เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 154802 โครงกระดูกในตู้ โดยคึกฤทธิ์ : ข้อเท็จจริงจากการชันสูตร
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 08 ธ.ค. 13, 14:46

11


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 08 ธ.ค. 13, 14:46

มีข้อความในหนังสือกล่าวว่า มรว. ลิ้นจี่เป็นผู้จัดการมรดก แต่หาไม่เจอแล้วครับว่าอยู่ตรงไหน ผมอ่านผ่านตาพอว่างก็หาย หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 12 ธ.ค. 13, 12:51

ขอบคุณคุณ hobo สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์เจ้าปรีดาค่ะ     ทำให้สว่างขึ้นหลายข้อทีเดียว
อย่างน้อยก็รู้แล้วว่า หม่อมเอกของกรมขุนวรจักรฯ คือหม่อมพลับ  หม่อมมารดาของพระองค์เจ้าปรีดา   ส่วนม.ร.ว.ดวงใจหม่อมย่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์เป็นหม่อมเอกในระยะหลัง หรือไม่อย่างไรนั้น   ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมพอจะตัดสินได้

เรื่องพระองค์เจ้าทับทิม หรือหม่อมเจ้าทับทิมในกรมพระราชวังหลัง ดิฉันไม่มีหนังสือติดตัวอยู่เลยตอนนี้ เลยยังหาคำตอบมาคุยกับคุณ natadol ไม่ได้  ขอผัดไปถึงสิ้นเดือนนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 13 ธ.ค. 13, 05:51

ประมวลเหตุการณ์ได้คร่าวๆชั้นหนึ่งว่า... 
หลังจากกรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์    มรดกชิ้นใหญ่ที่สุดคือวังวรจักรตกอยู่ในความครอบครองของพระองค์เจ้าปรีดาพระโอรสองค์ใหญ่ เพียงองค์เดียว   พระอนุชาก็แยกย้ายกันไป 
หลายองค์ออกจากวังไปอยู่ข้างนอก     ซึ่งรวมหม่อมเจ้าจรูญที่ประสูติจากม.ร.ว.ดวงใจ ด้วย   จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่าม.ร.ว.ดวงใจและธิดา กับโอรสเล็กสุดคือพระองค์เจ้าคำรบ น่าจะมีเรือนปลูกอยู่เป็นส่วนสัด นอกเขตวังวรจักร    ธิดาที่ทรงเจริญพระชันษาแล้วก็ไปพึ่งเจ้านายฝ่ายในอยู่ในพระบรมมหาราชวัง  บางองค์เช่นม.จ.ฉวีวาดก็เสกสมรสไป  เหลือแต่องค์เล็กๆอยู่กับหม่อมแม่

หม่อมเจ้าพระอนุชาของพระองค์เจ้าปรีดาบางองค์ที่เจริญพระชันษาเป็นผู้ใหญ่บางองค์ปลูกเรือนหรือตำหนัก อยู่ในเขตวังวรจักร   แต่ไม่มีสิทธิ์ครอบครอง  อยู่ในฐานะผู้อาศัย     ต่อมาบางองค์ที่ว่านั้นมีพระประสงค์จะครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ปลูกเรือน  แต่เกิดขัดแย้งตกลงกันไม่ได้กับพระองค์เจ้าปรีดาเจ้าของวัง     เป็นคดีฟ้องร้องยืดเยื้อกันมานานหลายปี  จนพระองค์เจ้าปรีดาสิ้นพระชนม์ ก็ยังไม่จบเรื่อง

พระองค์เจ้าปรีดาทรงมีโอรสธิดาชั้นหม่อมราชวงศ์หลายท่าน   ปลูกเรือนอยู่ในวังวรจักรเช่นกัน     ในจำนวนนี้ม.ร.ว.ลิ้นจี่น่าจะเป็นคนใหญ่จึงได้เป็นผู้จัดการมรดก    ดูรูปการณ์แล้ว  ม.ร.ว.ทั้งหลายคงจะเห็นว่าไม่สามารถอยู่รวมกันได้ทั้งหมดเหมือนในสมัยเสด็จพ่ออีกแล้ว     ไหนจะมีพี่น้องร่วมกันหลายคน  ไหนจะมีท่านอาหลายองค์ซึ่งยังมีคดีฟ้องร้องเรื้อรังกันอยู่   เพราะฉะนั้นก็ขายวัง เอาเงินมาแบ่งกันเสียให้หมดเรื่องหมดราวไป   

จุดจบของวังวรจักรจึงมาถึงด้วยประการฉะนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 13 ธ.ค. 13, 07:46

ภาพพระองค์เจ้าปรีดา จากหนังสือเฉลิมพระยศเจ้านาย ฉบับมีพระรูป

ทั้งนี้เครื่องสังเค็ดในการออกพระเมรุพระองค์เจ้าปรีดา ตาลปัตรก็ยังผูกลายเครื่องโต๊ะ ผูกอักษร "ปรีดา" ทำนองอย่างจีน ได้อย่างงดงาม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 13 ธ.ค. 13, 07:59

ทั้งนี้เครื่องสังเค็ดในการออกพระเมรุพระองค์เจ้าปรีดา ตาลปัตรก็ยังผูกลายเครื่องโต๊ะ ผูกอักษร "ปรีดา" ทำนองอย่างจีน ได้อย่างงดงาม

มายกมือว่าอยากเห็นค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 14 ธ.ค. 13, 00:22

ก็สรุปได้แล้ว(หลังจากสรุปมาก่อนหน้านี้) ว่า "โครงกระดูกในตู้ "มีข้อคลาดเคลื่อนอีกเรื่องหนึ่งก็คือพระองค์เจ้าปรีดามิได้ทรงแบ่งวังวรจักรให้น้องๆ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว   แต่ทายาทของท่านขายให้พระคลังข้างที่ไป   เพื่อจบปัญหาการฟ้องร้องที่ยืดเยื้อมานานหลายปี
และเป็นไปได้ ว่ามีการตกลงประนีประนอมยอมความกันเรื่องคดีฟ้องร้อง   โดยทายาทชดเชยค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินให้     ม.จ.เจ้าของคดีจึงถอนฟ้องไป

ทำให้คิดต่อไปว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไม่ทราบเรื่องนี้     เพราะท่านพ่อของท่านและม.ร.ว.ที่เป็นโอรสธิดาของพระองค์เจ้าปรีดา มิได้ติดต่อใกล้ชิดกันอีก หลังจากวังวรจักรถูกขายไปแล้ว    ม.ร.ว.เหล่านั้นท่านก็คงแยกย้ายกันไปมีบ้านอยู่ที่อื่น   พระองค์เจ้าคำรบก็อยู่ที่วังของท่านใกล้วังวรจักร   
เวลาผ่านไปนานหลายสิบปี    ญาติทางสายพระองค์เจ้าปรีดาก็คงล่วงลับกันไป  ลูกหลานชั้นม.ล.ก็คงยิ่งห่างกันออกไปอีก  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์จึงไม่ทราบว่าที่จริงแล้ว   เกิดอะไรขึ้นจริงๆ ในช่วงท้ายของวังวรจักร   ท่านจึงเข้าใจว่าพระองค์เจ้าปรีดายกมรดกวังวรจักรให้น้องๆของท่าน


บันทึกการเข้า
เจ้าคุณแจ็ค
อสุรผัด
*
ตอบ: 4



ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 17 ธ.ค. 13, 20:54

พัด"ปรีดา"ที่เป็นพัดสังเค็ดในงานพระศพพระองค์เจ้าปรีดา ซึ่งได้นำรูปเครื่องโต๊ะมาผูกลายในพัดนี้ และสมเด็จฯเจ้าฟ้านริศรานุวัดติวงศ์ก็ทรงนำเอาพระนาม "ปรีดา" มาผูกไว้ที่ลวดลายของพัดบริเวณใจกลางของกระถางกำยานตรงกลางพัด และในพัดนี้มีการซ่อนอักษรพระนาม "น" ซึ่งเป็นพระนามของสมเด็จฯเจ้าฟ้านริศรานุวัดติวงศ์ ไว้ที่ใต้ใบบัวด้านขวาของพัดอีกด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 18 ธ.ค. 13, 01:18

^
งามมาก..สมเป็นฝีพระหัตถ์
นับว่าพระองค์เจ้าปรีดาเป็นเจ้านายสำคัญ มีพระนามเป็นที่รู้จักกว้างขวางในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ทีเดียว   เสียดายที่เราไม่มีโอกาสรู้ประวัติของท่านจากหนังสือ "โครงกระดูกในตู้"  ต้องมาช่วยกันค้นหาปะติดปะต่อกันในกระทู้นี้
ขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันค้นคว้าหามากค่ะ   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 18 ธ.ค. 13, 15:38

ยินดีต้อนรับเจ้าคุณแจ็คครับ ทราบว่าเจ้าคุณแจ็คมีตาลปัตรงาม ๆ ประดับไว้คงหลายเล่ม หวังว่าคงจะให้ความรู้เรื่อย ๆ นะครับ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เจ้าคุณแจ็ค
อสุรผัด
*
ตอบ: 4



ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 18 ธ.ค. 13, 19:59

ด้วยความยินดีครับคุณหนุ่มรัตนะ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 19:32

กลับเข้ากระทู้นี้อีกครั้ง

- เรื่องหม่อมเจ้าทับทิมที่ว่าเป็นท่านทวดของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นั้น  ไม่ปรากฏพระนามอยู่ในหนังสือราชสกุลวงศ์ และหนังสือพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าฯ   ในหนังสือราชสกุลวงศ์ ไม่ได้บันทึกพระนามหม่อมเจ้าที่เป็นพระโอรสในกรมพระราชวังหลังไว้    ส่วนหนังสือพระอนุวงศ์ฯ มีหม่อมเจ้าทับทิม 2 องค์ในกรมพระราชวังหลัง   แต่น่าจะเป็นหม่อมเจ้าหญิงทั้งสององค์
- หม่อมเจ้าชายทับทิม มีอีกองค์หนึ่งคือเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ในรัชกาลที่ 2     

เพราะฉะนั้น ก็ยังเป็นปริศนาอยู่ว่า หม่อมเจ้าทับทิมที่ว่าเป็นบิดาของม.ร.ว.ดวงใจนั้น เป็นหม่อมเจ้าเชื้อสายวังหลังในรัชกาลที่ 1   หรือวังหน้าในรัชกาลที่ 2 กันแน่    แต่แน่ๆคือท่านไม่ใช่พระองค์เจ้าวังหลัง ซึ่งมีอยู่ 6 พระองค์

อีกเรื่องหนึ่งที่ยังค้างคาใจดิฉันอยู่ คือเรื่องริบราชบาตร
มาถึงความเห็นนี้ ก็เป็นอันเชื่อได้ว่าเหตุการณ์ริบราชบาตรเพราะม.จ.ฉวีวาดมีส่วนในกบฏวังหน้านั้น ไม่มีจริง    เพราะม.จ.ฉวีวาดไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยกับความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า    เรื่องวังหน้ากับม.จ.ฉวีวาดเป็นเรื่องกุขึ้นทั้งเพ     เรื่องจริงคือ 5 ปีให้หลัง    ม.ร.ว.ดวงใจ แม่ของม.จ.ฉวีวาดถูกจับกุมลงโทษด้วยเหตุอะไรสักอย่าง จนบ้านแตกลูกเต้ากระจัดพลัดพรายเมื่อพระองค์เจ้าคำรบมีพระชันษาเพียง 8 ขวบ
โทษที่หม่อมย่าดวงใจได้รับก็คือ
1   ถูกจับกุมตัวไปเฆี่ยนหลัง 30 ที
2   ถูกคุมขังอยู่ในวังเป็นเวลา 1 ปี
3   โดนปรับด้วย เป็นเงินเท่าไรไม่ทราบ   ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ใช้คำว่า เมื่อครบ 1 ปีท่านก็ถูกปล่อยตัวกลับมาวัง ด้วยฐานะลำบากยากจน     จึงขอตีความว่าโดนปรับเงินทองจนแทบไม่เหลือติดตัว
แต่จะว่าหม่อมย่าหมดตัวก็ไม่ใช่  เพราะในจดหมายของพระองค์เจ้ามาลิกา พูดถึงมรดกของม.ร.ว.ดวงใจในภายหลัง     แปลว่าท่านก็ยังมีทรัพย์สินเหลืออยู่พอเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานได้     ไม่ใช่สิ้นเนื้อประดาตัว
  คำถามที่จะขอให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือมาตลอดช่วยกันคิด คือโทษขนาดนี้  ควรเป็นความผิดชั้นไหน   และข้อหาร้ายแรงระดับไหน
2   

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 26 ธ.ค. 13, 19:46

      โทษที่ม.ร.ว.ดวงใจได้รับ  เป็นโทษอันเกิดจากลูกสาวเป็นผู้ก่อ แต่ทางการจับตัวไม่ได้ก็เลยมาจับกุมพ่อแม่ไปลงโทษแทน  หรือว่าเป็นความผิดประการใดก็ตามที่ม.ร.ว.ดวงใจไปทำผิดเสียเองจนถูกลงโทษ    ดิฉันไม่แน่ใจเสียแล้ว    เพราะความคลาดเคลื่อนในหนังสือเล่มนี้มีหลายแห่ง  จนกระทั่งไม่กล้าฟันธงลงไป
       แต่เชื่อว่าไม่ใช่ริบราชบาตร ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่โต งุบงิบแอบปิดบังเอาไว้ไม่ได้ 
       หากเกิดขึ้นจริงก็น่าจะมีบันทึกเอาไว้ในเอกสารสำคัญสมัยรัชกาลที่ 5  เช่นในประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารสมัยนั้น       แต่นี่หาเท่าไหร่ก็ไม่มี   จึงเชื่อว่าไม่มีการริบราชบาตรต่อราชสกุลปราโมช   ซึ่งย่อมจะเป็นเรื่องใหญ่โดนกันกราวรูดแน่นอน    แต่เป็นเรื่องทางการลงโทษบุคคลคนเดียวในราชสกุลปราโมช   ด้วยข้อหาอะไรก็ยังคลุมเครืออยู่ เพราะข้อหากบฏไม่มีจริงอยู่แล้ว     
       เจ้านายอื่นๆในราชสกุลที่มีอยู่มากมายในพ.ศ.นั้น ตั้งแต่พระองค์เจ้าปรีดา จนถึงน้องๆของท่านไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแต่อย่างใด   โดนคนเดียวคือม.ร.ว.ดวงใจ     ลูกๆของท่านทุกคนก็ไม่ได้รับโทษอย่างที่พึงได้รับหากว่าโดนริบราชบาตรจริงๆ 

      ทีนี้ก็ถึงคำถามว่า โทษเฆี่ยนหลัง 30 ที ติดสนม 1 ปี โดนปรับเงินทองด้วย  เป็นโทษที่เจ้านายสตรีพึงได้รับด้วยความผิดข้อหาไหน?
      คบชู้สู่ชาย
      หนีออกนอกพระราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต
      เลิกกับสามีโดยไม่มีเหตุอันควร

      ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็นข้อ 2   ท่านทั้งหลายเห็นอย่างไรคะ
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 27 ธ.ค. 13, 08:50

ในค.ห. 220  ประวัติพระองค์เจ้าปรีดา ที่คุณ hobo ถ่ายเอกสารมาให้   ระบุว่าพ.ศ. 2410  ในรัชกาลที่ 4   กรมขุนวรจักรฯได้เป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศมาจนสิ้นรัชกาล     ก็คือประมาณ 1 ปีเพราะสิ้นรัชกาลที่ื 4  เมื่อพ.ศ. 2411   ส่วนพระองค์เจ้าคำรบมาประสูติเมื่อพ.ศ. 2414 ในรัชกาลที่ 5    เพราะฉะนั้น พระบิดาก็ไม่ทรงมีหน้าที่การงานเกี่ยวกับต่างประเทศมา 3 ปีแล้ว  ดังนั้นประวัติที่ว่าท่านไปประสูติที่อังกฤษ  เห็นจะผิดพลาดค่ะ

เมื่อดูจากประวัติพระองค์เจ้าปรีดา   หลังจากกรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์ในพ.ศ. 2415    ในพระประวัติ  สมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงใช้คำว่า พระองค์เจ้าปรีดาทรงสันทัดในการช่าง  จึงทรงพระกรุณาให้บังคับการกรมช่างกระจกต่อมา ก็แปลว่าก่อนหน้านี้พระบิดาว่าการกรมช่างกระจกอยู่ในต้นรัชกาลที่ 5  มิได้ทรงลาออกจากราชการมาขังพระองค์อยู่ในวังเฉยๆ   อย่างที่เล่าในหนังสือ

คำอธิบายขยายความของหน้าที่เจ้ากรมช่างกระจก ตามที่ปรากฏในประวัติพระองค์เจ้าปรีดา ยิ่งแสดงให้เห็นว่าหน้าที่ของเจ้ากรมช่างกระจกต้องรับผิดชอบการช่างอย่างอื่นด้วย ไม่เฉพาะแต่หุงกระจกเท่านั้น    พระองค์เจ้าปรีดาทรงรับหน้าที่เรื่องกระทงใหญ่และงานพระเมรุเป็นต้น   นี่ก็แสดงว่าเป็นงานที่ทรงฝึกฝนจากพระบิดามาก่อนตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 5     จึงชำนาญพอจะสืบต่อเป็นเจ้ากรมช่างกระจกได้ทันที
ในเมื่อเจ้ากรมช่างกระจกต้องรับงานพระเมรุของเจ้านาย ซึ่งมีไม่เว้นแต่ละปี  ปีละหลายครั้ง      เรื่องที่กรมขุนวรจักรฯจะขังพระองค์อยู่ในวังติดต่อกันหลายปี   ไม่ยอมเสด็จออกไปไหน ส่งแต่พระโอรสและลูกน้องไปรับงานภายนอกอยู่ฝ่ายเดียว  ก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้หนักขึ้นไปอีก     โดยหน้าที่แล้วจะต้องเสด็จออกไปเป็นประจำด้วยซ้ำ   
จึงตั้งข้อปุจฉาไว้อีกข้อหนึ่งตรงนี้ว่า นอกจากเรื่องต้นตะขบหน้าวังเป็นเรื่องคลาดเคลื่อนไม่มีจริงอีกเรื่องหนึ่งแล้ว   เรื่องกรมขุนวรจักรฯไม่เสด็จออกไปไหน หรือนานๆเสด็จที ก็ไม่จริงเหมือนกัน    ท่านก็ยังเสด็จออกไปทำงานตามหน้าที่ของท่านนั่นแหละค่ะ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 27 ธ.ค. 13, 09:39

อาจารย์ครับ ในหนังสือหม่อมท่านไม่ได้ว่าลาออกนะครับ แต่ออกมาทำงานว่าราชการที่บ้าน ซึ่งเป็นธรรมเนียมไทยอย่างหนึ่ง ที่เสนาบดี เจ้ากรม สั่งการอยู่ที่บ้าน เพิ่งมาเลิดเมื่อมีกระทรวง ทบวง กรมอย่างใหม่ในรัชกาลที่ 5

อีกอันคือในที่สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงไว้ ท่านกล่าวถึงความขัดแย้งกับสมเด็จเจ้าพระยาด้วย เป้นการยืนยันว่ามีเรื่องเกิดขึ้น แน่ๆ ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.154 วินาที กับ 20 คำสั่ง