เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 67405 อ่านหนังสือ....เพิ่มความรู้
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 14:51

ได้รับแรงบันดาลใจจากหลายท่านที่เรือนไทยนี้ ทำให้ดิฉันอยากอ่านหนังสือจดหมายเหตุรายวัน และหนังสืองานศพมาก จึงเป็นที่มาของหนังสือเล่มแรกที่จะอ่านในเดือนพฤศจิกายนนี้ค่ะ


ขอบคุณสำหรับแรงบันดาลใจนี้ค่ะ อ่านสนุกได้ความรู้ ความเข้าใจ ทำให้อยากอ่านเล่มโน้นเล่มนี้ต่อไปค่ะ  ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 พ.ย. 13, 15:25

น่าสนใจมากค่ะ  อ่านจบแล้วมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ
ท่านสมาชิกที่จะร่วมสนทนาเรื่องนี้ได้อย่างดี  คือคุณ V_Mee ค่ะ
บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 พ.ย. 13, 17:38

ตอนนี้อ่านมาได้ครึ่งเล่มแล้วค่ะ ชอบตอนที่พระองค์บันทึกเรื่อง "คอนสติตูชั่น" เมื่อเดือนมีนาคม ร.ศ.130
เป็นการอธิบายแสดงคุณและโทษอันอาจจะมีมาได้โดยลักษณะปกครองมี "คอนสติตูชั่น"

ขออนุญาติไปสแกนมาให้ทุกท่านได้อ่านนะคะ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 พ.ย. 13, 10:16

ระหว่างรอคุณ saimai   ขอนำจดหมายเหตุรายวัน บางตอนมาลงคั่นโปรแกรมไปพลางๆก่อนค่ะ
จากที่คุณ kanungnit เล่าไว้

http://www.phangngacity.com/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8_%E0%B8%A3-6.html

จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสเมืองตะกั่วป่า ร.ศ.128

พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงดำรงอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ทรงพระราชนิพนธ์ในลักษณะจดหมายเหตุรายวัน รวม 12 ฉบับ ทรงใช้นามแผงว่า "นายแก้ว" ซึ่งในฉบับที่ 4 ระหว่างวันที่ 20 - 24 เมษายน ร.ศ.128 ครั้งทรงประพาสที่เมืองตะกั่วป่า

 วันที่ 20 เมษายน ร.ศ.128 เรือถลางถอนสมอออกเดินทางจากปากแม่น้ำระนอง มาตามทางทะเล มาเข้าแม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำก็มีที่งาม ๆ น่าดูตลอดมา มีเขาทั้งสองข้างและมีการเกาะเป็นอันมาก มีบางเกาะที่มีเหมืองแร่ดีบุก เช่น เกาะพระทอง เป็นต้น กำหนดตามโปรมแกรมว่าบ่าย ๆ จะมาถึงเมืองตะกั่วป่า แต่เรือพาลี ซึ่งนำหน้าเรือถลางลงมานั้น เดินอยู่ข้างจะช้ามาก เพราะฉะนั้นกว่าจะทอดสมอที่หน้าเมืองตะกั่วป่าก็ค่ำเห็นไฟที่ตลาดครึกครื้นน่าดูมาก พอเรือทอดสมอ พระยาเสนานุชิต ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า ลงมาเฝ้าเรือ เชิญเสด็จขึ้นเมือง เวลาทุ่มเศษ?.ฯลฯ

วันที่ 21 เมษายน ร.ศ.128 อำเภอตลาดใหญ่ เมืองตะกั่วป่า เวลาเช้า จวน 4 โมง เสด็จลงเรือดำรงรัฐจ ากเรือถลาง แล่นขึ้นมาตามลำน้ำ มาในระหว่างเกาะ ซึ่งมีเรียงรายอยู่ทั้งสองข้าง ผมได้ยิน ท่านเจ้าคุณเทศา ท่านว่ามีดีบุกแทบทุกเกาะ แต่ไม่มีใครได้ร่อนเพราะได้ไม่คุ้มโสหุ้ย ที่จะต้องเสีย ฯลฯ?
เวลาบ่ายโมงถึงท่า เสด็จทรงขึ้นพระเก้าอี้หามขึ้นมาพลับพลาทางประมาณ 20 เส้น ขึ้นจากท่าผ่านไป ริมกำแพงบ้านพระยาตะกั่วป่า เก่าชำรุดทรุดโทรมหมดแล้ว ทางข้างซ้ายถนนที่ดิน ยังเป็นที่ลุ่ม และเห็นได้ว่าเป็นลำน้ำเก่า มีหม้อเรือไฟของพระยาตะกั่วป่าทิ้งอยู่หม้อหนึ่ง ซึ่งเป็นพยาน ปรากฏอยู่ว่า แม่น้ำได้เคยขึ้นมาถึงตรงนั้น ทำให้เห็นได้ชัด การที่ทำลายเขาทำเหมืองแร่ขุดดีบุก เป็นอันตรายแก่ลำน้ำมาก    
พ้นบ้านพระยาตะกั่วป่าไปถึงตลาด มีตึกแถวอย่างจีนอยู่สอง ข้างถนน.. ที่ตลาดใหญ่นี้รู้สึกว่าเป็นเมืองมากกว่าเมืองใหม่ ซึ่งได้ขึ้นไปดูเมื่อคืน ที่นี่ตึกกว้านบ้านช่องมีมากกว่า ผู้คนก็ดูแน่นหนา ที่เมืองใหม่นั้นช่างสมชื่อเมืองตะกั่วป่าจริง ๆ คือมีตะกั่ว (ดีบุก) ทั่วไปทั้งเกาะ และสวนป่าก็เห็นอยู่มากกว่าบ้าน เมื่อคืนนี้เวลาประทับอยู่ที่จวนผู้ว่าราชการได้ยินเสียงกวางร้องอยู่ในป่า ได้ยินถนัดทีเดียว จนเข้าใจได้ว่าป่าอยู่ใกล้มาก สมควรแล้วที่จะเรียกว่า เมืองตะกั่วป่า ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 พ.ย. 13, 10:17

วันที่ 22 เมษายน ร.ศ. 128 สิ่งสำคัญที่เสด็จไปทอดพระเนตรในวันนี้ คือ พระนารายณ์เทวรูป ซึ่งตั้งอยู่บนพลับพลาประทับร้อน เทวรูปพระนารายณ์ตั้งอยู่กลาง ข้างขวามือมีรูปเทพธิดานั่ง ซึ่งบางทีจะเป็นพระลักษมี ข้างซ้ายมีอีกรูปหนึ่งแปลไม่ออกว่าเป็นรูปพระเจ้าองค์ใด เทวรูปทั้งสามนี้ทำจากศิลา สลักข้างทรงดูเป็นอย่างแบบอินเดียแท้ จึงเข้าใจว่าเป็นนายช่างฝ่ายมัชฌิมประเทศเป็น ผู้ทำ ฯลฯ

วันที่ 23 เมษายน ร.ศ.128 เสวยแล้วเสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรพระนารายณ์เทวรูปบนยอดเขาพระเหนอ เทวรูปองค์นี้ทำด้วยศิลาทราย บัดนี้หักเสียเป็น 2 ท่อน หักเฉพาะที่เอว ถ้าไม่หักคงจะสูงราว 5 ศอก เครื่องสนิมพิมพาภรณ์ไม่วิจิตรเหมือนองค์ที่เขาเวียง แต่ฝีมือทำกล้ามเนื้อดี เหมือนคน  จากคลองเหนอได้ทรงเรือเสด็จไปทอดพระเนตรทุ่งตึก ซึ่งอยู่ในเกาะคอเขา ตรงกันข้ามกับที่ตั้งเมืองใหม่ ที่นี่ไม่มีอะไรดูนอกจากเนินดิน ขุดลงไปพบอิฐแผ่นใหญ่ ๆ ชนิดเดียวกันที่เห็นบนยอดเขาพระเหนอฯลฯ

วันที่ 24 เมษายน ณ.ศ.128 พระราชนิพนธ์ในวันนี้เล่าถึงบรรยากาศภายในเรือ และการเดินทางออกจากตะกั่วป่า ไปยังเมืองถลาง (ภูเก็ต)
บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:26

มาแล้วค่ะ ช่วงหนึ่งของบันทึกที่อยากให้ทุกท่านได้อ่านกัน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:28

หน้าต่อไปค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:31

มาต่อกันเลยค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:33

ต่อค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:35

หน้าต่อไปเลยค่ะ


บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:35

มาต่อกันค่ะ


บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:36

ต่อค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:37

หน้าสุดท้ายแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
saimai
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:44

อ่านจบแล้ว ก็คิดถึงสถานการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา และจนถึงขณะนี้ การปกครองไม่ว่าแบบใดก็ล้วนแต่มีปัญหาได้ จนบางครั้งดิฉันยังอดคิดไปไม่ได้ว่า การปกครองไม่มีทางสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากไม่มีศีลธรรม ศาสนามากำกับ บางทีเพียงรักษาศีลห้าไว้ให้ดีแล้ว ไม่ต้องมีกฎหมายเลยก็ยังได้  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 21:11

