เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 154825 โครงกระดูกในตู้ โดยคึกฤทธิ์ : ข้อเท็จจริงจากการชันสูตร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 11 พ.ย. 13, 10:54

     ข้อ 3 เกิดจากความสงสัยว่า เป็นไปได้หรือว่าเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ระดับ" อา" ของพระเจ้าแผ่นดิน สามารถเก็บพระองค์อยู่ในวังกลางเมืองกรุงเทพ โดยไม่ออกไปไหนมาไหนเลยแม้แต่ครั้งเดียว ยาวนานถึง 4 หรือ 5 ปี  ขนาดต้นตะขบขึ้นขวางประตูวังก็ยังไม่ทรงรู้  
    เพราะในสมัยนั้น  พระราชพิธีสำคัญต่างๆมีอยู่ไม่เว้นแต่ละเดือน   เห็นได้จากพระราชนิพนธ์ "พระราชพิธีสิบสองเดือน" ในรัชกาลที่ 5  เป็นสิ่งยืนยันว่างานสำคัญๆที่เจ้านายจะต้องไปชุมนุมเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวตามตำแหน่งหน้าที่ มีให้เห็นอยู่ทุกเดือน     พระราชพิธีเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะเลือกไปหรือไม่ไปก็ได้ตามอัธยาศัย    ยิ่งเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มีตำแหน่งราชการต้องรับผิดชอบด้วยแล้ว  ยังไงก็ต้องเสด็จไปร่วม     เว้นแต่ประชวรจนลุกไม่ไหวก็อีกเรื่อง

     กรมขุนวรจักรฯมีตำแหน่งสำคัญมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 คือทรงกำกับราชการ กรมพระนครบาล กรมหมอ กรมช่างเคลือบ ช่างหุงกระจก กรมญวนหก และกรมท่า   กรมเหล่านี้ทำให้ท่านต้องติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอกวัง  จะเรียกแต่ขุนนางให้เข้าไปเฝ้าอยู่ในวังอย่างเดียว งานการทั้งหลายคงไม่สะดวกราบรื่น     อาทิเมื่อทรงกำกับดูแลช่างหุงกระจก  เวลาช่างในกำกับของท่านเอากระจกไปติดตามวัดวาอารามต่างๆ    เจ้านายจะไม่เสด็จออกไปดูแลความถูกต้องเรียบร้อยทีเดียวหรือ     จะปล่อยเจ้ากรมหรือขุนนางรองๆลงไปดูแลอยู่ฝ่ายเดียวกระไรได้ตั้งหลายปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 11 พ.ย. 13, 11:26

     งานสำคัญอีกอย่างที่เจ้านายต้องเสด็จไปร่วม คืองานพระเมรุศพของเจ้านายด้วยกัน     ในต้นรัชกาลที่ 5 เจ้านายมีอยู่เป็นจำนวนมากมายหลายร้อยทั้งชายและหญิง     ที่พระชนมายุมากๆเพราะประสูติตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ก็มีหลายพระองค์    ดังนั้นจึงมีงานพระเมรุศพอยู่บ่อยๆทุกปี     ถ้าใครอ่านพงศาวดารของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์คงเห็นว่าบันทึกถึงเรื่องเจ้านายสิ้นพระชนม์เอาไว้เป็นประจำ          
     การไปร่วมงานไม่ได้เป็นเพียงแสดงความอาลัย  แต่เป็นการให้เกียรติแก่เจ้านายผู้วายพระชนม์ด้วย     ในฐานะเจ้านายชั้นผู้ใหญ่องค์หนึ่งในรัชกาลที่ 5   กรมขุนวรจักรฯจะทรงหลีกเลี่ยงไม่ไปร่วมงานสวดงานพระราชทานเพลิงเจ้านายพระญาติพระวงศ์ด้วยกันได้อย่างไร  
     มีตัวอย่างหนึ่งให้เห็น คือในพ.ศ. 2413  คือช่วงเวลาที่หนังสือโครงกระดูกในตู้บอกว่ากรมขุนวรจักรฯขังพระองค์อยู่ในวัง    พระบรมวงศานุวงศ์ที่นับได้ว่าสำคัญยิ่งองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์   ได้แก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้านวม  กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ต้นราชสกุลสนิทวงศ์
     กรมหลวงวงศาฯ เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 เช่นเดียวกับกรมขุนวรจักรธรานุภาพ    พูดง่ายๆคือเป็นพี่น้องพ่อเดียวกัน แต่ต่างแม่    
    กรมขุนวรจักรฯจะทนเก็บองค์อยู่ในวังวรจักร   ไม่เสด็จไปสวดพระอภิธรรม   ไม่ไปรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชทานเพลิงพระเชษฐาของท่านได้ลงคอทีเดียวหรือ   ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยค่ะ
    ไม่ทราบว่าท่านอื่นๆมีความคิดเห็นอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 11 พ.ย. 13, 12:32

ลองมาคิดเรื่องต้นตะขบหน้าประตูวังวรจักรดูบ้าง
ที่บ้านมีอยู่ต้นหนึ่ง เป็นตะขบต้นโตแล้ว    กิ่งของมันแผ่ยื่นออกทางด้านข้าง     กิ่งสูงพอที่คนเดินลอดไปได้ไม่ต้องลิดกิ่ง     แต่ถ้าเอาเด็กขี่คอเดินลอดไปละก็    ยังไงเด็กก็ต้องปะทะเข้ากับกิ่ง
นี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมคนในวังที่มีธุระเข้าออกประตูวังทุกวัน จึงเดินเข้าออกได้โดยไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับตะขบ    แต่เมื่อกรมขุนวรจักรทรงนั่งเสลี่ยงออกจากวัง  ท่านจึงออกไม่ได้เพราะเสลี่ยงที่ลอยสูงเหนือบ่าคนหามนั้น ทำให้เจ้านายท่านต้องฝ่าเข้าไปในกิ่งก้านของตะขบ
จึงต้องตัดกิ่งตะขบเสียก่อน   ไม่ต้องโค่นลงมาทั้งต้น

กิ่งตะขบที่เกะกะระรานขนาดนี้ไม่ต้องใช้เวลา 4-5 ปี    ถ้ากรมขุนวรจักรไม่ได้เสด็จออกจากวังหลายๆเดือน ก็อาจจะทรงเจอได้เหมือนกันค่ะ  

ต้นตะขบ จากกูเกิ้ล   ถ้าเหมือนที่ขึ้นอยู่หน้าวัง  ก็คงพอนึกออกว่าทำไมเสลี่ยงของกรมขุนวรจักรผ่านไปไม่ได้ ต้องลิดกิ่งเสียก่อน


บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 06:58

ผังวังพระองค์เจ้าปรีดา ช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 09:20

ขอบคุณคุณพีรศรีมากครับที่นำมาเปิดเผยให้ทราบ

เท่าที่ดูอย่างเคร่าๆ ดูเหมือนจะไม่ใช่ผังวังธรรมดาๆนะครับ แต่มีข้อความกราบบังคมทูลในลักษณะฟ้องร้องอยู่ด้วย ยังแกะไม่ออกว่าชื่อของโครงกระดูกในตู้ของวังวรจักรเก่านี้ มีใครเป็นใครกันบ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 09:43

กระทู้นี้นอกจากขุดเจอกระดูกในตู้  ก็ยังเจอขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ด้วย  แผนที่นี้ก็คือขุมทรัพย์ส่วนหนึ่ง

ขยายแผนที่ไป 299%  เจอข้อความข้างล่างนี้ค่ะ
ผู้ทำแผนที่คือหม่อมเจ้าดำรง พระโอรสลำดับที่ 8  ต่อจากหม่อมเจ้าฉวีวาด แต่ต่างหม่อมมารดากัน      ข้อความนี้แสดงว่ามีบางส่วนของวังที่พระองค์เจ้าปรีดาประทานให้น้องๆ และบางส่วนที่ไม่ประทาน   จึงเกิดเรื่องขัดแย้งกันขึ้น

ชื่อพระองค์เจ้าปรีดาในแผนที่ เขียนว่า"ปีรดา"    ดิฉันอ่านเป็น"พระองค์เจ้าปีระกา"  อยู่ตั้งนานก่อนจะขยายแผนที่ให้เห็นชัด


บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 10:14

"ฃ้าพระพุทธเจ้า หม่อมเจ้าดำรงค์ทูลฃอ (หรือ ซื้อ?) ที่ (ต่อ?) เติมมาถึงหม่อมเจ้าอเนกพระองค์เจ้าปรีดาไมประทานฯ"

ด้านหลัง "ตำหนักเดิมพระองค์เจ้าปรีดาอยู่" มีเรือนใหญ่ของ "หม่อมราชวงษ์ในพระองค์เจ้าปรีดา" ๑ หลัง ด้านข้างมีเรือนเล็กของหม่อมราชวงษ์ในพระองค์เจ้าปรีดา อีก ๑ หลัง

ส่วนอีกด้าน  เรือนที่ติดตำหนัก  เหมือนจะเขียนว่าหม่อมเจ้าหญิง..(อ่านไม่ออก).. มารดาพระองค์เจ้าปรีดา

เรือนหลังถัดจากนั้นเป็นเรือนหม่อมในพระองค์เจ้าปรีดา
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 10:22

นอกจากแนวด้านหลังที่เป็นเรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก หม่อมเจ้าประพฤฒ  พื้นที่ผืนใหญ่เป็นของพระองค์เจ้าปรีดา  และเหมือนจะมีเรือนเล็กของหม่อมเจ้าอีกองค์อยู่ตรงมุมแนวกำแพงเดิม

ไม่เห็นเรือน ม.ร.ว. ดวงใจ เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 13:02

งั้นเรือนของม.ร.ว.ดวงใจ หรือ "วังเจ้าคำรพ" คงแยกห่างออกมาเป็นโฉนดคนละแปลงกับวังพระองค์เจ้าปรีดาละมังคะ

จากแผนที่นี้ แสดงว่าพระองค์เจ้าปรีดา มีบุตรธิดาหลายคนด้วยกัน   ตามธรรมดาพ่อก็ต้องยกมรดกให้ลูกๆมากกว่าน้องๆ  จึงไม่น่าเป็นไปได้ว่าท่านทรงยกที่ดินที่ตั้งวังให้น้องชายน้องสาวเอาไปแบ่งกัน  อย่างที่เล่าไว้ในหนังสือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 13:50

ซูมเข้าไปที่แผนที่   พบเรือนหม่อมเจ้าหญิงมารดาของพระองค์เจ้าปรีดาอย่างที่คุณ tita ชี้ทางไว้แต่แรก

ดิฉันอ่านชื่อหม่อมเจ้าหญิงองค์นี้ไม่ชัดเจน   ใครที่พอจะแกะรอยตัวสะกด   ช่วยอ่านให้หน่อยได้ไหมคะ
อ่านคำแรก ว่า "รทวย"  คำที่สองเหมือน "ทัน" ต่อมาคือคำว่า มารดา
บรรทัดล่างคือ "พระองค์เจ้าปรีดา"

ถ้ารู้พระนาม ก็ตามองค์ได้ไม่ยากว่าทรงมาจากราชสกุลไหน  สิ้นพระชนม์เมื่อพ.ศ.ใด

อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่าพระองค์เจ้าปรีดาพระโอรสองค์ใหญ่ในกรมขุนวรจักรธรานุภาพ  เป็นโอรสอันเกิดจากพระชายาที่เป็นชั้นหม่อมเจ้าหญิง   และยังมีเรือนให้เห็นอยู่ในแผนที่ที่ทำขึ้นหลังเดือนกุมภาพันธ์  ร.ศ. 115  (พ.ศ. 2440)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 14:24

แยกส่วนแผนที่มาให้ดูค่ะ   เผื่อจะอ่านอะไรได้อีกบ้างจากความเป็นอยู่ในช่วงพ.ศ. 2440   (พระองค์เจ้าคำรบมีพระชันษา 26  ทรงเรียนจบเป็นนายทหารแล้ว) พระองค์เจ้าปรีดายังมีพระชนม์อยู่  อีก 17 ปีต่อมาถึงสิ้นพระชนม์
อย่างหนึ่งที่เห็นคือ รายได้ของพระองค์เจ้าปรีดาเกิดจากแบ่งส่วนริมๆเขตนอกของวัง    ปลูกเป็นห้องแถวยาวๆให้คนจีนเช่าค้าขาย 
ดูจากความยาวของแต่ละแห่ง แสดงว่าแบ่งเป็นหลายห้องในอาคาร 1 หลัง  รวมแล้วมากมายหลายสิบห้อง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 16:44

อาณาเขตด้านขวาบนของแผนที่ ก็ให้เช่าเช่นกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 18:38

หมุนแผนที่อ่านเสียเวียนหัว

จะเห็นได้ว่าตรงใจกลางของที่ดินผืนนี้คือวังเดิมของกรมขุนวรจักรฯ   ส่วนที่เป็นท้องพระโรงเดิมอยู่ด้านหน้า ด้านซ้ายคือโรงกระจกที่ทำการสมัยกรมขุนวรจักรฯ  ลึกเข้าไปทางด้านหลังคือตัวตำหนักที่อยู่อาศัยของพระองค์เจ้าปรีดา  แวดล้อมด้วยเรือนของลูกๆของท่าน  มีเรือนหนึ่งเป็นของท่านแม่  ล้อมกันเป็นระเบียบ

ส่วนน้องท่าน หม่อมเจ้า(ยังอ่านพระนามไม่ออก) อยู่ห่างออกมาทางมุมซ้ายล่าง  ไม่ไปปะปนอยู่ในหมู่ตำหนักของเจ้าของวัง


บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 19:51

อ่านยากจริงๆ ค่ะ

หรือว่าจะเป็น
บรรทัด ๑   “หม่อมเจ้าหญิง”
บรรทัด ๒   “ร.....ร ในมารดา”
บรรทัด ๓   “พระองค์เจ้าปรีดา”

ซึ่งก็จะกลายเป็นท่านน้อง (หรือพี่?) หญิง ร่วมบิดามารดาของพระองค์เจ้าปรีดา?!?

แต่ไม่ว่าจะเป็นเรือนของหม่อมเจ้าหญิงมารดาหรือพี่น้อง  แผนที่ฉบับนี้ก็แสดงให้เห็นว่าพระองค์เจ้าปรีดาครอบครองพื้นที่วังวรจักรเกือบทั้งหมด  ลักษณะอย่างชาวบ้านพูดก็คือเป็นลูกบ้านใหญ่หรือลูกแม่ใหญ่  ได้อาศัยในกลุ่มเรือนประธาน  หม่อมมารดาของพระองค์เจ้าปรีดาน่าจะมีชาติตระกูลหรือฐานะพอสมควร  โอรสจึงได้รับการยกย่องและได้รับมรดกอย่างนี้

เรือนของท่านน้องชายอีก ๓ ท่านปลูกอยู่บนพื้นที่ส่วนที่อยู่นอกแนวกำแพงเดิม  ไม่ทราบว่าเป็นพี่น้องร่วมมารดากันหรือไม่?  ท่านน้องชายหญิงท่านอื่นไม่ทราบอาศัยอยู่ที่ใดหรือจะอาศัยหม่อมเจ้าทั้ง ๓ ท่านนี้เราก็ไม่อาจทราบได้ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 12 พ.ย. 13, 20:21

เอามาให้แกะตัวอักษรอีกครั้ง ค่ะ

ดูจากการเขียนชื่อเรือนอื่นๆ ในแผนที่ เป็นการระบุว่าเรือนไหนใช้ทำอะไร หรือเป็นเรือนที่ราชสกุลองค์ไหนเป็นเจ้าของ   เรือนไหนไม่มีคน ท่านก็บอกไว้ว่า "เรือนเปล่า"
ในเรือนปริศนานี้ท่านเขียนชื่อแล้วขยายความว่า เป็น "มารดาของพระองค์เจ้าปรีดา"   แสดงว่าเป็นเรือนของท่านแม่เจ้าของวัง  ไม่ใช่เรือนคนอื่น  เพราะถ้าเป็นเรือนหม่อมเจ้าองค์ไหนสักองค์ ก็จะไม่มีคำว่า "มารดาพระองค์เจ้าปรีดา" ประกอบ

คำว่า "ใน" ที่คุณ tita สันนิษฐาน เขาใช้กับลูก หรือไม่ก็ภรรยาของเจ้าของชื่อ  ไม่ใช่น้องค่ะ
เช่น หม่อมเจ้าทับทิมในกรมพระราชวังหลัง  แปลว่าหม่อมเจ้าทับทิมเป็นลูกของกรมพระราชวังหลัง    หรือหม่อมดวงใจในพระองค์เจ้าปราโมช  ก็คือหม่อมของท่าน

เรือนมารดาของพระองค์เจ้าปรีดาตั้งอยู่ตรงเรือนหมู่ล้อมตำหนักพระองค์ปรีดา   แสดงว่าเป็นสายเลือดใกล้ชิดกับท่าน มีเรือนลูกๆ กับเรือนแม่    ส่วนเรือนน้องห่างออกมาเป็นรอบนอก  
ทำให้สงสัยต่อไปว่า หม่อมเจ้าหญิงที่เป็นมารดาพระองค์เจ้าปรีดาน่าจะยังมีพระชนม์อยู่ในพ.ศ. 2440   เพราะถ้าสิ้นชีพิตักษัยไปนานแล้ว  เรือนของท่านน่าจะเป็น "เรือนเปล่า"  ในกรณีปิดตายไว้เฉยๆ  
แต่ถ้ามีคนอื่นมาอยู่แทน    ชื่อเรือนในแผนที่ก็ต้องบอกว่าเป็นเรือนของโอรสธิดาองค์ไหนของท่าน   ไม่ใช่พระนามของท่าน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง