marinemammal
อสุรผัด

ตอบ: 11
|
สวัสดีทุกคน เพิ่งมาโพสข้อความในบอร์ดนี้แต่จริงๆก็เป็นนักอ่านเงามาสักพักแล้วค่ะ เผอิญหาเว็บโพสรูปเห็นว่าเว็บนี้เนื้อหาเกี่ยวข้องกับแนวภาพของเราพอดี ภาพวาดเป็นภาพสีไม้ขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับภาพเทคนิคอื่นที่เคยทำขนาดเท่าไปรษณียบัตรมาตรฐานประมาณ4x6นิ้วแต่รายละเอียดเยอะทีเดียว ส่วนนางอัปสรหินสลักในภาพเป็นนางอัปสรจากปราสาทศีขรภูมิค่ะ ใครรู้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของนางอัปสรแต่ละตนที่ปรากฎในวรรณคดีไทยหรือวรรณคดีต่างชาติที่เข้ามาแพร่หลายในไทยช่วยเล่าให้ฟังคร่าวๆด้วยนะคะอย่างเช่น นางเมนกาในเรื่องศกุนตลา ประมาณนี้น่ะค่ะ จขกท.ต้องการข้อมูลไปทำงานศิลปนิพนธ์ ขอบคุณค่ะ
ปล.เวลาดูรูปควรย่อให้เท่าขนาดภาพจริงคือ4x6นิ้วเพราะภาพที่โพสมันขยายใหญ่แล้วดูไม่ค่อยสวยค่ะ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 พ.ย. 13, 12:47 โดย เทาชมพู »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 12:56
|
|
ภาพของคุณสวย แต่ใหญ่มาก ทำให้โหลดยาก และกินเนื้อที่ของการเก็บกระทู้ด้วยค่ะ ดิฉันก็เลยย่อลงมาให้นะคะ คุณหารายละเอียดเรื่องนางอัปสรจาก wikipedia ก็ช่วยได้ในระดับเบื้องต้นค่ะ แต่ที่เล่าต่อไปนี้ เก็บความมาจาก อภิธานสังเขป พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 อธิบายศัพท์ต่างๆในเรื่อง ศกุนตลา มีประวัติและเรื่องราวของนางอัปสรด้วย
คำว่า อัปสร แปลตามศัพท์ว่า "ผู้กระดิกในน้ำ"( หมายถึงผู้เคลื่อนไหวในน้ำ) คำนี้แสดงกำเนิดของนางอัปสรที่เกิดมาจากเกษียรสมุทร ตอนเทพกับอสูรกวนเกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนมเพื่อให้เกิดน้ำทิพย์ ก่อนจะได้น้ำทิพย์ มีของอย่างอื่นๆผุดขึ้นมาก่อน หนึ่งในนั้นคือกลุ่มนางอัปสรจำนวนนับหมื่นแสน ล้วนเป็นหญิงงาม ประดับกายด้วยถนิมพิมพาภรณ์ และดำรงความสาวอยู่ตลอดไป แต่ว่าเทพและอสูรทั้งหลายไม่รับนางไปเป็นภรรยา นางอัปสรจึงตกเป็นของกลางของสวรรค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 12:59
|
|
อัปสรอินเดียอีกแบบหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
marinemammal
อสุรผัด

ตอบ: 11
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 16:50
|
|
ขอบคุณค่ะ รบกวนคุณเทาชมพูหรือคนอื่นที่เข้ามาช่วยสอนวิธีย่อรูปด้วย ขอโปรแกรมอะไรก็ได้ที่มันง่ายๆค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 17:03
|
|
ยังมีเรื่องนางอัปสรให้เล่าอีกค่ะ ส่วนเรื่องย่อรูป ไม่ทราบว่าในเครื่องของคุณมีโปรแกรมอะไรคะ ดิฉันใช้ ACDSee และ Photoscape คุณเพ็ญชมพูคงสอนได้
ว่าแต่คุณ browse รูปลงในกระทู้เป็นหรือยังคะ ถ้ายัง คลิกที่ ตัวเลือกเพิ่มเติม ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 17:54
|
|
ย่อหรือขยายรูปไม่น่ายาก ใช้ซูมย่อหรือขยายก็น่าจะได้ ส่วนการตัดภาพบนจอ แนะนำให้คุณมารีนแมมมอล ใช้ SRip32
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 18:38
|
|
เนื่องจากนางอัปสรเป็นหญิงงาม เป็นสาวเสมอไม่แก่ชรา เป็นที่ต้องตาต้องใจชาย จึงมีเรื่องราวความรักของนางอัปสรกับชายเกิดขึ้นหลายคู่ด้วยกัน ในวรรณคดีไทยที่รู้จักกันก็คือนางอัปสรชื่อเมนกา(อ่านว่าเม-นะ-กา) ถูกพระอินทร์ส่งลงมาทำลายตบะของพระฤๅษีวิศวามิตร นัยว่าการบำเพ็ญเพียรของฤๅษีเป็นที่หวั่นเกรงของเทวดามาก จึงต้องส่งผู้หญิงลงมาล่อลวงจนเสียตบะ หมดฤทธิ์ที่บำเพ็ญมาต้องกลับไปนับหนึ่งใหม่อีก นางเมนกามีลูกสาวกับพระฤๅษีคนหนึ่งชื่อศกุนตลา เมื่อคลอดลูกแล้วนางไม่ได้อยู่เลี้ยงลูก ก็กลับสวรรค์ชั้นฟ้าไปตามเดิม เรื่องราวของศกุนตลาต่อจากนั้นหาอ่านได้จากวรรณคดีไทย เรื่อง "ศกุนตลา" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวค่ะ
ภาพข้างล่างนี้คือท้าววิศวามิตรกับเมนกา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 19:00
|
|
นางอัปสรแม้ว่าเกิดจากน้ำ แต่ก็ไม่ใช่เงือก เกิดแล้วก็ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ เป็นบริวารของเทพองค์ต่างๆ จะลงมาอยู่ในโลกก็ด้วยความจำเป็นบางอย่างเท่านั้น ในรามเกียรติ์รัชกาลที่ 1 กล่าวถึงนางอัปสรเป็นตัวประกอบอยู่หลายนางด้วยกัน เรียกว่า "นางฟ้า" นางอัปสรเหล่านี้ต้องสาปให้มาอยู่บนพื้นโลก เพราะทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งดูจากสายตาคนอ่านก็เป็นความผิดเล็กๆน้อยๆ ไม่ควรจะถึงขั้นเนรเทศ แต่ก็โดนเนรเทศลงมาจนกระทั่งตัวละครเอกในรามเกียรติ์ไปพบ ช่วยแก้คำสาปให้จึงได้กลับสวรรค์ตามเดิม นางฟ้าในเรื่องรามเกียรติ์เหล่านี้จะว่าไปก็คือผงชูรส ช่วยทำให้รามเกียรติ์ที่มีแต่เรื่องรบทัพจับศึกกันระหว่างลิงและยักษ์ ได้เปลี่ยนบรรยากาศมีบทพระเอกนางเอกบ้าง ผู้แต่งจึงให้หนุมานเล่นบทพระเอก มีบทสั้นๆมาช่วยนางฟ้าเหล่านี้กลับไปสวรรค์อย่างเก่า นางฟ้าหรือนางอัปสรเหล่านี้ก็คือ บุษมาลีอยู่ในเมืองบายัน หรือมายัน วานรินทร์ อยู่ในถ้ำเขาอากาศ เสาวรี อยู่ในถ้ำเวภารบรรพต สุวรรณมาลี อยู่กลางแม่น้ำ สามพระยาวานรไปพบเมื่อครั้งไปถวายแหวนนางสีดา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 19:02
|
|
นางอัปสร ฝีมือจักรพันธุ์ โปษยะกฤต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
marinemammal
อสุรผัด

ตอบ: 11
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 19:40
|
|
ขอบคุณทุกคนที่ช่วยตอบค่ะ ความรู้ทั้งนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 19:51
|
|
ฝรั่งเขาก็มีอะไรคล้ายๆนางอัปสรนะคะ เรียกว่า nymph แต่ว่าไม่ได้อยู่บนฟ้า อยู่ตามทุ่งนา ต้นไม้ แม่น้ำลำธาร พวกนี้เหมือนนางอัปสรตรงที่เป็นสาวเสมอสวยเสมอ และก่อตำนานรักกับมนุษย์และเทพอยู่หลายตำนานด้วยกัน ภาพข้างล่างนี้เป็นฝีมือวาดของ John William Waterhouse ชื่อว่า Hylas and the Nymphs มาจากวรรณคดีโรมัน ว่าด้วยเรื่องเฮอร์คิวลิส ฮีลาสเจ้าหนุ่มในรูปนี้เป็นคนสนิทของเฮอร์คิวลิส เป็นหนุ่มน้อยรูปหล่อ วันหนึ่งไปตักน้ำมาให้พรรคพวกดื่มกินกัน บรรดา nymph ที่อาศัยอยู่ในบึงนั้นเห็นฮีลาสก็นึกชอบใจ เลยพาไปอยู่ด้วยกัน ฮีลาสก็หายไปในบึงไม่กลับมาอีกเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 20:00
|
|
กลับมาทางตะวันออกอีกครั้ง เขมรได้รับอิทธิพลจากอินเดียมาตั้งแต่โบราณ ก่อนไทยจะมีอาณาจักรสุโขทัยเสียอีก อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูก่อให้เกิดศิลปะต่างๆในเขมร อย่างหนึ่งก็คือนางอัปสรที่กลายมาเป็นอาภรณ์ประดับเทวสถานต่างๆ ไม่เฉพาะแต่นครวัดเท่านั้น ตามที่เล่าในตำนาน นางอัปสรได้ชื่อว่าชำนาญเรื่องดนตรีและระบำรำฟ้อนต่างๆ ภาพสลักที่เทวสถานต่างๆจึงมีรูปนางอัปสรที่จับระบำฟ้อนถวายเหล่าเทพเจ้าด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 20:03
|
|
นางอัปสรถือกำเนิดมา นางเป็นหญิงสาวเจริญวัยเต็มที่ รูปร่างงดงามประดับด้วยถนิมพิมพาภรณ์ต่างๆ ดังนั้นช่างจึงสามารถ "เล่น" กับอาภรณ์ประดับกายแบบต่างๆของนางอัปสรได้เต็มที่ เมื่อสลักหินลงไป ศิราภรณ์ของนางอัปสรในรูปข้างล่างนี้ งดงามมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 20:27
|
|
นางอัปสร รัมภา ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในบรรดานางอัปสรถูกส่งตัวมาทำลายตบะพระฤๅษีวิศวามิตรอีกเป็นครั้งที่สอง แต่คราวนี้ทำไม่สำเร็จ ถูกพระวิศวามิตรสาปให้กลายเป็นก้อนหินอยู่พันปี จนกว่าพระรามจองถนนไปลงกา ขนหินไปถมถนนเมื่อใดจึงจะพ้นคำสาป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 10 พ.ย. 13, 20:29
|
|
นางอัปสรอินเดีย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|