เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 154420 โครงกระดูกในตู้ โดยคึกฤทธิ์ : ข้อเท็จจริงจากการชันสูตร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 15 พ.ย. 13, 11:21

เรื่องท่านตาของพระองค์เจ้าคำรบ เจ้าของบ้าน(หรือวังเล็กๆ)ริมวัดราชนัดดา ทำเอาดิฉันพลาดตกเก้าอี้ลงไปอีกหนหนึ่งแล้ว 

1  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เรียกท่านทวดของท่านว่า หม่อมเจ้าทับทิมในกรมพระราชวังหลัง     เมื่อหม่อมย่าที่เป็นธิดา มีคำนำหน้าว่า ม.ร.ว.  ก็เป็นอันว่าฐานันดรของท่านทวดเป็นหม่อมเจ้า ถูกต้องแล้ว
2  ในหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว.คอยท่า ปราโมช  ลำดับญาติทางสายหม่อมแม่ของท่านตามนี้
สายทางพระมารดาสืบมาดั่งนี้ กรมพระราชวังสถานพิมุข (พระวังหลัง) พระองค์เจ้าทับทิม หม่อมแย้ม มีธิดา ๓ ท่าน คือ   ๑. หม่อมราชวงศ์ ดวงใจ ปราโมช ๒. หม่อมราชวงศ์ จร อิศรางกูร ๓. หม่อมราชวงศ์ ดาว ปราโมช
3   แต่    สำรวจรายพระนามพระโอรสธิดาในกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์  กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขหรือกรมพระราชวังหลัง แล้ว  ไม่มีพระองค์เจ้าทับทิม หรือหม่อมเจ้าทับทิม อย่างที่คุณ natadol ตั้งข้อสังเกตไว้

กรมพระราชวังหลัง แปลกกว่าเจ้านายองค์อื่นๆคือพระโอรสธิดาของท่าน  บางองค์เป็นพระองค์เจ้า บางองค์ก็เป็นหม่อมเจ้า   ไม่เท่ากัน    ในตอนประสูติ ทุกองค์เป็นหม่อมเจ้า   แต่ต่อมาเฉพาะพระโอรสธิดาที่ประสูติจากเจ้าครอกทองอยู่  ได้รับการยกขึ้นเป็นพระองค์เจ้า   องค์อื่นๆที่ประสูติจากเจ้าจอมหม่อมห้ามอื่นๆเป็นหม่อมเจ้าตามเดิม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 15 พ.ย. 13, 11:27

พระองค์เจ้าวังหลัง 6 องค์นี้ ประกอบด้วย
    พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายปาน (พ.ศ. 2313 - พ.ศ. 2368) ต้นราชสกุลปาลกะวงศ์
    พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกระจับ (ประสูติ พ.ศ. 2315 - รัชกาลที่ 4)
    พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนเรศร์โยธี พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายบัว (พ.ศ. 2318 - 1 เมษายน พ.ศ. 2374)
    พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายแตง (พ.ศ. 2320 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2377) ต้นราชสกุลเสนีวงศ์ฯ
    พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปฐมวงศ์ (พ.ศ. 2325 - รัชกาลที่ 3) เป็นพระองค์เจ้าพระองค์แรกที่ประสูติหลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้พระนามว่า พระองค์เจ้าปฐมวงศ์
    พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจงกล (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2385)

ส่วนพระโอรสธิดาที่เป็นหม่อมเจ้า  มีพระนามดังนี้

    หม่อมเจ้าชายจัน (หม่อมเจ้าจันทร์นุเรศร์) (ประสูติ พ.ศ. 2332)
    หม่อมเจ้าหญิงรัศมี (พ.ศ. 2334 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2417)
    หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ (พ.ศ. 2341 - 21 สิงหาคม พ.ศ. 2420)
    หม่อมเจ้าหญิงพิกุน (พ.ศ. 2342 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2417)
    หม่อมเจ้าหญิงธิดา
    หม่อมเจ้าหญิงเรไร
    หม่อมเจ้าชายหมี
    หม่อมเจ้าหญิง
    หม่อมเจ้าชายสุวรรณ
    หม่อมเจ้าหญิงยี่สุ่น
    หม่อมเจ้าหญิงอำพา
    หม่อมเจ้าหญิงนุช (หม่อมเจ้าวรนุช)
    หม่อมเจ้าชายกำพร้า
    หม่อมเจ้าชายสุดชาติ (หม่อมเจ้าสุด)
    หม่อมเจ้าชายกุหลาบ
    หม่อมเจ้าชายใย
    หม่อมเจ้าชายน้อย (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2434)
    หม่อมเจ้าชายเณร
    หม่อมเจ้าชายละมั่ง
    หม่อมเจ้าหญิงอะงุ่น
    หม่อมเจ้าชายสุทัศน์
    หม่อมเจ้าชายนิล
    หม่อมเจ้าหญิงพลับจีน
    หม่อมเจ้าหญิงป้อม
    หม่อมเจ้าหญิงเล็ก
    หม่อมเจ้าหญิงกลาง
    หม่อมเจ้าหญิงนกเขา
    หม่อมเจ้าหญิงเรศร์
    หม่อมเจ้าชายฟัก
    ไม่มีหม่อมเจ้าทับทิม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 15 พ.ย. 13, 11:40

แต่ว่าพระองค์เจ้าวังหลังทั้ง 6 พระองค์นี้   เมื่อมีพระโอรสธิดา  ก็มิได้เป็นหม่อมราชวงศ์อย่างโอรสธิดาของหม่อมเจ้าที่เลื่อนขึ้นเป็นพระองค์เจ้าในภายหลังทั่วไป     แต่ท่านเป็นหม่อมเจ้า (เหมือนฐานันดรเดิมแต่ประสูติของเสด็จพ่อ)
มีสองสายเท่านั้นคือหม่อมเจ้าสายราชสกุล ปาลกะวงศ์ และสายราชสกุล เสนีวงศ์   
ทั้งสองสายนี้มีหม่อมเจ้าทับทิมปรากฏอยู่ทั้งสองสาย   แต่หนังสือพระอนุวงศ์ฯ ระบุว่าเป็นหม่อมเจ้าหญิง

หม่อมเจ้าหญิงทับทิม ปาลกะวงศ์ มีรายละเอียดบันทึกเพิ่มเติมว่าเป็นเจ้านายชันษายืนองค์หนึ่งของราชวงศ์จักรี  (พ.ศ. 2337-2418)  จึงเชื่อว่าหลักฐานถูกต้อง  เป็นหม่อมเจ้าหญิง   
ส่วนหม่อมเจ้าทับทิมอีกองค์หนึ่งในสายเสนีวงศ์ ไม่มีรายละเอียดอะไรเลยนอกจากพระนาม และบอกว่าเป็นหม่อมเจ้าหญิง ซึ่งอาจผิดพลาดได้  อาจเป็นชาย ที่ความที่ชื่อทับทิมมักเป็นชื่อหญิงมากกว่าชาย ผู้บันทึกจึงเข้าใจผิดว่าเป็นหญิง
ดิฉันจึงคิดว่าเป็นหม่อมเจ้าทับทิมองค์นี้ที่เป็นท่านตาของพระองค์เจ้าคำรบ  เป็นโอรสของกรมหมื่นเสนีบริรักษ์ ต้นราชสกุลเสนีวงศ์ฯ

แต่เมื่อหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพม.ร.ว.คอยท่า เขียนว่าท่านตาของท่านเป็นพระองค์เจ้า  ดิฉันก็ต้องกลับไปค้นหนังสือใหม่อีกครั้ง
ก่อนจะให้ความเห็นว่า หนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงม.ร.ว.คอยท่า น่าจะเขียนผิด   พระองค์เจ้าวังหลังมี 6 พระองค์เท่านั้น เป็นชายสามหญิงสาม    และชายสามนี้หนึ่งในจำนวนนั้นไม่มีโอรสธิดา คือกรมหมื่นนเรศร์โยธี  จึงไม่มีสายราชสกุลนี้สืบต่อมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 15 พ.ย. 13, 12:06

นอกจากนี้ ถ้าท่านตาของพระองค์เจ้าคำรบ เป็นพระองค์เจ้าทับทิมพระโอรสในกรมพระราชวังหลังจริง    ลูกท่านต้องเป็นหม่อมเจ้า   ไม่ใช่หม่อมราชวงศ์ค่ะ
เจ้านายวังหลัง แปลกจากสายราชสกุลอื่นตรงที่ว่า พี่กับน้อง เป็นพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า
พระองค์เจ้าในกรมพระราชวังหลังถือศักดิ์เท่ากับพระองค์เจ้าเมื่อประสูติ  พระโอรสธิดาเป็นหม่อมเจ้า
หลานกับอาจึงเป็นหม่อมเจ้าเท่ากัน
สมมุติว่ามีหลาน   พอถึงชั้นหม่อมราชวงศ์    แทนที่จะเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ก็เป็นอากับหลานอีกค่ะ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 15 พ.ย. 13, 14:03

หม่อมเจ้าพระโอรสธิดาในกรมพระราชวังหลัง มีรายพระนามและจำนวนค่อนข้างสับสน
ประกอบกับเชื้อสายหม่อมเจ้าพระโอรสใช้ราชสกุล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ทำให้ยิ่งสับสน
ไปกับพระโอรสในกรมหมื่นนราเทเวศร์  ดังนั้น พระนามหม่อมเจ้าทับทิม หายไปจากลำดับ
ราชสกุลวังหลัง ก็เป็นไปได้

จนเมื่ออาจารย์คึกฤทธิ์ เขียนเล่าเรื่องสายสกุลทางย่าของท่าน
จึงได้เพิ่มเติมหม่อมเจ้าทับทิม ในหม่อมเจ้าพระโอรสวังหลัง

แต่ที่ท่านจะเป็นพระโอรสในกรมหลวงเสนีบริรักษ์ เป็นไปได้ยากค่ะ เพราะมีรายพระนามและนามหม่อมมารดาบันทึกไว้
ครั้งหนึ่ง ยังเคยคิดว่าหรือจะเป็นหม่อมเจ้าทับในกรมหลวงเสนีบริรักษ์ แต่ท่านก็พำนักอยู่บริเวณวังหลัง มิได้มีวังแยกออกไป
เป็นไปค่อนข้างยากที่ท่านจะมีวังอยู่ทางวัดราชนัดดา  อีกประการหนึ่ง หม่อมราชวงศ์ดวงใจ นั้นบางท่านเติมนามสกุลท่าน ปาลกะวงศ์ ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 15 พ.ย. 13, 14:25

ที่คุณกะออมว่ามาก็น่าคิด   เพราะหม่อมเจ้าพระโอรสกรมพระราชวังหลัง องค์อื่นๆที่มิได้ประสูติจากเจ้าครอกทองอยู่ ไม่ได้ขอพระราชทานราชสกุล  แต่ว่ามาใช้ปาลกะวงศ์ฯ ของพี่ชายองค์ใหญ่
ทำให้ดิฉันต้องนึกถึงความเป็นไปได้ ว่า ท่านตาของพระองค์เจ้าคำรบ เป็นหม่อมเจ้าพระโอรสในกรมพระราชวังหลังได้หรือไม่   ใช้ปาลกะวงศ์ ทำให้ม.ร.ว.ดวงใจลูกสาวท่าน ถูกเอ่ยถึงว่าเป็นสายปาลกะวงศ์

กรมพระราชวังหลังทิวงคตเมื่อ 20 ธันวาคม  พ.ศ.2349     พระองค์เจ้าคำรบประสูติเมื่อพ.ศ. 2414  คือหลังท่านสิ้นไปแล้ว  65 ปี     
ส่วนหม่อมเจ้าทับทิมในกรมหลวงเสนีบริรักษ์ ประสูติปี 2348  แก่กว่าพระองค์เจ้าคำรบ 66 ปี  ไม่ทราบปีที่หม่อมเจ้าทับทิมสิ้นชีพิตักษัย  แต่ในหนังสือบอกว่าหลายปีแล้ว ก่อนปีพ.ศ. 2422 ที่ท่านคำรบน้อยต้องไปอยู่กับหม่อมยาย

อ้างถึง
แต่ที่ท่านจะเป็นพระโอรสในกรมหลวงเสนีบริรักษ์ เป็นไปได้ยากค่ะ เพราะมีรายพระนามและนามหม่อมมารดาบันทึกไว้
รายพระนามที่ว่า บอกอะไรเรื่องหม่อมเจ้าทับทิม บ้างคะ  คุณกะออมพอจะเอามาลงให้อ่านได้ไหม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 15 พ.ย. 13, 17:09

เอาภาพถ่ายถนนวรจักรของคุณหนุ่มสยามมาวางคู่กับแผนที่ของคุณพีรศรี
วังวรจักรมีเนื้อที่กว้างขวางมาก   วังแห่งเดียวเท่ากับหมู่บ้านจัดสรรชานเมือง
น่าจะหาเนื้อที่สำหรับปลูกเรือนให้หม่อมเจ้าจำรูญ หม่อมเจ้าดำรงและหม่อมเจ้าเอนกได้ไม่ยากนัก   แต่ด้วยเหตุบาดหมาง  พระองค์เจ้าปรีดาท่านก็คงลำบากพระทัยที่จะให้อยู่ร่วมกัน


บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 16 พ.ย. 13, 00:15

ไปอ่านพบมาน่าจะได้อะไรเพิ่มเติมบ้างนะครับ บันทึกจากพระอุบาลีจันทร์ เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสเมื่อครั้งยังเป็นพระเทพโมฬีปี2458 เมื่อสมัยนั้มหาสงครามโลกเพิ่งเริ่มเกิด อาตมาได้เขียนหนังสือเรื่องธรรมจริยานุศาสน์แจกในงานศพ มรว.ดวงใจ ปราโมช ณ.อยุธยาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนวรจักร แต่หนังสือไม่ต้องด้วยพระราชนิยม เมื่อทรงทราบและมีพระบรมราชโองการให้ถอดอาตมา ออกจาก สมณศักดิ์และนำตัวไปกักไว้ที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร  ที่มา ประวัติวัดบรมนิวาส ครับ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 16 พ.ย. 13, 03:49

...อาตมาได้เขียนหนังสือเรื่องธรรมจริยานุศาสน์แจกในงานศพ มรว.ดวงใจ ปราโมช ณ.อยุธยาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนวรจักร แต่หนังสือไม่ต้องด้วยพระราชนิยม เมื่อทรงทราบและมีพระบรมราชโองการให้ถอดอาตมา ออกจาก สมณศักดิ์และนำตัวไปกักไว้ที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร....

เข้าใจว่าท่านเขียนคัดค้านการที่ ร.6 ส่งทหารไปรบในสงครามโลกครับ ไม่เกี่ยวกับ มรว.ดวงใจ ปราโมชโดยตรง เพียงแค่เอามาพิมพ์ในงานนี้เท่านั้นครับ โยงไปโยงมา จะกลายเป็นเหมือนที่สมเด็จกรมพระยานริศตรัสตำหนิว่าพระยาอนุมานว่า "เลอะเทอะ" ครับ
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 16 พ.ย. 13, 09:13

ในจุดที่น่าค้นหา ในหนังสืองานศพ ของ มรว.ดวงใจ ปราโมช ไม่ไช่ รายละเอียดเกี่ยวกับงานพระราชสงคราม ตามที่คุณhoboเข้าใจครับ จุดที่น่าสนใจ คือประวัติผู้วายชนม์ น่าจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างอื่นบ้างครับ น่าเสียดายว่าผมไม่มีหนังสืองานศพเล่มนี้ครับ  หาก มรว.ดวงใจ อยู่วัดราชนัดดา ทำไมถึงต้องมาทำพิธืศพถึงวัด บรมนิวาส  หรือหากท่านได้พำนักอยู่กับ พระองค์เจ้าคำรพ  วังก็น่าจะอยู่ไกลจากวัดมากครับ เพราะการโยงไปโยงมา ของข้อมูลทั้งหมด ถึงทำให้ กระทู้นี้น่าติดตามมากขึ้นครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 16 พ.ย. 13, 09:30

น่าสนใจมากค่ะคุณ natadol    ดิฉันอยากทราบว่าม.ร.ว.ดวงใจเกิดเมื่อไรและถึงแก่กรรมเมื่อไรคะ   เราอาจจะพอโยงจากอายุท่านถึงอายุท่านพ่อของท่านได้    ว่าหม่อมเจ้าทับทิมควรเป็นพระโอรสหรือพระนัดดาในกรมพระราชวังหลัง
ถ้าคุณหาหนังสือเล่มนี้ได้ อาจได้ความรู้เพิ่มเกี่ยวกับม.ร.ว.ดาว  น้องสาวท่านซึ่งน่าจะเป็นหม่อมอีกคนของกรมขุนวรจักร   ว่ามีหม่อมเจ้าองค์ไหนบ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 16 พ.ย. 13, 09:43

ตอนนี้ก็ยังเหลือคำถามว่า ท่านตาของพระองค์เจ้าคำรบ   หม่อมเจ้าทับทิม เป็นพระโอรสกรมพระราชวังหลัง หรือว่าเป็นพระนัดดากันแน่

แต่ที่แน่ๆคือประวัติในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพม.จ.คอยท่า ที่ลงว่าพระองค์เจ้าทับทิม นั้น ผิด     ไม่ว่าท่านเป็นพระโอรสหรือพระนัดดา ท่านก็เป็นหม่อมเจ้า  มิใช่พระองค์เจ้า
พระองค์เจ้าวังหลังมีเพียง 3 พระองค์คือกรมหมื่นนราเทเวศร์  กรมหมื่นนเรศร์โยธี และกรมหมื่นเสนีบริรักษ์  ซึ่งมีพระนามติดอยู่ทั้งในประวัติศาสตร์ และวรรณคดี
นายมี เอ่ยถึงทั้งสามพระองค์ไว้ในนิราศพระแท่นดงรัง   เมื่อนั่งเรือผ่านบริเวณวังหลัง ว่า

สามพระองค์ทรงชำนาญในการศึก              ออกสะอึกราญรบไม่หลบหนี
แต่ครั้งพวกพม่ามาราวี                          พระต้อนตีแตกยับอัปรา
ทุกวันนี้มีแต่พระนามเปล่า                      พระผ่านเกล้านิพพานนานหนักหนา
เสียดายองค์พงศ์กษัตริย์ขัติยา                 ชลนานองเนตรสังเวชวัง
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 16 พ.ย. 13, 10:23

เข้ามารับผิดโดยดีครับ  ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้ ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 16 พ.ย. 13, 10:41

ในจุดที่น่าค้นหา ในหนังสืองานศพ ของ มรว.ดวงใจ ปราโมช ไม่ไช่ รายละเอียดเกี่ยวกับงานพระราชสงคราม ตามที่คุณhoboเข้าใจครับ จุดที่น่าสนใจ คือประวัติผู้วายชนม์ น่าจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างอื่นบ้างครับ น่าเสียดายว่าผมไม่มีหนังสืองานศพเล่มนี้ครับ  หาก มรว.ดวงใจ อยู่วัดราชนัดดา ทำไมถึงต้องมาทำพิธืศพถึงวัด บรมนิวาส  หรือหากท่านได้พำนักอยู่กับ พระองค์เจ้าคำรพ  วังก็น่าจะอยู่ไกลจากวัดมากครับ เพราะการโยงไปโยงมา ของข้อมูลทั้งหมด ถึงทำให้ กระทู้นี้น่าติดตามมากขึ้นครับ ยิ้มกว้างๆ
ก็น่าคิดเหมือนกัน   ถ้าหากว่าม.ร.ว.ดวงใจอยู่บ้านติดกับวัดราชนัดดา     ลูกหลานก็น่าจะจัดงานสวดที่วัดนั้น สะดวกที่สุด  หรือเขยิบไปที่วัดเทพธิดารามก็ทำได้
ม.ร.ว.ดวงใจมีอายุยืนยาวมาจนถึงรัชกาลที่ 6    (หากคิดว่าท่านถึงแก่กรรมก่อนพ.ศ. 2458 เล็กน้อย)  ตอนนั้นพระองค์เจ้าคำรบก็มียศมีตำแหน่งเป็นหลักฐานแล้ว  น่าจะมีเรือนให้หม่อมแม่อยู่ในวังที่ถนนเจ้าคำรพ 
เมื่อหม่อมแม่ถึงแก่กรรม  วัดใกล้ๆมีหลายวัด  โดยเฉพาะวัดสำคัญคือวัดเทพศิรินทร์     แต่ทำไมถึงไปพระราชทานเพลิงที่วัดบรมนิวาส ก็เป็นเรื่องน่าคิดเหมือนกันค่ะ

บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 17 พ.ย. 13, 11:22

แล้ว “เจ้าทับวังหลัง”เป็นใครละครับ    ท่านที่ตามเสด็จร่วมทัพกับ  กรมหมื่นนเรศร์โยธี   กรมหมื่นเสนีบริรักษ์  และเป็นคนแต่งนิราศทัพเวียงจันท์   ผมคิดว่าอายุท่านก็น่าจะเป็นคุณตาของท่านคึกฤทธิ์ได้นะครับ
                  

เจ้า นิพนธ์พจน์เพื่อ      เรียงแถลง
ทับ นรินทร์นเรศร์แรง      เลื่องหล้า
วัง บวรทรงแสดง      สิทธเสร็จ ท่านเฮย
หลัง หยุหข่มข้า      เหล่าร้ายตายแสยงฯ
      
      
ทำ วิถีสถลมารคแหม้น   อารัญ
ไว้ เมื่อค่ำคืนวัน      หยุดยั้ง
ให้ อนงค์นิ่มนวลจันทร์      รู้เรื่อง รักแฮ
แจ้ง ที่จริงไป่พลั้ง      แน่งน้อยอย่าฉงน ฯ
      
      
๏ ศรีสัตนาคนหุตเจ้า      จอมสกล
ส้มป่อยพ่ายเสียพล      ยิ่งร้อย
สองเสด็จดัสกรกล      เทวษ ท่านฤา
ตูบ่อาจต่อต้อย      เร่งร้างเวียงถวาย ฯ
                     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.112 วินาที กับ 20 คำสั่ง