหาสังข์ ๓ และพระเต้า จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ และพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และเสนาบดี ถวายน้ำพระพุทธมนต์ พราหมณ์ถวายน้ำกลศ น้ำสังข์ เสร็จแล้วทรงผลัดพระภูษาและแต่งพระองค์ด้วยฉลองภูษาครุย จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ประทับบนพระราชยาน ตั้งกระบวนแห่กลับ เสด็จขึ้นสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ครั้นได้มหาพิไชยฤกษ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เจ้ากรมอาลักษณ์ อ่านประกาศยอพระเกียรติเฉลิมพระปรมาภิไธย สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร มีพระนามตามจารึกสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสุริย์ขัตติยสันตติวงษ์ อุกฤษฐพงษ วโรกโตสุชาติ ธัญญลักษณ์วิลาศวิบูลย์สวัสดิ์ ศิริวัฒนวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร”

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวรรต ทรงเจิมแล้วพระราชทานพระสุพรรณบัฏและคำประกาศรับพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ประกอบด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ พระสังวาลพระนพน้อย พระแสงญี่ปุ่นฝักถมราชาวดี พระแสงกระบี่สันปรุคร่ำทอง ฝักทองคำลงยาและด้ามศีรษะนาคสามเศียรลงยาราชาวดีประดับพลอย  พระแสงกั้นหยั่นลงยาราชาวดีประดับพลอยแดง พานหมากเสวยลงยาราชาวดี พระเต้าลงยาราชาวดี บ้วนพระโอษฐ์ลงยาราชาวดี  หีบหมากเสวยลงยาราชาวดี ที่พระสุธารสทองคำ กาน้ำเสวยทองคำ พระประคำทองสาย พระสายดิ่ง พระธำมรงค์นพเก้า พระธำมรงค์ประจำวันทองคำรูปหนู พระธำมรงค์มรกตเป็นพระลัญจกรประทับครั่ง พระลัญจกรประทับครั่ง

เวลาบ่ายสามโมงเศษ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นองค์แทนพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย ราชทูตกรุงอังกฤษ ตัวแทนเสนาบดีและข้าราชการอ่าน คำถวายพระพร ในวันเสาร์ ๑๕ - วันอาทิตย์ ที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๒๙ ได้มีการจัดกระบวนแห่สมโภช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ถวายทรงเจิมสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในเวลาสมโภช จึงเป็นการเสร็จสิ้นพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธย

ในวันอังคาร ที่ ๑๘ มกราคม๒๔๒๙ เป็นวันเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครและพระราชทานเหรียญที่ระลึก และพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการทิ้งทานกัลปพฤกษ์สี่ต้นแก่ราษฎร และในวันพฤหัสบดี ที่ ๒๐ มกราคม ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกระบวนพยุหยาตรา ครั้นแล้วเสร็จจึงเสด็จเข้า สู่พระบรมมหาราชวังเป็นการเสร็จพระราชพิธี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 09:11

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่เข้าร่วมพระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ โดยเป็นเหรียญกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๗ มิลลิเมตร มี ๔ ชนิด คือ ทองคำ เงินกาไหล่ทอง เงิน และทองแดง

ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ผินพระพักตร์เฉียงทางด้านซ้ายของเหรียญทรงเครื่องอย่างขัตติยราชกุมาร ทรงพระเกี้ยวยอด ริมขอบมีอักษรพระปรมาภิไธยจารึกอยู่โดยรอบ ความว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสุริย์ขัตติยสันตติวงษ์ อุกฤษฐพงษ วโรกโตสุชาติ ธัญญลักษณ์วิลาศวิบูลย์สวสดิ์ ศิริวัฒนวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร” ริมขอบล่างมีอักษรโรมัน ขนาดเล็กว่า “W.E.J. GAND”

ด้านหลัง เป็นรูปแพลงสรง ริมขอบบนมีอักษรข้อความว่า “ที่ระฦกการพระราชพิธีลงสรง เฉลิมพระปรมาภิธัย” ริมขอบล่างมีอักษรข้อความว่า “ปีจอ อัฐศกศักราช ๑๒๔๘ “ และอักษรโรมันขนาดเล็กว่า “W. KULLRICH F”

ข้อมูลจากบทความเรื่อง พระราชพิธีลงสรงและเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ของ คุณศราวุฒิ  วัชระปันตี ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ ส่วนจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
bpnu
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 พ.ย. 13, 21:40

ขอบคุณ เพ็ญชมพูมากครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 ธ.ค. 13, 21:19

คำประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย

ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาล เปนอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๒๙ พรรษา ปัตยุบันกาลโสณสังวัจฉะบุศยมาศ กาลปักษ์ฉัฐมีดิถี ศุกรวาร ปริเฉทกาลกำหนด

พระบาทสมเดจพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุศยรัตนราชรวิวงษ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราหณีจักรีบรมนารถ มหามกุฎราชรามวรางกูร สุจริตมูลสุสาธิตอรรคอุกฤษฐไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญญลักษณวิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนต บาทบงกชยุคลประสิทธิสรรพศุภผล อุดมบรมสุขุมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเสส สรรพเทเวศรานุรักษ วิสิฐศักดิสมยาพินิจประชานารถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย อุดมเดชาธิการ บริบูรณคุณสารสยามาทินคร วรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายก อนันตมหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเสวตรฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักณ์มหาบรมราชาภิเสกาภีสิต สระพทศทิศวิชิตไชย สกลมหัยสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนราถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิอัคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤไทย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระราชดำริห์ว่า ตามพระราชกำหนดกฎหมาย ซึ่งปรากฏมาว่ากฎมณเฑียรบาล อันพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ อู่ทอง ซึ่งประดิษฐานแลดำรงกรุงทวารวดีศรีอยุทธยา ได้ทรงตั้งขึ้นไว้เมื่อปีชวด โทศก จุลศักราช ๗๒๒ ซึ่งเปนครั้งเริ่มแรกที่จะได้จัดลำดับยศพระบรมวงษานุวงษ แลข้าราชการทั่วไป ในพระราชกำหนดนั้น ยกพระบรมราชโอราสอันเกิดด้วยพระอรรคมเหษีเปนสมเดจหน่อพุทธเจ้า มีพระเกียรติยศใหญ่ยิ่งกว่าพระบรมวงษานุวงษ ซึ่งปรากฏตำแหน่งยศเปนลำดับลงมา ในพระราชกำหนดนั้นหาได้มีตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคบมหาอุปราชฝ่ายน่า ในเมื่อพิเคราะดูตามจดหมายพระราชพงษาวดารในเบื้องต้น ก็ไม่มีปรากฏว่าได้ตั้งพระมหาอุปราชฝ่ายน่าตลอดมาหลายแผ่นดิน จนถีงแผ่นดินพระบาทสมเดจพระบรมไตรโลกนารถ ซึ่งได้ทรงตั้งพระราชกำหนดศักดินาพลเรือน ในจุลศักราช ๘๒๘ ปีจออัฐศก จึ่งได้มีปรากฏในพระราชพงษาวดาร ว่าได้ทรงประดิษฐาน พระราชโอรสไว้ในที่พระมหาอุปราชความบ่งตรงกันกับตำแหน่งนาพลเรือนซึ่งได้ตั้งขึ้นในครั้งนั้น เปนชั้นหลังมีกำหนดว่า สมเดจพระเจ้าลูกเธอซึ่งได้เฉลิมพระราชมณเฑียร เปนพระมหาอุปราช ทรงศักดินาแสนหนึ่ง เปนต้นตำแหน่งพระมหาอุปราชเกิดขึ้น แต่ครั้งเมื่อรัชกาลต่อๆ มาก็หาได้ตั้งทุหแผ่นดินทุกครั้งทุกคราวไม่ เว้นหว่างอยู่หลายๆ สิบปีก็มี ครั้นภายหลังเมื่อประดิษฐานกรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุธยานี้แล้ว ตำแหน่งที่พระมหาอุปราช จึ่งเปนตำแหน่งซึ่งได้ตั้งทุกรัชกาล แต่มิได้มีคงที่อยู่สำหรับแผ่นดิน เปนตำแหน่งที่สำหรับพระราชทานบำเหน็จความชอบ แก่พระบรมวงษ์ผู้มีความชอบยิ่งใหญ่เฉพาะพระองค์ ครั้นเมื่อพระมหาอุปราชผู้มีความชอบนั้นล่วงไปแล้ว ไม่มีพระบรมวงษพระองคใดซึ่งจะมีความชอบเสมอเหมือน พระมหาอุปราชที่ล่วงไป จึ่งไม่ได้ทรงตั้งตำแหน่งนั้นต่อไปอีก เว้นหว่างอยู่นานๆ จนตลอดรัชกาลทุกๆ แผ่นดินที่ผ่านมา

แต่ตำแหน่งพระมหาอุปราช ในครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระราชทานเกียรติยศยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน มีพระนามเปนต้นคล้ายคลึงกับพระเจ้าแผ่นดิน พอประจวบกันกับที่กรุงสยาม ได้มีทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ ซึ่งมีธรรมเนียมตำแหน่งยศพระบรมวงษานุวงษ แปลกเปลี่ยนกันกับกรุงสยามยากที่จะเข้าใจได้ จึงได้แปลตำแหน่งพระมหาอุปราช ออกเปนพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ เพื่อจะให้เข้าใจได้ง่ายๆ แต่นั้นมาความเข้าใจของคนต่างประเทศ ก็แปลกเปลี่ยนไปต่างๆ ยากที่จะชี้แจงให้เข้าใจได้

ครั้นเมื่อวันศุกร เดือนเก้า แรมสิบค่ำ ปีรกาสัปตศก ศักราช ๑๒๔๗ ได้ทรงพระราชดำริห พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษกับเสนาบดี แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยเหนพร้อมกันว่า ตำแหน่งยศสมเดจพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งเรียกว่าสมเดจหน่อพุทธเจ้า อันได้ตั้งขึ้นไว้แต่ครั้งสมเดจพระรามาธิบดีที่ ๑

ในจุลศักราช ๗๒๒ นั้น เปนตำแหน่งอันสมควร ซึ่งจะใช้เปนแบบอย่างสืบไปภายน่า แลเปนตำแหน่งอันถูกต้องกันกับนานาประเทศทั้งปวง ซึ่งจะเปนอันเข้าใจได้โดยชัดเจน

จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกธรรมเนียมตั้งพระมหาอุปราชฝ่ายน่า ซึ่งมีมาในพระราชกำหนดตำแหน่งศักดินาพลเรือนนั้นเสีย คงใช้ตามพระราชกำหนด ซึ่งปรากฏชื่อว่ากฎมณเฑียรบาล อันได้ตั้งไว้ในจุลศักราช ๗๗๒ นั้น

อนึ่งราชประเพณีแต่ก่อนมา เมื่อสมเดจพระเจ้าลูกเธอ พระราชกุมารพระองคใหญ่ มีพระชนมายุได้เก้าพรรษา ก็ได้เคยมีการลงสรงสนาน รับพระปรมาพิไธยดำรงพระเกียรติยศเปนสมเดจพระบรมโอรสาธิราชบ้าง ยกการลงสรงเสีย มีแต่การพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธยบ้าง เปนแบบอย่างมาแต่โบราณ จนถึงกรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุธยานี้ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ได้มีการพระราชพิธีลงสรงสนานรับพระปรมาพิไธย ในพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งหนึ่ง ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้มีการพระราชพิธีรับพระปรมาพิไธย ในพระบาทสมเดจพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกครั้งหนึ่ง เปนแบบอย่างมา

ในบัดนี้ สมเดจพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าราชกุมารพระองค์ใหญ่ มีพระชนมายุได้เก้าพรรษา สมควรที่จะได้มีการพระราชพิธีลงสรงสนาน แลรับพระปรมาภิไธยตามโบราณราชประเพณี จึ่งทรงพระราชดำริห์พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ แลท่านเสนาบดี ให้จัดเตรียมการพระราชพิธีลงสรงตามแบบอย่างแต่ก่อน แล้วจึ่งมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้สถาปนาสมเดจพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าราชกุมารพระองค์ใหญ่ ขึ้นเปนสมเดจพระบรมโอรสาธิราช มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า สมเดจพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรบรมมกุฎนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงษ อุกฤษฐพงษวโรภโตสุชาติ ธัญญลักษณวิลาศวิบุลยสวัสดิ ศิริวัฒนวิสุทธิ สยามมกุฏราชกุมาร มุสิกนาม ตามตำแหน่งยศสมเดจหน่อพุทธเจ้า ซึ่งมีมาในพระราชกำหนดกฎมณเฑียรบาล ซึ่งได้ตั้งไว้ในจุลศักราช ๗๒๒ แลให้ทรงศักดินาแสนหนึ่ง เสมอสมเดจพระเจ้าลูกเธอ อันได้เฉลิมพระราชมณเฑียร เปนพระมหาอุปราชฝ่ายน่า ซึ่งมีมาในพระราชกำหนดตำแหน่งนาพลเรือน ซึ่งได้ตั้งไว้ในจุลศักราช ๘๒๘ นั้น

ขออาราธนาเทพยดาผู้มีมเหศวรศักดิอันประเสริฐ ซึ่งสถิตดำรงอยู่ในภูมิพฤกษอากาศกาญจนรัตนพิมาน ทั่วทุกแหล่งหล้าเปนอาทิ คือเทพยดาอันทรงนามสยามเทวาธิราช ซึ่งเปนอธิบดีได้บริรักษบำรุงกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยานี้ แลเทพเจ้าผู้อภิบาลรักษานพปดลมหาเสวตรฉัตร ศิริรัตนราไชยสวริย์ แลเทพยอันรักษารัตนบัลลังก์พระที่นั่งบรมราชอาสน์ใหญ่น้อย ในพระราชนิเวศน์ บรมมหาสฐานทุกตำบล ทั้งเทพยเจ้าอื่นๆ ผู้มีทิพยานุภาพมหิทธิฤทธิศักดิ์สิทธิ สิงสภิตย์ในภูมิ์ลำเนาแนวพฤกษบรรพตากาศพิมาน ทุกสฐานทั่วพระราชอาณาจักร บันดาซึ่งมีไมตรีจิตรได้ผดุงบริรักษพระบรมราชวงษนี้ สืบมาจนกาลบัดนี้ จงได้ทำนุบำรุงรักษาสมเดจพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นี้ ให้ทรงพระเจริญทฤฆชนมายุ พรรณ ศุข พลปฏิภาณ ศิริสวัสดิพิพัฒนมงตล เกียรติยศอิศริยยศศักดิเดชานุภาพทุกประการ ขอให้พระเกียรติคุณอดุลยยศปรากฏไปสิ้นกาลนานเทอญ

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 20 คำสั่ง