เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 24381 โชว์งานภาพสีไม้นางอัปสร&ถามเกี่ยวกับนางอัปสรในวรรณคดีค่ะ
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 13 พ.ย. 13, 11:18

นางอัปสรรัมภามีบทบาทในนวนิยายเรื่อง "พิมมาลา" ด้วยนะคะ เป็นแม่ทูนหัวนางเอก เพราะมีศีลเสมอกัน อิอิ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
marinemammal
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 13 พ.ย. 13, 18:17

ใช่ค่ะคุณmrpzone นางอัปสรนางนี้แหละค่ะที่ต้องการรูป ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 14 พ.ย. 13, 15:10

         นางอัปสรา ในไทยที่ ปราสาทบ้านระแงง(อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์)

               http://www.oknation.net/blog/print.php?id=321681

ภาพจาก      http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000097482


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 06 ธ.ค. 13, 10:23

          จากบทความ อัปสร นางบำเรอชั้นเทพ

คอลัมน์ ภูมิบ้านภูมิเมือง  โดย บูรพา โชติช่วง นสพ. สยามรัฐ วันนี้ ๖ ธ.ค. ๒๕๕๖

        ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวนางอัปสรปราสาทนครวัด กัมพูชา ในหนังสือ “ถกเขมร” 2495

    “นางอัปสรแต่ละตนนั้นแบบบางราวจะปลิว เหมือนกับสลักไว้ด้วยวัตถุที่มิใช่ศิลา แต่เบาและใส
สะอาด นางอัปสรทุกตนซ่อนยิ้มไว้ในใบหน้า ซึ่งมิใช่ยิ้มอันเต็มไปด้วยกิเลสตัณหาของมนุษย์ แต่
เป็นรอยยิ้มอันเกิดจากความสุขของสวรรค์ยิ้มที่สะอาดและแจ่มใสเหมือนกับเมฆยามอรุณ”

       ในหนังสือ “อมนุษย์นิยาย” ของอาจารย์ ส.พลายน้อย (ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง: 2535) กล่าวดังนี้

        “ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้อธิบายคำว่าอมนุษย์ไว้ว่า “ไม่ใช่คน หมายความว่า
ผี สาง เทวดา ยักษ์”  ซึ่งเป็นความหมายโดยสรุป แต่ถ้าเราต้องการจะรู้ให้มากไปกว่านั้น หรือต้องการ
รายละเอียดให้มากขึ้นไปอีกก็จะต้องค้นหาจากที่อื่น เช่น ในวรรณคดีสันสกฤตได้แบ่งพวกอมนุษย์ออก
เป็น 10 พวกด้วยกันคือ วิทยาธร, อัปสร, ยักษ์ รากษส, คนธรรพ์, กินนร, ปีศาจ, คุหยัก, สิทธ และภูต

       ในหนังสือบาลีอภิธานนัปปทีปิกาได้เพิ่มกุมภัณฑ์เข้ามาอีกพวกหนึ่ง และในตำราบางเล่มก็ว่ามี
นาค ครุฑ และมโหราค(งูใหญ่ชนิดหนึ่ง) แปลกออกไป ฉะนั้น ถ้ารวมเฉพาะที่แตกต่างกันแล้วก็จะมี
จำนวนอมนุษย์มากกว่า 10 และเรื่องราวของพวกเหล่านี้ก็ดูปนๆ กันอยู่ยากแก่การอธิบายอยู่ไม่น้อย”

       “อัปสร ในพจนานุกรมแปลไว้ว่า นางฟ้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปล
ตามศัพท์ว่า “ผู้กระดิกในน้ำ”

ภาพ Apsara dancers at Angkor Wat จาก rickmann-uk.com


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 06 ธ.ค. 13, 10:27

       รามายณกล่าวว่า เมื่อพระเป็นเจ้าทั้งหลายได้กวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤตนั้น ก่อนที่
จะได้น้ำอมฤตขึ้นมามีอื่นๆ ขึ้นมาก่อนหลายอย่าง อย่างหนึ่งคือ อัปสร ซึ่งผุดขึ้นมานับด้วยหมื่น
ด้วยแสน ล้วนเป็นหญิงที่มีรูปงามๆ และประดับด้วยเครื่องถนิมพิมพาภรณ์อย่างงาม แต่ทั้งเทวดา
และอสูรไม่รับไปเป็นคู่ครอง เพราะฉะนั้นพวกอัปสรจึงเลยตกอยู่เป็นของกลาง จึงได้นามว่า
สุรางคนา (เมียเทวดาทั่วๆ ไป) และสุมทาตมชา (สตรีผู้เต็มไปด้วยความมัวเมา หรือความเพลิดเพลิน)

       ในหนังสือพวกปุราณต่างๆ แบ่งอัปสรเป็นคณาหลายคณาอันมีนามต่างๆ กัน วายุปุราณว่ามี 14 คณา
แต่ตำรับหริวํศะว่ามี 7 คณา กับยังมีแบ่งเป็น 2 จำพวก คือเป็น ไทวิกะ (นางฟ้า) จำพวกหนึ่ง เลากิกะ
(นางดิน) จำพวกหนึ่ง ในว่าไทวิกะอัปสรมี 10 นาง เลากิกะอัปสรมี 34 นาง พวกอัปสรเหล่านี้ที่สำหรับ
มีเรื่องรักใคร่กับวีรบุรุษ เช่นนางอุรวศี ซึ่งรักกับท้าวปุรูรพ ดังมีเรื่องนาฎกะ ซึ่งกาลิทาสแต่งไว้อีกเรื่องหนึ่ง
ชื่อเรื่อง “วิกรโมรวศี” หรือมิฉะนั้นก็ทำลายพิธีผู้บำเพ็ญตบะ อย่างเช่นนางเมนะกากับพระวิศวามิตร เป็นต้น

       สรุปรวมความว่า อัปสรเป็นนางฟ้าจำพวกหนึ่งซึ่งมีรูปงามเป็นที่น่าพึงใจและช่างยั่วยวน แต่ความประพฤติ
ไม่สู้จะเป็นอย่างสตรีที่สุภาพนัก และช่างมารยาจำแลงแปลงตัวได้หลายอย่าง ไม่รู้จักรักใครได้ยั่งยืน มีเสน่ห์
ซึ่งทำให้ชายหลงจนในพระอถรรพเวทต้องมีมนตร์หรือาถรรพณ์ไว้กันหรือแก้เสน่ห์ของอัปสร

         คำว่า อัปสร เป็นคำที่เราเอามาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อปฺสรสฺ ส่วนในภาษาบาลีใช้ว่า อจฺฉรา

Statue of an Apsara Dancing Unknown artist, Uttar Pradesh, India

จาก http://ferrebeekeeper.wordpress.com/tag/buddhist/


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 06 ธ.ค. 13, 10:36

      คำว่าอัปสรมีปรากฏในวรรณคดีไทยและในตำนานพุทธศาสนาอยู่เสมอ มีความสามารถใน
การบรรเลงดนตรีสมกับที่กล่าวกันว่ามักเป็นภรรยาของพวกคนธรรพ์ด้วย

        ในหนังสือ “ลลิตวิสูตร” ปฐมสมโพธิฝ่ายมหายานได้กล่าวถึงจำนวนนางอัปสรไว้ว่า
“นางอัปสรชั้นเทวดาจาตุมหาราชแปดสิบสี่แสน และนางอัปสรชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต
ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมิตวสวดี ชั้นละแปดสิบสี่แสน ก็ถือเครื่องดนตรีและสังคีตเครื่องเป่า
เข้าไปบูชาพระโพธิสัตว์”

        และอีกตอนหนึ่งกล่าวว่า “นางอัปสรหลายหมื่นมาสำแดงตนประโคมด้วยสังข์กลองตะโพน
บัณเฑาะว์ระฆัง” ดังนี้ก็แสดงว่านางอัปสรเป็นพวกดนตรีด้วย มิใช่จะมีหน้าที่เป็นเพียงนางบำเรอ

         อีกตอนหนึ่งได้กล่าวถึงรัศมีของนางเทพอัปสรไว้ว่า “นางเทพอัปสรหกหมื่นมีรัศมีดังทองคำ
อันงามวิมลบริสุทธิ์และมีรัศมีดังพระจันทร์พระอาทิตย์ มีเสียงกึกก้องไพเราะ” นี่เป็นคุณสมบัติของ
นางอัปสรที่ได้จากวรรณคดี”

ภาพจากวิกกี้ Flying Apsara, the celestial maiden on Borobudur bas-relief,
Central Java, Indonesia.


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.13 วินาที กับ 19 คำสั่ง