ถ่ายทอดมาเพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น

หน้า ๔๘ และ ๔๙

เรื่องราวของผู้อื่นก็จะเห็นขันอยู่บ้าง คือจะเห็นว่าขันคนยังมีความคิดฤศยาหยุมหยิมอยู่ฉะนี้ฤาจะเปนผู้ที่จัดการปกครองชาติบ้านเมืองอย่างริปับลิคได้ อย่าว่าแต่ริปับลิคเลย ถึงแม้จะปกครองลักษณะเจ้าแผ่นดินมีคอนสติตูชั่นก็ไม่น่าจะทำไปได้ ยังไม่รู้จักเอาความรักชาติเข้าข่มความฤศยาในใจตนเองแล้ว จะทำการให้เปนประโยชน์แก่ชาติฝ่ายเดียวอย่างไร

ถ้ามีผู้ต้องการ “คอนสติตูชั่น” จริง ๆ และเปนไปได้จริง จะเปนคุณอย่างใดฤๅไม่ แต่ถ้าแม้ต่างว่ามีคนอยู่จำพวก ๑ ซึ่งตั้งใจดีจริง มีความมุ่งดีต่อชาติจริง จะมาร้องฎีกาขึ้นโดยตรง ๆ ขอให้มีคอนสติตูชั่น เราเองจะไม่มีความแค้นเคืองเลย ตรงกันข้าม เราจะยอมพิจารณาดูว่า จะสมควรยอมตามคำขอร้องของคนนั้นฤๅไม่ ถ้ามีคอนสติตูชั่นได้จะยิ่งดี เพราะเรารู้สึกอยู่แล้วเหมือนกัน ว่าการปกครองที่มอบไว้ในมือเจ้าแผ่นดินคนเดียวผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดนั้น ดูเปนการเสี่ยงบุญเสี่ยงกรรมอยู่ ถ้าเจ้าแผ่นดินเปนผู้ที่มีสติปัญญาสามารถและมีความตั้งใจมั่นอยู่ว่า จะทำการให้บังเกิดผลอันดีที่สุดแก่ชาติบ้านเมืองฉะนี้แล้วก็จะเปนการดีที่สุด จะหาลักษณปกครองอย่างใดมาเปรียบปานได้ โดยยาก แต่ถ้าแม้เจ้าแผ่นดินเปนผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ขาดความสามารถ ขาดความพยายาม เพลิดเพลินไปแต่ในความศุขส่วนตัว ไม่เอาใจใส่ในน่าที่ของตน ฉะนี้ก็ดีฤาเปนผู้ที่มีน้ำใจพาลสันดานหยาบดุร้ายและไม่ตั้งอยู่ในราชธรรม เห็นแก่พวกพ้องและบริวารอันสอพลอและประจบฉะนี้ก็ดี ประชาชนก็อาจจะได้รับความเดือดร้อน ปราศจากความศุข ไม่มีโอกาสที่จะเจริญได้ ดังนี้จึงเห็นได้ว่าเปนการเสี่ยงบุญเสี่ยงกรรมอยู่

แสดงคุณแห่งลักษณปกครอง โดยมี “คอนสติตูชั่น” ส่วนการมีคอนสติตูชั่นนั้น เปนอันตัดความไม่แน่นอนไปได้มาก เพราะอำนาจไม่ได้อยู่ในมือคน ๆ เดียว ซึ่งถึงแม้ว่าจะดีฤๅชั่วปานใดก็เปลี่ยนไม่ได้ ประชาชนได้เสียงในการปกครองชาติบ้านเมืองของตนเองเสนาบดีผู้รับตำแหน่งน่าที่ปกครองก็รับผิดชอบต่อประชาชน จำเป็นต้องทำการให้เปนไปอย่างดีที่สุดที่จะเป็นไปได้ เพราะถ้าแม้ว่าทำการในน่าที่บกพร่อง ประชาชนไม่เปนที่ไว้วางใจต่อไป ก็อาจจะร้องขึ้นด้วยกัน

หน้า ๕๐ และ ๕๑

มาก ๆ จนเสนาบดีต้องลาออกจากตำแหน่ง คนที่ประชาชนไว้วางใจก็จะได้มีโอกาศเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ ทำการงานให้ดำเนินไปโดยทางอันสมควรและถูกต้องตามประสงค์แห่งประชาชน เช่นนี้เปนการสมควรอย่างยิ่ง และถ้าแม้จะกล่าวไปแต่โดยทางว่าเปนแบบแผนดีฤๅไม่คงไม่มีใครเถียงเลย คงต้องยอมรับว่าดีทั้งนั้น แต่แบบอย่างใดๆ ถึงแม้ว่าจะดีที่สุดเมื่อเขียนอยู่ในกระดาษ เมื่อใช้จริงเข้าแล้วบางทีก็มีที่เสียหายปรากฏขึ้น ดังปรากฏอยู่แก่ผู้ที่ได้ศึกษาและรู้เหตุการณ์ที่เปนไปในนานาประเทศ เพราะเหตุหลายประการ จะยกมาว่าแต่พอเปนสังเขปก็มีอยู่คือ แสดงโทษอันอาจจะมีได้ แม้เมื่อใช้ลักษณปกครองมี “คอนสติตูชั่น”

๑. ประชาชนยังไม่มีความรู้พอที่จะทำการปกครองตนเองได้ เพราะฉนั้นอาจที่จะใช้อำนาจอันอยู่ในมือตนในหนทางที่ผิดวิปลาศ บางที่สิ่งซึ่งต้องการให้มีขึ้นฤาให้เป็นไปจะไม่เปนสิ่งซึ่งมานำประโยชน์มาสู่ชาติ ฤๅกลับจะให้โทษ แต่ประชาชนมีความเห็นพร้อม ๆ กันมาก ก็ต้องเปนไปตามความเห็นของพวกมาก ต่อเมื่อกระทำไปแล้ว จึงแลเห็นว่าให้ผลร้ายเพียงใด จะยกอุทาหรณได้อย่าง ๑ คือต่างว่ามีสาเหตุเกิดวิวาทบาดหมางกันกับชาติอีกชาติ ๑ ซึ่งถ้าแม้ทำความเข้าใจกันเสียแล้วก็อาจจะเปนที่เรียบร้อยไปได้ แต่ประชาชนพากันเห็นไปว่า ถ้าแม้ยอมผ่อนผันให้จะเปนการเสียเกียรติยศเสียรัศมีของชาติก็อาจจะพากันร้องเซ็งแซ่ให้ทำสงครามได้ การทำสงครามนั้นในขณที่กำลังรบพุ่งกันอยู่ไม่สู้จะกระไรนัก เพราะใจประชาชนกำลังฮึกเหิม คิดแต่ถึงส่วนการต่อสู้และหวังเอาไชยแก่สัตรูเท่านั้น ต่อเมื่อสงบศึกแล้ว จึ่งจะรู้สึกโทษแห่งการสงคราม คือการทำมาหาเลี้ยงชีพจะผิดเคือง การค้าขายซึ่งต้องงดไว้ในระหว่างสงครามนั้น มาจับลงมือทำขึ้นอีกก็ย่อมจะไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน เปรียบเหมือนเครื่องกลไกอันจักรและใยเลื่อนที่เสียหมดแล้ว กว่าจะแก้ไขให้เดินดีและเรียบร้อยอย่างเดิมก็เปนการยากนัก ทั้งการปกครองท้องที่ก็ต้องจัดการเอาลงระเบียบอีก เมื่อแลเห็นผลแห่งการสงครามฉะนี้แล้วประชาชนจึ่งรู้สึกตัว ถ้ายิ่งในกาลสงครามนั้นได้พายแพ้แก่สัตรูภายนอกด้วย ความลำบากยากเข็ญต่างๆอันจะมีมาเปนเครื่องตามหลังก็จะยิ่งมากขึ้นเปนทวีคูณเปนแน่แท้ ที่กล่าวมาแล้วนี้เปนโทษแห่งการที่ประชาชนอันไม่รู้จักใช้อำนาจจะใช้เองในที่ผิด แต่ยังมีอยู่อีกประการ ๑ ซึ่งควรคำนึงและพิจารณาดูเหมือนกันคือ

๒. ประชาชนรู้สึกตนว่าไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะถืออำนาจและใช้อำนาจทุก ๆ คน จึ่งไว้ใจมอบอำนาจให้บุคคลบางคนถืออำนาจและใช้อำนาจนั้นแทน บุคคลเหล่านี้คือที่เลือกสรรให้เข้าไปนั่งในรัฐสภา (ปาร์ลิย์เมนต์) เปนผู้แทนประชาชน ผู้แทนเช่นนี้ ถ้าประชาชนรู้จักจริงว่าดีจริง ก็จะไม่มีอะไรเสียหายจะบังเกิดขึ้นได้เลย แต่ความจริงหาเปนเช่นนั้นไม่ ตามความจริงนั้นประชาชนโดยมากก็มีกิจธุระทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยกันทุกคน จะมัวสละเวลาเพื่อกระทำความวิสสาสะกับผู้ที่เปนผู้แทนตนในรัฐสภาก็ไม่ได้อยู่เอง เพราะฉะนั้นแบบธรรมเนียมจึ่งมีอยู่ว่า เมื่อถึงเวลาจะต้องเลือกผู้แทนเข้านั่งในรัฐสภา ก็มีคน

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง