เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 16432 เบิกพระเนตร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 31 ต.ค. 13, 16:26

คำว่า เบิกพระเนตร มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า
“เปิดตา, เป็นคำใช้สำหรับพิธีฝังหรือเขียนพระเนตรพระพุทธรูป ซึ่งถือว่าเมื่อได้เบิกพระเนตรแล้วจึงเป็นองค์พระโดยสมบูรณ์"

ทำไมถึงต้องเบิกพระเนตร จึงจะเป็นองค์พระโดยสมบูรณ์   สร้างเสร็จเรียบร้อยทั้งองค์แล้ว  ไม่นับว่าสมบูรณ์หรือ?
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 16:33

เด็กดีมาขานชื่อก่อนเลยครับ  จุมพิต
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 18:19

การเบิกพระเนตร ทำกันมาตั้งแต่สมัยไหนยังไม่พบหลักฐาน   แต่ศ.ยอร์ช เซเดส์ ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดี เคยเล่าเรื่อง "เบิกพระเนตร" ที่ท่านเคยเห็นมาจากชวา ว่า

" ทางขวาบาหลีมีการสร้างเทวรูปสนองพระองค์ผู้วายชนม์   เพื่อเชิญพระวิญญาณให้เข้าไปสิงอยู่    สำหรับอนุชนจะได้เซ่นสรวงต่อไป...และเมื่อวายชนม์แล้วทายาทก็ต้องปลุกให้กลับมีชีวิตขึ้นอีก    ด้วยวิธีเบิกพระเนตรเทวรูปสนองพระองค์  (หรือศิวลึงค์)"

ส.พลายน้อย นำคำบอกเล่าของศ.เซเดส์ มาอธิบายเพิ่มเติมว่า
" รูปปฏิมาจะเป็นที่นับถือบูชาไม่ได้   นอกจากจะเป็นรูปที่มีชีวิตโดยเทวดาเข้าไปสิงอยู่    ดังนั้นจะเห็นว่า หลังจากที่ได้เชิญเทวดาเข้าไปสิงแล้ว  รูปปฏิมานั้นก็จะมี "ชีวิต" ขึ้น    นั่นคือเขาจะเบิกพระเนตรรูปปฏิมานั้น     การที่รูปนั้นถูกเบิกพระเนตรก็เท่ากับว่ารูปนั้นมีชีวิตขึ้นเอง  คือลืมตาได้
นี่เห็นจะเป็นจุดประสงค์และความเข้าใจของเจ้าตำรับการเบิกพระเนตร อย่างไม่เป็นปัญหา"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 13:12

  เรื่องเบิกพระเนตรพระพุทธรูป   อาจารย์เกษม บุญศรี  เขียนไว้ในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑๗ ว่า
 
   " เมื่อปั้นหรือหล่อพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพระประธานในสถานที่นั้น ๆ เช่น ในถ้ำ ในโบสถ์ ก่อนที่จะก่อองค์พระ ท่านตั้งพิธีสวดพุทธาภิเษก หิน อิฐ กรวด ทรายที่จะก่อก่อน แล้วจึงจะลงมือสร้าง ส่วนที่หล่อ ก็ต้องตั้งพิธีสวดพุทธาภิเษก ในเวลาสุมทองและต้องลงอักขระพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณในแผ่นโลหะ เป็นแผ่นทองคำ เงิน นาก ทองเหลือง ทองแดง หรืออย่างอื่นตามต้องการ แล้วเอาลงสุมในเบ้าตามที่มี เมื่อปั้นหรือหล่อแต่งเสร็จแล้ว เมื่อจะนำไปประดิษฐานตามที่ซึ่งกำหนดไว้
     แล้วตั้งพิธีเบิกพระเนตรก่อน แต่จะประกอบพิธีให้บูชาพระ อาราธนาศีล สมาทานศีล แล้วอาราธนาพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนมาเป็นผู้ประกอบพิธีนั้น ท่านจะบริกรรมคาถาบทที่ ๑ ว่า “พุทฺโธ โลกํ วิทู กรณํ อรหํ พุทโธ พุทธสส โลกวิทู”
      ต่อจากนั้นบริกรรมคาถาบทที่ ๒ และบทที่ ๓ ต่อไป ก็เป็นเสร็จการเบิกพระเนตร "

      ต่อจากนี้เป็นพิธีฉลองซึ่งทำพร้อมกันติดต่อกันไป คือต้องตั้งเครื่องสังเวยเทวดาอารักษ์ที่จะเชิญให้มาคุ้มครองพระพุทธรูปองค์นั้น พระเถระผู้เป็นประธานจะทำพิธีเจิมองค์พระ โดยปรกติเจิมที่ผ้าทิพย์ ๓ จุด เมื่อพิธีเจิมแล้ว ต่อนี้อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์สวดพระปริตร ฟังพระปริตรจบ แล้วถวายอาหารบิณฑบาต ถวายสักการะ จตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ ฟังพระอนุโมทนา จบแล้วส่งพระ เป็นเสร็จพิธีฉลองพระ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 13:18

หลวงปู่สุภา กันตสีโล ทำพิธีเบิกพระเนตร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 13:34

        ในการเบิกพระเนตร   แต่เดิม    ช่างฝังพระเนตรด้วยรัตนชาติอันมีค่า เช่น นิล แทนตาดำ มุกแทน ตาขาว   ต่อมาเขียนด้วยสีดำ สีขาว  ทั้งหมดนี้  ช่างต้องฝังหรือเขียนเสร็จก่อนทำพิธีเบิกพระเนตร
         


บันทึกการเข้า
ธาราสินธุ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 15:11

ขออนุญาตเพิ่มเติมค่ะ

   ดูเหมือนว่า การเบิกเนตร จะมีในพุทธมหายานเช่นกันด้วยใช่ไหมคะ ?
ที่จะทำการเบิตเนตร เทวรูปองค์สำคัญ หรือ กระทั่ง ตุ๊กตาสิงโตหน้าวัด

คลับคล้ายคลับคลาว่า จะเคยอ่านเจอในบทความของ Lilian TOO กูรูฮวงจุ้ยว่า
นักพรตเคร่ง ๆ สมัยก่อน จะใช้เลือดแต้มตรงดวงตาของสิงโต หรือ หมาฝู หน้าวัด เพื่อปลุกให้รูปปั้นนั้นมีชีวิตขึ้นมาค่ะ

อันนี้ ไม่ทราบว่าเกี่ยวกันรึเปล่านะคะ
แต่กูรูฮวงจุ้ยอีกท่าน เคยบอกไว้ว่า อวัยวะในร่างกายคนเราที่เป็น หยาง มากที่สุด คือ ดวงตา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 15:18

การเบิกเนตร ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการเบิกเนตรพระพุทธรูป และ เทวรูป ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 18:00

สมัยนี้ก็ยังมีการเบิกพระเนตรเทวรูปอยู่เช่นเดิมค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 19:52

ทางฝ่ายญี่ปุ่น ที่คล้ายคลึงกันเห็นจะเป็นการเขียนสีดำที่ตาของตุ๊กตาไม้ "ดะรุมะ" だるま daruma แต่จุดประสงค์คงแตกต่างกัน การขอพรกับตุ๊กตาดะรุมะ ทำได้โดยใช้หมึกสีเขียนตาดำข้างหนึ่งของตุ๊กตาและทำการขอพร และจะเก็บตุ๊กตาไว้บนหิ้ง และเมื่อพรให้ผลจะเติมตาอีกข้างให้สมบูรณ์

ดะรุมะ   เป็นตุ๊กตาไม้ของญี่ปุ่น มีลักษณะกลมไม่มีแขนและขา และเชื่อว่าใบหน้ามีที่มาจากลักษณะหน้าตาของ พระโพธิธรรม (ซึ่งชื่อว่า ดะรุมะ ในภาษาญี่ปุ่น) หรือที่ชาวกำลังภายในรู้จักกันในนาม "อาจารย์ตั๊กม้อ"





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 พ.ย. 13, 19:53

ทางฝ่ายญี่ปุ่น ที่คล้ายคลึงกันเห็นจะเป็นการเขียนสีดำที่ตาของตุ๊กตาไม้ "ดะรุมะ" だるま daruma แต่จุดประสงค์คงแตกต่างกัน การขอพรกับตุ๊กตาดะรุมะ ทำได้โดยใช้หมึกสีเขียนตาดำข้างหนึ่งของตุ๊กตาและทำการขอพร และจะเก็บตุ๊กตาไว้บนหิ้ง และเมื่อพรให้ผลจะเติมตาอีกข้างให้สมบูรณ์

ยังไม่ได้ขอพร    ขอพรแล้ว   สมหวังตามพรแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 04 พ.ย. 13, 20:07

ออกจากญี่ปุ่นไปดูที่จีนกันบ้างนะคะ
ส.พลายน้อยอธิบายว่า
" ลัทธิเบิกพระเนตรอย่างพระพุทธรูป   เรียกว่า "ไคกวง" แปลว่า "ไขแสงสว่าง"  และมีพิธีเซ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ถือว่าจะเข้าไปสิงสถิตอยู่ในรูปที่สร้างนั้นด้วย     บางทีเอางูหรือสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นๆ บรรจุไว้ในรูป    คือทำช่องไว้ในเบื้องหลัง    เมื่อบรรจุสัตว์ลงไปแล้วก็อุดรูเสีย    บางทีฆ่าไก่ตัวผู้เอาเลือดทาอกรูป   ชนิดเนื่องด้วยชีวิตสัตว์นี้มักจะทำเฉพาะรูปจ้าว หรือเทพารักษ์ในลัทธิเต๋า   แต่พระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ไม่ทำเช่นนั้น"

ในประเทศไทย   มีการทำไคกวงพระโพธิสัตว์ด้วยค่ะ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.423403957711038.107431.340228922695209&type=3
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 พ.ย. 13, 20:08

ไคกวงเทพเจ้ากวนอู


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 พ.ย. 13, 10:17

ตำราเก่าบอกเล่าถึงพิธีเบิกพระเนตร ตามนี้ค่ะ
๑  ใช้ดินสอดำหรือเหล็กจารเบิกพระเนตรก็ได้
๒  ถ้าเบิกก่อนเพล  เบิกได้หลายองค์พร้อมกัน
๓  ถ้าเบิกนอกเพล ให้เรียกค่าน้ำมนต์เรียงองค์
๔  ถ้าตั้งบัลลังก์พระประธาน  ฐานที่นั่งพระพุทธรูป  หรือเบิกพระเนตรพระใหญ่   คาถาทำน้ำมนต์และคาถาเบิกพระเนตรเป็นอย่างเดียวกัน  แต่เครื่องสักการบูชาต่างกัน
๕  เครื่องบูชาประกอบด้วยบายศรีซ้ายขวา  หัวหมู ๑  ขนมสำรับ ๑  ผ้าขาว ๑ ผืน  ขันล้างหน้าลูกหนึ่ง 
๖  เอาข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระก่อน  เงินขวัญข้าวอีก ๖ บาท

เมื่อเบิกพระเนตรข้างขวา  ให้ท่องมนต์ว่า พุทธังเนตตัง  สะระนัง คัจฉามิ (ว่าพุทธัง ๓ หน)
เมื่อเบิกพระเนตรข้างซ้าย  ให้ท่องมนต์ว่า ทักขิเนตตัง  สะระนัง คัจฉามิ( ว่าทักขิ ๓ หน)
จากนั้นท่องคาถาพระเจ้าเปิดโลก ว่า สหัสสเนตโต  เทวิญโท  ทิพจักขุง  วิโสทายิ
แล้วเอาน้ำมนต์ประพรมตามตัว  แล้วท่องมนต์ว่า พุทธังคุ้ม  ธัมมังกัน  พระสังฆังรักษา คุ้มเสนียดจัญไรแก่เราแล
จบ
บันทึกการเข้า
ตูมตั้งบังใบ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 10 พ.ย. 13, 16:33

ผมกลับคิดในทางกลับกันครับ ผมคิดว่าเราไม่มีความจำเป็นต้องเบิกเนตรพระพุทธรูปหรอกครับ พระพุทธรูปก็เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ท่านก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น จากกิเลสทั้งปวงแล้ว เราเองต่างหากที่ยังมืดมนไปทุกสิ่ง แต่ทำไมถึงมีความคิดไปเบิกเนตรท่านให้ตื่น ในเมื่อท่านตื่นอย่างบริบูรณ์แล้ว ผมจำไม่ได้ว่าเป็นคำพูดของพระรูปใด ท่านกล่าว พระต่อให้สร้างจากวัสดุไม่มีค่าอะไร กราบไหว้บูชาทุกวัน เทวดาท่านก็ลงมารักษาเอง ต่อให้สร้างจากทองคำ แต่ไม่เคารพกราบไหว้บูชา เทวดาก็ไม่มาสนใจ...ไม่ได้ขวางกระทู้นพครับ แต่เห็นพิธีกรรมหลายอย่างในปัจจุบัน ดูแล้วก็กระพี้ทั้งนั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง