เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 154409 โครงกระดูกในตู้ โดยคึกฤทธิ์ : ข้อเท็จจริงจากการชันสูตร
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 20:35

ได้ซุ่มอ่านมาต่อเนื่อง ก็เลยมีความสงสัย อยากถามท่านปรมาจาร์ยนะครับ ในวิถืพีเดีย กรมขุนวรจักร พระโอรส ไม่มีชื่อ พระองค์เจ้าปรีดา เลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 31 ต.ค. 13, 20:42

วิกิ ลงแต่พระนามพระโอรสธิดาของกรมขุนวรจักรฯ ที่ประสูติจาก ม.ร.ว.ดวงใจ หม่อมย่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์เพียง ๗ องค์
ไม่ได้ลงพระนามพระโอรสธิดาที่ประสูติจากหม่อมอื่นๆ รวมแล้ว ๕๓ องค์ค่ะ

พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปรีดาหรือหม่อมเจ้าปรีดาเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ แต่หม่อมแม่ของท่านมิใช่ม.ร.ว.ดวงใจ     ก่อนจะมาถึงม.จ.เมาฬีซึ่งเป็นพระธิดาองค์แรกที่ประสูติจากม.ร.ว.ดวงใจ    กรมขุนวรจักรธรานุภาพทรงมีพระโอรสธิดามาแล้ว ๔ องค์จากหม่อมอื่นค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 15:59


สิ่งที่ต้องคลายปมกันต่อมา คือ ประเด็นเรื่องการริบราชบาตร อ่านดูแล้วยังไม่กระจ่างแจ้ง
ยังไม่กระจ่างแจ้งในค.ห.ของคุณหนุ่มสยามค่ะ     หมายความว่าอะไร
๑   ไม่กระจ่างแจ้งในเรื่องริบราชบาตร ตามที่ปรากฏในหนังสือโครงกระดูกในตู้
๒   ไม่กระจ่างแจ้งในข้อเขียนของคุณ NAVARAT.C ในกระทู้นี้ เกี่ยวกับเรื่องริบราชบาตร

ข้อไหน หรือทั้งสองข้อคะ

สงสัยว่า บ้านหรือวังที่โดนริบราชบาตรนั้น เป็นหลังไหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 17:01

ก็คงจะเป็นเรือนที่หม่อมย่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้อาศัยอยู่ที่ถนนวรจักร กับลูกๆของท่านที่ยังไม่ได้แยกเรือนไป     ส่วนตัววังที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนวรจักรฯเคยอยู่ ตกเป็นของพระโอรสองค์ใหญ่คือพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปรีดา
ดูจากประวัติการตัดถนนวรจักร ที่ปรากฏในเอกสารของกระทรวงโยธาธิการใน พ.ศ. 2439 ว่า

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาได้กราบบังคมทูลว่า กรมโยธาธิการยังไม่ได้รับที่ดินที่ถนนจะตัดผ่านจากกระทรวงนครบาลและยังไม่ได้ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนเพราะยังทำแผนที่และบัญชีบ้านเรือนที่จะต้องรื้อถอนยังไม่เสร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 การเวนคืนที่ดินก็ยังไม่เรียบร้อย เช่น ยังติดขัดที่เรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนน รวมทั้งสะพานเฉลิม 45 ก็อยู่ในแนวถนนวรจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาจึงได้มีการประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนออกจากแนวถนนเพื่อให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนน ซึ่งพระราชทานนามไว้ว่าถนนวรจักร จนสำเร็จ

หลักฐานจากกรมโยธาธิการ แสดงว่ากรมขุนวรจักรฯปลูกเรือนให้โอรสอยู่เป็นหลังๆ ใกล้ๆในแนวเดียวกัน  แต่ตัวพระองค์ท่านทรงอยู่บนตำหนักใหญ่ซึ่งต่อมาตกเป็นของพระองค์เจ้าปรีดา    ส่วนหม่อมเจ้าอเนก และหม่อมเจ้าดำรงค์ เป็นพระโอรสรุ่นใหญ่ ลำดับที่ 6 และ 8  เกิดจากหม่อมอื่น ไม่ใช่หม่อมย่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์   (ม.จ.ฉวีวาดเป็นลำดับที่ 7 ในพระโอรสธิดารวม 53 องค์ของพระบิดา   แต่เป็นลำดับที่ 2 ของหม่อมแม่)  เมื่อเจริญพระชันษาเป็นหนุ่ม เสด็จพ่อก็คงปลูกเรือนให้หม่อมเจ้าชายรุ่นใหญ่เหล่านี้อยู่ในเขตวังวรจักร   
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้คิดว่า ม.ร.ว.ดวงใจผู้มีโอรสธิดา 7 องค์  ก็คงมีเรือน(หรือเรียกว่าวัง)แยกเป็นสัดส่วนต่างหาก   อาจจะเป็นเรือนหลังที่หนังสือ"โครงกระดูกในตู้"   เรียกว่าเป็นเรือนที่กรมขุนวรจักรปลูกให้หม่อมเจ้าฉวีวาดก็ได้    พอท่านเสกสมรสไปกับกรมหมื่นวรวัฒน์  เรือนนี้ก็มีหม่อมแม่และพี่ๆน้องๆของท่านอยู่ต่อมา   
 
เรือนหรือวังนี้แหละที่หม่อมย่ากลับมาอยู่ หลังจากติดสนมอยู่ 1 ปี   และโดนปรับเงินทองด้วย ในหนังสือจึงบอกว่ากลับมาอยู่อย่างลำบากยากจน
และ..
เรือนนี้หรือเปล่าที่ต่อมาคือ "วังเจ้าคำรพ" ที่กลายมาเป็นชื่อถนนหลังจากถูกรื้อเพราะตัดถนน?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 19:16

อ้างถึง
สงสัยว่า บ้านหรือวังที่โดนริบราชบาตรนั้น เป็นหลังไหน

บ่าวไพร่ของคุณแม่ของท่านที่ยังมีเหลืออยู่ในขณะนั้นก็พากันหลบหนีกระจัดพลัดพรายไปหมด    คงเหลือท่านอยู่องค์เดียวที่ตำหนัก     ท่านเล่าว่าท่านทั้งตกใจ ทั้งกลัว   ทั้งคิดถึงแม่   ทั้งหิว    ความรู้สึกเหมือนกับว่าฟ้าถล่มทลายลงมาทับองค์    ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่าเกิดอะไรขึ้น    ไม่รู้ว่าคุณแม่หายไปไหน  ได้แต่กันแสงองค์เดียว  และร้องเรียกหาแม่อยู่จนสาย ราวๆเพล   หม่อมยายของท่านคือหม่อมของหม่อมเจ้าทับทิมในกรมพระราชวังหลังและหม่อมแม่ของม.ร.ว.ดวงใจ ก็มาที่ตำหนัก พอเห็นองค์ท่านก็เข้าอุ้มรีบเอาออกจากตำหนักไป และพาไปอยู่ที่วังท่านตาซึ่งเป็นบ้านเล็กๆอยู่ติดกับวัดราชนัดดา"

จากข้อความข้างบน แสดงว่าตำหนักที่หม่อมราชวงศ์ดวงใจอยู่กับลูกๆนั้น ไม่ได้ถูกริบเป็นของหลวงตามองค์ประกอบสำคัญของโทษริบราชบาตร ดังนั้น โทษที่หม่อมราชวงศ์ดวงใจได้รับก็คือ มีความผิดฐานมีลูกสาวเป็นเจ้า แล้วลูกสาวกระทำความผิดอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่ไม่ใช่กบฏ แล้วหนีไปตามจับกลับมาไม่ได้ ผู้เป็นบิดามารดาจึงต้องรับโทษแทน เผอิญท่านบิดาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว มารดาจึงต้องรับเคราะห์ตามลำพัง

ปัญหามีอยู่ว่า ผู้เขียนหนังสือโครงกระดูกในตู้ ปราชญ์ผู้เขียนวรรณกรรมอมตะ"สี่แผ่นดิน"  ย่อมทราบความหมายของการริบราชบาตรดี แต่ทำไมยังย้ำนักย้ำหนาว่ามารดาของท่านโดนริบราชบาตร แต่ทิ้งหลักฐานว่า ตำหนักไม่ได้ถูกริบเข้าหลวงไปด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 19:25

ผมเดาว่า เมื่อทางราชการจะเริ่มปฏิบัติการนั้น ข่าวคงรั่วมาถึงวังวรจักรไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยคนที่นั่นทราบเพียงว่าจะโดนริบราชบาตร ก็แตกตื่นหนีกันกระจัดกระจายด้วยความหวาดกลัว เมื่อเขามาจริงและเกาะเอาตัวหม่อมราชวงศ์ดวงใจไป คำว่าริบราชบาตรจึงติดหูติดตาติดใจอยู่ไม่หาย แล้วเลยเรียกขานกันแบบเป็นที่เข้าใจภายในตระกูลตั้งแต่นั้น

แต่เล็ก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์จึงโดนกรอกหูคำว่าราชบาตร จนคำนี้บันทึกไปใน "สัญญา"ของท่าน ท่านจึงถ่ายทอดลงในหนังสือโดยคิดว่าไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขสัญญาของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งท่านคิดว่าคนอ่านคงจะไม่มีใครติดใจประเด็นนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 19:31

ที่พันทิปซึ่งผมนำกระทู้นี้ไปโยงไว้ คุณเอเธน่าได้เข้ามาต่อกระทู้มีประเด็นน่าสนใจ ผมขออนุญาตถ่ายทอดมาที่นี่

อ้างถึง
อึ้งไปเหมือนกันค่ะ ขอบคุณ จขกท. นะคะ

 เป็นการอึ้งครั้งที่ 2-3 หลังจากรู้ว่า ท่านก๊อปปี้กาเหว่าที่บางเพลงมาจากฝรั่ง หรือแม้แต่เรื่อง พม่า  ที่บรรยายความร้ายกาจของพระนางศุภยาลัต ท่านก็แต่งเสริมเข้าไปเยอะ

 พอดีเมื่อกี้เพิ่งอ่านบทความ "ประวัติศาสตร์คืออะไร" ของ อ.ธีระ นุชเปี่ยม

 ก็เลยได้รู้ว่า นักประวัติศาสตร์อังกฤษสมัยศตวรรษที่ 19 นิยมเขียนประวัติศาสตร์แบบนวนิยาย ไม่เน้นความจริงเท่าไหร่ ใส่จินตนาการเข้าไปเยอะ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์เยอรมัน จะเน้นการวิเคราะห์หาความจริง

 หม่อมคึกฤทธิ์ ท่านจบจากอังกฤษ ประกอบกับท่านเป็นนักแต่งนิยายด้วย เลยเขียนเรื่อง "โครงกระดูกในตู้" เน้นความสนุกอ่านเพลินมากกว่า
 จริงๆ ท่านคึกฤทธิ์ก็ไม่เคยเรียกตัวเองว่า นักประวัติศาสตร์เลยนะคะ
 คงต้องโทษอาจารย์ประวัติศาสตร์แล้วล่ะ ถ้าสอนลูกศิษย์ให้อ้างงานของหม่อมคึกฤทธิ์เนี่ย หวังว่า คงไม่มีอาจารย์ประวัติศาสตร์สอนแบบนี้นะคะ


http://pantip.com/topic/31173645
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 20:00

อ้างถึง
จริงๆ ท่านคึกฤทธิ์ก็ไม่เคยเรียกตัวเองว่า นักประวัติศาสตร์เลยนะคะ
 คงต้องโทษอาจารย์ประวัติศาสตร์แล้วล่ะ ถ้าสอนลูกศิษย์ให้อ้างงานของหม่อมคึกฤทธิ์เนี่ย หวังว่า คงไม่มีอาจารย์ประวัติศาสตร์สอนแบบนี้นะคะ

โทษผู้ที่นำเรื่องนี้ไปอ้างกันต่อๆไปไม่ได้หรอกค่ะ  เพราะเมื่อม.ร.ว.คึกฤทธิ์เขียนเรื่อง "โครงกระดูกในตู้" ท่านไม่ได้เขียนในฐานะว่าเรื่องนี้เป็นนิยาย   ท่านเขียนในฐานะ "เรื่องจริง" มีที่มาจากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษ      ตัวท่านเองหากว่าไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงก็คงไม่ถ่ายทอดลงมาให้ลูกหลานตลอดจนแฟนคลับของท่านได้อ่าน  
ดังนั้น ถ้าเราไม่มีหลักฐานอื่นมาให้คิดว่าเป็นอย่างอื่น ก็ต้องยกเรื่องเล่าของท่านเป็นหลักฐานไปก่อน จนกว่าจะมีหลักฐานขัดแย้งอย่างในกระทู้นี้

ถ้าจะโทษใครสักคนในเรื่องนี้ ดิฉันไม่โทษอาจารย์ประวัติศาสตร์ที่สอนลูกศิษย์ให้อ้างงานของม.ร.ว.คึกฤทธิ์   และไม่โทษท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ด้วย แต่น้อยใจหน่อยเดียว ว่าท่านน่าจะสอบถามจากแหล่งอื่นๆได้อีก ว่าเรื่องเล่าของท่านป้ามีน้ำหนักข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 01 พ.ย. 13, 21:02

เอาบทความของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศมาให้อ่านกันค่ะ   คุณสุจิตต์เมื่อพูดถึงละครไทย-เขมร ก็อ้างหม่อมเจ้าฉวีวาดเช่นกัน

ท่านป้าฉวีวาด ขนละครไทยไปอยู่เขมร

มติชนรายวัน ฉบับประจำวันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2556

          ท่านป้าฉวีวาด ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช คือ ม.จ. หญิงฉวีวาด ปราโมช หนีราชภัยสมัย ร.5 กรณีวังหน้า-วังหลวง ไปอยู่ในราชสำนักกัมพูชา
          อาจารย์คึกฤทธิ์เขียนเล่าไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ (พิมพ์ครั้งแรก 20 เมษายน 2514) ว่า
          “ท่านป้าฉวีวาดจ้างเรือสำเภาหนึ่งลำ ขนทรัพย์สมบัติลงเรือ แล้วนำละครของเจ้าจอมมารดาอำภาซึ่งตกมาถึงท่านนั้น ลงเรือทั้งโรงพร้อมด้วยเครื่องละครและดนตรีปี่พาทย์ รวมเป็นคนหลายสิบคน”
          “สมเด็จพระนโรดมจึงได้รับท่านป้าฉวีวาดและละครของท่านทั้งโรงเข้าไปอยู่ในพระราชวังในฐานะละครในเมืองเขมร และให้หัดละครเมืองเขมรสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้”
          “ละครในเมืองเขมรในปัจจุบัน เป็นละครที่ห่างครูไปนาน จึงเรื้อไปมาก บทที่เล่นนั้นถ้าเป็นละครในเรื่องอุณรุทธและอิเหนายังต้องร้องเป็นภาษาไทย แต่ถ้าเล่นละครนอกแล้ว สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ได้ทรงแปลไว้เป็นภาษาเขมรเป็นส่วนมาก เช่นเรื่องไกรทอง”


          กรณีนี้เชื่อกันมาก่อนนานแล้วว่าเขมรเอาโขนละครไปจากไทย
          เมื่ออาจารย์คึกฤทธิ์เขียนเล่าเรื่องท่านป้าฉวีวาดเอาละครไทยไปอยู่เขมรซ้ำอีก ก็ยิ่งย้ำความเชื่อเดิมว่าถูกต้องแม่นยำและชอบธรรมยิ่งขึ้น กระทั่งถือเป็นตำราดนตรีและนาฏศิลป์ว่าเขมรรับจากไทย ใช้สอนกันในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยเฉพาะในสังกัด ก. วัฒนธรรม

          แท้จริงแล้วไทยได้แบบโขนละครจากวัฒนธรรมขอม(คือเขมรยุคอโยธยา-ละโว้) ซึ่งมีต้นแบบอยู่ที่การละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ หรือกวนเกษียรสมุทร ของราชสำนักเมืองพระนคร (ที่รู้จักกันในนามนครวัด)
          มีประจักษ์พยานสำคัญคือภาพสลักกวนเกษียรสมุทรขนาดยาวและใหญ่มากๆ อยู่ที่ผนังด้านหลังของระเบียงปราสาทนครวัด ราว พ.ศ. 1650 (ก่อนมีรัฐสุโขทัย)
          โขนละครราชสำนักเขมร(เรียก ละโคนพระกรุณา) สืบทอดกันต่อๆมาไม่ขาดสายจนปัจจุบัน เหมือนโขนละครราชสำนักอยุธยา-กรุงธนบุรี-กรุงเทพฯ
          จะมีซบเซาไปบ้างในบางรัชกาล เป็นเรื่องปกติธรรมดา แล้วก็มีผู้ฟื้นฟูขึ้นใหม่ในภายหลัง ซึ่งไทยก็เป็นอย่างนี้
          จะต่างกันก็ตรงที่ราชสำนักเขมรไม่ได้แต่งบทละครอิเหนา, ไกรทอง, ฯลฯ เมื่อจะเล่นก็ต้องเลียนอย่างราชสำนักกรุงเทพฯ โดยหาครูละครจากกรุงเทพฯไปสอน ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เพราะต่างขอหยิบขอยืมแลกเปลี่ยนกันไปมานับร้อยนับพันปีมาแล้ว
          ท่านป้าฉวีวาด ของอาจารย์คึกฤทธิ์ ไปอยู่ในราชสำนักเขมรแล้วมีส่วนอะไรบ้างในละครเขมร? ยังไม่พบหลักฐาน และยังไม่มีนักค้นคว้าวิจัยจากไทยไปศึกษาในกัมพูชา
          ฉะนั้น จะให้เชื่อถือมั่นคงว่าละครเขมรได้จากไทยย่อมเป็นไปไม่ง่ายๆอย่างนั้น
          อาจมีส่วนเพิ่มเติมละครในราชสำนักเขมรครั้งนั้นบ้างก็ได้ โดยสร้างสรรค์สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วให้หลากหลายมากขึ้นจากเดิม

          แต่ไม่ถึงขนาดเป็นต้นแบบละครเขมรที่สืบทอดถึงปัจจุบัน นอกเสียจากไทยคิดเหมาเอาเองว่าโน่นนี่นั่นเอาไปจากไทย ทั้งๆแต่เดิมมานั้นไทยได้จากเขมร
          ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นวิชาการจริงจังของท่ารำที่อาจารย์คึกฤทธิ์เรียก“สามัญลักษณะ” อันเป็นลักษณะร่วมของอุษาคเนย์ แต่ไทยจะตีขลุมครึกโครมเป็นของตนฝ่ายเดียว ดังเคยเกิดปัญหามาแล้ว
          เมื่อเอาหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีมาตีแผ่ให้ดู ก็ต้องเงียบไป เพราะเถียงไม่ขึ้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 06:05

ประเด็นที่ผมติดใจในความเห็นของคุณเอเธนา เพราะตรงกับ bias ของผมก็คือ
อ้างถึง
พอดีเมื่อกี้เพิ่งอ่านบทความ "ประวัติศาสตร์คืออะไร" ของ อ.ธีระ นุชเปี่ยม

ก็เลยได้รู้ว่า นักประวัติศาสตร์อังกฤษสมัยศตวรรษที่ 19 นิยมเขียนประวัติศาสตร์แบบนวนิยาย ไม่เน้นความจริงเท่าไหร่ ใส่จินตนาการเข้าไปเยอะ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์เยอรมัน จะเน้นการวิเคราะห์หาความจริง

ครับ  จากคำนำในหนังสือ “ครูฝรั่งวังหลวง” ซึ่งกล่าวถึงนางแอนนา ลีโอโนเวนส์ ผู้เขียน The Romance of the Harem อันกลายมาเป็นแอนนาและพระเจ้ากรุงสยาม และคิงแอนด์ไอในที่สุดนั้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  ใช้คำว่า แอนนาโกหกตอแหลทั้งหมด
 
วลีดังกล่าวสนับสนุนคุณเอเธนาว่าคนอังกฤษ(และอเมริกัน) บางคนมีนิสัยอย่างนั้นจริงๆ นักเรียนเก่าอังกฤษที่เป็นหนอนหนังสือคงทราบดี แบบรู้เส้นเห็นไส้ชนิดไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
หนังสือโครงกระดูกในตู้กำลังสร้างความบันเทิงให้กับผู้อ่านกับผู้เขียนในกระทู้นี้อีกครั้งหนึ่งหลังการอ่านเอาสนุก ด้วยการช่วยกันเอาแบบคนเยอรมัน วิเคราะห์ว่า ตรงไหนเป็นจินตนาการที่เชื่อถือไม่ได้
นอกจากที่มีหลักฐานจับผิดได้ชัดๆแล้ว ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่ผมหาใบเสร็จมาแสดงยังไม่ครบ แต่สมควรจะทะยอยนำลงมารวบรวมในกระทู้นี้ เพื่อท่านใดจะช่วยหาหลักฐานมาปิดเกมได้ เอาแค่เรื่องม.จ.ฉวีวาดนี่แหละ ไม่ต้องถึงกับลามไปทั้งเล่มดอก เดี๋ยวจะเฝือ

โปรดติดตามอ่านนะครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 07:57

ก็คงจะเป็นเรือนที่หม่อมย่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้อาศัยอยู่ที่ถนนวรจักร กับลูกๆของท่านที่ยังไม่ได้แยกเรือนไป     ส่วนตัววังที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนวรจักรฯเคยอยู่ ตกเป็นของพระโอรสองค์ใหญ่คือพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปรีดา
ดูจากประวัติการตัดถนนวรจักร ที่ปรากฏในเอกสารของกระทรวงโยธาธิการใน พ.ศ. 2439 ว่า

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาได้กราบบังคมทูลว่า กรมโยธาธิการยังไม่ได้รับที่ดินที่ถนนจะตัดผ่านจากกระทรวงนครบาลและยังไม่ได้ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนเพราะยังทำแผนที่และบัญชีบ้านเรือนที่จะต้องรื้อถอนยังไม่เสร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 การเวนคืนที่ดินก็ยังไม่เรียบร้อย เช่น ยังติดขัดที่เรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนน รวมทั้งสะพานเฉลิม 45 ก็อยู่ในแนวถนนวรจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาจึงได้มีการประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนออกจากแนวถนนเพื่อให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนน ซึ่งพระราชทานนามไว้ว่าถนนวรจักร จนสำเร็จ

หลักฐานจากกรมโยธาธิการ แสดงว่ากรมขุนวรจักรฯปลูกเรือนให้โอรสอยู่เป็นหลังๆ ใกล้ๆในแนวเดียวกัน  แต่ตัวพระองค์ท่านทรงอยู่บนตำหนักใหญ่ซึ่งต่อมาตกเป็นของพระองค์เจ้าปรีดา    ส่วนหม่อมเจ้าอเนก และหม่อมเจ้าดำรงค์ เป็นพระโอรสรุ่นใหญ่ ลำดับที่ 6 และ 8  เกิดจากหม่อมอื่น ไม่ใช่หม่อมย่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์   (ม.จ.ฉวีวาดเป็นลำดับที่ 7 ในพระโอรสธิดารวม 53 องค์ของพระบิดา   แต่เป็นลำดับที่ 2 ของหม่อมแม่)  เมื่อเจริญพระชันษาเป็นหนุ่ม เสด็จพ่อก็คงปลูกเรือนให้หม่อมเจ้าชายรุ่นใหญ่เหล่านี้อยู่ในเขตวังวรจักร   
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้คิดว่า ม.ร.ว.ดวงใจผู้มีโอรสธิดา 7 องค์  ก็คงมีเรือน(หรือเรียกว่าวัง)แยกเป็นสัดส่วนต่างหาก   อาจจะเป็นเรือนหลังที่หนังสือ"โครงกระดูกในตู้"   เรียกว่าเป็นเรือนที่กรมขุนวรจักรปลูกให้หม่อมเจ้าฉวีวาดก็ได้    พอท่านเสกสมรสไปกับกรมหมื่นวรวัฒน์  เรือนนี้ก็มีหม่อมแม่และพี่ๆน้องๆของท่านอยู่ต่อมา   
 
เรือนหรือวังนี้แหละที่หม่อมย่ากลับมาอยู่ หลังจากติดสนมอยู่ 1 ปี   และโดนปรับเงินทองด้วย ในหนังสือจึงบอกว่ากลับมาอยู่อย่างลำบากยากจน
และ..
เรือนนี้หรือเปล่าที่ต่อมาคือ "วังเจ้าคำรพ" ที่กลายมาเป็นชื่อถนนหลังจากถูกรื้อเพราะตัดถนน?


มาดูการสำรวจสำมะโนครัว พ.ศ. ๒๔๒๖ กันสักหน่อย ระบุว่า

หม่อมเจ้าเอนก อยู่วังกรมขุนวรจักร
หม่อมเจ้าดำรงค์      "
หม่อมเจ้าสอาด       "
หม่อมเจ้าเสพยบัณฑิต "
หม่อมเจ้ากรรมสิทธิ์    "
หม่อมเจ้าประพฤษดี    "
หม่อมเจ้าอาจ  อยู่บ้านเจ้าคันทรง
หม่อมเจ้าจำรูญ อยู่วังบูรพา
หม่อมเจ้าสฤดิ อยู่พระราชวังเดิม
หม่อมเจ้าสดับดี อยู่วังกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ
หม่อมเจ้าทินวุธ อยู่วังพระองค์เจ้าจิตรเจริญ
หม่อมเจ้าอัทธยา อยู่ริมวัดมหรรณ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 08:24

ก็คงจะเป็นเรือนที่หม่อมย่าของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้อาศัยอยู่ที่ถนนวรจักร กับลูกๆของท่านที่ยังไม่ได้แยกเรือนไป     ส่วนตัววังที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนวรจักรฯเคยอยู่ ตกเป็นของพระโอรสองค์ใหญ่คือพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปรีดา
ดูจากประวัติการตัดถนนวรจักร ที่ปรากฏในเอกสารของกระทรวงโยธาธิการใน พ.ศ. 2439 ว่า

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาได้กราบบังคมทูลว่า กรมโยธาธิการยังไม่ได้รับที่ดินที่ถนนจะตัดผ่านจากกระทรวงนครบาลและยังไม่ได้ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนเพราะยังทำแผนที่และบัญชีบ้านเรือนที่จะต้องรื้อถอนยังไม่เสร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 การเวนคืนที่ดินก็ยังไม่เรียบร้อย เช่น ยังติดขัดที่เรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนน รวมทั้งสะพานเฉลิม 45 ก็อยู่ในแนวถนนวรจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาจึงได้มีการประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนออกจากแนวถนนเพื่อให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนน ซึ่งพระราชทานนามไว้ว่าถนนวรจักร จนสำเร็จ
เรือนนี้หรือเปล่าที่ต่อมาคือ "วังเจ้าคำรพ" ที่กลายมาเป็นชื่อถนนหลังจากถูกรื้อเพราะตัดถนน?


หากอ้างถึงประกาศกรมโยธาธิการ พ.ศ. 2439 ว่าเรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนนนั้น พร้อมทั้งแนวสะพานเฉลิม 45 ได้หยิบยกแผนที่ พ.ศ. 2430 ขึ้นมาขีดเส้นดูแนวถนน (แดง) ปรากฎว่าพบเรือนกลุ่มหนึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงวังกรมขุนวรจักรฯ อาจจะเป็นเรือนของรายชื่อตามประกาศดังกล่าว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 09:05

แผนที่ของคุณหนุ่มสยามและข้อมูลในล้อมกรอบข้างล่างนี้น่าสนใจมาก
อ้างถึง
หากอ้างถึงประกาศกรมโยธาธิการ พ.ศ. 2439 ว่าเรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนนนั้น พร้อมทั้งแนวสะพานเฉลิม 45 ได้หยิบยกแผนที่ พ.ศ. 2430 ขึ้นมาขีดเส้นดูแนวถนน (แดง) ปรากฎว่าพบเรือนกลุ่มหนึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงวังกรมขุนวรจักรฯ อาจจะเป็นเรือนของรายชื่อตามประกาศดังกล่าว

ผมจะกลับมาวิเคราะห์ประเด็นนี้อีกทีหลังการเสนอเรื่องราวที่พยายามจะเรียบเรียงไม่ให้สะดุดจบลง ลางทีข้อมูลของคุณหนุ่มสยามอาจให้ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 09:09

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เขียนไว้ในโครงกระดูกในตู้ว่า
 
กรมขุนวรจักรทรงยกย่องคุณย่าของผู้เขียนคือหม่อมราชวงศ์ดวงใจ ผู้ซึ่งเป็นหลานปู่กรมพระราชวังหลังเป็นหม่อมใหญ่ หรือที่เรียกตามสามัญภาษาว่าเมียหลวง หม่อมเจ้าชายหญิงที่ประสูติกับม.ร.ว.ดวงใจนั้นมี ๗ องค์ดังนี้
หม่อมเจ้าหญิงเมาฬี
หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด
หม่อมเจ้าชายจำรูญ
หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า
หม่อมเจ้าหญิงโอษฐอ่อน
หม่อมเจ้าหญิงรำมะแข
หม่อมเจ้าชายคำรบ
นอกจากนั้นยังมีหม่อมเจ้าชายหญิงกับหม่อมอื่นๆอีกหลายองค์  แต่ท่านพ่อของผู้เขียนมีเจ้าน้องอยู่องค์เดียว คนละมารดากัน ประสูติเมื่อเสด็จปู่สิ้นพระชนม์แล้วจึงเรียกกันว่าท่านชายเล็ก….


ท่านอาจารย์เทาชมพูกล่าวในคคห.ข้างบนๆนี้ว่า ทรงมีพระโอรสธิดาที่ประสูติจากหม่อมอื่นๆ รวมแล้ว ๕๓ องค์ ไม่ใช่แค่ ๗ องค์ตามที่เราทราบจากวิกี้ หนังสือพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี ที่ท่านใช้อ้างอิงแสดงข้อมูลให้เห็นว่า ในปีที่กรมขุนวรจักรฯสิ้นพระชนม์นั้น นอกจาก ม.จ.เล็ก แล้วยังมีพระโอรสประสูติต่างมารดากันอีกหลายองค์คือ ม.จ.รทวย ม.จ.ประพฤติ  ม.จ.ประดับ ม.จ.บันเทิง ก็น่าเสียดายที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไม่รู้จักและไม่ได้สนใจจะกล่าวถึง แต่โอรสพระองค์ใหญ่คือหม่อมเจ้าปรีดา ซึ่งภายหลังโปรดเกล้าฯให้ยกขึ้นเป็นพระองค์เจ้านั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าว่า เป็นผู้ครอบครองวังวรจักรต่อมาหลังการสิ้นพระชนม์ของเสด็จพ่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 02 พ.ย. 13, 09:13

ประเด็นน่าฉงนก็คือ ถ้าม.ร.ว.ดวงใจเป็นชายาหลวงแถมมีโอรสธิดาด้วยกันตั้งหลายองค์ ทำไมได้มรดกอันสำคัญของพระสามี  คือวังวรจักรซึ่งเป็นที่ตั้งของตำหนักใหญ่ที่ประทับในฐานะหม่อมใหญ่กับลูกๆ  ส่วนพระโอรสองค์หัวปีที่เกิดจากเมียไม่ออกหน้าออกตาก็น่าจะได้เรือนหลังรองลงไป แต่นี่กลับตาลปัตร  หม่อมย่าของผู้เขียนกลับไปได้เรือนอีกเรือนอยู่กับลูกสาว๓องค์ (องค์โตเข้าวังไปก่อนหน้านี้แล้ว)  ส่วนพระองค์เจ้าปรีดาได้วังทั้งวังไปแต่ผู้เดียว

รูปการณ์มันน่าจะเป็นว่า พระองค์เจ้าปรีดาท่านอาจจะมีพระมารดาเป็นหม่อมใหญ่ของกรมขุนวรจักรฯแต่เดิม การได้เลื่อนจากหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้าก็น่าจะพิสูจน์ได้ว่าชาติกำเนิดท่านไม่ต่ำต้อย อย่างน้อยหม่อมแม่ของท่านก็ต้องเป็นเมียแต่ง แต่ท่านคงสิ้นไปก่อนหรืออาจเป็นได้ว่าเลิกร้างกัน ดังที่ม.จ.ฉวีวาดนำไปเป็นต้นแบบในการเรียกร้องกับกรมหลวงพิชิตปรีชากร พระคู่หมั้น ให้เลิกกับหม่อมที่อยู่กินกันอยู่แล้วก่อนท่านจึงจะยอมแต่งงานด้วย (นับว่าเป็นโชคดีของกรมหลวงพิชิตฯแท้ที่ท่านไม่ทรงยินยอม)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง